กัลยกร พิบูลย์ หัวหน้าหอผู้ป่วยเฉลิมพระเกียรติ 4 cataract กัลยกร พิบูลย์ หัวหน้าหอผู้ป่วยเฉลิมพระเกียรติ 4
กลไกการมองเห็น หลักการทำงานคล้ายกล้องถ่ายรูป http://dr.yutthana.com/eye2.html
เลนส์ตา (lens) มีลักษณะใส ไม่มีหลอดเลือด หรือเส้นประสาท ทำหน้าที่โฟกัสแสงร่วมกับกระจกตา (cornea) ให้แสงตกลงบนจอตา (retina) บรรจุในถุงหุ้มเลนส์ ได้รับสารอาหารและกำจัดของเสียผ่านทาง aqueous humor มีน้ำเป็นส่วนประกอบ ประมาณ 65% โปรตีน 35% และแร่ธาตุอื่นๆ เล็กน้อย Clear lens (top), Cataract lens (bottom)
เลนส์ตา (lens) การมองเห็นของคนปกติ การมองเห็นของคนที่เป็นต้อกระจก แสงผ่านเข้าจอรับภาพน้อย
Cataract เลนส์ตาใส เลนส์ตาขุ่น
ประเภทของต้อกระจก ต้อกระจกในวัยสูงอายุ Senile cataract พบมากที่สุด มักเป็นทั้งสองตาแต่ความขุ่นของแก้วตาอาจไม่เท่ากัน ต้อกระจกโดยกำเนิด (Congenital cataract) มักเกิดเนื่องจากพันธุกรรมหรือเกิดจากการพัฒนาที่ผิดปกติเนื่องจากมารดาติดเชื้อไวรัสพวกหัดเยอรมัน (Rubella) ขณะตั้งครรภ์ 3 เชื้อไวรัสพวกหัดเยอรมัน (Rubella) ขณะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ต้อกระจกทุติยภูมิ ( secondary cataract) สาเหตุจากภยันตราย จากโรคเบาหวานจากการได้รับยาเสตียรอยด์และได้รับแสงอุลตราไวโอเล็ตเป็นเวลานานๆ
อาการ ตามัวลงช้าๆ โดยไม่รู้สึกเจ็บปวดผู้ที่เป็นต้อกระจกจะให้ประวัติว่าตาจะมัวมากขึ้นในที่สว่างที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจาก ขณะอยู่ที่สว่างรูม่านตาเล็กลงส่วนอยู่ในที่มืดจะเห็นชัดขึ้น เพราะรูม่านตาขยาย มองเห็นภาพซ้อน เนื่องจากการหักเหของแสงในแต่ละส่วนของแก้วตาเปลี่ยนไป รูม่านตาจะเห็นขุ่นขาวเมื่อส่องดูด้วยไฟฉาย
การรักษา การผ่าตัดนำเลนส์ตาที่ขุ่นออก (lens extraction) Extracapsular Cataract Extraction (ECCE)เป็นการผ่าตัดเอาแก้วตาออกเหลือแต่เปลือกหุ้มแก้วตาด้านหลัง หลังผ่าตัดประมาณ 1 1/2 - 2 เดือน ต้องสวมแว่นตาจึงมองเห็นชัดในภาวะที่ไม่มีแก้วตาหรือเลนส์นี้มีชื่อเฉพาะเรียกว่า aphakia Intracapsular Cataract Extraction (ICCE) เป็นการผ่าตัดเอาเลนส์ตาออกทั้งหมดรวมทั้งถุงหุ้มเลนส์ด้วย โดยการใช้ Freezing probe และลอกเอาแก้วตาออกทั้ง capsule และ เนื้อในแก้วตา ผลของการผ่าตัดชนิดนี้มีผลไม่แน่นอน มีผลต่อสายตาการมองถ้าไม่ใส่เลนส์เข้าไปแทนที่ผู้ป่วยจะต้องใส่แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ หรือถ้าใส่แล้วแพทย์วางตำแหน่งไม่ตรงทำให้เกิดสายตาเอียงได้
การรักษา (continuous) Extracapsular Cataract Extraction with Intraocular Lens (ECCE c IOL) เป็นการผ่าตัดเอาแก้วตาออกเหลือแต่เปลือกหุ้มแก้วตาด้านหลังร่วมกับใส่แก้วตาเทียมหลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถมองเห็นชัดทันทีการมองเห็นภาพจะขนาดใกล้เคียงกับตาคนปกติมากที่สุดไม่ต้องสวมแว่นตา สามารถขจัดปัญหาการสูญหายของแว่นตาลงได Phacoemulsification with Intraocular Lens เป็นการผ่าตัดต้อกระจกโดยการใช้คลื่นเสียงหรืออัลตราซาวด์ที่มีความถี่สูงเข้าไปสลายเนื้อ แก้วตาแล้วดูดออกมาทิ้ง และจึงนำแก้วตาเทียมใส่เข้าไปแทนข้อดีของวิธีนี้ต่างกับวิธีปกติตรงที่แผลผ่าตัดเล็กกว่าการเกิดสายตาเอียงหลังการผ่าตัดน้อยลงระยะพักฟื้นหลังการผ่าตัดสั้นกว่าข้อเสียเนื่องจากเป็นวิธีใหม่ ดังนั้นต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์ต้องใช้เครื่องมือราคาแพง และต้องใช้สารหล่อลื่น (viscoelastic)ช่วยในระหว่างผ่าตัด มิฉะนั้นเครื่องอัลตราซาวด์อาจไปสั่น ทำลายกระจกตาได้
เลนส์เทียม (Intraocular Lens) เป็นสิ่งประดิษฐ์ใช้แทนเลนส์ธรรมชาติ (crystalline lens) มักทำจากสารโพลิเมอร์ ซิลิโคน หรือโพลีอะครัยลิค ส่วนที่เป็นแก้วตาเทียม (optical portion) ส่วนนี้ทำหน้าที่หักเหแสงให้ตกบนจอประสาทตา เพื่อให้เห็นภาพชัดส่วน ขาแก้วตาเทียม ( haptic portion) ทำหน้าที่ยึดหรือพยุงให้แก้วตาเทียมอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ ไม่ให้เคลื่อนที่หรือเลื่อนหลุดไป มีทั้งที่เป็นขาแข็งและที่ยืดหยุ่นได้ แบบสปริง
อาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ความดันลูกตาสูง ( Increase intraocular pressure) เกิดจากผลของกิจกรรมบางอย่างทำให้ความดันลูกตาสูงทันทีทันใดเช่น การไอ การจาม การอาเจียน การก้มหน้าต่ำกว่าระดับเอวการยกของหนัก การบีบตา การเบ่งถ่ายอุจจาระ ความดันจะสูงกว่า 20 มม.ปรอท การดึงรั้งของแผลเย็บ ( stress on the suture Line) เมื่อความดันลูกตาสูงทำให้แผลเย็บถูกดึงรั้งเกิดเลือดออกในช่องหน้าม่านตาได้ผู้ป่วยปวดตาหรือไม่ปวดก็ได้ขึ้นกับจำนวนเลือดในช่องหน้าม่านตา เลือดออกในช่องหน้าม่านตา (hyphema) เกิดจากการฉีกขาดฉีกขาดของเส้นเลือดม่านตา และ ซีเลียรีบอดี สาเหตุจากภยันตรายชนิดไม่มีคม ( blunt trauma) เกิดขึ้นเอง และจากผู้ป่วยปฏิบัติตนหลังผ่าตัดไม่ถูกต้อง การติดเชื้อ ( infection) เกิดได้จากหลายสาเหตุ
อาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัด continuous Serious complication เป็นผลทำให้สูญเสียการมองเห็น จอตาลอก (retina detachment) การอักเสบติดเชื้อภายในลูกตา (endophthalmitis) Choroidal haemorrhage Permanent corneal clouding
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัดต้อกระจก เตรียมร่างกายผู้ป่วยโดย ตัดขนตาล้างตา ล้างหน้าก่อนนอนและเช้าวันผ่าตัด (งดทาแป้งที่หน้า) ดูแลความสะอาดทั่วไป เช่น สระผม โกนหนวด ตัดเล็บ และเช็ดล้างสีเล็บ อาบน้ำหรือเช็ดตัวเช้าวันผ่าตัด ทำความสะอาดปากและฟัน ให้ยาหยอดตาขยายรูม่านตาตามแผนการรักษา คำแนะนำการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถาม ระบายความรู้สึก
การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก continuous การป้องกันการติดเชื้อ การหยอดตา การเช็ดทำความสะอาดรอบดวงตา และใบหน้า ไม่ขยี้ตา ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการเช็ดตา การหยอดตา การป้องกันการเกิดความดันลูกตาสูง แผลเย็บฉีกขาด เลือดออกในช่องหน้าม่านตา แนะนำผู้ป่วยให้หลีกเลี่ยงการไอจามแรงๆ การก้มศีรษะต่ำกว่าระดับเอว แนะนำผู้ป่วยให้หลีกเลี่ยงการเบ่งถ่ายอุจจาระ การสั่นหน้ามากๆ ขณะแปรงฟัน
การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก เพิ่มความสุขสบายจากอาการปวดตา ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา พร้อมทั้งประเมินหลังให้ยา ถ้าอาการปวดไม่ทุเลาต้องรายงานแพทย์ จัดสภาพแวดล้อมไม่ให้มีสิ่งรบกวนผู้ป่วยมากเกินไป เช่น แสง เสียง อุณหภูมิ เป็นต้น
คำแนะนำหลังผ่าตัดเมื่อกลับไปอยู่บ้าน การพยาบาลเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองเมื่อกลับบ้าน ขณะอาบน้ำระวังอย่าให้น้ำกระเด็นเข้าตา แนะนำเวลาแปรงฟัน ค่อยๆแปรง ไม่สั่นศีรษะไปมา สามารถรับประทานอาหารได้ทุกอย่าง หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง เหนียว ที่ต้องออกแรงเคี้ยวมากๆ ไม่ควรให้ท้องผูก ดังนั้นพยายามรับประทานผัก ผลไม้ เป็นประจำ หลีกเลี่ยงการไอ จาม แรงๆ แนะนำผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการยกของหนัก การออกกำลังกายประเภทกระโดด เล่นโยคะ สระผมได้โดยให้ผู้อื่นสระให้ ไม่ให้เกาแรงและระมัดระวังไม่ให้น้ำกระเด็นเข้าตาข้าง ใช้สายตาได้ตามปกติ เช่น ดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือ แต่ถ้าเมื่อยตาก็ให้หยุดพัก ครอบeye shield ทุกครั้งเวลานอนหลับป้องกันการกระแทกบริเวณตา การใส่แว่นตาดำป้องกันแสงแดดเพื่อลดความไม่สบายตาจากแสงแดด สอนผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการเช็ดตา หยอดตา ป้ายตา ให้ถูกต้องตามเทคนิคปลอดเชื้อ แนะนำเรื่องการรับประทานยา และใช้ยาหยอดตา ยาป้ายตา ตามแผนการรักษา แนะนำให้ผู้ป่วยทราบเกี่ยวกับอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ทันทีได้แก่ปวดตามากผิดปกติ ถึงแม้รับประทานยาแก้ปวดที่ได้รับจากโรงพยาบาลแล้วก็ไม่ทุเลา
Thank you for your attention