งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Management Tools & Models Episode IV

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Management Tools & Models Episode IV"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Management Tools & Models Episode IV
Management of Information Technology Management Tools & Models Episode IV

2 เครื่องมือ-รูปแบบการบริหารจัดการ การจัดการคนและพฤติกรรม
Management of Information Technology หัวข้อ เครื่องมือ-รูปแบบการบริหารจัดการ หนังสือ ประเภท-ประยุกต์ใช้ Organization การจัดการองค์การ กลยุทธ์ Strategic กระบวนงานหลัก Primary Process งานในหน้าที่ประจำ Functional Processes การจัดการคนและพฤติกรรม People & Behaviour

3 คนและพฤติกรรม (People & Behaviour)
Management of Information Technology คนและพฤติกรรม (People & Behaviour) Maslow Covey’s 7 Habits of Highly Effective People Fifth Discipline 3

4 คนและพฤติกรรม (People & Behaviour)
Management of Information Technology คนและพฤติกรรม (People & Behaviour) ลำดับขั้นความต้องการ (Hierarchical of Needs) พีระมิด ๕ ชั้นของความต้องการมนุษย์ ความต้องการทางกายภาพ (Biological & Physiological Needs) ความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs) มิตรภาพและความรัก (Belongingness & Love Needs) ความเคารพนับถือ (Esteem Needs) ความสมบูรณ์ของชีวิต (Self-actualization) Abraham Harold Maslow "A Theory of Human Motivation" 1943. มีการนำลำดับขั้นของมาสโลว์มาใช้ในการเรียนการสอนเรื่องการตลาด เพื่อช่วยในการเข้าใจแรงจูงใจของลูกค้า นักการตลาดจะวิเคราะห์ประวัติความต้องการของลูกค้า เพื่อหาวิธีดำเนินการทางการตลาด ถ้าผู้ผลิตออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ลูกค้ามักจะเลือกผลิตภัณฑ์นั้นมากกว่าผลิตภัณฑ์แบบเดียวกันจากคู่แข่ง 4

5 ลำดับขั้นความต้องการ
Management of Information Technology ลำดับขั้นความต้องการ ธุรกิจระหว่างประเทศ การเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ มีสำคัญมากสำหรับสาขาธุรกิจระหว่างประเทศ การประเมินความต้องการ ค่านิยม แรงจูงใจ และ การให้ความสำคัญที่ต่างกันระหว่างคนในประเทศต่างๆ มีค่ามากในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมที่ต่างกัน นอกจากนั้นยังทำให้เห็นด้วยว่าค่านิยมที่ต่างกันจากวัฒนธรรมที่ต่างกัน มีผลกับบรรยากาศและจริยธรรมในการทำงานอย่างไร เช่น วัฒนธรรมปัจเจกนิยม (Individualism) อาจนำไปสู่ความได้เปรียบทางการวิจัยและพัฒนา ในขณะที่วัฒนธรรมคติรวมหมู่นิยม (Collectivism) อาจได้เปรียบในองค์กรแรงงาน ในการควบคุมคุณภาพของสินค้าและบริการและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคู่ค้า 5

6 ลำดับขั้นความต้องการ
Management of Information Technology ลำดับขั้นความต้องการ 6

7 ลำดับขั้นความต้องการ
Management of Information Technology ลำดับขั้นความต้องการ ชั้นความต้องการที่เป็นพื้นฐาน จะต้องได้รับการตอบสนองก่อนที่บุคคลจะเกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าต่อความต้องการในระดับที่สูงขึ้นไป แม้ว่าความเคารพนับถือ, มิตรภาพและรัก หรือ ความมั่นคงปลอดภัย จะขาดบกพร่องไป ถึงร่างกายจะไม่ได้แสดงอาการใดๆ ออกมา แต่บุคคลนั้นๆ จะมีความรู้สึก กระวนกระวายและเกร็งเครียด 7

8 ลำดับขั้นความต้องการ
Management of Information Technology ลำดับขั้นความต้องการ Maslow’s Hierarchy of Needs 8

9 ลำดับขั้นความต้องการ
Management of Information Technology ลำดับขั้นความต้องการ ๑. ความต้องการทางกายภาพ เป็นความต้องการเพื่อจะอยู่รอดของมนุษย์ ถ้าความต้องการพื้นฐานที่สุดนี้ไม่ได้รับการตอบสนอง ร่างกายของมนุษย์ก็ไม่สามารถทำงานได้ หรือไม่สามารถทำงานได้ดี อากาศ น้ำ อาหาร เป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการเพื่อใช้ในกระบวนการ สร้างและสลาย เพื่อให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เสื้อผ้าเครื่องนุ่นห่มและที่พัก จะให้การปกป้องที่จำเป็น กับมนุษย์จากสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม สัญชาตญาณและความต้องการทางเพศ ถูกพัฒนามาจากการแข่งขันเพื่อโอกาสในการ ผสมและสืบพันธุ์ 9

10 ลำดับขั้นความต้องการ
Management of Information Technology ลำดับขั้นความต้องการ ๒. ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย เมื่อความต้องการทางกายภาพได้รับการตอบสนองในระดับที่พอเพียง ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยจะมีอิทธิพลกับพฤติกรรม ถ้าไม่มีความปลอดภัยทางกายภาพ (จากสาเหตุ เช่น อาชญากรรม สงคราม การก่อการร้าย ภัยพิบัติธรรมชาติ หรือ ความรุนแรงในครอบครัว) คนอาจมีอาการของความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (Post-traumatic Stress Disorder) และอาจมีส่งผ่านความเครียดนี้ไปยังคนรุ่นหลังได้ ถ้าไม่มีความปลอดภัยมั่นคงทางเศรษฐกิจ (จากสาเหตุ เช่น วิกฤติเศรษฐกิจ หรือ การขาดโอกาสทางการงาน) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยนี้ อาจปรากฏในรูปของค่านิยมงานที่มีความมั่นคง กระบวนการร้องทุกข์เพื่อปกป้องบุคคลจากการกลั่นแกล้งของผู้บังคับบัญชา หรือ ปกป้องบัญชีเงินฝาก เรียกร้องนโยบายประกันภัย ประกันสุขภาพ ประกันชีวิตต่างๆ การเรียกร้องที่พักที่เหมาะสมสำหรับคนพิการ เป็นต้น ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย รวมถึง ความมั่นคงปลอดภัยส่วนบุคคล ความมั่นคงปลอดภัยทางการเงิน สุขภาพและความเป็นอยู่ ระบบรับประกัน-ช่วยเหลือในกรณีของอุบัติเหตุ / ความเจ็บป่วย 10

11 ลำดับขั้นความต้องการ
Management of Information Technology ลำดับขั้นความต้องการ ๓. ความรักและความเป็นเจ้าของ เมื่อความต้องการทางกายภาพและความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว ระดับขั้นที่สามของความต้องการมนุษย์คือ ความต้องการเป็นเจ้าของ ความต้องการนี้จะรุนแรงมากในวัยเด็ก และบางครั้งอาจชนะความต้องการความปลอดภัยได้ในบางครั้ง ดังเห็นได้จากการที่เด็กติดพ่อแม่ที่เป็นอันตราย ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "Stockholm Syndrome" การขาดความรักและความเป็นเจ้าของ (อาจมาจากการขาดความผูกพันจากผู้เลี้ยงดูขณะเป็นทารก (Hospitalism), การถูกทอดทิ้ง (Neglect), การถูกสังคมรังเกียจหรือกีดกัน (Shunning), การถูกขับออกจากกลุ่ม (Ostracism) เป็นต้น) อาจมีผลทำให้บุคคลไม่สามารถพัฒนาหรือรักษาความสัมพันธ์ที่สำคัญ (เช่น มิตรภาพ ความรัก ครอบครัว) ไว้ได้ มนุษย์ต้องการที่จะรู้สึกเป็นเจ้าของและถูกยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นในระดับกลุ่มสังคมใหญ่ เช่น สโมสร กลุ่มศาสนา องค์กรสายอาชีพ ทีมกีฬาหรือความสัมพันธ์ทางสังคมเล็กๆ (สมาชิกในครอบครัว คู่ชีวิต พี่เลี้ยง เพื่อนสนิท) มนุษย์ต้องการที่จะรักและถูกรักจากคนอื่น ถ้าขาดความต้องการนี้ไป บางคนกลายเป็น คนขี้เหงา มีปัญหาการเข้าสังคมและเป็นโรคซึมเศร้า บ่อยครั้งที่ความต้องการนี้สามารถชนะความต้องการทางกายภาพและความมั่นคงปลอดภัยได้ ขึ้นกับแรงกดดันจากคนรอบข้าง (Peer Pressure) เช่น คนที่เบื่ออาหาร (Anorexic) อาจละเลยความต้องการอาหารและความปลอดภัย เพียงเพื่อได้ความต้องการควบคุมและเป็นเจ้าของ 11

12 ลำดับขั้นความต้องการ
Management of Information Technology ลำดับขั้นความต้องการ ๔. ความเคารพนับถือ เมื่อทุกคนต้องการที่จะได้รับการนับถือและเคารพให้เกียรติ ความเคารพนับถือแสดงถึงความต้องการของมนุษย์ที่จะได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่าโดยคนอื่น คนต้องการที่จะทำอะไรจริงจังเพื่อจะได้รับการยอมรับนับถือและต้องการจะมีกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกว่า เขาได้มีส่วนทำประโยชน์ เพื่อจะรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นอาชีพหรืองานอดิเรก ความไม่สมดุลในความเคารพนับถือ อาจส่งผลให้มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำและรู้สึกต้อยต่ำ คนที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำต้อยในการเคารพจากคนอื่นๆ เขาอาจพยายามแสวงหาความมีชื่อเสียง (ซึ่งขึ้นกับผู้อื่น) หมายเหตุ อย่างไรก็ตาม คนที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ ไม่สามารถที่จะแก้ไขความภาคภูมิใจตัวเองได้ง่ายๆ โดยการมีชื่อเสียง ได้รับความเคารพจากภายนอก แต่ต้องยอมรับตัวเองจากภายใน ความไม่สมดุลทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถมีความภาคภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) ได้ 12

13 ลำดับขั้นความต้องการ
Management of Information Technology ลำดับขั้นความต้องการ ๔. ความเคารพนับถือ (ต่อ) คนส่วนใหญ่มีความต้องการความเคารพและความภาคภูมิในตนเองที่มั่นคง มาสโลว์ ได้กล่าวถึงต้องการความเคารพนับถือใน 2 ระดับ คือ ระดับล่าง กับ ระดับสูง * ระดับล่าง เป็นความต้องการความนับถือจากคนอื่น ความต้องการสถานะ การยอมรับ ชื่อเสียง ศักดิ์ศรี และความสนใจ * ระดับสูง เป็นความต้องการความเคารพตัวเอง ความต้องการความแข็งแกร่ง ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ความมั่นใจในตัวเอง ความเป็นตัวของตัวเองและอิสระ ความต้องการเหล่านี้จัดเป็นระดับสูง ก็เพราะว่ามันขึ้นกับความสามารถภายในมากกว่า ซึ่งได้มาโดยผ่านประสบการณ์ การขาดความต้องการเหล่านี้ อาจทำให้ความรู้สึกต่ำต้อย อ่อนแอ และช่วยตัวเองไม่ได้ หมดหนทาง มาสโลว์ ได้หมายเหตุไว้ว่าการแบ่งขั้นความต้องการความเคารพนับถือระดับล่างกับสูงนี้ เกี่ยวข้องกันมากกว่าที่จะเป็นการแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน 13

14 ลำดับขั้นความต้องการ
Management of Information Technology ลำดับขั้นความต้องการ ๕. ความสมบูรณ์ของชีวิต เมื่อ“อะไรที่คนอื่นเป็นได้ เขาก็จะต้องเป็น” (“What a man can be, he must be.”) มาสโลว์ กล่าวสรุปความหมายของความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิตเอาไว้ ความต้องการนี้เกี่ยวกับศักยภาพสูงสุดของบุคคล และ การตระหนักถึงศักยภาพนั้น คือความต้องการที่ปรารถนาจะเป็นมากกว่าที่เขาเป็นอยู่ เป็นความปรารถนาที่จะเป็นทุกๆ อย่างที่เขาจะสามารถเป็นได้ เพื่อที่จะเข้าใจความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิตได้ บุคคลจะต้องได้รับการตอบสนองความต้องการอื่นๆ (กายภาพ ความปลอดภัย ความรัก ความเคารพนับถือ) มาเป็นอย่างดีก่อนแล้ว 14

15 คนและพฤติกรรม (People & Behaviour)
Management of Information Technology คนและพฤติกรรม (People & Behaviour) 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง Covey’s 7 Habits of Highly Effective People Stephen R. Covey. (1989). พิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ โดยสำนักพิมพ์ se-ed เรียบเรียงโดย สงการณ์ จิตสุทธิภากร และนิรันดร์ เกชาคุปต์ สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี ซื้อลิขสิทธิ์มาจัดทำใหม่ เรียบเรียงโดย นพดล เวชสวัสดิ์ บรรณาธิการโดย ดนัย จันทร์เจ้าฉาย 15

16 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง
1. ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน (Be Proactive) เวลาที่เราต้องการอะไร หรือต้องการจะเริ่มอะไรสักอย่าง จะต้องมีตัวกระตุ้น และตัวกระตุ้นจะทำให้เกิดการตอบสนอง ดังนั้น หากเราเป็นผู้เริ่มก่อน หรือเป็นตัวกระตุ้น การตอบสนองจะตามมา แต่การที่เราจะทำสิ่งใด ก็ควรอยู่ในขอบเขตที่ทุกคน สามารถยอมรับได้ Management of Information Technology 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง ๑. ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน (Be Proactive) เวลาที่เราต้องการอะไร หรือต้องการจะเริ่มอะไรสักอย่าง จะต้องมีตัวกระตุ้น และตัวกระตุ้นจะทำให้เกิดการตอบสนอง ดังนั้นหากเราเป็นผู้เริ่มก่อน หรือเป็นตัวกระตุ้น การตอบสนองจะตามมา แต่การที่เราจะทำสิ่งใด ก็ควรอยู่ในขอบเขตที่ทุกคนสามารถยอมรับได้ สติ ๒. เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ (Begin with the End in Mind) การที่เราจะเริ่มต้น ก่อนอื่นมันมักจะมาจากสิ่งที่เราคิดในใจ หลักของ "เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ" นั้นคือการทำสองครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นในจิตใจ และครั้งที่สองคือการทำให้สิ่งที่เราคิดเป็นจริง แต่การที่เราจะทุ่มแค่แรงใจอย่างเดียว ก็ไม่สามารถเกิดประสิทธิผลได้ มันอยู่กับว่าเราเทความพยายามไปในสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ ต้องมีศูนย์รวมในตนเอง เป็นการที่เราดำเนินชีวิตและตัดสินใจได้จากฐานความชัดเจนในเป้าหมายชีวิตของเรา สามารถปฏิเสธอย่างไม่รู้สึกผิด หากสิ่งนั้นไม่ตรงเป้าประสงค์หลัก 16

17 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง
Management of Information Technology 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง ๓. ทำตามลำดับความสำคัญ (Put First Things First.) อุปนิสัยที่ 3 เป็นเหมือนภาคปฏิบัติของอุปนิสัยที่ 1 และ 2 ซึ่งมีทั้งการจัดการบริหารเวลา, รู้จักปฏิเสธ, ตารางเวลา เพื่อให้เราทำสิ่งที่สำคัญมากที่สุดก่อน วิธีง่ายๆ ที่จะลองทำคือ เขียนรายชื่อสิ่งที่เราอยากทำ และ เราควรทำ ทำสัญลักษณ์แบ่งออกเป็น 3 ระดับที่ต้องทำตามลำดับ คือ สำคัญมากเร่งด่วน, สำคัญมากแต่ไม่เร่งด่วน, ไม่สำคัญมากแต่เร่งด่วน. สิ่งที่เป็นปัญหาคือเรามักจะถูกแทรกแซงความสนใจไปกับเรื่องที่เร่งด่วนแต่อาจไม่สำคัญต่อเป้าหมายหลัก ส่วนเรื่องที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน เป็นการช่วยทำให้เพิ่มศักยภาพต่อการบรรลุเป้าหมาย เชื่อว่าหากเราค้นว่า "สิ่งใดที่จะทำให้เป้าหมายสำเร็จได้ดีขึ้น ณ วันนี้" เราจะทำสิ่งนั้นได้ และจะชัดเจนในการจัดการสิ่งที่เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญต่อเป้าหมายเราได้ 17

18 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง
Management of Information Technology 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง ๔. คิดแบบ ชนะ/ชนะ (Think Win-Win) มนุษย์มีกรอบความคิดหลายแบบที่กระทำต่อกัน หนึ่งในนั้นคือ การคิดแบบชนะ/ชนะ คือ ไม่มีผู้แพ้ เป็นข้อตกลงหรือการแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นไปเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย แต่อย่างไรเสีย ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์แต่ละสถานการณ์ ว่าควรใช้แบบอื่นหรือไม่ หากไม่สามารถหาข้อตกลงแบบ คุณก็ชนะ ฉันก็ชนะได้ ก็ตกลงว่า "จะไม่ตกลง" ณ ขณะนี้เพื่อลดสถานการณ์ที่ มีผู้หนึ่งผู้ใดต้องแพ้ จุดตั้งต้นคือต้องเห็นคุณค่าในตนเอง และเห็นความเป็นคนเริ่มต้นก่อน (Proactive) ที่มีค่าของผู้อื่น (I'm Ok, You're Ok.) การแก้ปัญหาโดยศาลยุติธรรม ควรเป็นทางเลือกท้ายสุดเพราะมีเพียง แพ้ หรือ ชนะ เท่านั้น ๕. เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา (Seek First to Understand, Then to be Understood.) ก่อนบอกความต้องการหรือสิ่งที่เราคิดแล้วอยากให้ผู้อื่นยอมรับ เราต้องให้ความสำคัญและเข้าใจมุมมองของผู้อื่นต่อเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้งก่อน ลดการปะทะกัน 18

19 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง
Management of Information Technology 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง ๖. ประสานพลังสร้างสิ่งใหม่ (Synergize) เกิดจากการยอมรับในคุณค่าของตนเอง และเข้าใจในความแตกต่างที่ผู้อื่นมีมุมมอง ลดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่สร้างสรรค์ ซึ่งปิดกั้นความคิดดีๆ ของกลุ่มคนที่อยู่ด้วยกัน มีเพียงความพยายามในการเข้าใจในสิ่งที่ตอนแรกเหมือนจะไม่เห็นด้วยเท่านั้น การสร้างการทำงานเป็นทีม ๗. ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ (Sharpen the saw) ที่กล่าวมาทั้งหมดตั้งแต่อุปนิสัยที่ ๑-๖ จะนำไปใช้ในชีวิตจริงให้ได้ประสิทธิผล เราต้องมั่นฝึกฝนอุปนิสัยต่างๆเหล่านั้นอย่างสม่ำเสมอ การสร้างความพร้อมอยู่เสมอ "มั่นลับคมเลื่อยไว้ ยามเมื่อถึงเวลา..จะได้พร้อมใช้" นั่นเอง 19

20 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง
Management of Information Technology 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง The 8th Habit ๘. ค้นหาตัวตนและสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขา (Find your voice and inspire others to find theirs) ให้ความสำคัญแก่ตนเอง “Unique Personal Significance" ก่อนที่จะส่งต่อ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่คนอื่นๆ ต่อไป การสร้างความเป็นผู้นำ 20

21 คนและพฤติกรรม (People & Behaviour)
Management of Information Technology คนและพฤติกรรม (People & Behaviour) วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline) Peter Michael Senge. (1990). วินัยแห่งการเรียนรู้ 5 ประการ ในการสร้างให้บุคลากรในองค์กรเกิดการเรียนรู้เพื่อเป้าหมายให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) แบบแผนความคิดอ่าน (Mental Models) ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery) การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning) วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) 21

22 วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline)
Management of Information Technology วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline) ๑. การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) หมายถึง วินัยของการมองเห็นภาพโดยรวมทั้งระบบ มองเห็นทั้งหมด มองเห็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกัน มากกว่าที่จะมองเห็นแค่เชิงเหตุเชิงผล เห็นแนวโน้มรูปแบบของความเปลี่ยนแปลง มากกว่าจะเห็นแค่ฉาบฉวยหรือผิวเผิน 22

23 วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline)
Management of Information Technology วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline) ๑. การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) ลักษณะของการคิดอย่างเป็นระบบที่ดี ได้แก่ ๑.๑ คิดเป็นกลยุทธ์ ชัดเจนในเป้าหมาย มีแนวทางที่หลากหลาย มุ่งมั่นในเป้าหมาย มีวิสัยทัศน์ ๑.๒ คิดทันการณ์ ไม่ช้าเกินการณ์ มองให้เห็นความจริง บางครั้งต้องรีบปฏิบัติก่อนปัญหาจะเกิด ๑.๓ เล็งเห็นโอกาส ทุกปัญหาย่อมจะมีโอกาส ไม่ย่อท้อ สร้างประโยชน์ มองให้เห็นประโยชน์ การสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งกรเรียนรู้เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความร่วมมือกันของบุคลากรทุกคน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายพนักงานก็ตาม ปัจจัยสำคัญและจำเป็นที่บุคลากรทุกฝ่ายจะต้องให้ความตระหนัก คือ ความจริงใจและมุ่งมั่น ในการแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยพฤติกรรมนั้นจะต้องออกมาจากความเชื่อและค่านิยมที่เห็นความสำคัญและประโยชน์ในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ บริษัท เอชอาร์ดี แมกซ์ จำกัด 23

24 วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline)
Management of Information Technology วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline) ๒. แบบแผนความคิดอ่าน (Mental Models) แบบแผนทางจิตสำนึกของคนในองค์กรซึ่งจะต้องสะท้อนถึงพฤติกรรมของคนในองค์กร องค์กรแห่งการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อสมาชิกในองค์กรมีแบบแผนทางจิตสำนึกหรือความมีสติที่เอื้อต่อการสะท้อนภาพที่ถูกต้องชัดเจน จำแนกแยกแยะโดยมุ่งหวังที่จะปรับปรุงความถูกต้องในการมองโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการทำความเข้าใจในวิธีการที่จะสร้างความกระจ่างชัด เพื่อการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องหรือมีวิธีการที่จะตอบสนองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม 24

25 วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline)
Management of Information Technology วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline) ๒. แบบแผนความคิดอ่าน (Mental Models) หน้าที่ของวินัยที่ ๒ นี้ก็เพื่อฝึกฝนให้เข้าใจ แยกแยะระหว่างสิ่งที่เราเชื่อกับสิ่งที่เราปฏิบัติ เข้าใจมุมมองและการคิดของผู้อื่น * เน้นทักษะด้านความคิด ความเชื่อที่องค์กรที่ยึดถือมุ่งมั่นผ่านการวางแผนและคณะกรรมการบริหาร และ * ทักษะในการเรียนรู้ด้านธุรกิจและมนุษยสัมพันธ์ที่มีผลต่อแบบแผน ความคิดอ่านของคนผ่านทักษะการคิดใคร่ครวญ (Reflection Skills) เป็นการตรวจสอบความคิด ความเชื่อใดมีผลต่อการปฏิบัติการแสดงออก * ทักษะในการสืบค้น (Inquiry Skill) เป็นดัชนีบอกว่า เรามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์แบบพบปะกับผู้อื่นเช่นไร เข้าไปแก้ไขกับประเด็นปัญหาที่ซับซ้อนเช่นไรในการปฏิบัติงาน จำเป็นต้องใช้ทักษะทั้งสองประการนี้อยู่เสมอ * เปิดเวทีสะท้อนถึงชุมชนปฏิบัติ (Community of Practice) ให้เกิดขึ้นในองค์กรเพื่อเปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น เปิดเครือข่ายการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การพบปะกันตามทางเดิน การเล่าเรื่อง การเล่าประสบการณ์ เทคนิคการจัดประชุม แนวทางใหม่ๆ ของการปฏิบัติงาน การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน ดังนั้นองค์กรเรียนรู้ได้ผ่านการปรับปรุงแบบแผนความคิดร่วมกัน ผ่านเวทีการแลกเปลี่ยนที่สะท้อนถึงการเป็นชุมชนปฏิบัติที่ดี 25

26 วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline)
Management of Information Technology วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline) ๓. ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery) ลักษณะการเรียนรู้ของคนในองค์กร จะสะท้อนให้เห็นถึงการเรียนรู้ขององค์กรได้ สมาชิกขององค์กรแห่งการเรียนรู้นั้น จะมีลักษณะสนใจและใฝ่หาที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ มีความปรารถนาที่จะเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของตน มุ่งสู่จุดหมายและความสำเร็จที่ได้กำหนดไว้ 26

27 วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline)
Management of Information Technology วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline) ๓. ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery) การเรียนรู้ขององค์กรจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อบุคคลมีการเรียนรู้ และฝึกฝนอบรมตนด้วยการเรียนรู้อยู่เสมอ เป็นการขยายขีดความสามารถให้เชี่ยวชาญมากขึ้น ความรอบรู้เป็นผลร่วมของทักษะ ความสามารถเป็นสภาพที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริง เห็นว่าสิ่งใดมีความสำคัญต่อตนเองและต่อองค์กร - ขณะเดียวกันก็มองเห็นภาพในอนาคต (Vision) ที่พึงเป็นได้ - สร้างเป็นวิสัยทัศน์ส่วนตนขึ้น (Personal Vision) ตอบสนองตนเองได้ - รักษาความตึงเครียดอย่างสร้างสรรค์ (Creative Tension) เห็นความต่างระหว่างที่เป็นจริงกับที่ควรเป็น - สร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่อง ไม่รู้สึกไร้อำนาจ ขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ให้เป็นจริง ผูกพันยึดมั่นต่อข้อเท็จจริง - มีพลังของเจตนา (Will Power on Focusing our Energies) การที่จะสร้างความรอบรู้แห่งตนได้นั้น เราจะต้องผสมผสานความเป็นเหตุเป็นผลเข้ากับการหยั่งรู้ที่ไม่สามารถอธิบายเหตุผลที่แท้จริงได้ แต่มีความเชื่อเช่นนั้น เห็นความเชื่อมโยงระหว่างตัวเรากับโลกภายนอก และยังต้องมีความเอื้ออาทร เมตตาสงสารผู้อื่นและมีความจงรักภักดี ผูกพันกับเป้าหมายกับงานและองค์กร บริษัท เอชอาร์ดี แมกซ์ จำกัด 27

28 วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline)
Management of Information Technology วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline) ๔. การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning) การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในองค์กร โดยอาศัยความรู้และความคิดของมวลสมาชิกในการแลกเปลี่ยน และพัฒนาความฉลาดรอบรู้และความสามารถของทีมให้บังเกิดผลยิ่งขึ้น เรียกว่า การอาศัยความสามารถของสมาชิกแต่ละบุคคล การเรียนรู้จะเกิดได้เมื่อมีการรวมพลังของกลุ่มต่างๆ เป็นการรวมตัวของทีมงานที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งเกิดจากสมาชิกในทีมมีการเรียนรู้ร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์กันอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 28

29 วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline)
Management of Information Technology วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline) 29

30 วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline)
Management of Information Technology วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline) ๔. การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning) คือ การพูดคุย (Dialogue) และการอภิปราย (Discussion) ของผู้คนในองค์กร เพื่อปรับทิศทางทำความเข้าใจระหว่างกันก่อนเพื่อให้เกิดแนวคิด แนวปฏิบัติให้ตรงกัน (Alignment) เป็นเงื่อนไขสำคัญก่อนที่จะมีการเพิ่มอำนาจในการปฏิบัติ (Empowerment) ให้แก่บุคคลหรือทีมในการตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ลักษณะสำคัญ 3 ประการของการเรียนรู้เป็นทีม คือ ๔.๑ สมาชิกต้องมีความสามารถในการคิดแก้ไขปัญหา หลายหัวร่วมกันคิดย่อมดีกว่าการให้บุคคลคนเดียวคิด ภายในทีมต้องมีการทำงานที่สอดประสานกันเป็นอย่างดี ๔.๒ ภายในทีมต้องมีการทำงานที่สอดประสานกัน คิดในสิ่งที่ใหม่และแตกต่าง มีความไว้วางใจต่อกัน ๔.๓ บทบาทของสมาชิกที่มีต่อทีมอื่นๆ ขณะที่ทีมหนึ่งสมาชิกเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การประพฤติปฏิบัติของทีมนั้นยังส่งผลต่อทีมอื่นๆ ด้วย ซึ่งจะช่วยสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ให้มีพลังมากขึ้น 30

31 วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline)
Management of Information Technology วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline) ๔. การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning) สมาชิกของทีม มักมีบทบาทที่แตกต่างกันตามลักษณะของพฤติกรรมที่แสดงออก ซึ่งเป็นผลมาจากความรู้ ความสามารถ และความถนัดของสมาชิกที่แตกต่างกัน จำแนกประเภทของสมาชิกตามบทบาทที่แสดงออกได้ดังนี้ - เป็นนักคิด (Thinker) - เป็นนักจัดองค์กร (Organizer) - เป็นนักปฏิบัติการ (Operator) - เป็นนักตรวจสอบ (Auditor) - เป็นนักประเมินผล (Evaluator) - เป็นสมาชิกของทีม (Member) 31

32 วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline)
Management of Information Technology วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline) ๔. การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning) กลยุทธ์การสร้างทีมงาน (Team Development Strategy) Bruce Tuckman. (1965). ได้นำเสนอขั้นตอนการสร้างทีมงาน รวม 5 ขั้นตอนไว้ดังนี้ ๑. การก่อร่างสร้างทีม (Forming) ใช้กลยุทธ์มุ่งเน้นตามสมรรถนะ (Competency) ๒. การเผชิญมรสุม (Storming) ใช้กลยุทธ์ความเป็นผู้นำ (Leadership) การอยู่ร่วมกันต่อสู้ ๓. การสร้างกติกา (Norming) ใช้กลยุทธ์การมีส่วนรวม (Participative) ๔. การสร้างผลงาน (Performing) ใช้กลยุทธ์การสื่อสาร (Communication) เทคนิคการจูงใจ (Motivation) การสอนแนะ (Coaching) ซึ่งล้วนเป็นกลยุทธ์ทางการบริหาร (Management Principle) ๕. การแยกทีม (Adjourning) ใช้กลยุทธ์การวัดผลงาน (Measurement) เพื่อให้ทีมไปต่อหรือยุบทีม 32

33 วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline)
Management of Information Technology วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline) ๕. วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) สมาชิกทุกคนได้รับการพัฒนาวิสัยทัศน์ของตนให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์รวมขององค์กร ซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดการรวมพลังของสมาชิกที่มีความคาดหวังต่อความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าต่อไป ภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกันของคนทั้งองค์การ 33

34 วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline)
Management of Information Technology วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline) ๕. วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) วิสัยทัศน์ร่วมหรือภาพในอนาคตที่ปรารถนาให้เกิดขึ้นในองค์กร * เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อภาวะผู้นำทุกคนเป็นพลังขับเคลื่อนภารกิจทุกอย่างขององค์กรให้มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน * * เป็นจุดร่วมและพลังของการเรียนรู้ของสมาชิกในองค์กร ผู้นำต้องพัฒนาวิสัยทัศน์เฉพาะตน (Personal Vision) ขึ้นมาก่อน แล้วแบ่งปันให้ผู้อื่นได้รู้ เข้าใจ เห็นคล้อยตามด้วยการสื่อสาร โน้มน้าวทำให้คำพูดหรือภาพนั้นเดินได้ กลายเป็นวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) ที่มีการแบ่งปันกับผู้อื่นที่เกี่ยวข้องในทุกระดับขององค์กร โน้มน้าวให้เกิดการปฏิบัติร่วมกันไปในทิศทางที่ทำให้ภาพวิสัยทัศน์นั้นเป็นจริง (Turn Vision into Action) ในลักษณะของปฏิบัติการเชิงรุก(Pro action) มิใช่รอหรือตามแก้ไข 34

35 วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline)
Management of Information Technology วินัย ๕ ประการ (Fifth Discipline) 35

36 คำถาม 322 471 Management of Information Technology
36

37 คำถาม 322 471 Management of Information Technology
37

38 7 Ss PEST S = Strengths W = Weaknesses Internal Factors
O = Opportunities T = Threats Internal Factors External Factors PEST

39 COMMON MANAGEMENT TOOLS
4-Ps 5-Forces 6 Sigma 7S of McKinsey Activity Based Costing (ABC) Balanced Scorecard Benchmarking Core Competencies ISO Just-in-Time (JIT) Knowledge Management (KM) Learning Organization (LO) PEST Reengineering Strategic Planning Customer Relationship Management (CRM) Customer Satisfaction Measurement Management by Objectives (MBO) Total Quality Management (TQM) , etc.

40 Example of relationship between several management tools
Vision & Mission Statement SWOT Strategic Planning PEST, 7 Ss Shareholder Value Analysis, Waste Minimization Financial Perspective KM, LO Learning & Growth Perspective Balanced Scorecard CRM, CS Customer Perspective Six Sigma Kaizen ABC CMMI Internal Process Perspective Benchmarking Gantt Chart Initiatives and Action Plan Prioritisation Matrix

41 องค์กรที่มุ่งเน้นยุทธศาสตร์ (Strategy-focused Organization)
การบริหารกระบวนการ ประสิทธิผล Effiectiveness ลดรอบระยะเวลาดำเนินการ การพัฒนาขั้นตอนการทำงานให้ดีขึ้น ลดต้นทุน & ความสูญเสีย Reengineering Lean Enterprise Six Sigma TQM เพิ่มผลผลิต กระบวนการบริหารลูกค้า คุณภาพ Quality เพิ่มคุณค่า Value Creation เพิ่มความพึงพอใจ การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) การดูแลผู้รับบริการ เพิ่มความไว้วางใจ ความโปร่งใส มีส่วนร่วม การวางระบบบริหารจัดการ สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ ประสิทธิภาพ Efficiency ขีดสมรรถนะ Capacity Building เพิ่มความพร้อมเชิง ยุทธศาสตร์ ทุนมนุษย์ ทุนข้อมูลสารสนเทศ & ทุนความรู้ ทุนองค์กร

42 สรุปเครื่องมือ การจัดการองค์กร (Organization)
Management of Information Technology สรุปเครื่องมือ การจัดการองค์กร (Organization Models) กลยุทธ์ (Strategies) กระบวนงานหลักและงานประจำ (Primary & Functional Processes) คนและพฤติกรรม (People & Behaviour) การจัดการองค์กร (Organization) Deming Cycle Balanced Scorecard Malcolm Baldridge Award McKinsey 7’s Framework Corporate Life Cycle 8 Phases of Change 4 Competencies of Learning Organization Zachman Framework MIT90 Model 42

43 กระบวนงานหลักและงานประจำ (Primary & Functional Processes)
Management of Information Technology กลยุทธ์ (Strategies) SWOT Analysis Value Chain Competitive Force Analysis (Porter 5’s Force) Core Competencies Scenario Planning PEST Analysis กระบวนงานหลักและงานประจำ (Primary & Functional Processes) Benchmarking Kaizen Activity-based Costing Capability Maturity Nolan IT Growth Stages 43

44 คนและพฤติกรรม (People & Behaviour)
Management of Information Technology คนและพฤติกรรม (People & Behaviour) Maslow Covey’s 7 Habits of Highly Effective People Fifth Discipline 44

45 ประเภทเครื่องมือ (Categories)
Management of Information Technology ประเภทเครื่องมือ (Categories) Model แต่ละแบบสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับงานในหลากหลายลักษณะ ควรเลือกใช้ให้ถูกต้อง เหมาะสม 45

46 ประเภทเครื่องมือ (Categories)
Management of Information Technology ประเภทเครื่องมือ (Categories) Model บางรูปแบบสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับงานในหลายลักษณะ ควรเลือกใช้ให้ถูกต้อง เหมาะสม 4 Competencies of Learning Organization Kaizen (5S หรือ 5ส) Kotter’s 8 Phases of Change Value Chain 46

47 322 471 Management of Information Technology
56 Models 47

48 Thank you! Contact Address: Apisak Pattanachak
SC.6310 Computer Science Dpt., Science Faculty, Khon Kaen University Tel: ,


ดาวน์โหลด ppt Management Tools & Models Episode IV

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google