อันตรายจากการประกอบอาชีพที่สัมผัสกับสารเคมีและสารกำจัดศัตรูพืช

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
“Non Electrolyte Solution”
Advertisements

Phase equilibria The thermodynamics of transition
H2O H2O H2O ความสำคัญของน้ำ H2O H2O.
หลักการทางเคมีของสิ่งมีชีวิต
หลักการทางเคมีของสิ่งมีชีวิต
สารกัดกร่อน.
สารที่เข้ากันไม่ได้.
สารไวต่อปฏิกิริยาเคมี
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
1. การจัดแยกประเภทของเสียในห้องปฏิบัติการ 2
กนกพร อธิสุข สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหร
บทที่ 6 Alcohols and Ethers
ColOR COSMETic FOR SKIN (Face powder)
โมเลกุล เซลล์ และ ออร์กาเนลล์ (Molecules Cells and Organelles)
Evaluation of pesticides interaction Herbicide-herbicide interaction
Alkyl halide Alkyl halide หรือ Aryl halide มีสูตรทั่วไป คือ R - X หรือ Ar - X มีความสำคัญในด้านต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นยาฆ่าแมลง ยาปฏิชีวนะ.
สารเคมีที่ใช้ในการควบคุม แมลงนำโรค
สารเคมีที่ใช้ในการควบคุม แมลงนำโรค
วัตถุประสงค์การใช้สารเคมีควบคุมแมลงพาหะ
สารเคมีที่ใช้ในการควบคุม แมลงนำโรค
ภาษาอังกฤษสำหรับสถานประกอบการ ENGLISH FOR THE WORKPLACE
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดสารเคมีอันตรายที่ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง พ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2552.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การระบุชื่อ ประเภท ชนิด หรือขนาดบรรจุของสารเคมีหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารระเหย พ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
นำเสนอโดย นางสาวรักเรียน เพียรขยัน รหัส xxxxxxxx
FUNGICIDES : DITHIOCARBAMATE TEST KIT
Principle of Occupational Medicine
ILO 1980 INTERNATIONAL CLASSIFICATION OF RADIOGRAPHS OF THE PNEUMOCONIOSES Ponglada Subhannachart, M.D. Chest Disease Institute.
ว เคมีพื้นฐาน พันธะเคมี
"ประกาศกรมการขนส่งทางบกเรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ 4 พ.ศ. 2553" ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่
Environmental Monitoring for Pesticide Exposure
OCCUPATIONAL HEALTH CHARIN YENJAI.
Anaerobic culture methods
อุณหพลศาสตร์ (Thermodynamics)
การเฝ้าระวัง และระบบการรายงานข้อมูล เพื่อการเฝ้าระวัง
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
Water and Water Activity I
สารเคมีในชีวิตประจำวัน
เคมีอุตสาหกรรม พอลิเมอร์และผลิตภัณฑ์ของใช้ในชีวิตประจำวัน
จำแนกประเภท ของสาร.
กิจกรรมทดสอบความชำนาญ ประจำปี 2560
Hazardous Material Incidents
ธาตุอาหารพืช (Plant Nutrient).
การบริการงานอาชีวเวช ภายนอกโรงพยาบาล
REACTIONS OF ALKENES : คือปฏิกริยาที่ C=C bond ADDITION
การสืบค้นข้อมูลทางเคมี
Food Contact Surface Packaging Sniff Test
กิจกรรมทดสอบความชำนาญ ประจำปี 2560
สารชีวโมเลกุล (Biomolecules) ดร.ธิดา อมร.
กระบวนการที่แยก Analyte และ Matrix ออกจากกัน
โรคจากการประกอบอาชีพ
ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 164/2560
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย
ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 76/2560 เรื่อง กำหนดมาตรฐานทั่วไปในการระบาย น้ำเสียลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรม ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
การกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำข้อมูลพื้นฐาน
หลักการจัดการแมลงศัตรู
กลุ่มอาชีวอนามัย สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
วัชพืชถั่วเขียว และการป้องกันกำจัด
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
เคมีอินทรีย์ การเรียกชื่อสารอินทรีย์
คำขอแก้ไขรายการขึ้นทะเบียน
สารละลายกรด-เบส.
คำขอแก้ไขรายการขึ้นทะเบียน
122351/ Soil Fertility and Plant Nutrition
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้ง ไอน้ำมันเบนซินจากคลังน้ำมันเชื้อเพลิง ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่
การสืบค้นข้อมูลทางเคมี
กิจกรรมทดสอบความชำนาญ ประจำปี 2562
กิจกรรมทดสอบความชำนาญ ประจำปี 2560
ทบทวนกฎหมายรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติที่สำคัญซี่งมีมิติในเชิงคดี
สัญลักษณ์แสดง ความอันตรายของสารเคมี
ใบสำเนางานนำเสนอ:

อันตรายจากการประกอบอาชีพที่สัมผัสกับสารเคมีและสารกำจัดศัตรูพืช NPRU

เนื้อหา ทางเข้าสู่ร่างกายของสารเคมี ประเภทของสารเคมีอันตราย การแบ่งชนิดของอนุภาคตามลักษณะทาง กายภาพ กลุ่มสารเคมีที่คุกคามสุขภาพในสิ่งแวดล้อม การทำงาน อันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช (Pesticide poisoning) หลักการควบคุมและป้องกันอันตรายจาก สารเคมี เนื้อหา NPRU

อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางเคมี (Chemical Environmental Hazards) สารเคมีอันตราย (Dangerous Chemical) สารเคมีที่มีข้อมูลบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าเป็นสารอันตราย มีลักษณะเฉพาะที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บ ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย เนื่องมาจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ความไม่เสถียรตัวของสารเคมีนั้นเมื่อมีการสลายตัวมีการระเบิดลุกไหม้ หรือคุณสมบัติที่ระเหยได้ จำเป็นต้องพิจารณา ชนิดของสารประกอบ สารผสมเคมี การสัมผัสสารเคมี วิธีที่สารเคมีเข้าสู่ร่างกาย

1. ทางเข้าสู่ร่างกายของสารเคมี

2. ประเภทของสารเคมีอันตราย “สารเคมีอันตราย” ตามหลักเกณฑ์การแบ่งขององค์การพาณิชย์นาวีระหว่างประเทศ(International Maritime Organization : IMO) สามารถจำแนกออกได้เป็น 9 ประเภท คือ 1. วัตถุระเบิด (Explosives) 2. ก๊าซ (Gas) 3. ของเหลวไวไฟ (Flammable Liquids) 4. ของแข็งไวไฟ (Flammable Solid) 5. สารออกซิไดซ์และสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ (Oxidizing Substances and Organic Peroxides) 6. สารเป็นพิษและสารติดเชื้อโรค (Poisonous Substances and infectious Substances) 7. สารกัมมันตรังสี (Radioactive Materials) 8. สารกัดกร่อน (Corrosive Substances) 9. สารหรือวัตถุอื่นที่อาจเป็นอันตรายได้ (Miscellaneous Products or Substances)

2. ประเภทของสารเคมีอันตราย (ต่อ) 2.1 วัตถุระเบิด (Explosives) สารที่ระเบิดได้ เป็นสารส่วนผสม หรือสารประกอบที่สามารถเข้าทำปฏิกิริยาการลุกไหม้ได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง แล้วทำให้เกิดระเบิดขึ้นได้ สารที่ระเบิดได้ เป็นสารส่วนผสม หรือสารประกอบที่สามารถเข้าทาปฏิกิริยาการลุกไหม้ได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง แล้วทาให้เกิดระเบิดขึ้นได้ จาแนกออกเป็น 6 ชนิด ดังนี้ 1.1 สารหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรง 1.2 สารหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายโดยการกระจายของสะเก็ดเมื่อเกิดการระเบิด แต่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรง 1.3 สารหรือสิ่งซึ่งก่อให้เกิดอันตรายจากเพลิงไหม้ ตามด้วยการระเบิดหรืออันตรายจากการกระจายของสะเก็ดบ้างหรือเกิดอันตรายทั้งสองอย่าง แต่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรง 1.4 สารหรือสิ่งซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากนัก ผลของการระเบิดจากัดอยู่ในเฉพาะหีบห่อ ไม่มีการกระจายของสะเก็ด 1.5 สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่ถ้าเกิดการระเบิดจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับสารในข้อ1.1 1.6 สารที่ไม่ว่องไวหรือเฉื่อยมากต่อการระเบิด ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงจากการระเบิด ตัวอย่างได้แก่ ดินปืน กระสุนปืน Nitrocellulose Liquid Nitroglycerine Dynamite Ammonium dichromate Ammonium nitrate ที่มีส่วนผสมของวัตถุที่เผาไม้ได้เกิน 0.2 %

2. ประเภทของสารเคมีอันตราย (ต่อ) 2.2 ก๊าซ (Gas) เป็นก๊าซซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตหรือทำให้บาดเจ็บได้ และสามารถทำให้ทรัพย์สินถูกทำลายได้จากคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีที่มีความเป็นพิษ การกัดกร่อน ความไวไฟ หรือจากการระเบิด จำแนก 4 ชนิด ก๊าซไวไฟ (A Flammable Gas) ก๊าซไม่ไวไฟ ไม่เป็นพิษและไม่กัดกร่อน (A Non flammable-Non Poisonous Non Corrosive Gas) ก๊าซพิษ (A Poison Gas) ก๊าซกัดกร่อน (A Corrosive Gas) ตัวอย่างได้แก่ ก๊าซหุงต้ม, ก๊าซไฮโดรเจน, ก๊าซมีเทน, ก๊าซอะเซทีลีน

2. ประเภทของสารเคมีอันตราย (ต่อ) 2.3 ของเหลวไวไฟ (Flammable Liquids) เป็นของเหลวหรือของเหลวผสมหรือของเหลวที่มีสารแขวนลอยผสมอยู่ เช่น สี แลกเกอร์ เป็นต้น ของเหลวเหล่านี้จะให้ไอระเหยที่ไวไฟ สามารถติดไฟได้ที่อุณหภูมิ 61 องศาเซียลเซียส หรือที่อุณหภูมิต่ำกว่า แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ของเหลวที่มีจุดวาบไฟน้อยกว่า 18 ºC เช่น Amyl nitrate, Cyclohexene ของเหลวที่มีจุดวาบไฟระหว่าง 18 ºC ถึง 23 ºC เช่น Acetone oil, Allylacetate, Allyl alcohol, Benzene ของเหลวที่มีจุดวาบไฟระหว่าง 23 ºC ถึง 61 ºC เช่น Bromobenzene, Chlorobenzene, Solvent, Xylene, Ethyalcohol

2. ประเภทของสารเคมีอันตราย (ต่อ) 2.4 ของแข็งไวไฟ (Flammable Solid) สารที่ก่อให้เกิดการลุกไหม้ได้เอง (Substances Liable to Spontaneous Combustion) และสารซึ่งเมื่อสัมผัสกับน้ำแล้วก่อให้เกิดก๊าซติดไฟ (Substances That in Contact With Water Emit-Flammable Gas) ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids) เช่น ไม้ขีดไฟ การบูร ผงกำมะถัน เศษ ยาง หรือผลอลูมิเนียม(ชนิดเคลือบ) สารหรือวัตถุที่ติดไฟได้เอง ภายใต้การขนส่งหรือให้ความร้อนสูงเมื่อ สัมผัสกับอากาศทำให้เกิดการลุกไหม้ได้ เช่น Aluminium alkyl ,Activated carbon , ผงอลูมิเนียม สารหรือวัตถุที่สัมผัสกับน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ เป็นวัตถุสัมผัสน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ/เกิดลุกไหม้ได้เองเมื่อสัมผัสน้ำ เช่น โลหะผสม Aluminium carbide, Barium , Calcium และ Calcium silicide

2. ประเภทของสารเคมีอันตราย (ต่อ) 2.5 สารออกซิไดซ์และสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ (Oxidizing Substances and Organic Peroxides) สารที่เติมออกซิเจน เป็นสารเคมีที่สลายตัวอย่างรวดเร็วภายใต้ภาวะหนึ่ง แล้วเกิดออกซิเจนขึ้น สารนี้ก่อให้เกิดอัคคีภัยได้เมื่อสัมผัสกับวัสดุติดไฟ หรืออาจทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำ สารหรือวัตถุออกซิไดซ์ (Oxidizing substances) เช่น Aluminum nitrate, Ammonium nitrate ชนิด A , ผงฟอกขาว (Bleaching powder), Calcium chlorate, Calcium chloride, Calcium hypochloride (solid), Calcium hypochloride (solution) สารหรือวัตถุอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic peroxide) เป็นวัตถุอินทรีย์ที่มีโครงสร้างออกซิเจน 2 ตัวซึ่งเป็นสารออกซิไดซ์ที่รุนแรงและสามารถระเบิด สลายตัวหรือไวต่อความร้อน การกระทบกระเทือนหรือการเสียดสี เช่น Methyl Ethyl, Ketone Peroxide, Cyclohexanone Peroxide, Methyl Isobutyl, Ketone Peroxide, Asenyl acetone, Peroxide

2. ประเภทของสารเคมีอันตราย (ต่อ) 2.6 สารเป็นพิษและสารติดเชื้อโรค (Poisonous Substances and infectious Substances) สารเป็นพิษ เป็นก๊าซ ของเหลว หรือของแข็ง ที่มีคุณสมบัติในการทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือตายได้ เมื่อสัมผัสกับเซลล์ของร่างกาย วัตถุมีพิษ (Poisonous Substances) ของแข็งหรือของเหลวที่เป็นพิษ เมื่อหายใจเข้าสู่ร่างกาย รับประทานหรือสัมผัสกับผิวหนัง เช่น Arsenic, Arsenic trioxide, Aniline, Barium cyanide, Chloronitrobenzene, Copper cyanide, Sodium cyanide, Potassium cyanide, Dichloromethane, Sodium silicofluoride เป็นวัตถุที่มีเชื้อจุลินทรีย์ (Micro organism) อันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์และสัตว์

2. ประเภทของสารเคมีอันตราย (ต่อ) 2.7 สารกัมมันตรังสี (Radioactive Materials) เป็นวัตถุกัมมันตรังสีที่ให้รังสีมากกว่า 74 kBq/kg กิโลแบ็กแรล,. หรือวัตถุที่สลายตัวแล้วให้รังสีออกมามากกว่า 0.002 ไมโครคิวรีต่อน้ำหนักของวัตถุนั้น 1 กรัม รังสีนี้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เราสามารถรับรังสีได้ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ตัวอย่าง สารกัมมันตรังสี ได้แก่ Pu พลูโตเนียม-238, พลูโตเนียม-239 เกิดอตร.ง่าย เพราะมีปฏิกริรยา fusion มีครึ่งชีวิต 24,100 ปี , พลูโตเนียม-241, ยูเรเนียม-233, ยูเรเนียม-235 เป็นต้น

2. ประเภทของสารเคมีอันตราย (ต่อ) 2.8 สารกัดกร่อน (Corrosive Substances) สารที่กัดกร่อนได้ เป็นสารที่สามารถทำลายเนื้อเยื่อร่างกายคน และมีความสามารถในการทำลายวัตถุต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุที่ติดไฟได้ ซึ่งผลดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอัคคีภัย หรือการระเบิดได้ ตัวอย่าง วัตถุกัดกร่อน ได้แก่ Sulfuric acid, Phosphoric acid, Nitric acid, Sodium hydroxide, Potassium hydroxide, Acetic acid (glacial) เป็นต้น

2. ประเภทของสารเคมีอันตราย (ต่อ) 2.9 สารหรือวัตถุอื่นที่อาจเป็นอันตรายได้ (Miscellaneous Products or Substances) สารที่เป็นอันตรายซึ่งยังไม่ได้จัดอยู่ในประเภทใดใน 8 ประเภทข้างต้น แต่สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ สารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ของเสียอันตราย อย่างไรก็ตาม สารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ หรือเป็นผลผลิต หรือเป็นของเสียที่ ต้องกำจัดที่เกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอนามัยของคนงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสถานะ ประกอบการนั้นอาจจะอยู่ในรูปของ ก๊าซ ไอสาร ฝุ่น ฟูม ควัน ละออง หรืออยู่ในรูปของเหลว เช่น สารตัวทำละลาย (solvents) ต่าง ๆ เป็นต้น และเพื่อให้ได้เข้าใจในความหมายของคำ ต่าง ๆ ดังกล่าวจึงอาจสรุปนิยามของคำต่าง ๆ ดังนี้ ตัวอย่าง ได้แก่ ปุ๋ยแอมโมเนียม ไนเตรทชนิด B (UN.2071), Asbestos, Zinc hydrosulfite, PBC′s Polychlorinated Biphenyls เป็นต้น

3. การแบ่งชนิดของอนุภาคตามลักษณะทางกายภาพ 3.1 อนุภาคของแข็ง 3.1.1 ฝุ่น (Dust) เกิดจากการบด ทุบ ตี กระแทก หรือทำให้แตกด้วยความร้อน ฝุ่นมีอนุภาคขนาดตั้งแต่ 01-100 ไมครอน เช่น ฝุ่นหิน ฝุ่นทราย ฝุ่นแร่ ฝุ่นดิน ฝุ่นในงานก่อสร้าง ฝุ่นตามท้องถนน ฝุ่นไม้ ฝุ่นโรงสีข้าว เป็นต้น ซึ่ง 1 ไมครอนมีค่าเท่ากับเศษหนึ่งส่วน หนึ่งหมื่นเซนติเมตรเนื่องจากฝุ่นพวกนี้เป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็ก จึงสามารถที่จะปะปนกับอากาศที่ หายใจเข้าไปสู่ระบบทางเดินหายใจของร่างกายได้ 1.1 ฝุ่นที่สามารถถูกหายใจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ (Respirable dust) มีขนาดของอนุภาคเล็กกว่า 10 ไมครอน สามารถที่จะปะปนกับอากาศที่หายใจเข้าไปสู่ระบบทางเดินหายใจของร่างกายได้ 1.2 ฝุ่นที่ไม่สามารถถูกหายใจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ (Non-Respirable dust) มีอนุภาคมากกว่า 10 ไมครอนขึ้นไป จึงถูกระบบป้องกันอันตรายของร่างกาย เช่น ขนจมูกป้องกันไว้หมด ฝุ่นชนิดนี้จึงมีอันตรายน้อยกว่าฝุ่นชนิดแรก

3. การแบ่งชนิดของอนุภาคตามลักษณะทางกายภาพ (ต่อ) 3.1 อนุภาคของแข็ง 3.1.2 ควัน (Smoke) เป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็ก เล็กกว่า 1 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสารประกอบคาร์บอนและสารที่ลุกไหม้ได้ เช่น ถ่านหิน และน้ำมัน เป็นต้น ซิลิกาฟูม (silica fume) หรือไมโครซิลิกา (microsilica) เป็นชื่อเรียกวัสดุผสมเพิ่มชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นผลพลอยได้ของการผลิตซิลิกอนเมททัลและเฟอร์โรซิลิกอนอัลลอยด์เป็น กระบวนการรีดักชั่นจากควอร์ด (quartz)  ที่บริสุทธิ์ไปเป็นซิลิกอนโดยวิธี electric arc ที่อุณหภูมิสูงถึง 2,000 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดไอ (fume) ของ SiO2 ซึ่งต่อมาจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนและกลั่นตัวที่อุณหภูมิต่ำได้เป็นอนุภาคของซิลิกาขนาดเล็กมากที่ไม่เป็นผลึก ซิลิกาฟูมจะถูกดักจับในตัวดักจับเพื่อบรรจุใส่ถุงไว้ 3.1.3 เขม่า (Fly ash) เกิดจากการรวมตัวของอนุภาคขนาดเล็กของคาร์บอน ที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์

3. การแบ่งชนิดของอนุภาคตามลักษณะทางกายภาพ(ต่อ) 3.1 อนุภาคของแข็ง 3.1.4 ฟูม (fume) เป็นอนุภาคของแข็งที่มีขนาดเล็กมาก เล็กกว่า 1 ไมครอน เกิดจากการควบแน่นของไอโลหะ เมื่อโลหะโดนความร้อนจนหลอมเหลว เช่น ฟูมของตะกั่ว ฟูมของเหล็ก ฟูมของสังกะสี ฯลฯ เนื่องจากมีขนาดของอนุภาคเล็กมาก จึงทำให้มีโอกาสที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้มาก เพราะสามารถเล็ดลอดผ่านระบบป้องกันอันตรายของระบบทางเดินหายใจจนลงไปถึงปอดและทำอันตรายต่อร่างกายได้ในที่สุด silica fume 3.1.5 เส้นใย (Fiber) วัสดุที่มีขนาดเล็กแต่มีความยาวมาก เกิดจากการบด การตัด และการทำเหมืองแร่ เช่น เส้นใยแอสเบสตอส เส้นใยทรีโมไลท์ เป็นต้น เส้นใยแอสเบสตอส ทำให้เกิดมะเร็งปอด (Asbestosis) เส้นใยแอสเบสตอส

3. การแบ่งชนิดของอนุภาคตามลักษณะทางกายภาพ (ต่อ) 3.2 ของเหลว 3.2.1 ละออง (mist) อนุภาคของเหลวที่มีขนาด เกิน 10 ไมครอน ที่แขวนลอยอยู่ในอากาศ เกิดจากการที่ของเหลวเมื่อได้รับแรงกดดันจนเกิดการแตกตัวเป็นอนุภาค เช่น ในการพ่นสารฆ่าแมลง เกิดจากการควบแน่นของไอ หรือของก๊าซ ให้กลายเป็นของเหลวที่เป็นละอองเล็ก ๆ เช่น ละอองที่เกิดจากไอของกรดกามะถัน เป็นต้น 3.2.2 สารทำละลาย (Solvent) สารที่มีสมบัติในการละลายสารอื่นได้ดี ระเหยง่าย มีความไวไฟสูง มักใช้ในอุตสาหกรรมรมต่างๆ และผสมในผลิตภัณฑ์ เช่น การผสมสี การพ่นสี กาวยาง น้ำยาลบคำผิด น้ำยาขจัดคราบเปื้อน น้ำยาทำความสะอาดชิ้นงานและเครื่องจักร ฯลฯ ตัวอย่างของสารทำละลาย เช่น ทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน โทลูอีน ไซลีน ไตรคลอโรเอทธีลีน เป็นต้น

3. การแบ่งชนิดของอนุภาคตามลักษณะทางกายภาพ (ต่อ) 3.2 ของเหลว 3.2.3 กรด/ด่างที่เป็นของเหลว (Acid-Alkalis) มีสมบัติในการกัดกร่อน กรดนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น กรดซัลฟูริก ในโรงงานแบตเตอรี่ ผลิตสังกะสี งานชุบโลหะ เป็นต้น ด่างนำมาใช้ในโรงงาน เช่น อุตสาหกรรมผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตเชือก ภาชนะเคลือบ เยื่อกระดาษ ผลิตแก้ว โผลิตเลนส์แว่นตา โรงงานหลอมเหล็ก เป็นต้น 3.3 ก๊าซ 3.3.1 ไอสาร (vapor) เป็นภาวะที่เป็นก๊าซของสารที่เป็นของเหลวหรือของแข็งที่อุณหภูมิ และความกดดันปกติ เช่น ไอสารของลูกเหม็น เบนซิน เป็นต้น ไอสารเหล่านี้สามารถจะเปลี่ยนรูปกลับเป็นของเหลวหรือของแข็งตามสภาวะเดิมได้ โดยการเพิ่มความกดดัน หรือลดอุณหภูมิลง

4. กลุ่มสารเคมีที่คุกคามสุขภาพในสิ่งแวดล้อมการทำงาน 4.1 ก๊าซพิษ (Gaseous Poisoning) อันตรายของก๊าซพิษ ได้แก่ ชนิดที่ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน จะเข้าไปแทนที่ออกซิเจนในบรรยากาศ ทำให้ O2 ลดลงจาก 20% เหลือ 16% ทำให้คนอยู่บริเวณนั้นอึดอัด หายใจติดขัดหมดสติ เป็นลมไป เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ ไนโตรเจน เป็นต้น ชนิดที่เข้าไปรวมกับเม็ดเลือด ไปแทนที่ O2 ในเลือด ไม่ให้ O2 ไปรวมตัวกับฮีโมโกลบิน เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ก๊าซไซยาไน ชนิดที่ทำให้ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะ โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ เช่น คลอรีน แอมโมเนีย ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ชนิดอันตรายต่อทุกระบบในร่างกาย เช่น สูดดมทำให้เม็ดเลือดแดงแตก เช่น ฟอสจีน อาร์ซีน

4. กลุ่มสารเคมีที่คุกคามสุขภาพในสิ่งแวดล้อมการทำงาน (ต่อ) 4.2 สารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon Compounds) ใช้มากในงานอุตสาหกรรมเกือบทุกชนิด เพราะมีคุณสมบัติเป็นตัวละลายได้ดี อยู่ในรูปของแข็ง ของเหลว และก๊าซ เช่น เบนซีน อัลดีไฮด์ คีโตน แอลกอฮอล์ อันตรายต่อระบบและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายหลายประการ เช่น เป็นพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตเลียมโมเลกุลต่ำ เช่น มีเทน อีเทน โปรเพน บิวเทน น้ำมันเบนซิน แนบทาร์ น้ำมันก๊าด เมลทีลแอลกอฮอล์ เอททีลแอลกอฮอล์ ไนโตรเบนซีน ไดไนโตรเบนซีน ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น สารประกอบกลุ่มอัลดีโฮด์ ฟอร์มาดีไฮล์ เอสเตอร์ อโครเลอีน โมเลกุลน้อยกลิ่นเหม็น โมเลกุลมากกลิ่นหอม สารเคมีทำเครื่องสำอางใช้สารกลุ่มนี้ ทำอันตรายต่อสมอง ตับ ไต โดยตรง ซึ่งอยู่ในรูปก๊าซ ผ่านการหายใจ เช่น ไดเอททีลลีนไดออกไซด์ เอทีลลีนออกไซด์ ไดเอททีลอีเทอร์ กลุ่มไกลคอล เอทีลีนไกลคอล ใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้า เครื่องยนต์ วัตถุระเบิด อาบผิววัตถุ เป็นต้น

4. กลุ่มสารเคมีที่คุกคามสุขภาพในสิ่งแวดล้อมการทำงาน (ต่อ) 4.2 สารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon Compounds) (ต่อ) อันตรายต่อระบบและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายหลายประการ เช่น ทำอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น หลอดลม ปอด ได้แก่ สารไฮโดรคาร์บอน จัดอยู่ในกลุ่มของฮาโลเจน เช่น คลอรีน โบรมีน ฟูออรีน เมททีลโบร์ไมด์ เมทีลคลอเอทไรด์ ไตรคลอเอทีลีน คาร์บอนเตตราคลอไรด์ ทำอันตรายต่อไขกระดูก อวัยวะสำคัญในการสร้างเม็ดเลือด สารเคมีพวกนี้ได้แก่ โทลูอีน เบนซิน ยาขัดเงา แลคเกอร์ ทำให้ผิวหนังอักเสบ เนื่องจากไปทำลายไขมันที่ผิวหนัง เช่น ไตรไนโตรโทลูอีน ที.เอน.ที อนิลิน ฟีนอล แนบทาลีน

4. กลุ่มสารเคมีที่คุกคามสุขภาพในสิ่งแวดล้อมการทำงาน (ต่อ) 4.3 ตัวทำละลาย (Solvent) ใช้มากในงานอุตสาหกรรม เมื่อหายใจเอาไอของตัวทำละลายเข้าไป มีผลต่อสุขภาพ คือ ทำลายเลือด ปอด ตับ ไต ระบบทางเดินอาหารและเนื้อเยื่อ ประเภทของตัวทำละลาย จะแบ่งตามวิธีการใช้การสัมผัสสารเคมี เช่น ประเภทสัมผัสโดยตรงตลอดระยะเวลาการทำงาน เป็นการสัมผัสโดยตรง เช่น งานซ่อมฉุกเฉิน การพ่นสี การเก็บบรรจุสารละลายที่ระเหยได้ การทำความสะอาดกรณีตัวทำละลายหก การใช้ตัวทำละลายผสมในการทำความสะอาด ประเภทสัมผัสเป็นครั้งคราวหรือสัมผัสเป็นระยะ การใช้ตัวทำละลายในระบบปิด สามารถควบคุมได้ เช่น การพ่นสีในห้องที่มีการดูดอากาศออก การทำความสะอาดหรือล้างตัวทำละลายโดยใช้การระบายอากาศเฉพาะแห่ง ถ่ายเทตัวทำละลายจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง สัมผัสปริมาณน้อยนานๆ เป็นลักษณะการสัมผัสแยกอุปกรณ์การผลิตออกจากที่ทำงาน ส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติงานจะอยู่ในห้องควบคุม หรือการถ่ายเทตัวทำละลายด้วยอุปกรณ์เครื่องยก

4. กลุ่มสารเคมีที่คุกคามสุขภาพในสิ่งแวดล้อมการทำงาน (ต่อ) 4.4 ฝุ่นละอองที่ทำให้เกิดโรคปอด (Dust Disease of Lung) ฝุ่นละอองบางชนิด อาจทำให้เกิดเยื่อพังผืดที่ปอด ทำให้กลายเป็นมะเร็งปอด ฝุ่นบางชนิดมีผลต่อร่างกายไม่มาก เช่น ทำให้เกิดอาการแพ้ โรคปอดแข็งที่เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นเข้าไปเรียกว่า “Pneumoconiosis” หายใจเอาฝุ่นอนินทรีย์ (Inorganic Dust) เข้าไปทำให้เนื้อเยื่อปอดแข็งตัว (Fibrosis) จะมีเส้นใยค่อนข้างแข็งติดกับปอด ทำให้ปอดระคายเคืองมาก ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง อาการเบื้องต้น คือ หายใจลำบาก ฝุ่นที่ทำให้เกิดโรค Pneumoconiosis มีหลายชนิด โรคที่เกิดจะเรียกตามชนิดของฝุ่น ดังนี้ นิวโมโคนิโอซิส

4 กลุ่มสารเคมีที่คุกคามสุขภาพในสิ่งแวดล้อมการทำงาน (ต่อ) 4.4 ฝุ่นละอองที่ทำให้เกิดโรคปอด (Dust Disease of Lung) (ต่อ) โรคปอดฝุ่นทราย (Silicosis) พบในงาน เช่น การโม่  บด  ย่อยหิน/แร่ ต่างๆ งานก่อสร้างหรืองานที่เกี่ยวข้องกับ หิน ทรายซีเมนต์ งานทำแก้ว เซรามิค อิฐ ภาชนะดินเผา กระเบื้อง  การหล่อโลหะ การยิงทราย การเจียรนัย เพชร พลอย ฯลฯ  หายใจเอาฝุ่นทราย/ฝุ่นซิลิกา/ ผลึกซิลิคอนไดอ๊อกไซด์เข้าในปอด เนื้อเยื่อปอดไม่ทำการแลกเปลี่ยนอากศได้ตามปกติ อาการจะแสดงเร็ว/ช้า ขึ้นอยู่กับปริมาณฝุ่น ระยะเวลา และส่วนผสมของสารซิลิคอนไดอ๊อกไซด์ อาการ มีเสียงหายใจที่หลอดลม ปริมาตรปอดลดลง เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก นำไปสู่การติดเชื้อวัณโรคได้ง่าย การตรวจพบได้โดยการ X-ray เห็นเงาทึบเต็มปอด uncomplicated silicosis นิวโมโคนิโอซิส Complicated silicosis

4. กลุ่มสารเคมีที่คุกคามสุขภาพในสิ่งแวดล้อมการทำงาน (ต่อ) 4.4 ฝุ่นละอองที่ทำให้เกิดโรคปอด (Dust Disease of Lung) (ต่อ) โรคแอสเบสโตซีส (Asbestosis) หายใจเอาฝุ่นใยหิน/แอสเบสตอสเข้าไป สะสมในเยื่อปอดส่วนล่าง เส้นใยแอสเบสตอสมีลักษณะแหลม ทิ่มแทงเนื้อเยื่อปอด ทำให้ปอดสร้างพังผืดห่อหุ้มเส้นใยไว้คล้ายแคปซูล อาการคล้ายกับโรคซิลิโคซีส แต่ตรวจพบได้เร็วกว่า หากได้รับปริมาณมาก 2-3 ปีจะแสดงอาการ แต่อาจไม่ชัดเจน ต้องสัมผัสอย่างน้อย 10 ปีจะแสดงอาการชัดเจน อาการแสดง เช่น หายใจถี่ เจ็บหน้าอก ลำตัวบวม นน.ลด ปาก ลิ้น เล็บมีฟ้า ไอแห้งๆ สมรรถภาพปอดลดลง การตรวจพบได้โดยการ X-ray เห็นเงาทึบเต็มปอด นิวโมโคนิโอซิส

4. กลุ่มสารเคมีที่คุกคามสุขภาพในสิ่งแวดล้อมการทำงาน (ต่อ) 4.4 ฝุ่นละอองที่ทำให้เกิดโรคปอด (Dust Disease of Lung) (ต่อ) โรคปอดฝุ่นฝ้าย (Byssinosis) หายใจเอาฝุ่นฝ้ายเข้าไปในปอด สาเหตุมีหลายประการ เช่น เส้นใยฝุ่นฝ้ายทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปอด เชื้อจุลลินทรีย์บางอย่างที่ติดไปกับฝุ่นฝ้าย เส้นใยฝุ่นฝ้ายกระตุ้นให้เกิดการแพ้ อาการของโรคจะแสดงหลังจากสัมผัสฝุ่นฝ้ายเป็นระยะเวลานานหลายปี จนกระทั่งเป็นโรคอย่างถาวร มีอาการ คือ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เริ่มมีอาการวันแรกของการทำงาน และหายไปเอง อาการป่วยระยะสุดท้าย คือ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หอบ ถุงลมโป่งพอง นิวโมโคนิโอซิส

4. กลุ่มสารเคมีที่คุกคามสุขภาพในสิ่งแวดล้อมการทำงาน (ต่อ) 4.4 ฝุ่นละอองที่ทำให้เกิดโรคปอด (Dust Disease of Lung) (ต่อ) บาก๊าซโซซีส (Bagassosis) หายใจเอาเส้นใยของกากอ้อยที่บีบน้ำตาลออกหมดแล้วเหลือแต่ชานอ้อย ลักษณะฝุ่นชานอ้อยที่ทำอันตรายต่อร่างกายยังหาสาเหตุไม่แน่ชัด อาจเกิดจากเชื้อโรคที่ติดไปกับฝุ่นชานอ้อย ทำให้เกิดการแพ้ต่อระบบทางเดินหายใจ อาจเกิดจากเส้นใยชานอ้อยไปกระตุ้นการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปอด ทำให้เกิดโรคปอดขึ้นมา นิวโมโคนิโอซิส

4. กลุ่มสารเคมีที่คุกคามสุขภาพในสิ่งแวดล้อมการทำงาน (ต่อ) 4.4 ฝุ่นละอองที่ทำให้เกิดโรคปอด (Dust Disease of Lung) (ต่อ) เบอรีลลิโอซีส (Berylliosis) CHRONIC PULMONARY BERYLLIOSIS เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นอนินทรีย์เข้าไป ทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก เหนื่อยง่าย นน.ลด ไอแบบอกรน อาจจะแสดงอาการหลอดลมอักเสบอย่างรวดเร็ว ในกรณีหายใจเอาเกลือของสารเบอรีลเลี่ยมเข้าไปอาจจะถึงตายได้ นิวโมโคนิโอซิส โรคปอดชนิดอื่นๆ โรคปอดจากฝุ่นโลหะที่มีผลต่อระบบต่างๆ เช่น ฝุ่นตะกั่ว แมงกานีส แคดเมียม ปรอท โรคปอดจากไอควันโลหะ เช่น ไอควันสังกะสี แมกนีเซียม/ออกไซด์แมกนีเซียม ทำให้เป็นไข้จากไอควันโลหะ (Metal Fume Fever) อาจเกิดเป็นระยะ และหายไปใน 24-48 ชม.

4. กลุ่มสารเคมีที่คุกคามสุขภาพในสิ่งแวดล้อมการทำงาน (ต่อ) 4.5 สารเคมีที่ก่อมะเร็ง (Carcinogenic Substances) สารเคมีจะไปกระตุ้นระบบ หรืออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เมื่ออวัยวะร่างกายถูกกระตุ้นจะมีกลไกต่อต้านเกิดขึ้น มีผลทำให้เกิดมะเร็งที่อวัยวะส่วนนั้น สารเคมีในการทำงานหลายชนิด ทั้งด้านเกษตรกรรม/อุตสาหกรรม จะทำให้เกิดมะเร็งจากการประกอบอาชีพได้ เช่น มะเร็งผิวหนัง สารเคมีที่ทำให้เกิด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เช่น น้ำมันหล่อลื่น ถ่านหิน ยางมะตอย สารกัมมันตภาพรังสี ตัวทำละลายบางชนิด เป็นต้น มะเร็งที่ระบบสร้างเม็ดเลือด สารเคมีบางชนิดจะทำลายไขกระดูก ตัวอย่างสาร คือ รังสีต่างๆ ได้แก่ รังสีเอกซ์ รังสีแกมม่า รังสีเบต้า เบนซีน เป็นต้น มะเร็งที่ระบบทางเดินหายใจ การเข้าไปสะสมของสารเคมีที่ปอด ได้แก่ แอสเบสตอส ซิลิคอนไดออกไซด์ แร่ยูเรเนียม นิเกิล โครเมียม เบนโซไพรีน เป็นต้น มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สารเคมีเข้าไปทางการกิน/หายใจ ทำให้เกิดความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ ในอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น ทำสายไฟ ทำยาง ทำสีที่ใช้สารเคมีเม็ดสี ได้แก่ สารเบนซิดีน เบต้าแนบลามีน มาเกนต้า เซนีลามีน ออรามีน เป็นต้น นิวโมโคนิโอซิส

5. อันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช (Pesticide poisoning) 5.1 สารกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine insecticides) สลายตัวได้ยาก ทำให้เกิดการตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน จึงมีข้อจำกัดและการห้ามใช้ในหลายประเทศ ตัวอย่างของสารกลุ่มนี้ เช่น Endosulfan, Aldrin, DDT, Endrin, Methoxychor ฯลฯ การเกิดพิษเฉียบพลัน มักมีผลต่อระบบประสาท พิษเรื้อรัง หากใช้สารประกอบนี้ในปริมาณสูงๆ เป็นระยะเวลานานๆ อาจมีผลต่อการทำงานของตับและทำให้เกิดโรคมะเร็ง หรือโลหิตจางได้ แสงโฉม เกิดคล้าย,2546

5. อันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช (Pesticide poisoning) (ต่อ) 5.2 สารกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต (Organophosphate and Carbamate insecticides) สารกลุ่มนี้สลายตัวได้ค่อนข้างเร็ว จึงไม่ค่อยมีการตกค้างในสิ่งแวดล้อมระยะยาว แต่มีพิษเฉียบพลันสูง โดยมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ Acetylcholinesterase ทำให้เกิดการสะสมของ Acetylcholine ที่ปลายเส้นประสาท พิษเฉียบพลัน ทำให้เกิดการกระตุ้นปลายประสาทอย่างรุนแรง และเสียชีวิตได้ง่าย อาการอื่นๆ ที่พบ มีคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน น้ำตาไหล เหงื่อออก ม่านตาหด กลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้ การเกร็งของหลอดลม กล้ามเนื้อกระตุก และมีเสมหะมาก กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตที่มีชื่อทางการค้าทั่วไป เช่น Parathion, Malathion, Diazinon, Penithion, Chlorpyrefosmethyl เป็นต้น และกลุ่มคาร์บาเมตที่มีชื่อทางการค้าทั่วไป ได้แก่ Methomyl, Aidicarb, Bendiocarb และ Carbaryl Propoxer เป็นต้น

5. อันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช (Pesticide poisoning) (ต่อ) 5.3 สารกำจัดแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์ (Synthetic Pyrethriods) เป็นสารสังเคราะห์ขึ้นโดยเลียนแบบจากธรรมชาติ มีความไวทางชีวภาพสูง การใช้อย่างเจือจางทำให้ไม่มีฤทธิ์สะสมในร่างกาย จึงเกิดพิษต่อคนและสัตว์น้อยมาก การเกิดพิษที่พบได้บ่อย คือ อาการคันตามผิวหนัง ตัวอย่างของสารกลุ่มนี้ ได้แก่ Bioresmethrin Deltamethrin, Cyhalothrin และ Cypermethrin เป็นต้น แสงโฉม เกิดคล้าย,2546

5. อันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช (Pesticide poisoning) (ต่อ) 5.4 สารกำจัดวัชพืช (Herbicides) เป็นสารเคมีที่ใช้กำจัดทำลายพืชที่แย่งอาหารจากพืชที่ สารกำจัดวัชพืชที่ทำให้เกิดปัญหาที่พบบ่อย ได้แก่ Diquat, Paraquat สารกลุ่มนี้ดูดซึมทางผิวหนังได้ดี โดยเฉพาะถ้ามีบาดแผล พิษเฉียบพลัน มักมีผลต่อตับ ปอด อาจมีเลือดออกในทางเดินอาหาร พิษเรื้อรัง มีอาการเป็นพังผืดที่ปอด อีกชนิดหนึ่ง คือ สารกลุ่ม Glyphosate ซึ่งสารกลุ่มนี้ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก อาการรุนแรง อาจมีอาเจียนปนเลือด ปัสสาวะออกน้อย ไตวาย ปอดบวม อาการทางผิวหนัง ผื่นคัน ผิวหนังไหม้ ตาอักเสบได้ 5.5 สารกำจัดหนูและสัตว์แทะ (Rodenticides) สารกำจัดหนูและสัตว์แทะที่นิยมใช้กัน ส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ตัวอย่างสาร เช่น Warfarin หยุดยั้งการสร้างวิตามิน เค ทำให้เลือดออกตามผิวหนัง และส่วนต่างๆ ของร่างกาย เม็ดเลือดขาวต่ำ ลมพิษ ผมร่วง

5. อันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช (Pesticide poisoning) (ต่อ) 5.6 สารกำจัดเชื้อรา (Fungicides) สารกำจัดเชื้อรา มีใช้กันอยู่มากมาย บางชนิดมีพิษน้อยบางชนิดมีพิษมากจำแนกเป็นกลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Dimethey dithiocarbamates (Ziram, Ferbam, Thiram) มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์Acetaldehyde dehydrogenase เกิด antabuse effect ในคนที่ดื่มสุราร่วมด้วย กลุ่ม Ethylenebisdithiocarbamates (Maneb, Mancozeb, Zineb) กลุ่มนี้จะถูก metabolize เป็น Ethylene thiourea ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ กลุ่ม Methyl mercury ดูดซึมได้ดีทางผิวหนังและมีพิษต่อระบบประสาท กลุ่ม Hexachlorobenzene ยับยั้งเอนไซม์ Uroporphyrinogen decarboxylase มีพิษต่อตับ ผิวหนัง ข้อกระดูกอักเสบ กลุ่ม Pentachlorophenol สัมผัสมากๆ ทำให้ไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว แสงโฉม เกิดคล้าย,2546

6. หลักการควบคุมและป้องกันอันตรายจากสารเคมี

6. หลักการควบคุมและป้องกันอันตรายจากสารเคมี (ต่อ) 6.1 แหล่งกำเนิดของสารเคมี การใช้สารเคมีอื่นที่มีพิษน้อยกว่าแทน เช่น การใช้สารไซลีนแทนสารเบนซีน เพราะสารไซลีนมีคุณสมบัติเป็นตัวละลาย เหมือนสารเบนซิน แต่สารไซลีนมีอันตรายต่อเม็ดโลหิตน้อยกว่าสารเบนซีนมาก เปลี่ยนกระบวนการผลิตใหม่ เช่น ถ้าใช้ระบบแห้งในการผลิต แล้วเป็นสาเหตุให้เกิดการฝุ่นกระจายของฝุ่น ตัวอย่างการบดผงแมงกานีส ก็ควรพิจารณาเปลี่ยนเป็นการใช้ระบบเปียกเพราะจะทำให้ไม่มีฝุ่นฟุ้งกระจาย แยกกระบวนการผลิตที่มีอันตรายออกต่างหาก เพื่อจำกัดของเขตของการฟุ้งกระจายของสารเคมีไม่ให้แพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งยากในการควบคุม เช่น บริเวณไหนมีฝุ่นมากก็แยกการทำงานส่วนนั้นออกต่างหาก เป็นต้น

6. หลักการควบคุมและป้องกันอันตรายจากสารเคมี (ต่อ) 6.1 แหล่งกำเนิดของสารเคมี (ต่อ) การสร้างที่ปกปิดกระบวนการผลิตหรือแหล่งของสารเคมีให้มิดชิด เพื่อไม่ให้สารเคมีฟุ้งกระจายออกไปยังที่ต่างๆ เช่น การหาฝาปิดภาชนะที่บรรจุสารเคมีที่ระเหยได้ง่าย เป็นต้น การติดตั้งระบบดูดอากาศเฉพาะที่ เช่น การติดตั้งที่ดูดควันและกลิ่นเวลาปรุงอาหารในครัวหรือในห้องปฏิบัติการทางเคมี การบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ ให้อยู่ในสภาพดี สะอาด และเรียบร้อยอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีแพร่กระจายหรือรั่วออกไป หรือเป็นที่สะสมของสารเคมีต่างๆ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้

6. หลักการควบคุมและป้องกันอันตรายจากสารเคมี (ต่อ) 6.2 ทางผ่านของสารเคมี การบำรุงรักษาสถานที่ทำงานให้สะอาดเรียบร้อย เพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของสารเคมี เช่น บริเวณทำงานที่มีฝุ่นมาก ถ้าไม่ทำความสะอาดเสมอ ปล่อยให้ฝุ่นสะสมอยู่ตามที่ต่างๆ เมื่อลมพัดมาก็จะทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจายทั่วไป การติดตั้งระบบระบายอากาศทั่วไป ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการทางธรรมชาติ เช่น มีประตูหน้าต่างๆ และช่องลมช่วยระบายอากาศ หรืออาจจะเป็นวิธีใช้เครื่องกล เช่น การใช้พัดลมเป่า หรือดูดอากาศออกจากบริเวณนั้นๆ โดยไม่จำกัดเฉพาะที่แหล่งของอันตราย เพิ่มระยะทางระหว่างกำเนิดของสารเคมีกับตัวบุคคลที่อาจจะได้รับอันตรายจากสารเคมีให้ห่างกันออกไปมากขึ้น การตรวจหาระดับหรือปริมาณของสารเคมีในบรรยากาศของการทำงานเป็นประจำทั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของสารเคมีนั้นๆ กับมาตรฐานความปลอดภัย

6. หลักการควบคุมและป้องกันอันตรายจากสารเคมี (ต่อ) 6.3 บุคคลที่ได้รับสารเคมี ให้การศึกษาและฝึกอบรมแก่ผู้ปฏิบัติงานให้ทราบถึงอันตรายจากสารเคมี การลดชั่วโมงการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตรายให้สั้นลง การหมุนเวียนหรือสับเปลี่ยนหน้าที่การปฏิบัติงาน การให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานอยู่ในห้องควบคุมเป็นพิเศษ เช่น อยู่ในห้องปรับอากาศเพื่อป้องกันอันตรายจากฝุ่น เป็นต้น การตรวจสุขภาพร่างกายผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมีก่อนรับเข้าทำงาน การใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ที่ปิดปากและจมูกหรือเครื่องป้องกันอันตรายจากการหายใจ ผ้ากันเปื้อน ถุงมือ รองเท้า แว่นตา และที่ครอบหน้า ติดตั้งก๊อกน้ำฝักบัวและอุปกรณ์การปฐมพยาบาลต่างๆ เพื่อจะได้ใช้ทันทีเมื่อมีการได้รับอันตรายจากสารเคมีในขณะปฏิบัติงาน