มาตรฐาน ISO
ไอเอสโอ (iso) เป็นชื่อย่อของ International Standards Organization ชื่อองค์การว่า มาตรฐานสากล หรือ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน มีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ก่อตั้งเป็น ทางการเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 1947 (พ.ศ. 2490) ปัจจุบันมีสมาชิก 143 ประเทศ ซึ่งครั้งแรกนั้นมีผู้แทนจาก ประเทศต่าง ๆ 25 ประเทศร่วมประชุมกันที่กรุงลอนดอนมีมติตั้งองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานขึ้น และสหประชาชาติได้ให้การยอมรับเป็นองค์การชำนาญพิเศษประเภทที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐบาล
มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนา อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ และขจัดข้อโต้แย้ง รวมถึงการกีดกัน ทางการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการพัฒนาความ ร่วมมือระหว่างประเทศ ในด้านวิชาการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี หรือการจัดระเบียบการค้าโลก ด้วยการสร้าง มาตรฐานขึ้นมานั่นเอง
มาตรฐาน คือ ข้อตกลงที่จัดทำขึ้นเป็นเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลหรือข้อกำหนดทางเทคนิค (Technical Specifications) หรือวิธีการทำงาน ที่ถูกต้อง เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป แล้วร่วมกำหนดเป็นเกณฑ์ข้อบังคับขึ้นมา เป็นสิ่งนั้นๆที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า วัสดุ ผลิตภัณฑ์ ขบวนการ หรือการบริการนั้นๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์ ที่ต้องการ หรือ เกิดจากข้อกำหนดด้านวิธีการหรือการทำงานนั้นเอง
ความเป็นมา ย้อนกลับไปเมื่อหลังสงครามโลกสงบลง ช่วงที่ ISO เริ่มก่อตั้ง ประเทศต่างๆ ไม่ได้ให้ ความสำคัญมากนักต่างมี ระบบมาตรฐานไม่เหมือนกัน จนในปี ในปี ค.ศ. 1978 (2521) สถาบันมาตรฐานแห่งประเทศเยอรมนี (DIN) มี แนวคิดที่จะนาระบบ มาตรฐานของแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกันมารวมให้เป็นมาตรฐานประเภทเดียว ทั้งนี้เพื่อ ขจัดปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ดังนั้นทาง ISO จึงได้ตั้งคณะกรรมการทางด้าน เทคนิค (Technical Committee : ISO/TC/176) ขึ้นมา การจัดตั้งองค์กร ISO มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศในการกำหนด มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ให้เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน หรือเกิดระบบมาตรฐานของโลกที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไป
ISO เดิมใช้คาย่อว่า "IOS" โดยมีความหมายในภาษากรีกแปลว่า ความสับสน (ไม่เป็น มงคล ) จึงเปลี่ยนมาเป็น ISO ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ ISOS แปลว่า "เท่าเทียมกัน" และตรงกับเจตนารมณ์ของ องค์การ ISO ที่ต้องการให้ทั่วโลก มีมาตรฐานที่มีความเท่าเทียมกัน (ทัดเทียมกัน) โดยมีภารกิจหลัก คือ 1. ให้การสนับสนุนพัฒนามาตรฐาน และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อสนองต่อการค้าขา แลกเปลี่ยนสินค้า และ บริการของนานาชาติทั่วโลก 2. พัฒนาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ และภูมิปัญญาของ มวลมนุษย์ชาติ
ในปี ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530) ISO ได้กำหนดมาตรฐาน ที่เรียกว่ามาตรฐานสากล (Inter-national Standard) ขึ้น เป็นครั้งแรก โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการวิชาการด้านเทคนิคขึ้นมาคณะหนึ่ง มีกรรมการ คณะนี้กว่า 2000 ชุด กรรมการชุดนี้เรียกว่า Technical Committee, ISO/TC Quality Assuranc ได้ดาเนินการยกร่างระบบ บริหารงานคุณภาพเป็นสากล ต้นแบบ ของ ISO 9000 นั้นมาจากมาตรฐานแห่งชาติของอังกฤษ คือ BS 5750 มา เป็นแนวทาง คือระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 เป็นมาตรฐานของระบบการบริหารงาน เพื่อให้เกิดคุณภาพ ซึ่งมาตรฐานนี้ได้ระบุถึงข้อกำหนดที่จาเป็นต้องมีในระบบคุณภาพและใช้เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติซึ่งสามารถ ใช้ได้กับอุตสาหกรรมพาณิชยกรรม ธุรกิจการบริหารทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่
ISO ประกอบด้วยสมาชิก 3 ประเภท คือ 1. Member Body เป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ ซึ่งหมายถึง เป็นตัวแทนทางด้าน การมาตรฐานของ ประเทศนั้น ๆ มีสิทธิออกเสียงในเรื่องของวิชาการ มีสิทธิเข้ารับ การเลือกตั้งเป็นคณะมนตรี ISO และ สามารถเข้าร่วมประชุมสมัชชาใหญ่ 2. Correspondent Member เป็นหน่วยงานของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งยังไม่มี สถาบันมาตรฐานเป็นของ ตัวเอง สมาชิกประเภทนี้จะไม่เข้าร่วมในเรื่องของ วิชาการ แต่มีสิทธิจะได้รับข่าวสารความเคลื่อนไหว ของ ISO และเข้าร่วมประชุม สมัชชาใหญ่ในฐานะผู้สังเกตการณ์ 3. Subscribe Membership สมาชิกประเภทนี้ เปิดสำหรับกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจ ค่อนข้างเล็กให้ สามารถติดต่อกับ ISO ได้
มาตรฐาน ISO ที่สำคัญ 5 มาตรฐานคือ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้รับเอาระบบคุณภาพ อนุกรมมาตรฐานสากล ISO มาใช้ใน การปรับปรุงพัฒนาคุณภาพในการ บริหารองค์กรโดยมาตรฐาน ISO ที่สำคัญได้แก่ 1. มาตรฐาน ISO 9000 มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ
โครงสร้างของอนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มมาตรฐานข้อกำหนด ใช้เพื่อขอรับการรับรองคือ 1. ISO 9001 มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ ใช้สาหรับองค์กรที่มีความรับผิดชอบ ตั้งแต่การ ออกแบบ การผลิต การติดตั้ง และการบริการ 2. ISO 9002 มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ ใช้สาหรับองค์กรที่มีความรับผิดชอบ ตั้งแต่การ ผลิต การ ติดตั้ง และการบริการ 3. ISO 9003 มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ ใช้สาหรับองค์กร ที่มีความรับผิดชอบเฉพาะ การตรวจ และการทดสอบขั้นสุดท้าย กลุ่มมาตรฐานข้อแนะนำ ใช้เพื่อสนับสนุนการนามาตรฐานไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มี มาตรฐานหลัก 2 ฉบับคือ 1. ISO 9000 แนวทางการเลือกและการใช้มาตรฐานในอนุกรม ISO 9000 2. ISO 9004 เป็นข้อแนะนาในการจัดระบบการบริหารงานคุณภาพ เพื่อให้องค์กรผู้ใช้มาตรฐานได้มี ระบบที่มี ประสิทธิภาพสูงสุด
2. มาตรฐาน ISO 14000 มาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นมาตรฐานที่นาไปใช้กับการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรให้มีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งในส่วนของ กิจการภายใน การผลิตสินค้า และ การจัดการเรื่องผลกระทบ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ ครอบคลุมถึงระบบโครงสร้างองค์กร การกำหนดความรับผิดชอบ การ ปฏิบัติงาน ระเบียบปฏิบัติ กระบวนการ
3. มาตรฐาน ISO 17025 มาตรฐานการประเมินความสามารถทางวิชาการของ ห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 คือ มาตรฐานสากลซึ่งเป็นการประเมินความสามารถทาง วิชาการของห้องปฏิบัติการ ISO/IEC17025 ครอบคลุมทุกด้านของการ บริหารจัดการห้องปฏิบัติการ ตั้งแต่การเตรียมตัวอย่างถึงความชำนาญใน การ วิเคราะห์ทดสอบ ถึงการเก็บบันทึกและการรายงานผล มาตรฐานนี้เน้น องค์ประกอบหลายด้านแต่ไม่ได้จากัดเฉ พะแค่ด้านเหล่านี้
4. มาตรฐาน ISO 18000 มาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย กำหนดขึ้นเพื่อ ใช้ เป็นเกณฑ์ในการจัดทาระบบการจัดการอาชีวะอนามัยและความปลอดภัย ขององค์การ และพัฒนาปรับปรุง ระบบให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ
5. มาตรฐาน ISO 22000 มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของอาหาร มาตรฐานดังกล่าว เน้นที่ผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาการจัดการความปลอดภัยของ อาหารให้มีความชัดเจน โดยจะเป็นที่รวมของ ข้อกำหนดในมาตรฐานต่าง ๆ ที่ใช้ อยู่ในปัจจุบัน เพื่อประกันความปลอดภัยของสินค้าตลอดเส้นทางห่วงโซ่อาหาร โดยเน้นที่การสื่อสารร่วมกันระบบการจัดการและการควบคุมอันตราย
Key word International Standards Organization องค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ Technical Specifications ข้อกำหนดทางเทคนิค Technical Committee คณะกรรมการเทคนิค Member Body เป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ Correspondent Member เป็นหน่วยงานของประเทศกำลังพัฒนา Subscribe Membership กลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจค่อนข้างเล็กให้
คำถาม 1 ชื่อเต็มของ ISO มีชื่อว่าอะไร 2 วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ISO คือ 3 มาตรฐาน คือ อะไร 4 โครงสร้างอนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 มี 2 แบบ อะไรบ้าง 5 มาตรฐาน ISO ที่สำคัญ มี 5 มาตาฐาน อะไรบ้าง
จัดทำโดย 1 นาย ชาญวิทย์ ทุมบาล คอมพิวเตอร์ธุรกิจ 25474 2 น.ส อริศรา มณีรัตน์ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ 25488 3 นาย เอกลาภ ภูวเศรษฐ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ 25505 4 น.ส ธิดารัตน์ กุลี คอมพิวเตอร์ธุรกิจ 25638 5 น.ส สมฤดี พงษ์รักษ์ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ 25673