การใช้เครื่องมือการจัดการในองค์การภาครัฐ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
MG415 Current Issues in Modern Management
Advertisements

Information Systems in the Enterprise
ระบบการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร
การบริหารคุณภาพองค์กร
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สหกรณ์
รองศาสตราจารย์ ชัยยศ สันติวงษ์
“When you’re hiring, you’re creating the future of your Company” “A poor hiring decision can cause great harm to your Company”
การจัดการ (Management)
นวัตกรรมการบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ประเด็น 1. ที่มาและความสำคัญของสมรรถนะ 2. ประโยชน์และการประยุกต์ใช้
PMQA Organization เอกสารประกอบการชี้แจงตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ สำหรับส่วนราชการระดับกรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ วันที่ 28 ตุลาคม.
การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan - IDP
โครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตร ผู้ตรวจสอบภายในภาครัฐ
การจัดการศูนย์สารสนเทศ
การประชุมชี้แจงแนวทางการประเมินส่วนราชการ ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ (มาตรา 44) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม.
เอกสารประกอบการบรรยาย หลักสูตร Fundamental หัวข้อวิชา องค์กรและระบบงานตรวจสอบภายใน สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง.
แนวทางการตรวจประเมินองค์กรด้วยตนเอง (Self-Assessment)
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมเจ้าท่า
การพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ เพื่อเข้าสู่ Industry 4.0
การพัฒนา ระบบบริหารกองทัพเรือ ภายใต้กรอบการจัดการภาครัฐแนวใหม่
Management Tools & Models Episode IV
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพ การประกันคุณภาพการพยาบาล
ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
การพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐPMQA สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน
ทิศทางการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2560
E. I. SQUARE. All rights reserved
การประชุมการบริหารยุทธศาสตร์กรมอนามัย ครั้งที่ 4/2559
หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับ การจัดการกระบวนการ
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)
บทที่ 3 ระบบสารสนเทศกับการบริหารองค์กร
การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดย นายศุมล ศรีสุขวัฒนา หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
Advanced Topics on Total Quality Management
การปฏิรูประบบราชการไทย กับการพัฒนาตนและระบบงาน
การจัดการความรู้ตามแนวทาง PMQA
Individual Scorecard ระดับความสำเร็จของการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายของระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล
รศ.ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์
ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ องค์การภาครัฐ
GROUP ‘2’ slide to unlock.
นายวุฒิศักดิ์ รักเดช นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ 8 มีนาคม2559
การบริหารกำลังคนภาครัฐ
ชี้แจงแนวทางการประเมินส่วนราชการ ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ
สมรรถนะของข้าราชการ กลุ่มงานบริการประชาชน ด้านสุขภาพและสวัสดิการ
เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ระดับพื้นฐาน (FL)
และ สสอ. ร้อยละ 20 (3 แห่ง) (จังหวัดกำแพงเพชร เป้าหมาย ร้อยละ100)
มิถุนายน 2548 การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2
หมวด 6 การปฏิบัติการ โดย ดร.สุนทรัสส์ เพชรรักษ์คำด้วง
แนวทางการจัดทำคำของบประมาณเพื่อสนับสนุนแผนพัฒนาจังหวัด
Techniques Administration
คลินิกไร้พุงคุณภาพ (DPAC Quality)
การบริหารการปฏิบัติงานของทรู (Cycle of Performance Management System)
หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
องค์กรรอบรู้สุขภาพ (Health Literate Organization)
การวางแผนระบบการผลิต
การผลิตและการจัดการการผลิต
กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์และการฝึกอบรม
การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)
Activity-Based-Cost Management Systems.
แนวคิดหลัก 1. Systematic 2. Sustainable 3. Measurable
แนวความคิดและทฤษฎีการจัดการ Concept and Management Theory
รายวิชา IFM4401 โครงงานการจัดการสารสนเทศ 3 (ทฤษฎี2-ปฏิบัติ2-ศึกษาด้วยตนเอง5) หน่วยกิต
ปศธ.พบดรีมทีม ร่วมสานฝันพัฒนา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในปี2551
รายงานความก้าวหน้า คณะทำงานธรรมาภิบาล (CGO) เขตสุขภาพที่ ธันวาคม 2561
- การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
แพทย์หญิงประนอม คำเที่ยง
โรงพยาบาลจันทรุเบกษา
ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ องค์การภาครัฐ
องค์การและการจัดการ Organization and management (Mpp 5504)
การจัดการงานคลังและงบประมาณ อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การใช้เครื่องมือการจัดการในองค์การภาครัฐ Management Tool Implementation in Public Organizations

แนวคิดและการใช้เครื่องมือการจัดการในองค์การภาครัฐ การบริหารองค์การภาครัฐในปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนกว่าในอดีตค่อนข้างมาก อันเนื่องมาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกองค์การ เช่น แรงกดดันเรื่องการจัดการต้นทุน ข้อจำกัดในเรื่องคุณภาพการบริการ กระบวนการทำงานและการบริหารที่ล่าช้า ปัญหาความไม่โปร่งใสในการทำงาน ความหลากหลายของความต้องการของผู้ใช้บริการ ความรุนแรงในการแข่งขัน กระแสความนิยมของเครื่องมือการจัดการ ความต้องการได้รับการยอมรับจากสาธารณชนหรือองค์การอื่น การผลักดันจากหน่วยงานกลางภาครัฐในการใช้เครื่องมือการจัดการ ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

แนวคิดและการใช้เครื่องมือการจัดการในองค์การภาครัฐ ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการปรับปรุงองค์การภาครัฐให้มีการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นประกอบกับกระแสแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management–NPM) ที่ได้แพร่หลายในหลายประเทศ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้จึงทำให้องค์การภาครัฐได้มีการนำเครื่องมือการจัดการ (Management Tools) ต่าง ๆ มาใช้ในองค์การภาครัฐเพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

แนวคิดและการใช้เครื่องมือการจัดการในองค์การภาครัฐ ที่ผ่านมาองค์การภาครัฐได้ใช้ทรัพยากรทั้งด้านทุน เวลา และกำลังคนเป็นอย่างมากในการนำเครื่องมือการจัดการมาใช้เพื่อมุ่งเสริมองค์การภาครัฐให้มีการบริการประชาชนและองค์การอื่น ๆ ให้ดีขึ้น สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และในอนาคตองค์การเหล่านี้ยังจะต้องเตรียมรับกับเครื่องมือการจัดการใหม่ ๆ ที่จะมีเพิ่มขึ้นอีก ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

แนวคิดและการใช้เครื่องมือการจัดการในองค์การภาครัฐ ความหมายเครื่องมือการจัดการ Donnelly et al (1992: 5) ให้คำจำกัดความของการจัดการว่า หมายถึง กระบวนการที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลดำเนินการเพื่อประสานกิจกรรมของบุคคลอื่นให้บรรลุผลสำเร็จในสิ่งที่บุคคลคนเดียวไม่สามารถกระทำได้โดยลำพัง Peter Drucker ได้ให้ความหมายการจัดการว่า หมายถึง “การนำความคิดมาใช้แทนการใช้กำลังและกล้ามเนื้อ การนำความรู้มาใช้แทนการใช้นิสัยความเคยชินและความเชื่อ และการใช้ความร่วมมือแทนการใช้กำลังบังคับ” (Quatationspage, 2007) ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

แนวคิดและการใช้เครื่องมือการจัดการในองค์การภาครัฐ ความหมายเครื่องมือการจัดการ Robbins & Coulter (2003: 6) ได้ให้ความหมายการจัดการว่าหมายถึง กระบวนการในการประสานกิจกรรมการทำงานเพื่อให้งานสำเร็จลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยอาศัยการทำงานร่วมกับหรือโดยบุคคลอื่น (The process of coordinating work activities so that they are completed efficiently and effectively with and through other people.) ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

แนวคิดและการใช้เครื่องมือการจัดการในองค์การภาครัฐ ความหมายเครื่องมือการจัดการ ราชบัณฑิตยสถานของประเทศไทย (2546: 261) ได้ให้ความหมายของ คำว่า “จัดการ” ว่าหมายถึง สั่งงาน ควบคุมงาน หรือการดำเนินงาน ส่วนความหมายของคำว่า “เครื่องมือ” ราชบัณฑิตยสถาน (2546: 261) ได้ให้ความหมายว่า หมายถึง สิ่งของสำหรับใช้ในการงาน ส่วน Chappell & Kacelnik (2004) ได้ให้ความหมายของคำว่า เครื่องมือ (Tool) คือ สิ่งที่ช่วยในการอำนวยความสะดวกและสร้างความได้เปรียบในการทำงานและพจนานุกรมออนไลน์เอนคาร์ตา (Encarta, 2007) ให้ความหมายเครื่องมือว่าคือสิ่งที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

แนวคิดและการใช้เครื่องมือการจัดการในองค์การภาครัฐ เครื่องมือการจัดการหมายถึง แนวคิดวิธีการหรือสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการประสานกิจกรรมในการทำงาน โดยอาศัยความคิด ความรู้ และความร่วมมือของบุคคลอื่น ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

ความเป็นมาของแนวคิดการจัดการและประเภทของเครื่องมือการจัดการ แนวคิดเรื่องการจัดการได้มีพัฒนาการมานานแล้ว นับตั้งแต่การสร้าง ปิรามิดในอียิปต์เมื่อประมาณ 2,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งได้ใช้แนวคิดการจัดการในการระดมคนจำนวนมากให้ทำงานที่ยิ่งใหญ่ได้ ราว 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซุนหวู่ได้เขียนหนังสือเรื่องศิลปะของสงคราม (The Art of War) ซึ่งกล่าวถึงหลักของการเป็นผู้นำ ในปี ค.ศ. 1513 แม็คเคียเวลลี (Machiavelli) เขียนหนังสือเรื่อง The Prince เกี่ยวกับเทคนิคของผู้นำในการปกครองและในปี ค.ศ. 1776 อดัม สมิธ (Adam Smith) ได้เขียนหนังสือเรื่องความมั่งคั่งแห่งรัฐ (The Wealth of Nations) และได้นำเสนอเรื่องหลักการแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) ซึ่งเป็นแนวคิดที่สำคัญในการจัดโครงสร้างองค์การซึ่งมีอิทธิพลต่อนักคิดหลายท่าน (Gomez-Mejia, Balkin & Cardy, 2005) ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

ความเป็นมาของแนวคิดการจัดการและประเภทของเครื่องมือการจัดการ อย่างไรก็ตามทฤษฎีการจัดการได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นระบบเมื่อประมาณทศวรรษที่ 1900 และพัฒนาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เครื่องมือการจัดการได้รับการประยุกต์เพื่อรองรับแนวคิดหรือทฤษฎีการจัดการ และทำให้การประยุกต์แนวคิดการจัดการไปสู่การปฏิบัติได้ง่ายขึ้น นักวิชาการได้แบ่งประเภทเครื่องมือการจัดการหลายแบบ เช่น สตีเวนและคณะ (Steven et al., 2003) ได้จำแนกเครื่องมือการจัดการ 56 ชนิด โดยพิจารณาจากจุดเน้นของเครื่องมือเหล่านั้น เกณฑ์ที่ใช้แบ่งประเภทเครื่องมือการจัดการ ได้แก่ กลยุทธ์ องค์การ กระบวนการหลัก (Primary Process) กระบวนการตามหน้าที่ (Functional Processes) และคนและพฤติกรรม (People and Behavior) ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

ความเป็นมาของแนวคิดการจัดการและประเภทของเครื่องมือการจัดการ ส่วนเทิร์นเนอร์ (Turner, 2003) ได้จำแนกเครื่องมือการจัดการ 94 ชนิดโดยพิจารณาจากกระบวนการที่ใช้ในเครื่องมือการจัดการแต่ละชนิด ได้แก่ การวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา การติดต่อสื่อสาร การวางแผนโครงการ การปรับปรุงประสิทธิภาพ การปรับปรุงภายนอก การขายและการตลาด การอภิปราย และกลยุทธ์ อย่างไรก็ตามเกณฑ์ของ เทิร์นเนอร์ได้รวบรวมเครื่องมือการจัดการไว้ค่อนข้างจะครอบคลุมและช่วยทำให้ทราบว่าเครื่องมือแต่ละชนิดมีกระบวนการช่วยในเรื่องอะไรบ้าง แต่เนื่องจากเกณฑ์เหล่านี้มีค่อนข้างมากเกินไป จึงทำให้ยุ่งยากต่อการประยุกต์ใช้ ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

ความเป็นมาของแนวคิดการจัดการและประเภทของเครื่องมือการจัดการ หากจัดประเภทของเครื่องมือการจัดการโดยอิงกับแนวคิดการจัดทฤษฎีองค์การตามแนวคิดของสก๊อตต์ (Scott, 2003) และได้จัดประเภทเครื่องมือการจัดการเป็น 4 กลุ่มแนวคิด โดยแต่ละกลุ่มจำแนกตามระดับของ การวิเคราะห์ (Level of Analysis) หรือระดับการใช้งานแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือระดับองค์การ (Organization) ระดับกลุ่ม (Group) และระดับปัจเจกบุคคล (Individual) ดังนี้ ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

ความเป็นมาของแนวคิดการจัดการและประเภทของเครื่องมือการจัดการ 1) แนวคิดการจัดการแบบเหตุผลนิยมระบบปิด เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1900-1930 แนวคิดการจัดการแบบเหตุผลนิยมระบบปิดที่สำคัญ คือ แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งเป็นการจัดการ ที่อาศัยข้อเท็จจริง ไม่ใช้การคาดเดา และรวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับเวลาและการเคลื่อนไหว (Time and Motion Study) เพื่อหาวิธีการทำงานที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด โดยใช้เวลาน้อยที่สุด เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

ความเป็นมาของแนวคิดการจัดการและประเภทของเครื่องมือการจัดการ นอกจากนี้ยังรวมถึงทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theories) ซึ่งเน้นหน้าที่ของผู้บริหารหรือการบริหาร และทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy) กล่าวถึงลักษณะโครงสร้างองค์การที่มีการแบ่งงานกันทำ มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ มีกฎระเบียบ ไม่นำความสัมพันธ์ส่วนตัวมาใช้เน้นความเป็นเลิศในด้านการทำงาน แนวคิดทั้งสามนี้เป็นพื้นฐานขององค์การแบบเครื่องจักร ซึ่งให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการทำงาน และการควบคุมมาก แต่ถูกวิจารณ์ว่าแนวคิดนี้ได้ละเลยความสำคัญของมนุษย์ (Organization without Man) เมื่อพิจารณาจากระดับของการวิเคราะห์ พบว่าแนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์จัดเป็นเครื่องมือการจัดการระดับบุคคล ส่วนทฤษฎีการบริหารและระบบราชการจัดอยู่ในระดับองค์การ (Scott, 2003; Narayanan & Nath, 1993) ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

ความเป็นมาของแนวคิดการจัดการและประเภทของเครื่องมือการจัดการ 2) แนวคิดการจัดการแบบมนุษยนิยมระบบปิด แนวคิดนี้ได้พัฒนาต่อเนื่องจากยุคแรก คือเกิดขึ้นในทศวรรษที่ 1930 โดยทฤษฎีการจัดการได้ปรับเปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับมนุษย์มากขึ้น โดยเริ่มจากการทดลองที่ ฮอร์โธรน (Hawthrone Studies) ซึ่งทำให้มีการสนใจเรื่องอารมณ์ความรู้สึกและทัศนคติของคนมากขึ้นว่ามีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพของงานอย่างไร แนวคิดสำคัญที่เกิดขึ้นในยุคนี้ ได้แก่ แนวคิดมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) แนวคิดทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) ซึ่งรวมถึงทฤษฎีแรงจูงใจต่างๆ ทฤษฎี X ทฤษฎี Y แนวคิดทรัพยากรมนุษย์จัดเป็นการวิเคราะห์ทั้งในระดับกลุ่มและระดับบุคคล ส่วนแนวคิดมนุษยสัมพันธ์จัดอยู่ในระดับบุคคล (Scott, 2003) ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

ความเป็นมาของแนวคิดการจัดการและประเภทของเครื่องมือการจัดการ 3) แนวคิดการจัดการแบบเหตุผลนิยมระบบเปิด แนวคิดการจัดการแบบนี้เกิดขึ้นหลังแนวคิดเรื่องมนุษยสัมพันธ์ คือราวช่วงทศวรรษที่ 1950 โดยมีฐานคติว่าเทคนิคด้านคณิตศาสตร์สามารถช่วยปรับปรุงการตัดสินใจและการแก้ปัญหาได้ ดังนั้นจึงมีการนำเทคนิคด้านคณิตศาสตร์มาใช้แก้ปัญหาทางการบริการ เช่น เทคนิคในการพยากรณ์ (Mathematical Forecasting) ตัวแบบคณิตศาสตร์เพื่อใช้ในการควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Modeling) การสร้างแบบจำลอง (Simulation) เป็นการสร้างตัวแบบปัญหาซึ่งมีวิธีการแก้ไขในหลาย ๆ วิธีภายใต้ฐานคติที่ต่างกัน นอกจากนี้ยังมีการตัดสินใจโดยใช้หลักเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์ เช่น ต้นทุน รายรับ ผลตอบแทนต่อการลงทุน ในยุคนี้จึงจัดได้ว่ามีการนำการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Approach to Management) มาใช้ ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

ความเป็นมาของแนวคิดการจัดการและประเภทของเครื่องมือการจัดการ นอกจากนี้ในช่วงประมาณ 1960 ได้มีการตระหนักว่าไม่มีทฤษฎีหรือวิธีการใดที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกสถานการณ์ ดังนั้นแนวคิดของการจัดการแบบนี้ คือ การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking) ระบบเปิด (Open Systems) การคิดตามสถานการณ์ (Contingency Thinking) แนวคิดนี้ยังครอบคลุมถึงเครื่องมือการจัดการอื่น ๆ ด้วยที่มีแนวคิดสอดคล้องกัน เช่น การวางแผนกลยุทธ์ รีเอ็นจิเนียริ่ง ต้นทุนกิจกรรม กรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง (Medium-Term Expenditure Framework-MTEF) การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ (Economic Value-Added Analysis-EVA) และการจัดหาทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

ความเป็นมาของแนวคิดการจัดการและประเภทของเครื่องมือการจัดการ และเมื่อพิจารณาระดับการวิเคราะห์แล้วพบว่าการนำการคำนวณเชิงปริมาณมาใช้ในการบริหาร การวางแผนกลยุทธ์ การจัดการตามสถานการณ์ รีเอ็นจิเนียริ่ง MTEF และ EVA เป็นเครื่องมือที่มีระดับการวิเคราะห์ในระดับองค์การ ส่วนการวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรม และการจัดหาทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นการวิเคราะห์ระดับกลุ่ม ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

ความเป็นมาของแนวคิดการจัดการและประเภทของเครื่องมือการจัดการ 4) แนวคิดการจัดการแบบมนุษยนิยมระบบเปิด ในยุคนี้มีการผสมผสานแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ในยุคนี้มีการจัดการใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย อาทิ Balanced Scorecard, Learning Organization, Knowledge Management, TQM, PMQA, Core Competencies ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

ความเป็นมาของแนวคิดการจัดการและประเภทของเครื่องมือการจัดการ เครื่องมือการจัดการตามแนวคิดนี้มีการวิเคราะห์ทั้งสามระดับ กล่าวคือเครื่องมือการจัดการที่ใช้ในระดับองค์การ ได้แก่ Learning Organization, Knowledge-based Organization, TQM, BSC, PMQA, CRM, Six Sigma, Supply Chain Management ส่วนเครื่องมือการจัดการที่ใช้ในระดับกลุ่ม ได้แก่ BSC, Core Competencies, Organization Learning ส่วนเครื่องมือการจัดการที่ ใช้ในระดับบุคคล ได้แก่ BSC, Core Competencies, Organization Learning, Knowledge Management และ e-Learning ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

เครื่องมือการจัดการของประเทศไทย รัฐบาลชุดต่าง ๆ ได้มีการกำหนดนโยบายในการปรับปรุงราชการมาอย่างต่อเนื่อง ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-2 ได้มุ่งให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานและด้านเกษตรกรรม ในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 3 ได้มีการกำหนดให้มีการปรับปรุงระบบการทำงานของรัฐวิสาหกิจ แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 5 ได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการบริหารงานพัฒนาของรัฐเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

เครื่องมือการจัดการของประเทศไทย สำหรับแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 6 ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเครื่องมือการจัดการมาใช้ในภาครัฐอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยมีการระบุไว้ในแผนว่า “ปรับเครื่องมือการบริหารที่รัฐมีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลไกการประชาสัมพันธ์เพื่อการพัฒนา และลดปัญหาอุปสรรคการพัฒนาอันเกิดจากกฎระเบียบต่าง ๆ ของภาคราชการ ...การปรับปรุงขั้นตอนการให้บริการให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น...มอบหมายให้องค์กรกลางเป็นผู้รับผิดชอบในการติดตามดูแลให้หน่วยราชการต่าง ๆ มีแผนปฏิบัติการในการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ” ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

เครื่องมือการจัดการของประเทศไทย ในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 7 ได้มีการลดขนาดหน่วยงานภาครัฐ ปรับโครงสร้างเงินเดือน มีการใช้มาตรการจ้างเหมาเข้ามาใช้ในองค์การภาครัฐ ส่วนแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8 ได้กำหนดการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้และเสริมสร้างความสามารถร่วมกันทุกขั้นตอน รวมถึงการกำหนดแนวทาง ขั้นตอนการทำงาน และตัวชี้วัดความสำเร็จร่วมกันทุกองค์การทั้งในส่วนของภาครัฐภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

เครื่องมือการจัดการของประเทศไทย ในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 9 ได้กล่าวถึงการสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทย แนวทางทั้งในส่วนของโครงสร้างและระบบการทำงาน ระบบงบประมาณ ปรับปรุงระบบกฎหมาย ระบบข้อมูลสารสนเทศ และวัฒนธรรมในการทำงานที่สร้างสรรค์แก่ประชาชน รวมถึงได้มีการกำหนดพระราชกฤษฎีการองรับการบริหารราชการให้สัมฤทธิ์ผลด้วย ส่วนในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 10 ได้อัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติ มีการบริหารจัดการองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับสังคมไทยอย่างเหมาะสม ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

เครื่องมือการจัดการของประเทศไทย ที่ผ่านมา องค์การภาครัฐในประเทศไทยได้พยายามพัฒนาเครื่องมือการจัดการเพื่อให้มีความสอดคล้องกับบริบทของประเทศ และประหยัดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ ตัวอย่างเช่น ระบบมาตรฐานสากลของประเทศไทยด้าน การจัดการและสัมฤทธิ์ผลของงานภาครัฐ (Thailand International Public Sector Standard Management System and Outcomes–P.S.O.) โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เป็นผู้รับผิดชอบ ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

เครื่องมือการจัดการของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมี รางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศไทย (Thailand Quality Award-TQA) ซึ่งมีเกณฑ์เช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา (Malcom Baldrige National Quality Award-MBNQA) รางวัลนี้เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2539โดยมีสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานและผลักดันให้องค์การต่าง ๆนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพไปใช้ (สำนักเลขานุการคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ, 2547) และการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award-PMQA) ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้นำหลักเกณฑ์ของรางวัล MBNQA ของประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้กับระบบราชการไทย โดยร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติในการจัดทำเกณฑ์ และจัดอบรมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเป็นที่ปรึกษาและผู้ตรวจประเมินภายนอก ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

เครื่องมือการจัดการของประเทศไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเครื่องมือการจัดการมาใช้ในองค์การภาครัฐ หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้องค์การภาครัฐนำเครื่องมือการจัดการไปใช้ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงาน อาทิ สำนักงานคณะกรรมพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(สำนักงาน ก.พ.) สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ที่มา : รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

จบการบรรยาย