Hip Disease พว. ชิดชนก ไชยกุล กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

นิติบุคคลอาคารชุดวันพลัส คอนโด นายน์ทีน 1
โทร. ๐-๔๕๗๙-๕๐๖๑ “ สุขภาพดีวิถีไทย สมุนไพร ได้มาตรฐาน บริการประทับใจ”
ชุมชนของเรา ชุมชนอบอุ่น MANAGEMENT BY P.PROPERTY MANAGEMENT.CO,LTD
การผลิตบ่อพัก ทำเอง ใช้เอง หจก. มภัสกาญ คอนสตรัคชั่น
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก จังหวัดนครปฐม ประจำเดือน กรกฎาคม 2555 ดร.นพ.ถวัลย์ พบลาภ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม.
เครื่องชี้วัดคุณภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อให้ผู้เรียน
ภาวะ โลก ร้อน.  ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็น ปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ
ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ 8 พฤษภาคม 2558
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
โครเมี่ยม (Cr).
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
1 ชุดการเรียนรู้ความปลอดภัยและอาชีวอนา มัย ด้านการยศาสตร์ เรื่องท่าทางการทำงานที่ถูก หลักการยศาสตร์ จัดทำโดย กรมสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงาน สนับสนุนโดยสำนักงานประกันสังคม.
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
แผนการตรวจรับรอง สถานที่ทำงานน่าอยู่ น่า ทำงาน โดยศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี วันเวลาหน่วยงานทีมประเมิน 11 กค.59 เช้า - รพท. นภ. บ่าย สสอ. เมือง ศูนย์อนามัย.
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
Hip Disease พว. ชิดชนก ไชยกุล กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์
การพยาบาลผู้ป่วย On Skin Traction
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
สมัยกลาง (EARLY MEDIVAL)
กลุ่มอาการของคนเนื่องจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อบางส่วน
ระดับความเสี่ยง (QQR)
เพลี้ยไฟมะม่วง ข่าวเตือนการระบาดศัตรูพืช Plant Protection Sakaeo
ตำรับยาเหลืองปิดสมุทร
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
รายวิชา งานไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับครูอุตสาหกรรมศิลป์
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
หลักการ และ วิธีการ ของ บี.-พี.
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไข ของกองวิจัยและพัฒนาข้าว
ยาที่ใช้ในโรคไตเรื้อรัง (Pharmacotherapy in CKD) ประกอบการประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพพยาบาล หน่วยปฐมภูมิ เขต 3 ภญ.จันทกานต์ อภิสิทธิ์ศักดิ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม.
บทที่ 4 การดูแลให้ได้รับการพักผ่อนและความปลอดภัย การจัดการสิ่งแวดล้อม การทำเตียง อ.กรวรรณ สุวรรณสาร.
การเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการน้ำดื่ม คณะแพทยศาสตร์
ความรู้เบื้องต้นระบบระบายอากาศ
Driver Service sect. Training. Video ภาพอุบัติเหตุ ที่ 1 สถานที่เกิดเหตุ : ทางด่วนขา เข้าบางนาตราด เวลาโดยประมาณ : 16: 45 น.
แผ่นดินไหว.
โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนบน Autosome
Delirium พญ. พอใจ มหาเทพ 22 มีนาคม 2561.
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
Catering SER 3102 วิชาการจัดเลี้ยง.
กฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ.....
ทิศทางการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)
นวัตกรรมทางการพยาบาล “FIFO cautery box”
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
คำชี้แจง เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
รู้เรื่องยา แท้งปลอดภัย
ยุคกลาง : Medieval Age The Black Death A.D 1348 อาจารย์สอง Satit UP.
รักษ์โลก ลดร้อน ด้วยสองมือ EENT.
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
นวัตกรรม ขวดเก็บ Sputum culture
งานวิสัญญี รพร.เดชอุดม
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
Service Profile : ตึกศัลยกรรมกระดูก ความเสี่ยง/ความท้าทาย
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
คุณต้องรู้ว่าคุณกำลังมีปัญหาอะไร?
หน้าที่ของ - ไนโตรเจน (เอ็น) - ฟอสฟอรัส (พี) - โพแทสเซียม (เค)
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
Welcome.. ข่าวประชาสัมพันธ์ กองคลัง สาระน่ารู้
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกบริเวณแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก หรือการปะทุของภูเขาไฟ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ซึ่งหากเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

Hip Disease พว. ชิดชนก ไชยกุล กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ พว. ชิดชนก ไชยกุล กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

โครงสร้าง สะโพกคือข้อต่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ลักษณะ Ball-and-socket เบ้าของสะโพกคือกระดูก Acetabulum หัวกระดูกที่เข้าในเบ้านี้คือ Femoral Head ซึ่งอยู่ปลายด้านบนสุดของกระดูก Femur (ต้นขา) ผิวของกระดูกทั้งสองส่วนปกคลุมด้วยกระดูกอ่อน เป็นเนื้อเยื่อบางๆห่อหุ้มรอบๆข้อสะโพก ที่เรียกว่า Synovial membrane เป็นเหมือนหมอนรับแรงกระแทกระหว่างข้อและช่วยให้ข้อหมุนได้ง่าย ในคนที่สะโพกแข็งแรงปกติ เนื้อเยื่อนี้จะมีน้ำหล่อเลี้ยงที่กระดูกอ่อน และช่วยลดการเสียดสีเวลาขยับสะโพก แถบของเนื้อเยื่อที่เรียกว่า Ligaments (The hip capsule) เชื่อมหัวสะโพกและเบ้าให้สอดรับกันอย่างมั่นคง

Photo

สาเหตุทั่วๆไปจากการปวดกระดูกสะโพก Osteoarthritis เป็นข้อเสื่อมที่เกิดจาก การเสื่อมตามอายุ โดยปกติจะเกิดในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป และมักจะมีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคข้อเสื่อม กระดูกอ่อนที่เป็นเหมือนหมอนรองรับแรงกระแทกของกระดูกสะโพกเสื่อมลงทำให้กระดูกข้อต่อเสียดสีกันจึงทำให้เกิดสะโพกยึดและปวดสะโพก ข้อเสื่อมอาจมีสาเหตุมาจากการเจริญเติบโตของสะโพกที่ผิดปกติตั้งแต่วัยเด็กด้วย

สาเหตุทั่วๆไปจากการปวดกระดูกสะโพก Rheumatoid arthritis เป็นโรคทางระบบภูมิคุ้มกันซึ่งทำให้ Synovial membrane เกิดการอักเสบและหนาตัว การอักเสบเรื้อรังจะทำลายกระดูกอ่อนและทำให้ปวดและข้อยึด โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคหลักในกลุ่มที่เรียกว่า Inflammatory arthritis

สาเหตุทั่วๆไปจากการปวดกระดูกสะโพก Post-traumatic arthritis อาจตามมาด้วยสะโพกบาดเจ็บหรือสะโพกหัก กระดูกอ่อนอาจจะถูกทำลายและทำให้ปวดสะโพกและข้อยึดในเวลาต่อมา Avascular necrosis สะโพกบาดเจ็บจากการที่สะโพกเคลื่อนหรือสะโพกหักอาจทำให้เลือดที่มาเลี้ยงบริเวณหัวกระดูกสะโพกไม่เพียงพอ จึงเรียกว่า Avascular necrosis เมื่อขาดเลือดมาเลี้ยงอาจทำให้เซลล์ผิวกระดูกตาย และตามมาด้วยข้อเสื่อม โรคอื่นๆบางโรคก็สามารถก่อให้เกิด Avascular Necrosis ได้

สาเหตุทั่วๆไปจากการปวดกระดูกสะโพก Childhood hip disease ทารกและเด็กบางคนมีปัญหาเรื่องสะโพก ถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาอย่างเรียบร้อยในวัยเด็ก แต่ก็อาจจะเกิดข้อเสื่อมได้ในอนาคต เพราะสะโพกอาจจะไม่เติบโตตามปกติ และผิวข้อก็ได้รับผลกระทบ

ถึงเวลาผ่าตัดสะโพกหรือยัง ? คนไข้ที่เหมาะสมในการผ่าตัด ไม่มีอายุหรือน้ำหนักตัวที่เป็นข้อห้ามในการผ่าตัดนี้ ดูจากความเจ็บปวดและความลำบากในการใช้งานสะโพกของคนไข้ โดยไม่คำนึงถึงอายุ คนไข้ส่วนใหญ่ที่รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมจะอายุประมาณ 50-80ปี แต่แพทย์จะประเมินเป็นรายๆไปโดยทุกอายุสามารถได้รับผลการผ่าตัดที่ดีเหมือนกันหมด ตั้งแต่วัยรุ่นที่เป็นข้อเสื่อมในช่วงอายุน้อยจนไปถึงสูงอายุที่ข้อเสื่อมตามวัย

เมื่อไหร่ที่สมควรผ่าตัด ปวดสะโพกจนทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ได้ เช่น เดิน หรือ งอเข่า ปวดสะโพกต่อเนื่องแม้จะพักอยู่เฉยๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ข้อสะโพกยึดทำให้ขยับ ยกขาได้น้อยลง ทานยาต้านการอักเสบ กายภาพ และใช้อุปกรณ์ค้ำยันแล้วไม่ได้ผล

Photo

Total Hip Replacement ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม วัสดุข้อเทียมที่ใส่เข้าไปจะไปแทนที่กระดูกที่เสื่อมและกระดูกอ่อนที่ผิวข้อ หัวกระดูกสะโพกที่เสียหายจะถูกเอาออกและแทนที่ด้วยก้านโลหะซึ่งนำไปวางตรงกลางเบ้าของข้อสะโพก ซึ่งมีทั้งแบบ Cemented หรือ press fit โลหะหรือ Ceramic ball ที่อยู่ตรงส่วนปลายด้านบนของ ก้านโลหะ จะถูกวางแทนในส่วนของหัวกระดูกสะโพกที่เอาออกไป ผิวกระดูกอ่อนของเบ้า (Acetabulum) จะถูกแทนที่ด้วย เบ้าโลหะ บางครั้งอาจต้องใช้ Screw หรือ Cement เพื่อยึดเบ้านี้ พลาสติก เซรามิค หรือ Metal spacer จะใส่อยู่ระหว่างหัวสะโพกอันใหม่กับเบ้าเพื่อให้ผิวข้อลื่น หมุนได้สะดวก

เตรียมตัวก่อนการผ่าตัด ผลการตรวจ - คนไข้ต้องได้รับการเจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และเอกซเรย์ปอด ดูแลผิวก่อนผ่าตัด - บริเวณผิวหนังไม่ควรมีแผลติดเชื้อใดๆ หรือมีการระคายเคืองก่อนผ่าตัด ถ้ามีให้แจ้งแพทย์เพื่อรักษาผิวหนังให้เรียบร้อยก่อนผ่าตัด บริจาคเลือด - คนไข้ หรือญาติ ต้องบริจาคเลือดก่อนการผ่าตัด เพื่อเก็บไว้ใช้หลังผ่าตัด

โรคประจำตัว และยาที่รับประทาน - แจ้งแพทย์ให้ทราบถึงโรคประจำตัวของคนไข้ และยาที่ทานอยู่ อาจจะปรึกษาอายุรแพทย์ร่วมด้วย เพื่อประเมินว่ายามีผลต่อการผ่าตัด หรือไม่ จะให้หยุดหรือทานต่อเมื่อใด (โดยเฉพาะยา Anti Coagulant) ลดน้ำหนัก - หากคนไข้น้ำหนักตัวมาก อาจจะต้องให้คนไข้ลดน้ำหนักก่อนการผ่าตัดเพื่อลดแรงกดจากน้ำหนักตัวมายังสะโพกและลดความเสี่ยงในการผ่าตัดด้วย

ตรวจฟัน - ถึงแม้ว่าการติดเชื้อจากการผ่าตัดสะโพกจะพบได้ไม่บ่อย การติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้หากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปสู่ระบบกระแสเลือด ดังนั้นการทำฟันใหญ่ๆ ควรจะทำก่อนที่จะผ่าตัดให้เรียบร้อย การผ่าตัดหลังทำฟันควรห่างไปอีกหลายสัปดาห์ ตรวจปัสสาวะ - คนไข้ที่มีประวัติติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือเพิ่งเป็นเร็วๆ นี้ควรจะพบแพทย์ทางเดินปัสสาวะเพื่อตรวจให้แน่ใจว่าสามารถผ่าตัดได้ก่อนผ่าตัด ชายสูงอายุที่มีโรคทางต่อมลูกหมากควรรับการรักษาให้เรียบร้อยก่อนผ่าตัด

Pre – op day สอนการประเมิน pain score สอนการป้องกัน Thromboembolism วิสัญญีพยาบาลประเมินคนไข้ว่าวิธีใดที่เหมาะกับคนไข้ที่สุด

Operation day NPO IV Fluid Retain Foley’s cath Pre - medication ตรวจเช็คเลือดที่จอง Antibiotic ก่อนไป OR

การผ่าตัด การใช้ยาชา ยาสลบ - วิธีทั่วไปๆ ของการระงับความรู้สึก มี 2 วิธีคือ General Anesthesia หรือ Spinal block วัสดุผิวข้อสะโพกเทียม

ขั้นตอนผ่าตัด ระยะเวลาผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง แพทย์จะตัดกระดูกอ่อนและกระดูกส่วนที่เสียหาย และใส่วัสดุข้อสะโพกเทียม เข้าไปแทนตามแนวกระดูกและโครงสร้างของสะโพก

Post op V/S Pain management Keep leg abduction to prevent dislocation of the prosthesis - abduction pillow turning with pillow between legs Observe wound drain (200-500 ml in 1st 24 h, ≤30 ml in 48 h

Prevent Thromboembolism Prevent infection Prevent pneumonia Wound care Physical therapy, use of assistive devices

อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ infection การติดเชื้อจะเกิดบริเวณผิวๆรอบๆแผลหรือลึกลงไปในวัสดุเทียม อาจเกิดขณะอยู่โรงพยาบาลได้หรือหลังกลับบ้านไปแล้วได้ และอาจเกิดหลังจากนั้นอีกหลายปีก็ได้ - การติดเชื้อเล็กน้อยจากแผลรักษาโดยยาฆ่าเชื้อ ถ้าติดเชื้อลึกลงไปอาจต้องผ่าตัดและเอาวัสดุข้อสะโพกเทียมออกมา การติดเชื้อจากส่วนใดๆ ก็ตามในร่างกายสามารถจะแพร่ไปบริเวณที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อได้ ดังนั้นควรดูแลเรื่องความสะอาดตามร่างกาย

การป้องกันการติดเชื้อ สาเหตุการติดเชื้อที่พบได้บ่อยของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกมาจากแบคทีเรียที่แพร่ในระบบเลือด จากการทำฟัน ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือติดเชื้อผิวหนัง สัญญาณเตือนการติดเชื้อ  ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ รีบแจ้งให้แพทย์ทราบทันที - เป็นไข้ (สูงกว่า 37.8 องศาเซลเซียส) - หนาวสั่น - ปวด บวม แดง ร้อน เพิ่มมากขึ้นรอบแผลสะโพก - แผลของเหลวซึมออกมา - ปวดสะโพกมากขึ้นทั้งขณะพักและทำกิจกรรม

อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ (ต่อ) ลิ่มเลือดแข็งตัว Thromboembolism การเกิดลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดดำหรือเชิงกรานเป็นอาการแทรกซ้อนที่เกิดได้บ่อยที่สุดของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ลิ่มเลือดเหล่านี้อันตรายถึงแก่ชีวิตหากหลุดไปในกระแสเลือดแล้วไปที่ปอด - ให้กระดกข้อเท้าในช่วงแรกๆ - ใส่เครื่องป้องกันบริเวณขา - ให้ยารับประทาน

สัญญาณเตือนของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน - ปวดน่องและขาซึ่งไม่เกี่ยวกับแผลผ่าตัด - ปวดหรือแดงร้อนที่น่อง - บวมบริเวณต้นขา น่อง ข้อเท้า เท้า สัญญาณเตือนของลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด - หายใจถี่แบบเฉียบพลัน - เริ่มปวดหน้าอกเฉียบพลัน - ปวดหน้าอกพร้อมๆ กับไอ

อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ (ต่อ) dislocation มีความเสี่ยงของหัวสะโพกหลุดออกจากเบ้าสูงในช่วงเดือนแรกๆ ของการผ่าตัดในขณะที่เนื้อเยื่อกำลังสมาน การเคลื่อนหลุดจะพบได้ไม่บ่อย ถ้าหัวสะโพกหลุดออกจากเบ้า การจัดให้เข้าที่จะทำให้มันกลับไปอยู่ที่เดิมได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ถ้าสะโพกยังคงเคลื่อนหลุดอีก อาจจะต้องมีการผ่าตัดซ้ำอีกรอบ

อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ (ต่อ) สะโพกหลวมและเสื่อม หลายปีผ่านไป สะโพกเทียมอาจจะสึกหรือหลวมได้จากการใช้งานทำกิจกรรมต่างๆ ทุกๆ วัน สามารถเกิดจากกระดูกบางลงตามธรรมชาติที่เรียกว่า Osteolysis ถ้าเจ็บจากสะโพกหลวมอาจต้องทำการผ่าตัดรอบสองที่เรียกว่า Revision

Discharge Plan การดูแลแผลผ่าตัด - คนไข้จะมีไหมเย็บแผล/max เย็บที่ผิวหนัง ซึ่งจะเอาออกประมาณ2อาทิตย์หลังผ่าตัด - พยายามเลี่ยงไม่ให้แผลเปียกจนกว่าแผลจะติดกันจนแห้งสนิท อาหารที่ควรทาน - ช่วงสัปดาห์แรกๆหลังผ่าตัดอาจอยากอาหารลดลง ควรทานอาหารให้ครบทุกหมู่และทานอาหารเสริมธาตุเหล็กซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เนื้อเยื่อที่แผลสมานติดกันได้ดีและกล้ามเนื้อแข็งแรง อย่าลืมเน้นอาหารเฉพาะโรคด้วย และดื่มน้ำมากๆ

Discharge Plan (ต่อ) ในช่วงอาทิตย์แรกหลังผ่าตัด คนไข้ควรที่จะสามารถกลับไปทำกิจกรรมเบาๆ ส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันได้ กิจกรรมที่คนไข้ทำได้ - ฝึกเดินเรื่อยๆ โดยใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เริ่มจากในบ้านก่อนแล้วค่อยๆ ออกไปนอกบ้าน - ออกกำลังกายวันละหลายๆ ครั้งและฝึกให้สะโพกแข็งแรงขึ้นด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีคนช่วย แต่ในช่วงอาทิตย์แรกๆ อาจจะมีนักกายภาพช่วยบ้างในช่วงแรก - การมีเพศสัมพันธ์ อาจจะต้องใช้เวลามากกว่า 6 สัปดาห์

Discharge Plan (ต่อ) หลีกเลี่ยงการลื่นหกล้ม - หากล้มในช่วงอาทิตย์แรกหลังผ่าตัดอาจมีผลทำให้ต้องผ่าตัดใหม่ซ้ำอีก ไม่แนะนำให้ขึ้นบันไดจนกว่าสะโพกจะแข็งแรงและขยับได้ คนไข้ควรใช้ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน ไม้เท้าสี่ขา หรือราวจับ หรือมีคนช่วยประคอง จนกว่าคนไข้จะทรงตัวดีขึ้น และแข็งแรงมากขึ้น

- มีราวจับที่มั่นคงในห้องน้ำ มีราวบันไดที่มั่นคงตลอดทาง Discharge Plan (ต่อ) การจัดระเบียบบ้าน - มีราวจับที่มั่นคงในห้องน้ำ มีราวบันไดที่มั่นคงตลอดทาง - เก้าอี้ที่นั่งสบาย มั่นคง มีที่วางเท้าให้สามารถยกขาให้สูงได้ มีพนักพิง มีที่วางแขน - มีเก้าอี้ไว้นั่งขณะอาบน้ำ - มีตัวช่วยใส่หรือถอด รองเท้า ถุงเท้า และตัวช่วยเอื้อมหยิบสิ่งของต่างๆเพื่อไม่ให้สะโพกต้องอมากเกินไป - เอาพรมที่อาจทำให้ลื่นและสายไฟที่วางระเกะระกะออกจากพื้นที่ทางเดินในบ้าน

Discharge Plan (ต่อ) เพื่อป้องกันข้อสะโพกเทียมเคลื่อนหลุดและฟื้นตัวได้ดี ในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัดต้องระวังดังนี้ - ห้ามไขว่ห้าง - ห้ามงอสะโพกมากกว่า 90 องศา - อย่าบิดเท้าเข้ามาหรือแบะออกมากเกินไป - ใช้หมอนข้างกั้นระหว่างขาตอนนอนจนกว่าแพทย์จะสั่งให้เอาออกได้

ป้องกันและดูแลข้อสะโพกเทียมให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น Discharge Plan (ต่อ) ป้องกันและดูแลข้อสะโพกเทียมให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น - ออกกำลังกายเบาๆ เพื่อจะรักษาความแข็งแรงและการเคลื่อนไหวสะโพก - ระมัดระวังเรื่องการหกล้มและบาดเจ็บเป็นพิเศษ ถ้ากระดูกขาหัก อาจจะต้องทำการผ่าตัดเพิ่มอีก - แจ้งให้ทันตแพทย์ทราบว่าคนไข้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมมา และอาจต้องทานยาฆ่าเชื้อก่อนทำฟัน - พบแพทย์เพื่อตรวจติดตามอาการหลังผ่าตัดเป็นประจำ เพื่อตรวจร่างกาย และX-rays เช็คดูความเรียบร้อยของข้อสะโพกเทียม

อย่าลืม! แจ้งให้ผู้อื่นทราบ ข้อสะโพกเทียมอาจจะกระตุ้นสัญญาณตรวจโลหะในเครื่องตรวจโลหะเพื่อความปลอดภัยที่สนามบินและทางเข้าตึก - แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบว่าคนไข้ได้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม หรือนำเอกสารไปยืนยัน เช่นใบรับรองแพทย์

Thank You