โดย…ศรีอัมพร หนูกลับ นักวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเภสัชวิทยา

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Transport incubator ตู้อบเด็กชนิดเคลื่อนย้าย
Advertisements

H2O H2O H2O ความสำคัญของน้ำ H2O H2O.
Combined Cycle Power Plant
ENERGY SAVING BY HEAT PUMP.
ปฏิบัติการเรื่อง การกลั่น
Department of Food Engineering
คณะเภสัชศาสตร์ 5402 Automate liquid handling Beckman coulter, Biomek NX M00302-(1-5)/54.
Effect of superheating the Suction Vapor.
Power Point ประกอบการบรรยาย แก่ “ประธานกรรมการและเลขานุการ กรรมการสถานศึกษา ตามโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรรมการสถานศึกษา” วันที่ 19 ธันวาคม.
ความรู้เรื่องอัคคีภัย Fire Prevention And Control
ดับเพลิงขั้นต้น ทรงพล หอมอุทัย.
วันที่ 30 พฤษภาคม 2560 และ 20 มิถุนายน 2560
บทที่ 9 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีบาดแผลและการอักเสบ
ที่ว่างเพื่อการปฏิบัติงาน
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
Water and Water Activity I
ปิยดนัย ภาชนะพรรณ์, Power System Design, EE&CPE, NU
กิจกรรมทดสอบความชำนาญ ประจำปี 2560
หลักการวัดและการตรวจสอบเครื่องมือวัดอุณหภูมิโดยใช้ ice point
การหาประสิทธิภาพระบบ เครื่องทำความเย็น (Chiller)
กิจกรรมทดสอบความชำนาญ ประจำปี 2560
Power Point ประกอบการจัดการเรียนรู้
3. ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้บนอินเทอร์เน็ต
การเตรียมความพร้อมรับการประเมิน จาก สมศ.
การใช้งานและบำรุงรักษา
ทัศนธาตุในงานทัศนศิลป์ และสิ่งแวดล้อม เหมือนและต่างกันอย่างไร
ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 164/2560
บทที่ 7 รูปแบบการจัดเลี้ยง
ส่วนประกอบหลักของการทำความเย็น ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1
โครงการพัฒนาเกษตรใช้น้ำน้อย (DESIGN BY AGRI MAP) สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าตำบลตูม อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา.
การใช้งานอุปกรณ์การเรียนการสอน
หลักการของเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
หม้อไอน้ำ (Boilers).
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ. ศ เวลา น
ทีมสิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วย
งานวันข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ
เพื่อเข้าถึงแหล่งงบประมาณ
การใช้คู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญา เด็กอายุ 2-15 ปี
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
หนังสือรายงานผลการประเมิน ITA ต่อนายกรัฐมนตรี(ต่อ)
โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรกรรมยั่งยืน ปี 2560
ผู้อำนวยการกองกฎหมาย
สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเมือง
มนุษย์กับเศรษฐกิจ.
ผู้วิจัย ศิริมา เที่ยงสาย
สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเมือง
รายงานโครงการ BC-LED 14 มีนาคม พ.ศ
คุณภาพของผักหลังการเก็บเกี่ยว
ระบบทำความเย็น.
ระบบไอดีไอเสียรถยนต์
เรื่องวิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย
รพ.บัวเชด อ.บัวเชด จ.สุรินทร์
เรื่อง การทอผ้าห่มสี่เขา/ตะกอ
ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ระบบนิวแมติกส์.
บทนำระบบนิวแมติกส์ จัดทำโดยนายนภดล ชัยนราทิพย์พร
บทนำระบบนิวแมติกส์.
แนวทางปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2560
เรื่อง ทฤษฎีการค้นหาในการฝึกสุนัข
การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ
กิจกรรมทดสอบความชำนาญ ประจำปี 2560
การใช้งานและบำรุงรักษา
กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย
หมวด 2 : การให้ความสำคัญกับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วีระโชติ รัตนกุล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ.
หลักและศิลปะ ในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ
สื่อการเรียนการสอนวิชาเครื่องรับโทรทัศน์ ( )
รู้ทันงานทะเบียน ฯ เรียนสำเร็จตามคาดหวัง
ฉบับที่ ๑๕/๒๕๖๐ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายปริญญา เพ็งสมบัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

คู่มือ การใช้เครื่องทำแห้งภายใต้ความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำ (Freeze-Dryer) โดย…ศรีอัมพร หนูกลับ นักวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มศว

ภาควิชาเภสัชวิทยาเสนอบริการใช้เครื่อง Freeze-Dryer โดย…ศรีอัมพร หนูกลับ นักวิทยาศาสตร์ประจำภาควิชาฯ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มศว

ภาควิชาเภสัชวิทยาเสนอบริการใช้เครื่อง Freeze-Dryer ที่มา : เครื่องมือวิทยาศาสตร์ของภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีอายุการใช้งานตั้งแต่ปี 2530-ปัจจุบัน ตามปีงบประมาณที่ได้รับจัดสรร บางครั้งเครื่องที่มีอายุการใช้งานนานอาจมีปัญหาเรื่องการจัดซ่อม ดังนั้นการใช้งานอย่างถูกวิธี หรือการเขียนวิธีใช้เครื่องมือเป็นขั้นตอนให้สะดวกใช้ ถือเป็นการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์อย่างระมัดระวังช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องได้ทางหนึ่ง โดยทั่วไปผู้ใช้ที่เป็นอาจารย์และนักวิทยาศาสตร์ของภาควิชาเองจะใช้กันอย่างถูกต้องและระมัดระวังอยู่แล้ว แต่เพื่อการบริการที่ให้เกิดประโยชน์กับระบบราชการมากยิ่งขึ้น บางครั้งจึงมีผู้ใช้จากภายนอกภาควิชาเข้ามาขอใช้ เช่น บุคลากรของภาควิชาอื่นในคณะแพทยศาสตร์ กลุ่มนิสิตระดับปริญญาโท-เอก ของคณะแพทยศาสตร์ ที่เรียนปฏิบัติการ หรือทำปริญญานิพนธ์ หรือนิสิตระดับปริญญาตรี-โท-เอก จากต่างคณะหรือต่างสถาบันที่อาจารย์ในภาควิชารับเป็นที่ปรึกษาปัญหาพิเศษและปริญญานิพนธ์ นักวิทยาศาสตร์ของภาควิชาจึงขอเสนอบริการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ยังใช้การได้โดยมีข้อมูล ตามประวัติครุภัณฑ์ คุณสมบัติการใช้งาน วิธีใช้ (โดยสรุป) และข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้พลังงานไฟฟ้าตามชนิดของเครื่องมือฯ ซึ่งสามารถบอกขนาดไฟฟ้า (วัตต์) ที่ใช้จริง เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยกันประหยัดพลังงาน และใช้งานอย่างคุ้มค่า ในการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ได้รับการมอบหมาย แนะนำ และสนับสนุนจากหัวหน้าภาควิชา และคณาจารย์ในภาควิชาทุกท่าน ซึ่งการบริการใช้เครื่อง Freeze dryer เป็นเพียงการยกตัวอย่างเครื่องมือที่มีผู้สนใจมาขอใช้บริการบ่อยเท่านั้นจริงแล้วมีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ชนิดอื่นๆ อีก หากผู้ขอใช้ท่านใดสนใจสามารถสอบถามมายังภาควิชาได้ ขอบริการด้วยความยินดียิ่ง ศรีอัมพร หนูกลับ พฤศจิกายน 2552

วัตถุประสงค์ในการทำ Freeze-drying - ทำให้สารเข้มข้น : เพื่อเพิ่มความไวในการวิเคราะห์ ทำให้สารแห้ง: เพื่อสะดวกในการเก็บที่อุณหภูมิห้อง และง่ายต่อการขนส่ง - รักษาคุณสมบัติ : เพื่อให้เก็บสารได้นาน โดยไม่เสียคุณสมบัติ

หลักการทำงานของเครื่อง Freeze-Dryer หลักการทำงานของเครื่องนี้ใช้ในการทำแห้งตัวอย่างที่ต้องการรักษาคุณสมบัติตัวอย่างให้คงสภาพเดิม ลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น และขบวนการอื่นๆ ที่ทำให้ตัวอย่างเสื่อมสภาพ ซึ่งเป็นการดึงน้ำออกจากตัวอย่าง โดยการทำให้ตัวอย่างเย็นจนเป็นเยือกแข็ง จากนั้นไอน้ำในตัวอย่างจะถูกดึงไปควบแน่นที่ Cooling condenser ภายใต้ความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำ ทำให้ตัวอย่างแห้ง เมื่อเก็บตัวอย่างออกจากการทำแห้งด้วยเครื่อง Freeze-Dryer ต้องเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดและดูดความชื้นทันที มิฉะนั้นตัวอย่างอาจดูดกลับความชื้นในอากาศได้อีก

ประวัติครุภัณฑ์เครื่องทำแห้งภายใต้ความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำ (Freeze-Dryer) หมายเลขครุภัณฑ์/ปี: 4440-007-001/33 ยี่ห้อ/รุ่น/รหัส: HETOSICC จำนวน: 1 ชุด ราคาต่อหน่วย: 250,000 บาท บริษัท: ไซแอนติฟิค โปรโมชั่น จำกัด 1759 ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 ถนนสุขุมวิท 101/1 พระโขนง กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0-2185-4333 สถานที่ใช้งาน : ห้อง 808 ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มศว ส่วนประกอบ - ตัวเครื่อง (Cooling condenser) มีระบบควบคุมความดันและอุณหภูมิแบบอัตโนมัติ - pump 1 ตัว - heater 1 ตัว - chamber 1 อัน - flask กลมขนาด 1 ลิตร 9 ใบ (จุตัวอย่างได้ 300 ml สำหรับการทำแห้งด้วยเครื่อง Freeze-Dryer) หมายเหตุ * สภาพดี

แบบฟอร์มขอใช้บริการ

ภาควิชามีข้อจำกัดในการรับตัวอย่างตามข้อตกลงในแบบฟอร์มบันทึกการขอใช้ฯ โดยทั่วไปสารที่นำมาทำ Freeze-drying ได้แก่ ตัวอย่างทางชีวภาพ microbial culture เอ็นไซม์ เลือด สารทางชีวเคมี ยา วัคซีน แอนติเจน แอนติบอดี ภาควิชามีข้อจำกัดในการรับตัวอย่างตามข้อตกลงในแบบฟอร์มบันทึกการขอใช้ฯ ข้อตกลง 1. ตัวอย่างที่นำมาเป็นสารสกัดสมุนไพรไม่มีอันตราย ร้ายแรง หรือไม่ใช่วัตถุอันตราย 2. ตัวอย่างที่นำมาต้องสกัดหรือใช้น้ำเป็นตัวทำละลายเท่านั้น ห้ามใช้ตัวทำละลายชนิดอื่นเด็ดขาด

ถาม-ตอบ ถาม – ทำไมไม่ให้นำตัวอย่างที่มีตัวทำละลายซึ่งมีสมบัติมีความดันไอสูงเช่น กลุ่มแอลกอฮอล์ มาใช้กับเครื่อง Freeze-Dryer ตอบ – ตัวอย่างที่มีตัวทำละลายซึ่งมีสมบัติมีความดันไอสูง เช่น กลุ่มแอลกอฮอล์ ไม่สามารถทำให้ตัวอย่างเป็นเยือกแข็งได้ จึงต้อง มีการระเหยตัวทำละลายออกก่อนนำมาทำแห้ง โดยใช้เครื่องระเหยแห้งภายใต้ความดันต่ำ (Rotor-Evaporator)

การเตรียม Sample สำหรับใช้กับเครื่อง Freeze-Dryer สามารถทำการแช่เยือกแข็งได้หลายวิธีแล้วแต่สะดวก ดังนี้ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) วิธี A : แช่แข็ง sample flask ใน liquid nitrogen สะดวก รวดเร็วที่สุด ประมาณ 10 นาทีต่อ 300 ml วิธี B : แช่แข็ง sample flask ใน freezer -80๐C ทิ้งไว้ 1 คืน (12 ชม.) วิธี C : 1. ทุบน้ำแข็งแห้ง (dry ice) ให้เป็นก้อนเล็กๆ ใส่ในภาชนะที่มีขนาดพอดีที่จะแช่แข็ง sample flask ได้ 2. เติม methanol ประมาณ 1 L ลงในข้อ 1. (ทำใน hood) 3. แช่แข็ง sample flask โดยคอยหมุน sample flask ให้ sample แข็งตัวเคลือบเกาะผนัง flask ในขณะที่แช่แข็ง ใช้เวลาประมาณ 15 นาที ! อันตรายจากความเย็นจัดเยือกแข็ง ควรใส่ถุงมือที่หนาพอสมควรเพื่อป้องกันอันตรายจากความเย็นจัดที่อาจทำให้ผิวไหม้บาดเจ็บได้

วิธีใช้เครื่องระเหิดแห้งภายใต้ความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำ (Freeze-Dryer ; HETOSICC) วิธีการใช้แบบ sample flask 1. เสียบปลั๊กเครื่อง และปลั๊ก pump 2. กด I เปิด power cooling condenser ของเครื่อง 3. ON vac valve 4. เช็คปุ่ม Drain ปิดสนิท 5. เช็คช่อง สวม sample flask ต้องปิดสนิท (หมุนปีกขึ้นด้านบน) 6. กด I เปิด pump 7. ดูเข็ม Temperature รอ ให้ได้ -50๐C 8. เข็ม pressure ตอนแรกเปิดเครื่องไฟจะสว่างที่ scale บน จากนั้นไฟ scale บนดับ แล้วไฟ scale ล่างจะสว่างรอให้อ่านค่าได้ 0.08 9. สวม sample flask ที่เตรียมไว้กับแขนสวม 10.หมุนปีกของแขนสวมลงด้านล่างเพื่อเปิดให้ sample ระเหิดแห้ง 11.ทิ้งไว้จนแห้ง (ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน) แล้วหมุนปีกแขนสวมขึ้นด้านบน และดึง sample flask ออก 12.OFF vac valve 13.เปิด Drain 14.กด O ปิด power cooling condenser 15.กด O ปิด pump *** การ Drain น้ำทิ้งหลังการเลิกใช้งานเครื่อง Freeze-Dryer ต้องมีภาชนะมารองรับน้ำด้วย

วิธีใช้เครื่องระเหิดแห้งภายใต้ความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำ (Freeze-Dryer ; HETOSICC) วิธีการใช้แบบ chamber 1. ทำตามขั้นตอนการใช้ เช่นเดียวกับการใช้ sample flask ตามลำดับจนถึงข้อ 8 2. คลายปุ่ม Drain และ Off vac valve 3. เปิดฝาเครื่องออกแล้วนำ chamber ที่มี sample วางเรียบร้อยแล้ว ยกขึ้นวางแทนที่ฝาเครื่อง จากนั้นรีบหมุนปิดปุ่ม Drain ให้แน่น และ on vac valve ทันที 4. ต่อสายจาก chamber เข้ากับเครื่อง CD 3092 (ทั้ง 2 สาย) 5. เปิดเครื่อง CD 3092 6. ปล่อยให้เครื่องทำงานโดยทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน จน sample แห้งสนิท 7. จากนั้นหมุนคลายปุ่ม Drain , Off vac valve , กด O ปิด power cooling condenser และกด O ปิด pump ตามลำดับ 8. ยก chamber ลง นำ Sample ออกไปใช้งานหรือเก็บปิดฝาใส่ในตู้ดูดความชื้นทันที หมายเหตุ *** การเตรียม sample ทำได้โดยใส่ sample ลงในขวดแก้วใสทนเย็น ประมาณ 20 ml (ขวดขนาด 50 ml) คลายฝาเกลียวนิดหน่อย แล้วนำไปแช่แข็งใน freezer -80๐C อย่างน้อย 4 ชั่วโมง *** การ Drain น้ำทิ้งหลังการเลิกใช้งานเครื่อง Freeze-Dryer ต้องมีภาชนะมารองรับน้ำด้วย

ประโยชน์ของการทำ Freeze-drying - ทำให้สะดวกในการเก็บตัวอย่างที่อุณหภูมิห้องให้คงคุณสมบัติที่ดีไว้ได้นาน และง่ายต่อการขนส่ง - ทำให้การคำนวณปริมาณน้ำหนักสารตัวอย่างที่ละลายน้ำได้ดี ถูกต้องสมบูรณ์ เมื่อต้องการทดสอบคุณสมบัติ หรือใช้งาน

References http://www.freezedryinginfo.com/ http://www.gea.ps.com/ http://en.wikipedia.org/wiki/Freeze_drying

ขอบคุณสำหรับการติ-ชม คุณศรีอัมพร หนูกลับ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ถนนสุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กทม. 10110 โทร.ที่ทำงาน 0-2649-5385 , โทร.ภายใน 4803 E-mail : sriampor@swu.ac.th