100 ตำบลต้นแบบในการบูรณาการ ด้านส่งเสริมสุขภาพ 5 กลุ่มวัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม โดย กรมอนามัย
เจตนารมณ์ของโครงการ 100 ตำบลต้นแบบฯ เพื่อให้ 100 ตำบล เป็นพื้นที่ต้นแบบในการบริการ จัดการการเปลี่ยนแปลงรูปแบบกระบวนการทำงานของ กรมอนามัย (Core business process) ในการบูรณา การงานส่งเสริมสุขภาพ 5 กลุ่มวัย และอนามัย สิ่งแวดล้อม โดยใช้การจัดการค่ากลางในการพัฒนา แบบ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” (นายแพทย์อมร นนทสุต)
วัตถุประสงค์โครงการ 2.1 เพื่อพัฒนาตำบลต้นแบบในการบูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพ 5 กลุ่มวัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยการบูรณาการงานระหว่างหน่วยงาน ส่วนกลางกรมอนามัย ศูนย์อนามัย และส่วนพื้นที่ (ประชาชน ภาครัฐ: ประชารัฐ และภาคเอกชน รวมทั้งองค์กรภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง) 2.2 เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานตามภารกิจของกรม อนามัยและเป็นการเสริมสร้างคุณค่าของงาน นำไปสู่การแลกเปลี่ยน เรียนรู้และพัฒนากระบวนการดำเนินงาน นวัตกรรม องค์ความรู้ เทคโนโลยี ที่สอดคล้องกับพื้นที่
คณะกรรมการอำนวยการ คณะทำงานขับเคลื่อนระดับเขต 100 ตำบลต้นแบบในการบูรณาการ ด้านส่งเสริมสุขภาพ 5 กลุ่มวัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการอำนวยการ คณะอนุกรรมการด้านการชี้นำประสานวิชาการและ การพัฒนาองค์ความรู้เทคโนโลยี (6 Clusters) คณะอนุกรรมการบูรณาการบทบาทของหน่วยงาน ในกรมอนามัย (ส่วนกลางและศูนย์อนามัยเขต) คณะอนุกรรมการ กำกับและ ติดตามประเมินผล คณะทำงานขับเคลื่อนระดับเขต
คณะอนุกรรมการอำนวยการ ฝ่ายเลขานุการ
คณะอนุกรรมการด้านการชี้นำประสานวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้เทคโนโลยี 1.คณะอนุกรรมการสตรีและปฐมวัย ฝ่ายเลขานุการ
2.คณะอนุกรรมการวัยเรียน ฝ่ายเลขานุการ
3.คณะอนุกรรมการวัยรุ่น ฝ่ายเลขานุการ
4.คณะอนุกรรมการวัยทำงาน ฝ่ายเลขานุการ
5.คณะอนุกรรมการวัยสูงอายุ ฝ่ายเลขานุการ
6.คณะอนุกรรมการอนามัยสิ่งแวดล้อม ฝ่ายเลขานุการ
การเตรียมการสำหรับศูนย์อนามัย เพื่อรองรับการดำเนินงาน โครงการ 100 ตำบลต้นแบบในการบูรณาการด้านส่งเสริมสุขภาพ 5 กลุ่มวัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม
1. การคัดเลือก 100 ตำบลต้นแบบ หลักเกณฑ์การคัดเลือก 1. ศูนย์อนามัยคัดเลือกตำบลต้นแบบ 8-10 ตำบล ให้ ครอบคลุมทุกจังหวัด ๆ ละ อย่างน้อย 1 อำเภอ และอำเภอละ 1-2 ตำบล โดยเลือกให้ Subset ของพื้นที่ 1,000 ตำบล LTC ของกระทรวงสาธารณสุข 2. ศูนย์อนามัยที่ 13 ใช้ทีมงานเดียวกับ ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี ไปก่อนในระยะแรก การเลือกพื้นที่ของ ศอ. 13 ให้เลือก ชุมชนในเขตนำร่อง เขตละ 1 ชุมชน
2. ตั้งทีมขับเคลื่อนคณะทำงานระดับเขต หลักเกณฑ์การตั้งทีมขับเคลื่อนฯ ทีมจะต้องประกอบไปด้วย บุคลากร 3 รุ่น ได้แก่ รุ่นพี่ที่ มีประสบการณ์สูง (Baby Boomer) รุ่นกลาง (Gen X) และ รุ่นใหม่ไฟแรง (Young Blood) เพื่อให้เกิดการบูรณาการ และการขับเคลื่อนงานให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้องค์ คณะทำงานขับเคลื่อน ควรมีคณะกรรมการบริหารการ เปลี่ยนแปลง (CCO และ CO) ร่วมเป็นคณะทำงานด้วย
คณะทำงานขับเคลื่อนระดับเขต
Email: piriya.w@anamai.mail.go.th , กำหนดการ กำหนดส่ง - รายชื่อตำบลในพื้นที่ ที่ศูนย์อนามัยรับผิดชอบ 8-10 ตำบล - ทีมงานขับเคลื่อนระดับพื้นที่ - ทีมงานขับเคลื่อนระดับจังหวัด กำหนดส่งรายละเอียดข้างต้น มายังฝ่ายเลขานุการ สำนักส่งเสริมสุขภาพ และสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2559 Email: piriya.w@anamai.mail.go.th , pathai21@hotmail.com , piyawan18@gmail.com
องค์ประกอบของทีมขับเคลื่อน ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก 1. กลุ่มส่งเสริมสุขภาพ 2. กลุ่มอนามัยสิ่งแวดล้อม 3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
3. แผนการขับเคลื่อนโครงการ มีนาคม 2559 เม.ย – มิ.ย. 59 ก.ค – ก.ย 59 1. มีฐานข้อมูลสุขภาพ 5 กลุ่มวัย และด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ดำเนินการขับเคลื่อนงาน ใน 100 ตำบล 1.มี Best practice ตำบลต้นแบบอย่างน้อยศูนย์ละ 1 แห่ง 2. มีคณะทำงานและแผนการขับเคลื่อนโครงการ 100 ตำบล 2.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนการดำเนินงาน ระยะที่ 1
Kick off การขับเคลื่อนโครงการ ๑๐๐ ตำบลบูรณาการ ด้านส่งเสริมสุขภาพ 5 กลุ่มวัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม พร้อมกัน วันที่ 1 เมษายน 2559
Q & A
อธิบดีกรมอนามัย เพิ่มเติม ให้สร้างทีมงานระดับจังหวัด ถ้าบางพื้นที่รับผิดชอบหลายจังหวัด อาจดำเนินการตั้งทีม ๑ ทีม ต่อ ๒ จังหวัด ขอให้ส่งรายชื่อ ทีมงาน และทีมจังหวัด รวมทั้ง เลือกตำบล ส่งภายในวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๙ ส่วนกลางทำงานทำแบบคร่อมสายงาน โดยแบ่งเป็น ๖ cluster กองหรือสำนักไม่สามารถส่ง Tool , Technology ,ให้ศูนย์โดยตรงได้ ต้องผ่านการกลั่นกรองโดย cluster ต้องมีการ screen and select ก่อน เราต้องมีการชี้นำ ทำให้ดู รู้การเปลี่ยนแปลง ต้องชี้เป้า เฝ้าดู รู้การเปลี่ยนแปลง ส่วนกลางจะประชุมอีกครั้งในวันที่ ๑ มีนาคม เราจะกำหนดการดำเนินงานร่วมกัน