งานชิ้นที่ 1 นายธานี ใจญาณ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
Advertisements

ทฤษฎีทางอาชีพ ผศ. นิตยา เรืองแป้น ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา
สัมมนาทางการประกอบการธุรกิจ
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
การศึกษาผลการเรียนรู้ด้านการพิมพ์ไทยด้วย คอมพิวเตอร์ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปี ที่ 1 แผนกบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี The education.
การพัฒนาเว็บฝึกอบรม เรื่อง การใช้งานระบบงานทะเบียนประมวลผลและหลักสูตร
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
แนวทางการสอน เพื่อพัฒนาทักษะเด็กตามรูปแบบการสอน
ชื่อเรื่อง : ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาการบัญชีบริหาร ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองการวางแผนงบประมาณในธุรกิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์
ผู้วิจัย : นางธนิตา ขาวทอง วิทยาลัยอาชีวศึกษาบริหารธุรกิจวิทยา สงขลา
ยุทธศาสตร์ลดปัจจัยเสี่ยง ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น ปี 2551
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
บทที่ 1 หลักการทำโครงงาน
๑ ทศวรรษของ สถาบัน. ๑ ) ด้านการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนา บุคลากรด้านการพัฒนามนุษย์ ๒ ) ผลิตและเผยแพร่ความรู้ด้านการ พัฒนามนุษย์ ๓ ) บริการสาธิตและวิจัยโดยศูนย์พัฒนา.
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา(Educational Media)
Collaborative problem solving
CSIT-URU อ. กฤษณ์ ชัยวัณณคุปต์ Mathematics and Computer Program, URU บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ Introduction to Information.
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
จัดทำโดย นางสาวพิจิตรา ปันเต เลขที่ 18 นางสาวปิยธิดา อุตมา เลขที่ 19 ใบงานที่ 2 เรื่อง ความหมายและความสำคัญของโครงงาน.
Adaptive Software Development. วงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟแวร์ หรือ Software Development Life Cycle (SDLC) เป็นโครง ร่างหรือแนวทางวิธีการ เพื่อใช้ทำความเข้าใจและเพื่อ.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
การจัดกิจกรรม ชุมนุม Science Club. การจัดกิจกรรมชุมนุมสนองตอบ วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา ตามมาตรา ๒๔ ได้อย่างครบถ้วน.
บทที่ 3 นักวิเคราะห์ระบบและการ วิเคราะห์ระบบ. 1. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 1.1 ความหมายของนักวิเคราะห์ระบบ นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis:
การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ ครูชาญณรงค์ ปานเลิศ โรงเรียนพระบางวิทยา ครูชาญณรงค์
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
นำเสนอวิธีปฏิบัติที่ดี ด้านกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
อาจารย์จุฑามาศ พรหมทอง สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การแพร่กระจายนวัตกรรม Diffusion of Innovation
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
บทที่ 6 การพัฒนาระบบการสอนบนเครือข่าย
บทที่ 1 ระบบสารสนเทศ (Information System)
เรื่อง ความพึงพอใจต่อการให้บริการห้องสมุด
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
การจัดลำดับความสำคัญของโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
ฝึกวิเคราะห์ย่อหน้า 1 การศึกษาทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งยังช่วยพัฒนาทางด้านความคิด สติปัญญา และสังคม ทั้งนี้การศึกษายังมีความสำคัญต่อการเป็นอยู่ เพราะรากฐานของความมั่นคงมาจากการได้รับการศึกษา.
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
KMA หมวด 6 การจัดการกระบวนการ.
การออกแบบและเทคโนโลยี
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
1. นำเสนอและอธิบายในหัวข้อต่อไปนี้ ความหมาย ขอบข่าย และพัฒนาการของเทคโนโลยีทางการศึกษา พร้อมทั้งเปรียบเทียบ และยกตัวอย่างงานทางเทคโนโลยีทางการศึกษาในช่วงยุคต่างๆ.
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
โดย นางสาวนิรมล บุรกรณ์
บทบาทหน้าของฝ่าย HR ในงานพัฒนาบุคคลและฝึกอบรม
SMS News Distribute Service
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
นางนพรัตน์ สุวรรณโณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาบริหารธุรกิจวิทยาสงขลา
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา
งานแนะแนว กับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ประวัติวิทยากร ปริญญาเอก ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ดร.วัชรศักดิ์ สงค์ปาน
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
วัสดุและเทคนิค ทางการออกแบบ อ.สุวิธธ์ สาดสังข์ ( Material and
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
Supply Chain Management
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
บทบาทหน้าของฝ่าย HR ในงานพัฒนาบุคคลและฝึกอบรม
เอกสาร/หลักฐาน/ ร่องรอย เพื่อ จัดเก็บใน 13 แฟ้ม
ใบสำเนางานนำเสนอ:

งานชิ้นที่ 1 นายธานี ใจญาณ 493050006-3 นายธานี ใจญาณ 493050006-3 นายพิเชษฐ์ สุริยะเพ็ญ 493050010-2 นางสาวศิวารักษ์ ไชยสมบัติ 493050384-1 สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา เอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551

ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ภารกิจที่ 1 ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

องค์กรร่วมสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา ประเทศอังกฤษ (Council for Educational Technology for the United Kingdom - CET) อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึงการพัฒนาการนำไปใช้และการประเมินระบบ วิธีการดำเนินงาน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อทำให้การเรียนรู้ของคนเราให้ดีขึ้น"

ศูนย์บทเรียนโปรแกรมแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ (National Centre for Programmed Learning , UK) อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาคือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ และเงื่อนไขของการเรียนรู้ มาใช้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอนและการฝึกอบรม แต่ถ้าหากปราศจากหลักการทางวิทยาศาสตร์แล้ว เทคโนโลยีทางการศึกษาจะแสวงหาวิธีดำเนินการโดยการทดลองเพื่อเสริมสร้างสถานภาพองการเรียนรู้ให้ดีขึ้น"

คณะกรรมาธิการสาขาเทคโนโลยีการสอน ประเทศสหรัฐอเมริกา (The Commission on Instructional Technology . USA) ได้อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาคือการนำแนวความคิดที่เป็นระบบไปใช้ในการออกแบบ ดำเนินการ และประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งกระบวนการในรูปของวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสื่อความหมายของมนุษย์เรา อีกทั้งนำเอาทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรอื่น ๆ มาผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพของการเรียนรู้ที่สูงยิ่งขึ้น"

เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึงการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการแก้ปัญหาการศึกษา การศึกษา หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเนื่องมาจาก ประสบการณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม 

ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา

ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาแบ่ง. ออกเป็น 5 กลุ่ม คือ. 1 ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาแบ่ง ออกเป็น 5 กลุ่ม คือ 1. การออกแบบ (Design) 2. การพัฒนา (Development) 3. การใช้ (Utilization) 4. การจัดการ (Management) 5. การประเมิน (Evaluation)

1. ขอบข่ายการออกแบบ (Design)  แสดงให้เห็นถึงการสร้างหรือก่อให้เกิดทฤษฎีที่กว้างขวางที่สุดในการสอนในศาสตร์ทางการศึกษา  ได้แก่ - การออกแบบการสอน (Instructional Design)บนพื้นฐานการออกแบบระบบการสอน ซึ่งเป็นขั้นตอนการจัดการที่รวบรวมขั้นตอนการวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ และการประเมินผลการสอน - การออกแบบสาร (Massage Design)  หมายถึง  การวางแผนสำหรับการปฏิบัติทางกายภาพของข้อความ - กลยุทธ์การสอน (Instructional Strategies) กลยุทธ์การสอนเป็นกลยุทธ์เฉพาะสำหรับการเลือกและการลำดับเหตุการณ์และกิจกรรมในบทเรียน - คุณลักษณะของผู้เรียน (Learner Characteristics) ประสบการณ์เบื้องหลังของผู้เรียนที่มีผลกระทบต่อกระบวนการเรียนรู้ 

2. ขอบข่ายการพัฒนา (Design) จะแสดงให้เห็นถึงแนวทางในการปฏิบัติ 2. ขอบข่ายการพัฒนา (Design) จะแสดงให้เห็นถึงแนวทางในการปฏิบัติ - เทคโนโลยีการพิมพ์ (Print Technology) เป็นวิธีการในการผลิตและส่งผ่านสื่อ  เช่น หนังสือหรือสื่อที่มองเห็นโดยเบื้องต้นเป็นการผลิตและส่งผ่านกลไกลหรือกระบวนการพิมพ์ - โสตทัศน์เทคโนโลยี (Audiovisual Technology) เป็นวิธีการในการผลิตและส่งผ่านสื่อโดยการใช้กลไกลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเสนอสารในรูปแบบของเสียงและภาพ - เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  (Computer-based Technology)เป็นวิธีการผลิตและส่งผ่านสื่อโดยการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐาน - การบูรณาการเทคโนโลยี  (Integrated Technology )เป็นการผลิตและส่งผ่านสื่อโดยรวมสื่อทุกรูปแบบเข้าไว้ด้วยกันภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์

3. การนำไปใช้ (Utilization) 3.  การนำไปใช้ (Utilization) - การใช้สื่อ  (Media Utilization)ระบบการใช้ทรัพยากรสำหรับการเรียนรู้ - การแพร่กระจายนวัตกรรม (Diffusion innovations) กระบวนการสื่อสารผ่านการวางแผนกลยุทธ์สำหรับจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการนำไปใช้ - การนำไปใช้และนำไปใช้ในองค์กร (Implementation and Institutionalization) การใช้สื่อการสอนหรือกลยุทธ์ในชีวิตจริง  และการรวบรวมนวัตกรรมเข้าไปในโครงสร้างและชีวิตประจำวันขององค์การ - นโยบายและกฎระเบียบ (Polices and Regulations) กฎระเบียบการทำงานของสังคมที่มีผลต่อการแพร่กระจายและการใช้เทคโนโลยีการศึกษา

4. การจัดการ (Management) 4. การจัดการ (Management) - การจัดการโครงการ (Project Management) เป็นการรวบรวมของการวางแผน การติดตาม การควบคุมการออกแบบการสอนและการพัฒนาโครงการ - การจัดการทรัพยากร (Resource Management) เป็นการรวบรวมของการวางแผน  การติดตาม  การควบคุมระบบสนับสนุนทรัพยากรและการบริการ - การจัดการระบบส่งผ่าน  (Delivery System Management )เป็นการรวบรวมของการวางแผน  การติดตาม  การควบคุม วิธีการด้วยการกระจายของสื่อการสอนที่ถูกจัดระเบียบ - การจัดการสารสนเทศ  (Information Management)เป็นการรวบรวมของการวางแผน  การติดตาม  การควบคุมการจัดเก็บ  การส่งผ่าน  และการประมวลผลของสารสนเทศเพื่อจัดหาแหล่งทรัพยากรสำหรับการเรียนรู้

5. การประเมิน (Evaluation) 5. การประเมิน (Evaluation) - การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)เป็นการกำหนดธรรมชาติและพารามิเตอร์ของปัญหาด้วยการเก็บข้อมูลสารสนเทศและกลยุทธ์การตัดสินใจ - การวัดโดยอิงเกณฑ์ (Criterion-Referenced)เกี่ยวข้องกับเทคนิคสำหรับกำหนดความรอบรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับเนื้อหาที่มีการะบุไว้ - การประเมินเพื่อปรับปรุง (Formative Evaluation)เป็นการประเมินเพื่อปรับปรุงเกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลสารสนเทศที่เพียงพอและใช้ข้อมูลนี้เป็นฐานในการพัฒนา - การประเมินเพื่อตัดสิน (Summative Evaluation )เป็นการประเมินเพื่อตัดสินใจเกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลสารสนเทศที่พอเพียงและใช้ข้อมูลนี้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้

พัฒนาการของเทคโนโลยีทางการศึกษา

ก่อน ค.ศ. 1700 กลุ่มที่มีชื่อเสียงกลุ่มหนึ่งได้แก่ กลุ่มโซฟิสต์ (Sophist) เป็นกลุ่มครูผู้สอนชาวกรีก ได้ออกทำการสอนความรู้ต่างๆให้กับชนรุ่นเยาว์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีความฉลาดปราดเปรื่อง ในการอภิปราย โต้แย้ง ถกปัญหา จนได้รับการขนานนามว่า เป็นนักเทคโนโลยีการศึกษากลุ่มแรกและ กลุ่มโซฟิสต์ที่มีอิทธิพลต่อทางด้านการศึกษา ได้แก่ โซเครติส (Socretes) พลาโต (Plato) อริสโตเติล (Aristotle) ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการวางรากฐานของปรัชญาตะวันตก เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น

อะมอส คอมินิอุส (Joh AmosComenius คศ อะมอส คอมินิอุส (Joh AmosComenius คศ. 1592-1670) เป็นผู้ที่ใช้วัสดุ สิ่งของที่เป็นของจริงและรูปภาพ เข้ามาช่วยในการสอนอย่างจริงจัง รวมทั้งแนวคิดในเรื่องวิธีการสอนใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อการใช้วัสดุ ของจริงมาใช้ในการสอน ตลอดจนการรวบรวมหลักการสอนจากประสบการณ์ที่ทำการสอนมา 40 ปี นอกจากนี้ได้แต่งหนังสือที่สำคัญอีกมากมายและที่สำคัญ คือ Obis Sensualium Pictus หรือที่เรียกว่า โลกในรูปภาพ ซึ่งเป็นหนังสือที่มีภาพประกอบบทเรียนต่างๆ ผลงานของคอมินิอุส ได้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาตลอดมา จนได้รับการขนานนามว่า เป็นบิดาแห่งโสต

ค.ศ. 1700 - 1900 โจเซฟ แลงแคสเตอร์ (Joseph Lancaster) นักการศึกษาชาวอังกฤษ ได้ริเริ่มระบบการสอนแบบพี่เลี้ยงหรือระบบหัวหน้าชั้น  โดยผู้สอนทำการสอนหัวหน้านักเรียนประมาณ 50 คนก่อน  แล้วให้หัวหน้านักเรียนแต่ละคนไปสอนเพื่อนอีก 10 คน   ซึ่งทำให้ผู้สอนสามารถสอนนักเรียนได้ถึง 500 คนหรือมากกว่าในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้นักเรียนจะ ถูกแบ่งเป็นกลุ่มตามความสามารถ ริเริ่ม การจัดสภาพห้องเรียนและใช้สื่อการสอนราคาถูก ฟรอเบล (Forebel)  นักการศึกษาชาวเยอรมัน เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้พัฒนาการศึกษาเด็กอนุบาลขึ้นโดยเน้นการสอนที่ให้มีกิจกรรมอิสระ เน้นความคิดสร้างสรรค์ การเข้าสังคมและการแสดงออกทางกาย ใช้จิตวิทยาสอนเด็กและตั้งโรงเรียนอนุบาลขึ้นเป้นแห่งแรก

ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน ธอร์นไดค์ นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา เขาได้เริ่มสร้างห้องทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสัตว์ ในขณะที่เขายังเป็นนักศึกษาอยู่ ต่อมาได้ร่วมเป็นอาจารย์สอน ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปี 1898 และได้ใช้ชีวิตเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เบื้องต้นการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ ในปี ค.ศ. 1912 เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรม จึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่

บี เอฟ สกินเนอร์ เป็นผู้ใช้แนวคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติ ของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้นๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง ในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอน ได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก

ตารางแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในแต่ละยุคสมัย ระยะเวลา นักคิด แนวคิด/ทฤษฎี ยุคเริ่มแรก- ค.ศ. 1700 กลุ่มโซฟิสต์ (450-350 ปีก่อนค.ศ.) 2. โสเครติส (ค.ศ. 399 - 470) 3. อเบลาร์ด (ค.ศ 1079-1142) 4. คอมินิอุส (ค.ศ. 1592-1670) การพูดในที่สาธารณะ - การพบปะสนทนากับผู้เรียน - การสอนแบบมวลชน วิธีการสอนแบบสืบสวนสอบสวน(Inquiry Method) การจัดการเรียนการสอนแบบมี สถานศึกษา - ระบบการศึกษาแบบเปิด

ระบบพี่เลี้ยง (Monitor System) - การศึกษาแบบประหยัด ระยะเวลา นักคิด แนวคิด/ทฤษฎี ค.ศ. 1700 - 1900 1. แลนคาสเตอร์ (ค.ศ. 1778-1838) 2. เปสตาลอสซี (ค.ศ. 1746-1827) 3. ฟรอเบล (ค.ศ. 1782-1852) 4. แฮร์บาร์ท (ค.ศ. 1865) ระบบพี่เลี้ยง (Monitor System) - การศึกษาแบบประหยัด การเรียนรู้โดยผ่านความรู้สึก - ขั้นตอนการเรียนรู้ ABC Anschauung - การเรียนด้วยการกระทำ - การเรียนปนเล่น - Outline of Educational Doctrine

ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน ระยะเวลา นักคิด แนวคิด/ทฤษฎี ธอร์นไดค์ (ค.ศ.1874-1949) 2. ดิวอี้ คิลแพทริก (ค.ศ. 1871-1965) 3. มอนเตสซอรี (ค.ศ 1870-1952) เลวิน (ค.ศ. 1592-1670) 5. สกินเนอร์ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory) - แนวทางในการปัญหา (Problem Solving) - วิธีการสอนแบบไตร่ตรอง (Reflective Method) - การจัดการเรียนการสอนแบบมีสถานศึกษา การสอนแบบ Nourishing - การจูงใจ -ทฤษฎีการวางเขื่อนไขแบบอาการกระทำ (Operant Conditioning)

พัฒนาการเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย • พ. ศ พัฒนาการเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย • พ.ศ.2483 ก่อตั้งแผนกโสตทัศนศึกษาเป็นแห่งแรกที่กองการศึกษาผู้ใหญ่ • 2497 เปิดสอนวิชาโสตทัศนศึกษา เป็นครั้งแรกที่วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร • 2506 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นแห่งแรกที่นำระบบโทรทัศน์วงจรปิดมาใช้ • 2514 มหาวิทยาลัยรามคำแหงนำโทรทัศน์วงจรปิดมาใช้เพื่อการเรียนการสอนอย่างแท้จริง • 2521 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของเมืองไทยใช้ระบบการสอนทางไกลโดยใช้สื่อเสริมด้วยโทรทัศน์ และวิทยุ

Educational Technology 2.บอกความแตกต่างของ ภารกิจที่ 2 Educational Technology Instructional Technology

Educational Technology เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอนเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆมาใช้เพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน

Educational Technology ซึ่งเทคโนโลยีนั้นในบางครั้งจะเป็นการประดิษฐ์เพื่อใช้ในวงการอื่นๆ โดยเฉพาะก็ตาม แต่สามารถนำมาใช้เป็นเทคโนโลยีการศึกษาได้ เช่นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการคำนวณและวงการธุรกิจก็ยังสามารถนำมาใช้ในการบริหารสถาบันการศึกษา และช่วยในการเรียนการสอนได้

Instructional Technology เทคโนโลยีการสอน เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เฉพาะในด้านการเรียนการสอนจึงเรียกว่า "เทคโนโลยีการสอน" ซึ่งมีการใช้กันอย่างกว้างขวางในทุกระดับของการศึกษา

Instructional Technology ดังนั้นเทคโนโลยีการสอนจึงเป็นการรวมสื่อการสอนทั้งในด้านวัสดุอุปกรณ์ วิธีการที่มีระบบ เพื่อการออกแบบการสอน และหลักการด้านจิตวิทยา สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์กายภาพ รวมถึงการสื่อสารของมนุษย์ มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน

Instructional Technology เทคโนโลยีการสอนที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้ดาวเทียมเพื่อถ่ายทอดสดการสอนจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง เป็นต้น

ซึ่งจากความหมาย"Instructional" เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน  ในขณะที่ "Educational" เป็นคำที่มีความหมายกว้างๆ รวมลักษณะต่าง ๆ ของการศึกษาเข้าไว้ ซึ่ง Instruction หรือ การเรียนการสอนเป็นส่วนประกอบหนึ่งของ Educational

ภารกิจที่ 3 ขอบข่ายและองค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อเทคโน  โลยีทางการศึกษาในการจัดการศึกษาในยุคปัจจุบัน

ขอบข่ายและองค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อเทคโนโลยีทางการศึกษาในการจัดการศึกษาในยุคปัจจุบัน ขอบข่ายของเทคโนโลยีทางการศึกษา มีดังนี้ ที่มา : http://school.obec.go.th/watpakjung/kroochai/data/kroochai_1.doc หน้าที่ในการจัดการศึกษา หน้าที่ในการพัฒนาการศึกษา แหล่งการเรียน ผู้เรียน การบริหารองค์การ การบริหารงานบุคคล การวิจัยและทฤษฎี การออกแบบ การผลิต การประเมินผล และการเลือกการสนับสนุน การนำไปใช้ (การแจกจ่าย) สาร บุคคล วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค สิ่งแวดล้อม

หลักการ DDUME DDUME นั้นเปรียบเสมือนเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ ในวงการวิชาการทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อเน้นหรือส่งเสริม “การสร้างความรู้”ในมนุษย์  เป็นการเชื่อมโยงศาสตร์ “ความรู้” ในหลายๆ สาขา และในความเชี่ยวชาญหรือความถนัดของตนเองที่มี มาสานต่อผนวกกับทางเทคโนโลยีการศึกษา 

D = Design คือการออกแบบ ที่ตอบสนองต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน หากเมื่อเราเข้าใจในกระบวนการทำงานและโครงสร้างทางปัญญาของมนุษย์แล้ว เราจะสามารถออกแบบที่เป็นการตอบสนองต่อการเรียนรู้ และก่อให้เกิดเป็นการสร้างความรู้ในมนุษย์นั้นได้ D = Development  คือ การพัฒนา เป็นการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง เมื่อออกแบบมาแล้ว สิ่งที่ออกแบบนั้น แม้ใช้ได้ดี ได้ผล แต่ก็ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย เพราะทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีการเปลี่ยนแปลง และควรเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นด้วย U = Uteri -------> Utilization คือ การใช้ หรือการนำไปใช้ ตามหลักสิ่งไหนที่สร้างสิ่งนั้นก็ต้องมีการนำไปใช้ หากเมื่อสร้างขึ้นแต่ไม่ได้นำไปใช้เราก็ไม่สามารถนำสิ่งนั้นไปตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนได้

M = Management คือ การจัดการ ซึ่งเป็นการจัดการทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา การจัดการดังกล่าว ซึ่งควรจะประกอบไปด้วยหลากหลายมิติตามหลักของการบริหาร จัดการทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา E = Evaluate หรือ การประเมินผล ที่ได้มีการนำเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ การทำสิ่งใดก็ตามหากว่าเราได้มีการประเมินผล ย่อมทำให้เรามองเห็นความแง่งามของสิ่งนั้นว่า เราจะดำเนินไปในทิศทางอย่างไรบ้าง 

ภารกิจที่ 4 นำความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน

สื่อการเรียนการสอนมีอยู่หลากหลายรูปแบบ หลากหลายประเภท การเลือกสื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญมากต่อกระบวนการเรียนการสอน อย่างไรก็ตามในการเลือกสื่อการสอนพึงระลึกไว้เสมอว่า "ไม่มีสื่อการสอนอันใดที่ใช้ได้ดีที่สุดในทุกสถานการณ์" ในการตัดสินใจเลือกใช้สื่อการสอนต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกัน

หลักสำคัญในปฏิรูปการศึกษา คือ การจัดการศึกษาที่สำคัญ นั่นคือ การกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย การมีเอกภาพในนโยบายแต่หลากหลายในการปฏิบัติ การยึดมาตรฐาน และการยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เนื่องจากในยุคการปฏิรูปการศึกษา ผู้เรียนและผู้สอนไม่สามารถศึกษาหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง จึงต้องมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพิ่มเติมความรู้และเพิ่มแหล่งการเรียนรู้ให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดทางการศึกษา เช่น ห้องสมุด Electronic, การศึกษาผ่านดาวเทียม, การศึกษาทางไกล ทั้งนี้ สามารถช่วยแก้ปัญหาการเรียนการสอนให้สะดวก รวดเร็ว

อ้างอิง http://student.nu.ac.th/fon/techno.htm pirun.ku.ac.th/~g4966062/EdTech_model.doc http://ednet.kku.ac.th/~sumcha/212300/intro4.html http://gotoknow.org/blog/kapoom/156997