การใช้ยาโรคเบาหวาน ภก.วินัตย์ เภอบางเข็ม
ภาพแสดงตำแหน่งของตับอ่อนในร่างกาย
ภาพแสดงการทำงานของตับอ่อนในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือด
ชนิดของโรคเบาหวาน เบาหวานมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 : เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ซึ่งพบ ร้อยละ 10 เบาหวานชนิดนี้ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลินทุกวันต้องอยู่ ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เบาหวานชนิดที่ 2 : เบาหวานชนิดนี้เกิดจากร่างกายสร้างอินซูลินได้ ปกติแต่อินซูลินออกฤทธิ์ที่อวัยวะเป้าหมายไม่ได้เนื่องจากตัวรับอินซูลิน ผิดปกติ อินซูลินจึงทำงานได้น้อย คือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน พบถึงร้อย ละ 90
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลาย เซลล์ ซึ่งสร้างอินซูลินในส่วนของตับอ่อนทำให้ร่างกายหยุดสร้าง อินซูลิน หรือสร้างได้น้อยมาก ดังที่เรียกว่า โรคภูมิต้านทาน ตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน(autoimmune) โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็น เบาหวาน ที่พบเห็นกันเป็นส่วน ใหญ่ สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวกับ พันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะ น้ำหนักตัว มาก และขาดการออกกำลังกาย มีลูกดก อีกทั้งวัยที่เพิ่มขึ้น
เบาหวาน ยังมีสาเหตุมาจากการใช้ยาด้วย เช่น สเตอรอยด์ ยา ขับปัสสาวะ ยาเม็ดคุมกำเนิด
ผู้เป็นโรคเบาหวานจะมีอาการเบื้องต้นคือ ปวดปัสสาวะบ่อย ครั้งขึ้น เนื่องจากในกระแสเลือดและอวัยวะ ต่างๆมีน้ำตาลค้างอยู่มาก ไตจึงทำการกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน สังเกตจากการที่มีมดมาตอมปัสสาวะ จึง เป็นที่มาของการเรียก เบาหวาน ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น กระหายน้ำ และดื่มน้ำในปริมาณมากๆต่อครั้ง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง เบื่ออาหาร
ผู้เป็นโรคเบาหวานจะมีอาการเบื้องต้นคือ น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมาก มาก่อน อันเนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปสร้าง พลังงานได้เต็มที่จึงต้องนำไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้ ทดแทน ติดเชื้อบ่อยกว่าปรกติ เช่นติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร สังเกตได้จากเมื่อเป็นแผลแล้วแผลจะหายยาก สายตาพร่ามองไม่ชัดเจน อาการชาไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องมาจากเบาหวานจะทำลาย เส้นประสาทให้เสื่อมสมรรถภาพลงความสามารถในการรับรู้ ความรู้สึกจึงถดถอยลง อาจจะมีอาการของโรคหัวใจ และโรคไต
เบาหวานชนิดที่ 2 อาจจะมีอาการเหล่านี้บางอย่าง หรือ อาจไม่มีอาการเหล่านี้เลย
ยารักษาโรคเบาหวาน ยาที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1.ยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือด( oral hypoglycemic agents ) 2.ยาฉีดอินสุลิน
ยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือด แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1.กลุ่มยาที่เสริมการออกฤทธิ์ของอินซูลิน (Agents Enhancing the Effectiveness of Insulin) 2.กลุ่มยาที่เพิ่มการหลั่งของอินซูลิน (Agents Augmentating the supply of Insulin) 3.ยาที่ยับยั้งการดูดซึมอาหารคาร์โบไฮเดรตในลำไส้ ( alpha- glucosidase inhibitor )
1.ยาที่เสริมการออกฤทธิ์ของอินซูลิน (Agents Enhancing the Effectiveness of Insulin) 1.1 biguanides(Metformin) 1.2 Thiazolidinedione
Metformin ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างกลูโคสจากตับเป็นหลัก ทำให้อินสุลินออกฤทธิ์ที่กล้ามเนื้อดีขึ้น บางส่วนทำให้น้ำตาลเข้าเซลล์กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น
ข้อดีของ metformin ไม่ทำให้เกิด hypoglycemia น้ำหนักตัวจะไม่เพิ่มขึ้นหรืออาจลดลงในบางราย
ผลข้างเคียงของ Metformin ผลข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่ เบื่ออาหาร ลิ้นไม่รับรส คลื่นไส้ ท้องเสีย ไม่สบายท้อง แต่อาการจะดีขึ้นได้เองเมื่อใช้ยา ติดต่อกันไปสักระยะ ผลข้างเคียงที่สำคัญคือ lactic acidosis ควรหลีกเลี่ยงการ ใช้ในผู้ป่วยที่มี renal insufficiency ( serum creatinine มากกว่า 1.5 มก./ดล.) หรือในผู้ป่วยที่มีโรคที่ เสี่ยงต่อการเกิด ภาวะ lactic acidosis เช่น โรคตับ โรคหัวใจล้มเหลว
Thiazolidinedione ทำให้อินสุลินออกฤทธิ์ที่กล้ามเนื้อ เป็นผลทำให้น้ำตาล เข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ทำให้อินสุลินออกฤทธิ์ที่ตับเพิ่มขึ้น ยับยั้งการสร้างกลูโคสจากตับด้วย
Thiazolidinedione Rosiglitazone ( Avandia ) Pioglitazone ( Actos )
ผลเสียของยากลุ่ม Thiazolidinedione ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 4-5 กิโลกรัมเนื่องจากการคั่ง ของน้ำ ระดับ hemoglobin ลดลง ทำให้เกิดตับอักเสบได้ (ผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับยากลุ่มนี้ควรได้รับการตรวจเอนไซม์ตับ ก่อนการใช้ยาและภายหลังได้รับยาเป็นระยะและถ้าระดับ เอนไซม์ตับมีค่าสูงขึ้นกว่าค่าปกติเกิน 2 เท่าควรหยุดยา)
2.ยาที่เพิ่มการหลั่งของอินซูลิน (Agents Augmentating the supply of Insulin) 2.1 Sulfonylurea 2.2 Rapid acting non-sulfonylurea insulin secretagogue
Sulfonylurea ยาในกลุ่มนี้แบ่งเป็น 3 generation ได้แก่ First generation : Chlorpropamide Second generation : Glibencamide , Glipizide , Glicazide , Gliquidone Third generation : Glimepiride , Glicazide MR
Sulfonylurea Sulfonylurea ยาจะกระตุ้นการหลั่งอินสุลินจาก ตับอ่อนโดยผ่านทาง sulfonylurea receptor ซึ่งเป็น ATP-dependent K+channel ที่ plasma membrane ของ beta cell ทำให้ cytosolic calcium เพิ่มขึ้นทำให้มีการหลั่งอินสุลิน นอกจากนี้ยายัง ช่วยลด hepatic glucose output และเพิ่ม insulin sensitivity
Rapid acting non-sulfonylurea insulin secretagogue ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์เช่นเดียวกันกับ sulfonylurea แต่ที่ ตำแหน่ง receptor ต่างกัน มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ sulfonylurea แต่ออกฤทธิ์เร็วกว่า เนื่องจากมี half life สั้นเพียง 1 ชั่วโมง ทำให้มีอุบัติการของการเกิด hypoglycemia น้อยกว่า ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Repaglinide ( Novonorm ) และ Nateglinide ( Starlix ) ควรเลือกใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยาซัลฟาหรือผู้ที่ทานอาหารไม่ค่อยเป็น เวลาหรือในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด hypoglycemia ได้มาก
3.ยาที่ยับยั้งการดูดซึมอาหารคาร์โบไฮเดรตในลำไส้ ( alpha- glucosidase inhibitor ) acarbose ( Glucobay voglibose ( Basen )
3.ยาที่ยับยั้งการดูดซึมอาหารคาร์โบไฮเดรตในลำไส้ ( alpha- glucosidase inhibitor ) ยาในกลุ่มนี้ถูกดูดซึมเข้าร่างกายน้อยมากทำให้ไม่มี systemic side effects
ผลข้างเคียงของยากลุ่ม alpha- glucosidase inhibitor ท้องอืด แน่นท้อง ผายลมบ่อย ถ่ายเหลว ปวดท้อง
sitagliptin ออกฤทธิ์จำเพาะในการยับยั้ง DPP-IV ที่ใช้สำหรับรักษา โรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะทำให้ระดับฮอร์โมนกลุ่ม incretin 2 ชนิด คือ glucagon-like peptide-1 (GLP-1) และ glucose-dependent insulinotropic peptide (GIP) เพิ่มขึ้นในเลือด ซึ่งฮอร์โมน incretin มีหน้าที่ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยเพิ่มการหลั่งอินซูลินจากเบต้า เซลล์ ของตับอ่อน และลดการหลั่งกลูคากอนจากแอลฟ่าเซลล์ ของตับอ่อน
sitagliptin
sitagliptin ขนาดที่ได้รับการรับรองคือ 100 มก. กินวันละครั้ง ให้ใช้เป็นยาเดี่ยว (monotherapy) ยาเสริมในการรักษาร่วมกับยาอื่นอีก 2 ชนิด ซึ่งได้แก่ metformin หรือ TZDs
อาการข้างเคียง sitagliptin อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้แก่ ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (ร้อยละ 1.2) ในระบบทางเดินอาหาร อาการที่พบคือปวดท้อง (ร้อยละ 2.3) คลื่นไส้ (ร้อยละ 1.4) อาเจียน (ร้อยละ 0.8) และท้องเสีย (ร้อย ละ 3)
ชื่อยา ขนาดยาต่อวัน (มก.) จำนวนครั้งต่อวัน ระยะเวลาออกฤทธิ์( ชั่วโมง ) ชื่อยา ขนาดยาต่อวัน (มก.) จำนวนครั้งต่อวัน ระยะเวลาออกฤทธิ์( ชั่วโมง ) Chlorpropamide 125 – 500 1 > 48 Glibencamide 2.5 – 20 1 – 2 12 – 24 Glipizide 2.5 – 30 1 – 2 12 – 18 Gliclazide 40 – 320 1 – 2 12 – 24 Gliquidone 30 – 240 1 – 2 12 – 18 Glimepiride 1 – 8 1 24 Gliclazide MR 30 – 120 1 24 Repaglinide 0.5 – 2 มก.(ต่อมื้อ) ก่อนอาหารทุกมื้อ 2 – 6 Nateglinide 120 มก. (ต่อมื้อ) ก่อนอาหารทุกมื้อ 2 – 4 Metformin 500 – 3,000 2 – 3 5 – 6 Rosiglitazone 4 – 8 1 – 2 สัปดาห์ Pioglitazone 15 – 45 1 สัปดาห์ Acarbose 50 –100 มก. (ต่อมื้อ) พร้อมอาหารทุกมื้อ 2 – 4 Voglibose 0.2 – 0.3 มก.(ต่อมื้อ) ) พร้อมอาหารทุกมื้อ 2 – 4
หลักการพิจารณาการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 Oral Hypoglycemic Agent BMI > 25 BMI < 25 Metformin Sulfonyluria target not reach in 4-8 wk Combination Different group of oral drugs (Awareness of side effect) target not reach in 4-8 wk Combination of Oral Agent + Bedtime Insulin (intermediate or long acting) : insulin stage 1
Insulin ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการปล่อยกลูโคสจากตับ เพิ่มการใช้กลูโคสโดยเนื้อเยื่อส่วนปลายที่ไวต่ออินสุลิน เช่น กล้ามเนื้อหรือไขมัน ทำให้เกิดการสะสมพลังงานในรูปไขมัน
ประเภท Insulin ตามระยะเวลาการออกฤทธิ์ Insulin ชนิด Combinations (ออกฤทธิ์ปานกลาง + ออกฤทธิ์สั้น)
ข้อบ่งชี้ Insulin สามารถใช้ได้ในทุกกรณีที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ข้อบ่งชี้จำเพาะได้แก่เบาหวานชนิดที่ 1 โรคตับอ่อน, ภาวะ diabetic ketoacidosis, hyperosmolar non- acidotic diabetes , ภาวะตั้งครรภ์, ภาวะแพ้ยาเม็ด, ภาวะเครียด, ภาวะติดเชื้อรุนแรง, การบาดเจ็บ, ได้รับการผ่าตัด, ตับและไตวาย, ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงรุนแรง และในกรณีที่ไม่ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยการควบคุมอาหาร หรือยาเม็ดลดระดับน้ำตาล
การเลือกใช้ Insulin ออกฤทธิ์สั้น รายที่ต้องฉีดยาอินสุลินเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ เพื่อให้ออก ฤทธิ์ได้เร็วยิ่งขึ้นหรือเพื่อความแน่นอนในการออกฤทธิ์หรือกรณีที่ ผู้ป่วยมี bleeding disorder รุนแรงซึ่งควรฉีดทาง หลอด เลือดเท่านั้น Diabetic ketoacidosis, hyperosmolar non- acidotic diabetes Severe hyperglycemia เช่น fasting plasma glucose มากกว่า 300-350 มก./ดล. และต้องการควบคุมให้ ระดับกลูโคสในเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว การใช้ยาออกฤทธิ์สั้นจะ สามารถทำให้ปรับยาได้บ่อยขึ้นและควบคุมน้ำตาลในเลือดได้เร็วขึ้น
การเลือกใช้ Insulin ชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง อินสุลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลางมักใช้ในกรณีผู้ป่วยนอก และไม่ มีภาวะ(Diabetic ketoacidosis, hyperosmolar non- acidotic diabetes, Severe hyperglycemia) ผู้ป่วยในอาการเบาหวานไม่รุนแรง การรักษาลักษณะนี้จะใช้ใน บางกรณีเช่น ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 บางราย ผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 โดยการฉีดก่อนนอนร่วมกับการใช้ยาเม็ดลด ระดับน้ำตาลหรือในผู้ป่วยเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
การเลือกใช้ Insulin ชนิด Combinations ใช้ในกรณีที่ต้องใช้สุลิน 2 อย่างผสมกันเพื่อให้ควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดได้ดียิ่งขึ้น ถ้าสัดส่วนของอินสุลินที่ต้องการใช้มี ชนิดที่ผลิตมาสำเร็จรูปแล้ว การใช้อินสุลินผสมก็จะสะดวกกว่า ข้อบ่งชี้การใช้จะคล้ายกับในอินสุลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง
การปรับเพิ่ม-ลดยาInsulin การคาดคะเนปริมาณอินสุลินในระยะเริ่มต้นควรใช้วิธี titration คือฉีดขนาดน้อย ๆ วันละไม่เกิน 20 ยูนิต ในกรณีที่ระดับน้ำตาลใน เลือดไม่สูงมาก โดยแบ่งเป็น 2/3 ในช่วงเช้าและ 1/3 ในช่วงเย็น แล้วค่อย ๆ ปรับขนาดยาตามผลการตรวจเลือด ถ้าต้องใช้อินสุลินชนิดใสด้วย มักเริ่มด้วย 1/3 ของจำนวนยาในมื้อ นั้น กรณีน้ำตาลในเลือดในช่วงเช้ายังสูงโดยที่มีมื้ออื่นคุมได้ดีแล้วหรือ กรณีที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในเวลากลางคืนบ่อย ๆ อาจเลื่อน การฉีดอินสุลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลางมาฉีดช่วง 3 ถึง 4 ทุ่มแทนที่ จะเป็นก่อนอาหารเย็น
การปรับเพิ่ม-ลดยาInsulin ปรับ RI ตอนเช้าโดยการดูระดับกลูโคสหลังอาหารเช้าและก่อน อาหารเที่ยง ปรับยา NPH ตอนเช้าโดยการดูระดับกลูโคสก่อนอาหารเย็น ปรับ RI เย็นโดยการดูระดับกลูโคสหลังอาหารเย็นและก่อนนอน ปรับ NPH เย็นโดยการดูระดับกลูโคสในเวลาก่อนอาหารเช้า
การปรับเพิ่ม-ลดยาInsulin
Average daily insulin requirements ในผู้ป่วย DM type 2 เป็นดังนี้ Initial dose 0.2-0.6 U/kg Actual Body Weight Split- dose therapy 0.5-1.2 U/kg Actual Body Weight with insulin resistance 0.7-2.5 U/kg Actual Body Weight
ข้อห้ามให้ Insulin การฉีดอินสุลินไม่มีข้อห้าม ยกเว้น กรณีแพ้ยาอย่างรุนแรง ซึ่งพบ ได้น้อยมาก ในภาวะดื้อยาต่ออินสุลิน และมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ควรหา สาเหตุแล้วแก้ไขตามเหตุ เช่น ผู้ป่วยที่อ้วนมากควรพยายามลด น้ำหนักหรือกินยาเม็ดก่อน เมื่อไม่ได้ผลจึงควรฉีดยา
ผลข้างเคียง Insulin ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ Lipodystrophy ภาวะแพ้ยา ในระยะแรก ๆ ที่ฉีดยา ผู้ป่วยอาจมีอาการบวมเนื่องจากมีการ เก็บกักโซเดียมเพิ่มขึ้น อาจมีอาการตามัวมากขึ้นเนื่องจากการ เปลี่ยนแปลง ความเข้มข้นของกลูโคสใน aqueous humor ภายในตา และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
Insulin preparation trade names onset peak effect maximum of action of action duration duration Rapid acting Lispro , aspart Humalog,Novorapid 15-30 min 30-90 min 3-4 hr 4-6 hr Short acting Regular ActrapidHM,HumulinR 30-60 min 2-4 hr 3-6 hr 6-8 hr Intermediate acting NPH (isophane) HumalinN,InsulatardHM 1.5-4 hr 4-12 hr 10-16 hr 14-24 hr Lente ( zinc ) Monotard HM 3-4 hr 6-12 hr 12-18 hr 16-24 hr Long acting Ultralente Ultratard HM 6-10 hr 10-16 hr 18-20 hr 20-24 hr Glargine Lantus 4-12 hr No peak 18-20 hr 20-24 hr Combinations NPH/Regular 80/20,70/30, Mixtard 20,30,40,50 30-60 min Dual 10-16 hr 14-18 hr 60/40, 50/50 Humulin80/20,70/30,
การใช้ยาโรคความดันโลหิตสูง ภก.วินัตย์ เภอบางเข็ม การใช้ยาโรคความดันโลหิตสูง ภก.วินัตย์ เภอบางเข็ม
ยาลดความดันโลหิตสูง ยาลดความดันโลหิตสูงมีอยู่ 8 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มยาขับปัสสาวะ Diuretics 2. กลุ่มยาปิดกั้นการไหลของแคลเซียมเข้าสู่เซลล์ Calcium Channel Blockers 3. กลุ่มยายับยั้งการสร้างแอนจิโอแทนซิน(ACEI) 4. กลุ่มยาขัดขวางการจับตัวรับแอนจิโอแทนซิน(ARB) 5. กลุ่มยาปิดกั้นเบต้า Beta-Blockers 6. กลุ่มยาปิดกั้นแอลฟ่า Alpha-Blockers 7. กลุ่มยาขยายเส้นเลือดแดง Nitrates 8.Nitrates
1. กลุ่มยาขับปัสสาวะ กลุ่มรักษาโพแทสเซี่ยม spironolactone, amiloride hydrochlorothiazide Furosemide
ฟูโรซีไมด์ - Furocemide ข้อบ่งใช้ 1. ใช้ลดอาการบวมจากภาวะหัวใจวาย (หัวใจล้ม) ภาวะไตวาย ตับแข็ง หรือ บวมจากสาเหตุอื่น ๆ 2. ใช้ลดความดันโลหิตสูง เฉพาะในรายที่มีภาวะไตวาย หรือมี อาการบวม ไม่นิยมใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง โดยทั่วไป เนื่องจากมีผลข้างเคียงมากกว่าไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ 3. ใช้แก้อาการปอดบวมน้ำ (Pulmonary edema) เช่น หัวใจวาย, การให้น้ำเกลือเร็วและมากเกินไป
ฟูโรซีไมด์ - Furocemide ขนาดและวิธีใช้ ผู้ใหญ่ กินวันละครั้ง ๆ ละ 1-2 เม็ด, เด็ก 1/2-1 เม็ด หลัง อาหารเช้า ถ้าต้องการออกฤทธิ์เร็ว เช่น หอบจากหัวใจวายหรือปอด บวมน้ำ ให้ใช้ยาฉีดครั้งละ 1-2 หลอด (เด็ก 1/2-1 หลอด) เข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้าม
ฟูโรซีไมด์ - Furocemide ผลข้างเคียง ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ผื่นคัน ความดันต่ำ ระดับน้ำตาล ไขมัน กรดยูริกในเลือดสูง ข้อควรระวัง - ทำให้เสียเกลือโพแทสเซียม ซึ่งทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย แขนขา ไม่มีแรง หรือ เป็นตะคริว - ยานี้มีสูตรโครงสร้างคล้ายซัลฟา ไม่ควรใช้ในคนที่แพ้กลุ่มยา ซัลฟา - ควรระมัดระวังการใช้ในหญิงตั้งครรภ์, หญิงที่ให้นมบุตร, ผู้สูงอายุ, ต่อมลูกหมากโต, ผู้ที่มีภาวะตับวาย หรือไตวาย
ไฮโดรคลอโรไทเอไซด์ - Hydrochlorothiazide ข้อบ่งใช้ 1. ลดอาการบวมจากโรคต่าง ๆ เช่นเดียวกับ (ฟูโรซีไมด์) แต่ฤทธิ์อ่อนกว่า 2. ใช้เป็นยาขั้นพื้นฐานในการรักษาความดันโลหิตสูง ขนาดและวิธีใช้ สำหรับขับปัสสาวะ/ลดบวมผู้ใหญ่ 1-2 เม็ด (สูงสุด 4 เม็ด), เด็ก 1/2-1 เม็ด (สูงสุด 2 เม็ด) วันละครั้ง หลัง อาหารเช้า
ไฮโดรคลอโรไทเอไซด์ - Hydrochlorothiazide ผลข้างเคียง ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ผื่นคัน ความดันต่ำ ระดับน้ำตาล ไขมัน กรดยูริกใน เลือดสูง
ไฮโดรคลอโรไทเอไซด์ - Hydrochlorothiazide ข้อควรระวัง ทำให้ระดับน้ำตาล ไขมัน และกรดยูริกในเลือดสูงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าใช้ในขนาดสูง ควรระวังการใช้ ในผู้ป่วยเบาหวาน เกาต์ หรือมีภาวะไขมันในเลือดสูง ทำให้เสียเกลือโพแทสเซียม ซึ่งทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย แขนขาไม่มีแรง หรือ เป็นตะคริว ยานี้มีสูตรโครงสร้างคล้ายซัลฟา ไม่ควรใช้ในคนที่แพ้ กลุ่มยาซัลฟา
2. กลุ่มยาปิดกั้นการไหลของแคลเซียมเข้าสู่เซลล์ Nifedipine amlodipine
ไดไฮโดรไพริดีน (Dihydropyridine) แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ กลุ่ม แอมโลดิปีน besylate (Amlodipine-Norvasc) ฟีโลดิปีน (Felodipine-Plendil) นิคาร์ดิปีน (Nicardipine-Cardene, Carden SR) นิฟีดิปีน (Nifedipine-Procardia, Adalat) นิโมดิปีน (Nimodipine-Nimotop) นิซอลดิปีน (Nisoldipine-Sular) นิเทรนดิปีน (Nitrendipine-Cardif, Nitrepin) เลอร์คานิดิปีน (Lercanidipine-Zanidip)
ฟีนิลอัลไคลามีน (Phenylalkylamine) แกลโลพามิล (Gallopamil-D600) เวอราพามิล hydrochloride (Verapamil-Calan, Isoptin
เบนโซไทอะซิปีน (Benzothiazepine) ดิลไทอะเซม hydrochloride (Diltiazem- Cardizem
กลไกการออกฤทธิ์และอาการข้างเคียง จากการปิดกั้นการไหลของแคลเซียมเข้าสู่เซลล์นี้เองจะเป็นผล ให้กล้ามเนื้อที่หลอดเลือดคลายตัวและนำไปสู่การขยายตัวของ หลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตลดลงตามมา ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงได้แก่ ใจสั่น ปวดศีรษะ ข้อเท้าบวม ท้องผูก
3. กลุ่มยายับยั้งการสร้างแอนจิโอแทนซิน angiotensin converting enzyme (ACEI) Benazepril 5,10,20,40 20-40/วัน วันละครั้งถึงวันละ 2 ครั้ง Captopril 12.5,25,20,100 50-450/วัน วันละ 2 ครั้งถึงวันละ 3 ครั้ง Enalapril 2.5,5,10,20 10-40/วัน วันละครั้งถึงวันละ 2 ครั้ง Fosinopril 10,20 20-40/วัน วันละครั้งถึงวันละ 2 ครั้ง Lisinopril 2.5,5,10,20,40 20-40/วัน วันละครั้ง Moexipril 7.5,15 7.5-30/วัน วันละครั้งถึงวันละ 2 ครั้ง Quinapril 5,10,20,40 20-80/วัน วันละครั้งถึงวันละ 2 ครั้ง Ramipril 1.25,2.5,5,10 2.5-20/วัน วันละครั้งถึงวันละ 2 ครั้ง Tandolepril 1,2,4 1-4/วัน วันละครั้ง
3. กลุ่มยายับยั้งการสร้างแอนจิโอแทนซิน angiotensin converting enzyme (ACEI) ยากลุ่มนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตที่มีภาวะต่างๆดังนี้ กล้ามเนื้อหัวใจหนา (left ventricular hypertrophy) ป้องกันไตเสื่อมในผู้ป่วยที่มีไข่ขาวในปัสสาวะ ผู้ป่วยที่หัวใจวาย ผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ มีไข่ขาวในปัสสาวะ มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ ผู้ป่วยอ้วนลงพุง
กลไกการออกฤทธิ์และอาการข้างเคียง ยาจะออกฤทธิ์โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่สร้างแอนจิโอ แทนซิน (angiotensin) ซึ่งมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว ดังนั้นเมื่อไม่มีแอนจิโอแทนซิน การหดตัวของหลอดเลือดจึงเกิด น้อยลง ทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ได้แก่ ไอแห้งๆ(หากมีอาการมากให้ใช้ ยากลุ่ม ARB drugs แทนกลุ่ม ACE inhibitors) เกิดภาวะโปแตส เซียมในเลือดสูง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไตทำงาน ไม่ดีควรจะให้ยาขับปัสสาวะที่ขับเกลือโปแตสเซียม
กลไกการออกฤทธิ์และอาการข้างเคียง อาจจะทำให้ไตเสื่อมโดยเฉพาะผู้ที่ขาดน้ำ โรคหัวใจ ควรจะต้อง ติดตามการทำงานของไต ผู้ป่วยอาจจะมีผื่นที่ผิวหนัง ลิ้นไม่รับรส
ข้อควรระวังการใช้ยาร่วมกับยาอื่นๆ ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID โดยเฉพาะ indocid จะทำให้ผล การลดความดันลดลง ผู้ที่เป็นโรคจิตและได้ยากลุ่ม Lithium จะทำให้เกิดเป็นพิษต่อ lithium เพิ่ม สำหรับผู้ที่เป็นโรคเก๊าและได้รับยา Allopurinol อาจจะทำ ให้เกิดผื่นแพ้ได้ง่าย
ข้อห้ามใช้ คนตั้งครรภ์ แพ้ยาและมีผื่น Angioneurotic oedema เกลือแร่โปแตสเซี่ยมในเลือดสูง Hyperkalaemia เส้นเลือดแดงที่ไตตีบทั้งสองข้าง Bilateral renal artery stenosis
4. กลุ่มยาขัดขวางการจับตัวรับแอนจิโอแทนซิน (angiotensin receptor blocker (ARB)) Losartan irbesartan valsartan candesartan
ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา angiotensin receptor blocker ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงร่วมกับมีภาวะหัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคไตจากโรคเบาหวาน มีไข่ขาวในปัสสาวะ มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ โรคอ้วนลงพุง
กลไกการออกฤทธิ์และอาการข้างเคียง ผลของการขัดขวางไม่ให้แอนจิโอแทนซินจับกับตัวรับนี้จะทำให้ หลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตจึงลดลง ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ได้แก่ เกิดภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง อาการไอ แต่พบไม่บ่อย ความดันโลหิตต่ำ แก่แร่โปแตสเซี่ยมในเลือดสูง ปวดศีรษะ มีนงง ท้องร่วง มีผื่น ไตหรือตับวาย แต่พบได้ไม่บ่อย
กลไกการออกฤทธิ์ยา ACEI และ ARB
ข้อห้ามใช้ angiotensin receptor blocker คนตั้งครรภ์ แพ้ยาและมีผื่น Angioneurotic oedema เกลือแร่โปแตสเซี่ยมในเลือดสูง Hyperkalaemia เส้นเลือดแดงที่ไตตีบทั้งสองข้าง Bilateral renal artery stenosis
5. กลุ่มยาปิดกั้นเบต้า Beta-Blockers Atenolol Propranolol Metoprolol Acebutolol, betaxolol Bisoprolol nebivolol Carvedilol Labetalol metoprolol Nadolol Pindolol Propranolol Sotalol timolol
กลไกการออกฤทธิ์และอาการข้างเคียง Beta-Blockers ยาจะปิดกั้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ชีพจร ช้าลง แล้วเกิดความดันโลหิตลดลงตามมา ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ ที่พบบ่อยได้แก่ อาการอ่อนเพลียซึ่งมัก เกิดขึ้นในช่วงแรกที่รับประทานยาแต่อาการจะลดลงเมื่อ รับประทานยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาการ ข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจพบได้คือ อาการซึมเศร้า ฝันร้าย เสื่อม สมรรถภาพทางเพศ อาการมือเท้าเย็น
ยากลุ่ม Beta-Blockers ห้ามให้ในผู้ป่วย โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดปกติบางชนิด ต้องระวังในการใช้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
6. กลุ่มยาปิดกั้นแอลฟ่า Prazosin doxasozin
กลไกการออกฤทธิ์และอาการข้างเคียง ยากลุ่มนี้จะปิดกั้นระบบประสาทอัตโนมัติที่กล้ามเนื้อเรียบของ หลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายตัว และเป็นผลให้ความดัน โลหิตลดลง ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของยากลุ่มนี้คือ ความดันต่ำเวลาเปลี่ยน ท่าซึ่งอาจทำให้เกิดอาการหน้ามืดได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่ใช้ยานี้ควร ระมัดระวังการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างทันทีทันใดเช่น หากต้องการ ลุกขึ้นยืนเมื่ออยู่ในท่านอนมานานๆ ควรเปลี่ยนเป็นท่านั่งก่อน แทนที่จะลุกขึ้นยืนจากท่านอนทันที อาการข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจพบได้แก่ ปวดศีรษะ ใจสั่น อ่อนแรง
7. กลุ่มยาขยายเส้นเลือดแดง Hydralazine Minoxidil
กลไกการออกฤทธิ์และอาการข้างเคียง ยามีฤทธิ์ขยายเส้นเลือดโดยตรง ทำให้ความดันโลหิตลดลง ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ ได้แก่ หน้าแดง ใจสั่น ปวดหัว เป็นต้น
8.Nitrates กลไกการออกฤทธิ์ผ่านกลไก Nitric Oxide และไปขยาย หลอดเลือด เช่น Nitroprusside Nitroglycerine