HARDWARE.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
เรื่อง แนวทางการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
Advertisements

เฉลยใบงานที่ 1 องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
HP- HP Pavilion dv6-3022TX ราคา 59,900 บาท. CPU : Intel Core i7-720QM (1.60GHz/L3 6 MB/QPI) Memory : 8GB DDR3 Harddisk : 640 GB 5400RPM Graphics : ATi.
การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
เรื่อง เทคโนโลยีบอรดแบนด์ไร้สาย
 เครือข่ายคอมพิวเตอร์  การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและ ความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับ การใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะ.
การจัดสเปกคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 3 ภาษาคำสั่งพื้นฐานที่ใช้เขียนโปรแกรม PLC
ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือซอฟต์แวร์ควบคุมการปฏิบัติการ ของคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการเป็นชุดคำสั่งที่ใช้ควบคุมระบบฮาร์ดแวร์และ.
FIX COMMON PC PROBLEMS By Missis Jatuporn Surinseng Missis Chamaiporn Sommit.
วิชา. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในชีวิตประจำวัน บทที่ 2
โดย คุณครูนัฏฐา อัครวงษ์ โรงเรียนวังข่อยพิทยา
จัดทำโดย ด. ญ. ดลยา มณีขัติย์ ชั้น ม.1/12 เลขที่ 18 ด. ญ. ณัฐธิดา วันเวียง ชั้น ม.1/12 เลขที่ 19 เสนอ อาจารย์ อรอุมา พงค์ธัญญะดิลก.
ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้
การสื่อสารข้อมูล.
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
โปรแกรมสต๊อกสินค้า และ โปรแกรมขายหน้าร้าน Nanosoft Smart INV.NET วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปและการ ประยุกต์ใช้งาน อ. วิสุตร์ เพชรรัตน์
อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ หน่วยรับเข้า และ หน่วยส่งออก ( In put, Out put )
เตชิษฐ์ เรือง ไพศาล.  คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้า กระแสตรงทำงาน  ข้อมูลภายในเป็นข้อมูลดิจิตอล  …..  แทนข้อมูลเหล่านี้ด้วยแรงดันไฟฟ้า.
Adaptive Software Development. วงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟแวร์ หรือ Software Development Life Cycle (SDLC) เป็นโครง ร่างหรือแนวทางวิธีการ เพื่อใช้ทำความเข้าใจและเพื่อ.
วิธีการเลือกซื้อ คอมพิวเตอร์. เนื้อหาในส่วนนี้จะให้รายระเอียดและขั้นตอน ในการเลือกซื้อ เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เราได้เครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ตรงกับความ.
บทที่ 5 ระบบหน่วยความจำ. หน่วยความจำเป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูล และ เป็นพื้นที่ที่ใช้สำหรับประมวลผล หน่วยความจำหลัก (RAM) ต้องทำงาน ด้วยการใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยงตลอดเวลา.
งานวิชา เทคโนโลยี สารสนเทศ 4/3 เรื่อง INPUT และ OUTPUT จัดทำโดย นาย ชาญชัย ศรีน้อย เลขที่ 3 นาย ณัฐดนัย จันทมาศ เลขที่ 4 นาย อุดมศักดิ์ เกื้อนะ เลขที่
Input Output อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เสนอ อ. อภิเดช จิตมุ่ง โดย นางสาว ผกาวดี ช่วงชุณส่อง เลขที่ 43 นางสาว ธนาภรณ์ คำเรือง เลขที่ 39 นางสาว ณัฐวรรณ ห่วงกลาง.
การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ การเชื่อมต่อเมาส์และ คีย์บอร์ด การเชื่อมต่อจอภาพ 1 2 ช่องเสียบหัวต่อ สายไฟ เข้ากับตัวเครื่อง และสายจอภาพ จอภ าพ คีย์บอ.
การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ ครูชาญณรงค์ ปานเลิศ โรงเรียนพระบางวิทยา ครูชาญณรงค์
ซอร์ฟแวร์ ( Software ). Microsoft excel Microsoft excel Microsoft power point.. Link Link.
หลักการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
ระบบสื่อประสม วิวัฒนาการและองค์ประกอบ
สื่อประสมเบื้องต้น.
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ (Personal Computer : PC)
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
“วิธีการใช้งาน PG Program New Version สำหรับ PGD”
stack #2 ผู้สอน อาจารย์ ยืนยง กันทะเนตร
IP-Addressing and Subneting
IP-Addressing and Subneting
มาตรฐาน IEEE มาตรฐาน IEEE
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ (Personal Computer : PC)
แนวทางการออกแบบโปสเตอร์
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 4 : สื่อกลางส่งข้อมูลและการมัลติเพล็กซ์ (Transmission Media and Multiplexing) Part3 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ.
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
บทที่ 1 โครงสร้างคอมพิวเตอร์พื้นฐาน
ความหมายของเลเซอร์ เลเซอร์ คือการแผ่รังสีของแสงโดยการกระตุ้นด้วยการขยายสัญญาณแสง คำว่า Laser ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation.
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
Basic Input Output System
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
บทที่ 3 แฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
บทที่ 8 การควบคุมระบบสารสนเทศทางการบัญชี : การควบคุมเฉพาะระบบงาน
ขั้นตอนการออกแบบ ผังงาน (Flow Chart)
บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
โดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์การแพทย์ ฯ
วิธีการกำหนดค่า Microsoft SharePoint ของคุณ เว็บไซต์ออนไลน์
Data storage II Introduction to Computer Science ( )
บทที่ 6 แนวคิดเทคโนโลยีเสมือนจริง
SMS News Distribute Service
บทที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
ภายในพีซีคอมพิวเตอร์
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
บทที่ 3 : รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายและส่วนประกอบของเครือข่ายท้องถิ่น (Topologies and LAN Components) Part1.
Multimedia และระบบความจริงเสมือน Virtual Reality, VR
บทที่ 9 การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting)
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน การเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก
หลักสูตรการบำรุงรักษาระบบโทรศัพท์
เครื่องโทรศัพท์ติดต่อภายใน intercommunication
เมนูหลัก ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

HARDWARE

ภายในพีซีคอมพิวเตอร์ ส่วนที่ 1 ภายในพีซีคอมพิวเตอร์

Personal Computer : PC หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มีการแบ่งส่วนประกอบของพีซีคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ส่วนประกอบของเมนบอร์ด 2. อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ส่วนประกอบของ Main Board เมนบอร์ด (Main Board) มาเธอร์บอร์ด (Mother Board) หรือ ซิสเต็มบอร์ด (System Boards) ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ ที่เป็นหัวใจสำคัญสำหรับพีซีคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเมนบอร์ด เป็นแผงวงจรหลักที่ใช้สำหรับติดตั้งหรือต่อพ่วงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ องค์ประกอบที่สำคัญของเมนบอร์ด คือ การเชื่อมโยงของสายไฟ ไปยังอุปกรณ์บนเมนบอร์ด ช่องทางเดินของสัญญาณต่าง ๆ บนเมนบอร์ด จะเป็นลายทองแดง เรียกว่า ระบบบัส

1. เมนบอร์ดที่รวมชิ้นส่วนอุปกรณ์บนแผง (Integrated Main board) จะมีการบรรจุอุปกรณ์พื้นฐานสำคัญต่าง ๆ ไว้บนบอร์ด (on board)

2. เมนบอร์ดที่ไม่บรรจุชิ้นส่วนอุปกรณ์มาให้ (Non-Integrated Mainboard) เป็นเมนบอร์ดที่ไม่มีการบรรจุอุปกรณ์ I/O มาให้ มีเพียงพอร์ตเชื่อมต่อกับคีย์บอร์ดหรือเมาส์ให้เท่านั้น หากต้องการใช้อุปกรณ์ใด ๆ ก็ต้องซื้อมาติดตั้งเพิ่มเติมเอง ประกอบด้วย การ์ดจอ การ์ดเครือข่าย การ์ดเสียง เป็นต้น ข้อดี หากชิ้นส่วนใดเสียหายก็สามารถแทนที่ใหม่ได้ง่าย ข้อเสีย คือ จะมีสายอะแดปเตอร์การ์ด และสายสัญญาณจำนวนมาก

Form Factors บอร์ดแบบ ATX เมนบอร์ด ATX มีขนาด 12 x 9.6 นิ้ว เป็นขนาดที่มาตรฐานที่สามารถเปลี่ยนถอดกันได้มีการระบายความร้อนได้ดี สนับสนุนการทำงาน ที่เรียกว่า Soft Power Off คือ สั่งปิดเครื่องผ่านซอฟต์แวร์ปฏิบัติการ แทนการปิดสวิตซ์

Form Factors 2. บอร์ดแบบ Micro ATX

Form Factors 3. บอร์ดแบบ Flex ATX มีขนาด 9 x 7.5 นิ้ว เพื่อให้ขนาดของพีซีมีขนาดเล็กลงไปอีก อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เป็นแบบ Onboard

Form Factors 4. บอร์ดแบบ BTX (Balance Technology Extended) จุดประสงค์ให้ตำแหน่งอุปกรณ์ที่มีความร้อนสูง ได้แก่ ซีพียู ชิปเซต และกราฟิกคอนโทรลเลอร์ มีพื้นที่เพียงพอต่อการบรรจุฮีทซิงค์ขนาดใหญ่ เพื่อให้ถ่ายเทความร้อนภายในเคสได้ดียิ่งขึ้น

P4M890T-M

ชิปเซต (Chipset) แพลตฟอร์ม Intel

ชิปเซต (Chipset) แพลตฟอร์ม AMD

ชิบเซต (Chipset) คือ กลุ่มของชิปเซมิคอนดักเตอร์ เป็นตัวควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของเมนบอร์ด โดยจะทำหน้าที่เชื่อมต่อหรือประสานการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็นตัวจัดการอินเตอร์เฟซของการ์ดเพิ่มขยาย หน่วยความจำ อุปกรณ์รอบข้าง ตัวควบคุมฐานเวลา ควบคุมระบบบัสของซีพียู ระบบบัสของสล็อต รวมถึงควบคุมการติดต่อสื่อสารกับพอร์ต (Port) ต่างๆ เช่น Communication Port, USB Port แบ่งออกเป็น 2 ประเภท หลัก ๆ คือ ชิบเซตนอร์ทบริดจ์ และ เซาท์บริดจ์ เรียกได้ชิปเซต เป็นหัวใจหลักของเมนบอร์ดทุกรุ่นเลยก็ว่าได้ประสิทธิภาพของเมนบอร์ดมีชิปเซ็ทเป็นตัวบ่งชี้

ชิปเซต North Bridge                  เป็นชิปเซตหลักที่สำคัญที่สุด มีหน้าที่ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลของซีพียูและแรม ตลอดจนสล็อตที่ใช้กับการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ซึ่งทำงานด้วยความเร็วสูง ชิปเซต  North Bridge   จะถูกปิดด้วยแผงระบายความร้อน หรือบางตัวที่มีการ์ดแสดงผลอยู่ภายในก็อาจจะต้องติดตั้งพัดลม/เพิ่มเติมด้วย

ชิปเซต  South Bridge                 ชิปเซต South Bridge  มีขนาดเล็กกว่า North Bridge  ทำหน้าที่ควบคุมสล็อตของการ์ดอื่นๆ ควบคุมดิสก์ไดรว์ต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ด เมาส์ หรือพอร์ตต่างๆ ที่อยู่ด้านหลังเครื่อง  การที่จะรู้ได้ว่าเครื่องของเราจะสามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์ใดได้บ้าง  สามารถดูได้จากเบอร์ของชิปเซต  South Bridge           ชิปเซต  South Bridge  ส่วนมากจะใช้กับชิปเซตจาก Intel  เพราะโครงสร้างของชิปเซต South Bridge  สำหรับซีพียูของ AMD นิยมทำแบบ Single Chip คือเป็นชิปเซตตัวเดียวโดยไม่ต้องมีชิปเซต South Bridge อีกต่อไป

ไบออส (Basic Input / Output System : Bios) เป็นซอฟต์แวร์ระดับต่ำ (Low-Level Software) มีส่วนสำคัญต่อการบูตเครื่อง ไบออสจะทำหน้าที่ตรวจสอบ (Detect) อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ แลตอบสนองการทำงานของระบบปฏิบัติการ ในขณะบู๊ตเครื่องผ่านกระบวนการตรวจสอบเครื่อง เรียกว่า POST (Power on self test) จะมีเสียง Beep 1 ครั้งก่อนที่จะเรียกใช้ระบบปฏิบัติการต่อไป ซอฟต์แวร์ที่บรรจุอยู่ในชิป Bios เรียกว่า เฟิร์มแวร์ (Firmware)

CMOS (Complementary Metal-Oxide Semiconductor)

สล็อตหน่วยความจำ (Memory Slots) หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ เรียกว่า RAM (Random Access Memory) สำหรับจัดเก็บข้อมูลแบบชั่วคราวในระหว่างการปฏิบัติงาน เมื่อปิดเครื่องข้อมูลจะหายไป

หน่วยความจำแคช (Cache Memory) ทำหน้าที่เป็นที่พักข้อมูล และเตรียมข้อมูลที่ซีพียูมักเรียกใช้งาน อยู่บ่อย ๆ ให้ซีพียูนำไปประมวลผล CPU L1 L2 L3

ซ็อกเก็ตโปรเซสเซอร์ (Processor Sockets) สำหรับใส่ ซีพียู โดยการใส่ลงในซ็อกเก็ต

พอร์ต I / O พอร์ต SVGA ใช้สำหรับเชื่อมต่อเข้ากับ จอภาพ CRT หรือ LCD พอร์ต PS/2 ( 6 pin) หรือ Mini Din สำหรับเชื่อมต่อกับคีย์บอร์ดและเมาส์ พอร์ตอนุกรม (9 pin) สำหรับเชื่อมต่อโมเด็มหรือสแกนเนอร์ พอร์ตขนาน (25 pin) สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องพิมพ์

พอร์ต IEEE 1394 สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ส่งผ่านความเร็วสูง เช่น กล้องดิจิตอล วิดีโอ พอร์ตRJ-45 สำหรับเชื่อมต่อกับหัว RJ-45 ที่ใช้สำหรับเครือข่าย LAN พอร์ตUSB สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่มีพอร์ตแบบ USB พอร์ตออดิโอ สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ออดิโอ ประกอบด้วยลำโพง ไมโครโฟน Line In

สล็อต PCI (Peripheral Component Interconnect)

สล็อต AGP (Accelerated Graphics Port) สำหรับเชื่อมต่อการ์ดวิดีโอ หรือการ์ดจอ ปกติสล็อตจะมีสีน้ำตาล PCI Express ชื่อย่อ PCle จะอยู่บนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ถูกออกแบบมาให้ใช้แทนสล็อต PCI และ AGP แต่ยังไม่แพร่หลายมากนัก

ปัญหาคอขวด เป็นปัญหาหลักที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้ ปัญหา คอขวด คือ ปัญหาที่ความเร็วของแต่ละอุปกรณ์ไม่เท่ากัน เพราะส่วนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นมาก คือ CPU แต่ในขณะที่อุปกรณ์อย่างอื่นก็เร็วแต่เร็วไม่ทัน CPU ทำให้ CPU ต้องหยุดรอโดยเปล่าประโยชน์ นักพัฒนา HARDWARE พยายามแก้ไขมาตลอด แนวทางใหม่เพื่อเพิ่มความเร็ว สำหรับPCI มีการออกแบบ PCI-X (extended) สำหรับ Server และ PCI Express สำหรับ PC ในปี 2002 ได้มีการเปิดตัวมาตรฐาน PCI Express (3GIO หรือ 3rd Generation I/O โดยมี ISA เป็น 1st Generation และ PCI เป็น 2nd Generation) ซึ่งเป็น Technology PCI แบบใหม่ที่ยอมให้อุปกรณ์ภายใน PC เช่น CPU ติดต่อโดยตรงกับอุปกรณ์ที่ต้องการติดต่อได้ทั้งหมดโดยแยกจากกันเป็นอิสระและสามารถเชื่อมต่อกันได้เต็ม bandwidth ซึ่งเป็นแบบ Point to Point หรือติดต่อกันโดยไม่ต้องแบ่ง bandwidth กับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ

รูป Mainboard BTX ต้นแบบที่มีหลากหลาย Slot อยู่รวมกัน

รูป Slot เทียบระหว่าง PCI Express x16 กับ PCI Express x1

ระบบ Bus ยังคงเป็นแบบอนุกรมซึ่งสามารถส่งและรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน โดยจะส่งข้อมูลอยู่ในรูปแบบของ Packet เป็นแบบเดียวกับการทำงานของ OSI model ใน Layer 3 (network Layer) การส่งข้อมูลของ PCI Express จะส่งไปตาม Line หรือ Lane ซึ่งต่อตรงกับอุปกรณ์ที่กำลังติดต่อด้วย และค่าที่ระบุว่ามีกี่ Line หรือ Lane คือ ตัวเลขหลัง “X” โดย x1 = 1 Line, x4 = 4 Line, x8 = 8 Line และ x16 = 1 6 Line สำหรับความเร็วนั้นเนื่องจาก PCI Express จะส่งข้อมูลไปกลับได้พร้อมกัน จึงต้องคิดเป็น 2 เท่า ฉะนั้น เมื่อความเร็วถูกระบุที่ 1 GB/s สำหรับ 4x ความเร็วรวมจะอยู่ที่ 2 GB/s

โดย PCI Express ได้ออกมา 2 Version คือ - X1 ซึ่งใช้กับอุปกรณ์ที่ไม่ต้องการ Bandwidth สูง หรือเพียง 400 MB/s PCI Express 1X เป็น Interface สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ internal แบบใหม่ที่จะถูกนำมาใช้แทน PCI - X16 ที่ใช้กับ Graphic Card ที่ 4 GB/s PCI Express 16X เป็นช่องแบบ PCI Express 16X ส่วนใหญ่จะมีไว้เสียบการ์ดจอเป็นหลัก แต่ก็รองรับอุปกรณ์ที่ใช้อินเตอร์เฟชแบบ PCI Express ได้ทุกชนิด การ์ดจอ

อุปกรณ์ที่เป็นมาตราฐาน PCI-Express PCI-EXPRESS จะมาแทนที่ Slot AGP ได้อย่างไร จุดที่แตกต่างระหว่าง Slot AGP กับ Slot PCI คือ Slot APG ไม่ต้องผ่าน Chipset Southbridge แต่วิ่งได้ตรงเข้า CPU เลย และ ยังมีความเร็วสูงกว่า ทำให้ Slot AGP เข้ามาแทนที่ Slot PCI สำหรับการ์ดจอ จนมาถึงจุดวันนี้ Slot AGP ได้มาถึงทางตัน ซึ่งไม่สามารถตอบสนองความต้องการ จึงเกิด PCI-EXPRESS ขึ้น อุปกรณ์ที่เป็นมาตราฐาน PCI-Express

เปรียบเทียบ AGP กับ PCI-EXPRESS 1. เนื่องจาก Slot AGP ไม่สามารถจ่ายไฟได้เพียงพอโดย สามารถจ่ายไฟได้เพียงแค่ 25 watt แต่ การ์ดจอรุ่นใหม่มีความต้องการมากกว่าประมาณ 50- 100watt แต่ PCI-EXPRESS สามารถจ่ายไฟได้ถึง 75 watt 2. ส่วนที่สอง ในทางข้อมูล Slot AGP สามารถ ส่งข้อมูลได้ 2.1 G/b แต่ PCI-EXPRESS สามารถ ทำได้ 4 G/B ซึ่งช่วยลดปัญหาคอขวดลงได้ นักพัฒนา HARDWARE สามารถสร้างสิ่งใหม่ที่หน้าสนใจที่ Slot AGP ไม่สามารถทำได้เช่น เทคโนโลยี NVIDIA® TurboCache™ หรือ NVIDIA SLI Technology ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าจับตามองมากที่สุดในขณะนี้

ฟลอปปีดิสก์คอนเน็กเตอร์ (Floppy Disk Connectors) ใช้สำหรับเชื่อมต่อสายแพ กับฟลอปปีดิสก์ไดรฟ์

ฮาร์ดดิสก์คอนเน็กเตอร์ (Harddisk Connectors) ใช้เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ และ ซีดีรอม IDE 1 เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ IDE 2 เชื่อมต่อกับซีดีรอม คอนเน็กเตอร์ แบบ EIDE (Enhanced Integrated Drive Electronic) พบได้ในเมนบอร์ดทั่ว ๆ ไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ฮาร์ดิสก์ หรือเครื่องอ่านซีดี จะมี 40 พิน การถ่ายโอนข้อมูลเป็นแบบขนาน

คอนเน็กเตอร์แบบ SATA (Serial Advanced Technology Attachment) เป็นมาตรฐานใหม่ที่จะนำมาใช้ทดแทนแบบ EIDE ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ มีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสูงกว่า มีจำนวนพิน 15 พิน SATA ให้แบนด์วิดในการส่งข้อมูลที่สูงกว่า และสายเล็กกว่าไม่เกะกะ

คอนเน็กเตอร์ แบบ SCSI (Small Computer System Interface) นำมาใช้กับเครื่อง Server เป็นหลัก ใช้เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI โดยตรง

เพาเวอร์ซัพพลาย เป็นอุปกรณ์แหล่งจ่ายไฟ หน้าที่หลัก คือ เปลี่ยนแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับจากไฟบ้าน 220 โวลต์ (AC) ให้เป็นกระแสตรง(DC) ขนาด 250-400 วัตต์ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์

เพาเวอร์คอนเน็กเตอร์ของฟลอปปีดิสก์ไดรฟ์ นำมาใช้กับฟลอปปีดิสก์ไดรฟ์ มีขนาด 4 พิน Molex Connectors นำมาใช้กับอุปกรณ์ ฮาร์ดดิสก์ชนิด EIDE เครื่องอ่านซีดี ดีวีดี มี 4 พิน เพาเวอร์คอนเน็กเตอร์ของเมนบอร์ด จ่ายไฟให้กับเมนบอร์ด เพาเวอร์คอนเน็กเตอร์ SATA ออกแบบมาเพื่อใช้กับอุปกรณ์ Serial ATA เช่น ฮาร์ดดิสก์ SATA

ซีพียูและหน่วยความจำ 2 ซีพียูและหน่วยความจำ

วัตถุประสงค์ อธิบายหลักการทำงานของซีพียูได้ อธิบายคุณลักษณะที่สำคัญของซีพียูได้ บอกชนิดของซีพียู Intel ได้ บอกอุปกรณ์ระบายความร้อนของซีพียูได้ อธิบายและจำแนกประเภทต่าง ๆ ของหน่วยความจำ บอกคุณสมบัติต่าง ๆ ของแรมที่ใช้พิจารณาเลือกซื้อได้

ซีพียู (CPU) หรือ Processor ซีพียู (CPU) ย่อมาจาก Central Processing Unit หรือ หน่วยประมวลผลกลาง เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุด เพราะเปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่หลักในการคิด คำนวณ ประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนวณด้านตัวเลข หรือด้านตรรกะ เมื่อมีการรับส่งข้อมูลเข้ามาจะถูกจัดเก็บหรือพักไว้ที่หน่วยความจำก่อนที่จะนำไปประมวลผล และยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานส่วนต่าง ๆภายในคอมพิวเตอร์ด้วย

หน่วยคำนวณและตรรกะ(ALU) หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยความจำหลัก (PSU) อุปกรณ์รับเข้า (Input Devices) อุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) หน่วยควบคุม (CU) หน่วยคำนวณและตรรกะ(ALU) หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยความจำหลัก (PSU) หน่วยความจำรอง (SSD)=I/O Devices Bus Bus Bus ซีพียู เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในประมวลผลข้อมูลและควบคุมการทำงานของระบบ ความเร็วในการทำงานของซีพียูจะมีหน่วยเป็นเมกะเฮิรตซ์ (MHz) โดยวัดจาก ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาที่มีแหล่งกำเนิดมาจากส่วน ที่ เรียกว่า คล็อก (Clock)

อินเทล (Intel) คือ บริษัทเก่าแก่ที่เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีการผลิตซีพียู ซึ่งมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและยาวนานที่สุด เริ่มตั้งแต่รุ่น 8088, 80286, 80386, 80486… เอเอ็มดี (AMD) เป็นบริษัทคู่แข่งที่สำคัญของอินเทล ปัจจุบันซีพียูจากค่ายเอเอ็มดีมีประสิทธิภาพสูงมากจนเป็นที่ยอมรับของตลาด และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซีพียูจากเอเอ็มดี เช่น K5, K6,และวีพียูรุ่นล่าสุด คือ K7… ไซริกซ์ (Cyrix) ปัจจุบันยังได้รับความนิยมน้อยอยู่เมื่อเทียบกับซีพียูจากเพนเทียมและเอเอ็มดี แต่ก็เป็นซีพียูที่มีราคาถูกและมีคุณภาพใช้ได้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ต้องการซีพียูราคาถูก ซีพียูจากไซริกซ์ เช่น 6X86, 6X86L,6X86ML…

คุณสมบัติสำคัญของโปรเซสเซอร์ Intel ประกอบด้วยเทคโนโลยี ดังนี้ ซีพียูตระกูลอินเทลเพนเทียมโฟร์ เป็นอีกซีรี่หนึ่งที่ เต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยขนาด L2 Cache 512KB ความเร็วเร็วบัส 533MHz FSB ที่ใช้เทคโนโลยี ในการผลิตที่ 0.13 ไมครอน มีความเร็วตั้งแต่ 2.40 GHz, 2.66 GHz, 2.80 GHz และ 3.06 GHz นอกจากนั้นยังจะมีซีพียูที่รองรับเทคโนโลยี Hyper-Threading ที่สนับสนุนการทำงานกับหน่วยความจำ DDR , SDRAM รองรับความเร็ว 333/ 266 MHz Intel  Hyper-Threading  เป็นการจำลอง CPU 1 ตัว ให้เหมือนว่ามี CPU 2 ตัว นั่นคือ 2 threads ทำให้ประมวลผลเหมือน Core2Duo  ทำให้ใช้ CPU ได้เต็มที่มากขึ้น

ซีพียูตัวใหม่จากทาง อินเทล ที่ได้ยินคุ้นหูกันในชื่อของ "คอนโร" (Conroe) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ Core 2 Duo แพ็คเกจของซีพียู Conroe ยังคงใช้ซอคเก็ต LGA775 ใช้กับเมนบอร์ด LGA775 ในท้องตลาดปัจจุบันต้องใช้กับเมนบอร์ดที่มีการออกแบบมารองรับกับ Core 2 Duo

เทคโนโลยีโปรเซสเซอร์แบบหลายแกน (Multicore) Intel® Core™ 2 Extreme Quad-Core Processor QX6700 เป็นรูปแบบซีพียูตัวเดียว แต่ภายในบรรจุแกนสมองมากกว่า 1 ตัว เรียกว่า เทคโนโลยีมัลติ-คอร์ ซีพียูระดับ "ควอด-คอร์" ตัวแรกของแพลทฟอร์มเดสก์ท็อป ที่มีแกนประมวลผลมากถึง 4 แกนในซีพียูตัวเดียว ภายใต้ชื่อของ Intel Core 2 Extreme Quad-Core Processor QX6700 ได้นำเอาชิป Dual-Core จำนวนสองตัวเข้ามารวมกันไว้ภายใต้ซีพียูแพ็คเกจเดียวกัน (ก็คือเอา Conroe สองตัวมาวางไว้คู่กัน เพื่อรวมดูอัล-คอร์สองตัวให้กลายเป็น 4 คอร์) และพัฒนาเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารระหว่างแกนประมวลผล แต่ละแกน เพื่อให้ระบบมองเห็นเป็น 4 คอร์

Core i มี 2 CPU จำลอง ได้ 4 threads ด้วยเทคโนโลยีไฮเปอร์เทรดดิ้ง (Hyper-Threading) ระบบปฏิบัติการจะมองเห็น CPU เป็น 2 ตัว (ทั้งที่จริงมีแค่ตัวเดียว) ทำให้การประมวลผล สามารถทำงานได้พร้อมๆ กัน 2 โปรเซส ทำให้สามารถลดเวลาการทำงานลงได้มาก

Intel Core i3 ความสามารถในการประมวลผล อยู่ในรดับ ดี ทำงานพร้อมกัน 4 เธรด เทคโนโลยี Intel® Hyper-Threading เพื่อการประมวลผลที่เต็มประสิทธิภาพ กราฟิก Intel® HD  เพื่องานด้านกราฟฟิกและการประมวลด้านเสียงที่สมจริง Intel Core i5 ความสามารถในการประมวลผล อยู่ในรดับ ดีมาก ทำงานพร้อมกัน 4 เธรด เทคโนโลยี Intel® Hyper-Threading เพื่อการประมวลผลที่เต็มประสิทธิภาพ กราฟิก Intel® HD  เพื่องานด้านกราฟฟิกและการประมวลด้านเสียงที่สมจริง เทคโนโลยี Intel® Turbo Boost ปรับความเร็วในการทำงานให้มากขึ้น เมื่อระบบต้องการ

Intel Core i7 ความสามารถในการประมวลผล อยู่ในรดับ ดีที่สุด ทำงานพร้อมกัน 8 เธรด เทคโนโลยี Intel® Hyper-Threading เพื่อการประมวลผลที่เต็มประสิทธิภาพ กราฟิก Intel® HD  เพื่องานด้านกราฟฟิกและการประมวลด้านเสียงที่สมจริง เทคโนโลยี Intel® Turbo Boost ปรับความเร็วในการทำงานให้มากขึ้น เมื่อระบบต้องการ เพิ่มประสิทธิภาพโดย ! การรวมกันของแคชที่มีขนาดใหญ่กว่าและความถี่ในการทำงานที่สูงกว่า

หน่วยความจำ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. หน่วยความจำหลักน่วยความจำหลัก (Main Memory) อยู่ภายในตัวเครื่อง ได้แก่ - ROM (Read Only memory) หมายถึงหน่วยความจำที่จะถูกอ่านได้อย่างเดียวเท่านั้น โดยจะเก็บคำสั่งหรือโปรแกรมไว้อย่างถาวร แม้ปิดเครื่องก็จะไม่ถูกลบ - RAM (Random access memory) หมายถึงหน่วยความจำที่ใช้ในการจดจำข้อมูลหรือคำสั่งขณะที่เครื่องทำงาน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือคำสั่งได้ ตลอดเวลาที่ยังเปิดเครื่อง แต่เมื่อปิดเครื่องข้อมูลและโปรแกรมจะถูกลบหายไป 2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) อุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรม  เหมือนกับ หน่วยความจำหลัก แต่ต่างจากหน่วยความจำหลัก คือ    หน่วยความจำรอง สามารถจัดเก็บข้อมูล และโปรแกรมไว้ใช้ในภายหลังได้  แม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์  ข้อมูลและโปรแกรมที่เก็บไว้  ไม่สูญหายหรือถูกลบทิ้ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

หน่วยความจำหลักรอม (ROM) หน่วยความจำแบบถาวร หรือ รอม (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำชนิด Nonvolatile Memory คือไม่ขึ้นอยู่กับกระแสไฟฟ้าที่จ่ายเข้ามาโดยข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำ ROM จะไม่ถูกลบทิ้งถึงแม้จะปิดเครื่องไปแล้วก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้จะประกอบไปด้วยชุดคำสั่งการเริ่มต้นการทำงานของเครื่อง และเป็นข้อมูลชนิดอ่านอย่างเดียว ไม่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมได้อีก

หน่วยความจำแบบชั่วคราว หรือ แรม (RAM : Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำชนิด Volatile Memory คือสามารถเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าเข้ามาเท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำแรมจะสูญหายไปทันที ดังนั้นถ้าต้องการเก็บข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำแรม จะต้องถ่ายเทข้อมูลเหล่านั้นไปเก็บไว้ในหน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)

หน่วยความจำแรม แบ่งตามคุณสมบัติได้ ดังนี้ หน่วยความจำแบบ Parity เป็นหน่วยความจำที่มีกลไกตรวจสอบข้อมูลที่บันทึกอยู่ภายในหน่วยความจำ ซึ่งจะใช้บิตพาริตี้ ในการตรวจสอบข้อผิดพลาด ใช้ตรวจสอบอย่างเดียว ไม่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้ หน่วยความจำแบบ Non-Parity นำไปใช้งานทั่วไป พีซีส่วนใหญ่มักใช้แรมแบบ Non-Parity นำมาใช้เพื่อเพิ่มความจุของหน่วยความจำหลัก และราคาถูก หน่วยความจำแบบ ECC (Error Checking and Correction) เป็นหน่วยความจำที่มีกลไกตรวจสอบข้อผิดพลาด และสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้ด้วย แต่มีราคาสูง มักใช้งานกับเครื่อง Server

หน่วยความจำแรม ที่นำมาใช้กับพีซี ประกอบด้วย 2 ชนิด คือ DRAM (Dynamic Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องรีเฟชตัวเองตลอดเวลา เพื่อมิให้ข้อมูลที่บันทึกเสียหาย เป็นหน่วยความจำที่ราคาถูก และความจุสูง จึงนิยมนำมาใช้เป็นหน่วยความจำหลัก ซึ่ง DRAM ได้รับการพัฒนาเป็นหน่วยความจำชนิดต่าง ๆ เช่น SDRAM, DDR, DDR2, DDR3 … SDRAM (Synchronous Dynamic Random Access Memory) เป็นแรมที่มีการขนถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วเดียวกันกับระบบบัส แต่ปัจจุบันยกเลิกใช้แล้ว แผงวงจรมีจำนวน 168 พิน และร่องระหว่างพิน 2 ร่อง ใช้ไฟฟ้าที่แรงดัน มากกว่า 3.3 โวลต์ DDR-SDRAM (Double Data Rate – SDRAM) คล้ายกับ SDRAM แต่การขนถ่ายข้อมูลมีความเร็วสูงกว่า 2 เท่า แผงวงจรมีจำนวน 184 พิน และมีร่องระหว่างพิน 1 ร่อง ใช้ไฟฟ้าที่แรงดัน 2.5 โวลต์ เหมาะสมกับการนำไปใช้กับโน๊ตบุ๊ค

4. DDR2-SDRAM (Double Data Rate 2 - SDRAM) พัฒนาจาก DDR-SDRAM โดยเพิ่มอัตราความเร็วในการขนถ่ายข้อมูลสูงขึ้น ด้วยการทำงานแบบ Dual Channel แผงวงจรมีจำนวน 240 พิน มีร่องพิน 1 ร่อง 5. DRDRAM (Direct Rambus Dynamic Random Access Memory) พัฒนาโดยบริษัท Rambus ได้รับการสนับสนุนจาก Intel มีอัตราการถ่ายโอนข้อมูลสูง แต่มีราคาแพง ไม่ได้รับความนิยม 6. SRAM (Static RAM) มีความเร็วสูงกว่าแบบ DRAM และไม่ต้องรีเฟชไฟฟ้าเข้าไปเพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย แต่มีราคาแพงกว่า มักนำมาใช้กับหน่วยความจำ Cache

การทำงานของคอมพิวเตอร์ INPUT PROCESSING OUTPUT แสดงผล รับข้อมูล ประมวลผล STORAGE เก็บข้อมูล

อุปกรณ์นำเข้า (Input Devices) แผงแป้นอักขระ(Keyboard) เม้าส(Mouse) จอสัมผัส (Touch screen) เครื่องกราดตรวจด้วยแสง ปากกาแสง (Light pen) อุปกรณ์นำเข้าด้วยเสียง เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) กล้องถ่ายรูปดิจิตอล(Digital camera)

แผงแป้นอักขระ(Keyboard) เม้าส์ (Mouse) ส่งข้อมูลสู่หน่วยความจำด้วยการเลื่อนตัวชี้ (Pointer)ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ จอสัมผัส (Touch screen) ส่งข้อมูลสู่หน่วยความจำด้วยการสัมผัสบนจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การเบิก-ถอนเงินสดจากตู้ATM, การซื้อตั๋วภาพยนตร์ การตรวจสอบผลการเรียนของนักศึกษา

เครื่องกราดตรวจด้วยแสง (Scanner) อ่านข้อมูลโดยการใช้ลำแสงกราดผ่านตัวเลข,ข้อความ,สัญลักษณ์ เครื่องอ่านรหัสแท่ง (BarCode) อ่านรหัสข้อมูลที่พิมพ์เป็นแถบ/แท่งติดอยู่บนหีบห่อ 2.MICR (Magnetic Ink Character) อ่านตัวเลข เช่น เลขที่เช็ค,เลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร ที่พิมพ์อยู่บนเอกสารของธนาคาร อุปกรณ์รับเข้าด้วยอุปกรณ์ที่ใช้เสียงเป็นสื่อนำเข้าข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์แทนการใช้อุปกรณ์รับเข้าอื่น เช่น ไมโครโฟนเสียง

ปากกาแสง (Light Pen) อุปกรณ์ที่ผู้ใช้สามารถเขียน หรือวาดภาพบนจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายรูปดิจิตอล (Digital camera)

อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ (Output Devices) เครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer) ใช้หัวเข็มกระแทกบนผ้าหมึกให้เกิดตัวอักษรบนกระดาษคล้ายหลักการของเครื่องพิมพ์ดีด เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต (Inkjet Printer) เป็นแบบพ่นหมึก เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) เป็นแบบฉาบผงหมึก (Toner) โดยใช้แสงเลเซอร์สแกนบนดรัมก่อน จากนั้นจึงให้กระดาษผ่านไปยังดรัมเสมือนดรัมเป็นแท่นพิมพ์ เครื่องพิมพ์ ความเร็วสูง Line Printer  Printronix  ซึ่งมีความเร็วตั้งแต่ 500-2,000 บรรทัดต่อนาที มีความทนทานสูง เหมาะสำหรับงานพิมพ์ปริมาณมากๆ 

จอภาพ (Monitor) แสดงผลลัพธ์ให้ผู้ใช้โดยไม่ต้องผ่านการพิมพ์ผลลัพธ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ใช้ในกรณีมีผลลัพธ์เป็นจำนวนน้อย 1. จอ CRT ใช้ยิงแสงผ่านหลอดภาพ ได้แก่  จอ CRT สีเดียว (Monochrome display)  จอ CRT ภาพสี (Color display) 2. จอผลึกเหลว/LCD ไม่มีหลอดภาพใช้การเรืองแสงผ่านกระแสไฟไปในจอผลึกเหลว ได้แก่ จอภาพของเครื่อง Notebook

3. จอพลาสมา (Plasma Display) ขีดจำกัดที่ไม่สามารถทำให้มีขนาดใหญ่ได้ (กว้าง× ยาว) เพราะกินไฟมาก รวมทั้งมีปัญหาในด้านความละเอียดของภาพ ทำงานโดยการแบ่งพื้นที่จอภาพเป็นเซลล์เล็กๆแต่ละเซลล์บรรจุก๊าซ นีออน หรือ ซีนอน ซึ่งเป็นก๊าซเฉื่อย โดยที่ผนังข้างหนึ่งของเซลล์นั้นมีสารฟอสฟอร์ที่สามารถเรืองแสงได้เคลือบอยู่ โดยสารเรืองแสงจะเป็นสี RGB สีใดสีหนึ่ง เมื่อต้องการจะให้เซลล์ใดเซลล์หนึ่งเรืองแสง ก็จะใส่สนามไฟฟ้าเข้าไปที่เซลล์นั้นๆ ทำให้ก๊าซข้างในถูกกระตุ้นไปอยู่ในสภาพพลาสมา เกิดการปล่อยแสงอัลตราไวโอเลต หรือ UV ออกมา ซึ่งเมื่อไปตกกระทบกับสารเรืองแสงที่เคลือบ มันจะกระตุ้นให้สารฟอสฟอร์เรืองแสงขึ้นมาโดยแสงจะลอดผ่านกระจกหน้าออกมาสู่ตาของผู้ชม

หน่วยตอบสนองด้วยเสียง (Voice Response) อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ด้วยเสียงตามคำสั่งงานที่กำหนดไว้ใน Voice Response Software ได้แก่ การสอบถามยอดเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคาร การเล่นเกมส์ตอบแข่งขันปัญหาทางโทรศัพท์ สอบถามข้อมูลเวลา, เส้นทางเดินรถ, การท่องเที่ยว พล็อตเตอร์ (Plotter) อุปกรณ์แปลงข้อมูลจากตัวเลขกราฟ,รูปภาพ,ลงบนกระดาษ

อุปกรณ์หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) อุปกรณ์เก็บข้อมูลและโปรแกรมสำหรับการประมวลผลเป็นทั้งอุปกรณ์นำเข้าและอุปกรณ์แสดงผล (I/O Devices)

ฮาร์ดดิสก์ หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (hard disk) คืออุปกรณ์บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน จานแม่เหล็กแบบอ่อน หรือ แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ (floppy disk) หรือที่นิยมเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสเกตต์ (diskette) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลมและบรรจุอยู่ในแผ่นพลาสติกสี่เหลี่ยม

แผ่นซีดี (Compact Disk : CD ) แผ่นซีดี (Compact Disk : CD ) แผ่นซีดี ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก การเก็บข้อมูลบนแผ่นซีดีใช้หลักการทางแสง แผ่นซีดีที่อ่านได้อย่างเดียว เรียกกันว่า ซีดีรอม (CD- ROM) ข้อมูลที่บันทึกจะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิตเหมือนการบันทึกเพลงหรือภาพยนตร์ ข้อเด่นของแผ่นซีดีคือ ราคาถูก จุข้อมูลได้มาก สามารถเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมได้มากกว่า 750 เมกะไบต์ต่อแผ่น แผ่นซีดีมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 นิ้ว

หน่วยความจำแบบเฟลช (Flash memory) เป็นหน่วยความจำประเภทรอมที่เรียกว่า อีอีพร็อม (Electrically Erasable Programnable Read Only Memory :EEPROM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่นำข้อดีของรอม และแรม มารวมกัน ทำให้หน่วยความจำชนิดนี้สามารถเก็บข้อมูล ได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือ สามารถเขียนและลบข้อมูลได้ตามต้องการและเก็บข้อมูลได้ แม้ไม่ได้ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก มักใช้เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล ในอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล เช่น กล้องดิจิตอล กล้องวีดิทัศน์ ที่เก็บข้อมูล แบบดิจิตอล

PostTest (แบบทดสอบหลังเรียน)