ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุน สมการของต้นทุนการผลิต = DM + DL + M.OH ระบบการบันทึกรายการเกี่ยวกับสินค้า มี 2 วิธี คือ 1. วิธีตรวจนับสินค้าเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory System) 2. วิธีตรวจนับสินค้าอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Inventory System)
ระบบการตรวจนับสินค้าคงเหลือ กิจการซื้อวัตถุดิบจากบริษัท นาถวีณา จำกัด เป็นเงิน 10,000.- โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (โดยการรับรองตั๋วแลกเงิน) บันทึกรายการด้วยระบบ Perpetual Inventory System Dr. วัตถุดิบ 10,000.- Cr. ตั๋วเงินจ่าย 10,000.- บันทึกรายการด้วยระบบ Periodic Inventory System Dr. ซื้อสินค้า 10,000.- Cr. ตั๋วเงินจ่าย 10,000.-
ความหมายของต้นทุน ต้นทุน หมายถึง สินทรัพย์ที่เกิดขึ้นและให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจต่อกิจการได้ในอนาคต โดยที่ต้นทุนที่ถูกใช้งานจะเปลี่ยนเป็น “ค่าใช้จ่าย” ของกิจการ แต่ถ้าต้นทุนที่เกิดขึ้นไม่ได้ให้ประโยชน์ต่อกิจการจะมีผลกระทบทำให้เกิด “ผลขาดทุน”
ชนิดของต้นทุน ต้นทุนจริง DM (จริง) + DL (จริง) + M.OH (จริง) ต้นทุนปกติ DM (จริง) + DL (จริง) + M.OH (จัดสรร) ต้นทุนมาตรฐาน DM (จัดสรร) + DL (จัดสรร) + M.OH (จัดสรร)
พฤติกรรมต้นทุน ต้นทุนคงที่ (Fixed Costs) ต้นทุนผันแปร (Variable Costs) ต้นทุนผสม (Mixed Costs)
วิธีการคำนวณต้นทุนการผลิต Full Costing คือการคำนวณต้นทุนการผลิตตามวิธีต้นทุนรวม หรือต้นทุนคิดเข้างาน ซึ่งวิธีนี้จะนำไปจดบันทึกบัญชีและสรุปรายงานทางการเงินนำเสนอต่อบุคคลภายนอก ซึ่งการคำนวณต้นทุนการผลิตนี้ ประกอบด้วย DM (VC) + DL(VC) + M.OH (VC) + M.OH (FC) Variable Costing คือการคำนวณต้นทุนการผลิตตามวิธีต้นทุนผันแปร หรือต้นทุนทางตรง ซึ่งวิธีนี้จะนำไปจดบันทึกบัญชีและสรุปรายงานทางการเงินนำเสนอต่อบุคคลภายในกิจการ ซึ่งการคำนวณต้นทุนการผลิตนี้ ประกอบด้วย DM (VC) + DL(VC) + M.OH (VC)
การบัญชีการเงิน (Financial Accounting) การบัญชีต้นทุน (Cost Accounting) การบัญชีเพื่อการจัดการ (Managerial Accounting)
บทบาทของการบัญชีต้นทุนในการบริหารธุรกิจ ธุรกิจโดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์ในการบริหารธุรกิจ คือ การดำเนินธุรกิจอย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางแผนไว้ ดังนั้นหลักการบริหารธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่ การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) การควบคุม (Controlling) การตัดสินใจ (Decision Making)