อุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูล (Storage Devices)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

เรื่อง แนวทางการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
HP- HP Pavilion dv6-3022TX ราคา 59,900 บาท. CPU : Intel Core i7-720QM (1.60GHz/L3 6 MB/QPI) Memory : 8GB DDR3 Harddisk : 640 GB 5400RPM Graphics : ATi.
การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
เรื่อง เทคโนโลยีบอรดแบนด์ไร้สาย
การกู้คืนข้อมูล Restore สำรองข้อมูล Backup. 1. เปิด Control Panel โดยการคลิกปุ่ม Start -› Control Panel ดัง รูป.
จัดทำโดย น. ส. ดวงกมล งามอยู่เจริญ เลขที่ 8 น. ส. ณัชชา เชื้อตา เลขที่ 6 เตรียมบริหารธุรกิจปี 1.
ผู้จัดทำ ด. ช. พีรวิทย์ ขาสัก เลขที่ ด. ช. ปรเมษ พยัคฆันตร์ เลขที่ 18 ชั้น.. ม.1/10 โรงเรียน จักรคำคณาทร จังหวัด ลำพูน ครับบบ...
ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือซอฟต์แวร์ควบคุมการปฏิบัติการ ของคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการเป็นชุดคำสั่งที่ใช้ควบคุมระบบฮาร์ดแวร์และ.
FIX COMMON PC PROBLEMS By Missis Jatuporn Surinseng Missis Chamaiporn Sommit.
Computer in Business เรื่อง การใช้งาน Access เบื้องต้น.
CD-ROM CD-ROM มีวิวัฒนาการมาจากแผ่น CD เพลงทั่วไป ลักษณะการบันทึกข้อมูลเป็นแบบเดียวกัน เพราะ CD-ROM จะเก็บข้อมูลในรูปดิจิตอลอยู่แล้ว ผู้ใช้สามารถอ่านได้เพียงอย่างเดียว.
รายชื่อผู้จัดทำ ด.ช.จิณณวัตร ทับจันทร์ เลขที่ 1 ม.1/3 ด.ช.ฐิติพงศ์ โลหะเวช เลขที่ 4 ม.1/3 ด.ช. พงศ์ภัค พุทธรักษ์ เลขที่9 ม.1/3 ด.ช.อริยะ แดงงาม เลขที่
ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่อ อุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่
โปรแกรมสต๊อกสินค้า และ โปรแกรมขายหน้าร้าน Nanosoft Smart INV.NET วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปและการ ประยุกต์ใช้งาน อ. วิสุตร์ เพชรรัตน์
การใช้งาน Microsoft Word กลุ่ม 2T_PUK. โปรแกรม Microsoft Word เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่เหมาะกับ งานพิมพ์ต่าง ๆ แทนเครื่องพิมพ์ดีดในสมัยก่อน ที่เวลาแก้ไข.
เทคนิคการใช้ Microsoft Excel. 1. การตีตารางในรูปแบบต่าง ๆ 2. การแทรกภาพในตาราง 3. การตกแต่งข้อมูลด้วย Format Cells 4. การคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร 5. การย่อ.
งานวิชา เทคโนโลยี สารสนเทศ 4/3 เรื่อง INPUT และ OUTPUT จัดทำโดย นาย ชาญชัย ศรีน้อย เลขที่ 3 นาย ณัฐดนัย จันทมาศ เลขที่ 4 นาย อุดมศักดิ์ เกื้อนะ เลขที่
Input Output อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เสนอ อ. อภิเดช จิตมุ่ง โดย นางสาว ผกาวดี ช่วงชุณส่อง เลขที่ 43 นางสาว ธนาภรณ์ คำเรือง เลขที่ 39 นางสาว ณัฐวรรณ ห่วงกลาง.
ซอร์ฟแวร์ ( Software ). Microsoft excel Microsoft excel Microsoft power point.. Link Link.
หลักการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
ระบบสื่อประสม วิวัฒนาการและองค์ประกอบ
บทที่ 8 : วิดีโอ (Video) สธ212 ระบบสื่อประสมสำหรับธุรกิจ
Material requirements planning (MRP) systems
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ (Personal Computer : PC)
นางสาวอมลวรรณ วัชรัตน์ศิริยุทธ B04
“วิธีการใช้งาน PG Program New Version สำหรับ PGD”
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์.
อุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูล (Storage Devices)
องค์ประกอบและเทคนิคการทำงาน
การใช้ Social Media เพื่อการสื่อสาร
(Polymorphic Viruses)
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล
บทที่ 4 อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและองค์ประกอบข้อมูล
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ (Personal Computer : PC)
Information and Communication Technology Lab2
บทที่ 9 : วิดีโอ (Video) สธ212 ระบบสื่อประสมสำหรับธุรกิจ
แนวทางการออกแบบโปสเตอร์
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 4 : สื่อกลางส่งข้อมูลและการมัลติเพล็กซ์ (Transmission Media and Multiplexing) Part3 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ.
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
บทที่ 1 โครงสร้างคอมพิวเตอร์พื้นฐาน
Basic Input Output System
บทที่ 3 แฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล
วิธีการกำหนดค่า Microsoft SharePoint ของคุณ เว็บไซต์ออนไลน์
Data storage II Introduction to Computer Science ( )
บทที่ 6 แนวคิดเทคโนโลยีเสมือนจริง
เครื่องบันทึกและถอดข้อความ
ภัยคุกคาม ที่เกิดขึ้นในระบบสารสนเทศ
SMS News Distribute Service
เสียงในภาษา วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ครูกิ่งกาญจน์ สมจิตต์
BASIC STATISTICS MEAN / MODE / MEDIAN / SD / CV.
Multimedia และระบบความจริงเสมือน Virtual Reality, VR
บทที่ 9 การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting)
บทที่ 8 การแก้ไขข้อผิดพลาดโปรแกรม(Debugging)
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
ค่ารูรับแสง - F/Stop ค่ารูรับแสงที่มีค่าตัวเลขต่ำใกล้เคียง 1 มากเท่าไหร่ ค่าของรูรับแสงนั้นก็ยิ่งมีความกว้างมาก เพราะเราเปรียบเทียบค่าความสว่างที่ 1:1.
ยิ้มก่อนเรียน.
กิจกรรมที่ 7 นายปรีชา ขอวางกลาง
บทที่ 2 โครงสร้างข้อมูลแบบแถวลำดับหรืออาร์เรย์ (Array)
งานสังคมครั้งที 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน โดย น.ส.อธิชา ฤทธิ์เจริญ ม.4 MEP-A เลขที่ 21.
กรณีศึกษา : เทคโนโลยีชีวภาพกับสิ่งแวดล้อม
การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์
เมนูหลัก ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

อุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูล (Storage Devices)

ชนิดของอุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูล อุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูลประเภทต่างๆ ได้แก่ เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) แผ่นดิสก์ (Diskette / Floppy Disk) ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) แผ่นซีดี และแผ่นดีวีดี (CD and DVD) แฟลชเมมโมรี (Flash Memory) ยูเอสบีแฟลชไดร์ฟ (USB Flash Drive) สมาร์ทการ์ด (SMART Card)

ประเภทของอุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูล แบบแถบแม่เหล็ก (Magnetic Storage) เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) แผ่นดิสก์ (Diskette / Floppy Disk) ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) แบบยิงลำแสง (Optical Storage) แผ่นซีดี (CD: Compact Disc) แผ่นดีวีดี (DVD: Digital Varsatile Disc)

ประเภทของการเข้าถึงข้อมูล การเข้าถึงแบบลำดับ (Sequential Access) คือ การเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ โดยต้องอ่านข้อมูล ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งถึงข้อมูลที่ต้องการ เหมาะสำหรับข้อมูลที่เรียงลำดับ ไม่เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นประจำ เรียกอุปกรณ์ที่อ่านและบันทึกข้อมูลในลักษณะนี้ว่า Sequential Access Storage Device (SASD)

ประเภทของการเข้าถึงข้อมูล (ต่อ) อุปกรณ์ที่เข้าถึงข้อมูลแบบลำดับ ได้แก่ เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)

ประเภทของการเข้าถึงข้อมูล (ต่อ) การเข้าถึงแบบสุ่มหรือโดยตรง (Random Access or Direct Access) คือ การเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง โดยไม่ต้องอ่านข้อมูลตั้งแต่ เริ่มต้น ดังนั้นจึงต้องใช้กลไกในการหาตำแหน่งของข้อมูล เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นประจำ ไม่เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีปริมาณมาก เรียกอุปกรณ์ที่อ่านและบันทึกข้อมูลในลักษณะนี้ว่า Direct Access Storage Device (DASD)

ประเภทของการเข้าถึงข้อมูล (ต่อ) อุปกรณ์ที่เข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มหรือโดยตรง ได้แก่ แผ่นดิสก์ (Diskette / Floppy Disk) ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) แผ่นซีดี (CD) แผ่นดีวีดี (DVD)

เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tap)

เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) เทปแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำสำรองที่บันทึกข้อมูล และเข้าถึงข้อมูลแบบลำดับ จุดเด่น ราคาถูก (เมื่อเทียบสัดส่วนกับขนาดของหน่วยความจำ) มีขนาดของหน่วยความจำที่ใหญ่ จึงนิยมใช้สำหรับสำรอง ข้อมูล (Data Backup) จุดด้อย การเข้าถึงข้อมูลทำได้ช้า

เทปแม่เหล็ก (ต่อ) ประเภทของเทปแม่เหล็ก แบบม้วน (Reel Tape) แบบเทปคาร์ทริดจ์ (Cartridge Tape) มีลักษณะคล้ายเทป คลาสเซท (Cassette)

เทปแม่เหล็ก (ต่อ) การอ่านหรือบันทึกข้อมูล จะต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า เทปไดร์ฟ (Tape Drive)

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ฮาร์ดดิสก์เป็นหน่วยความจำสำรองที่บันทึกข้อมูล และ เข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มหรือโดยตรง (Random Access or Direct Access) มีลักษณะเป็นจานหลายแผ่นซ้อนกันบนแกนเดียว อยู่ ในกล่องโลหะมิดชิด จุดเด่น การเข้าถึงข้อมูลทำได้รวดเร็ว จุดด้อย ราคาสูง (เมื่อเทียบสัดส่วนกับขนาดของหน่วยความจำ)

ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์

ขนาดของฮาร์ดดิสก์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 นิ้ว นิยมใช้สำหรับ คอมพิวเตอร์ PC ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว นิยมใช้สำหรับ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

การเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ (Interface) IDE (Integrated Drive Electronics) IDE interface standard way for a storage device to connect to computer Original name, AT Attachment (ATA) SATA (Serial Advanced Technology Attachment) SATA II (Serial Advanced Technology Attachment Version 2) เรียงลำดับความเร็วในการรับส่งข้อมูลจากมากไปหาน้อย SATA II > SATA > IDE

เกณฑ์การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ การเชื่อมต่อ (Interface) ความจุ (Capacity) ความเร็วรอบของจานหมุน (Spindle Speed) หน่วยความจำแคช (Cache Memory) การรับประกัน (Warranty) ราคา (Price)

ตัวอย่างการฮาร์ดดิสก์ (ต่อ)

แผ่นดิสก์ (Diskette or Floppy Disk)

แผ่นดิสก์ (Diskette or Floppy Disk) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถอ่านหรือบันทึกข้อมูลได้แบบ โดยตรง มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก ความจุของแผ่นดิสก์ในปัจจุบันที่นิยมใช้ คือ ขนาด 1.44 MB จุดเด่น คือ มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก จุดด้วย คือ ขนาดความจุต่ำ และการเข้าถึงข้อมูลช้า

การฟอร์แมตแผ่นดิสก์ (Formatting) คือ การเตรียมพื้นที่ดิสก์ก่อนที่จะใช้งาน โดยปกติแผ่นดิสก์ที่ซื้อมาจากทางร้านค้า บริษัทผู้ผลิต จะฟอร์แมตมาให้เรียบร้อยแล้ว

การฟอร์แมตแผ่นดิสก์ (Formatting) (ต่อ) วีธีการ ให้คลิกเมาส์ขวาที่แผ่นดิสก์แล้วเลือกเมนู Format… และคลิกที่ปุ่ม Start

Write Protect เป็นวิธีการป้องกันข้อมูลในแผ่นดิสก์ เพื่อไม่ให้ ไฟล์ข้อมูลถูกลบ หรือบันทึกทับข้อมูลเดิมได้ Write Protect คือ วิธีการป้องกัน Write enable คือ การอนุญาตให้ใช้งาน

แผ่นซีดี และแผ่นดีวีดี (CD and DVD)

แผ่นซีดี และแผ่นดีวีดี (CD and DVD) ซีดีและดีวีดี เป็นสื่อบันทึกข้อมูลแบบออปติคัล (Optical) คือ ใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ มีลักษณะเป็นแผ่นกลม ทำจากแผ่นพลาสติก เคลือบอะลูมิเนียม โดยทั่วไปมักนำมาใช้เก็บข้อมูลด้านมัลติมีเดีย ซึ่ง ต้องการเนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก เช่น ภาพยนตร์ งานภาพเคลื่อนไหว

Note Disc: หมายถึงสื่อเก็บบันทึกข้อมูลในระบบแสง Disk: หมายถึงสื่อเก็บบันทึกข้อมูลในระบบแม่เหล็ก

คุณสมบัติของแผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี ความจุมากเป็นพิเศษ (Capacity) ราคาต่อหน่วยถูก (Inexpensive) ขนาดเล็กกระทัดรัด (Compact) มีอายุการใช้งานและความทนทานมาก (Durable) มีความหลากหลายของมาตรฐาน ทำให้ต้องใช้เครื่อง อ่าน (Drive) ที่เหมาะสม ในการอ่านหรือบันทึกข้อมูล

ประเภทของแผ่นซีดี ซีดีรอม (CD-ROM: Compact disc read-only memory) ซีดีอาร์ (CD-R: Compact disc-recordable) ซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW: Compact disc-rewritable)

ซีดีรอม (CD-ROM) เป็นแผ่นบันทึกข้อมูลประเภทอ่านได้อย่างเดียว ถูกบันทึกมาจากผู้ผลิต รูปแบบไฟล์ข้อมูลที่ถูกนำมา บันทึก เช่น ซีดีเพลง ซีดีภาพยนตร์ สามารถเก็บบันทึก ข้อมูลได้ตั้งแต่ 650 MB จนถึง 700 MB สามารถอ่านได้ด้วยเครื่องเล่นซีดีทั่วไป หรือ CD-ROM drive ของเครื่องคอมพิวเตอร์

ซีดีอาร์ (CD-R) เป็นแผ่นบันทึกข้อมูลที่มีการแบ่งการบันทึกข้อมูลเป็น เซสชั่น (Session) ผู้ใช้งานสามารถบันทึกข้อมูลได้ด้วยตนเอง แต่จะไม่ สามารถลบข้อมูลในเซสชั่นที่บันทึกไปก่อนหน้านี้ได้ การใช้งานสามารถใช้ CD-R drive หรือ CD-ROM drive ในการอ่านแผ่นข้อมูลได้

ซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW) เป็นแผ่นบันทึกข้อมูลที่สามารถลบและบันทึกข้อมูลซ้ำ ได้หลายครั้ง นั่นคือสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลที่ เขียนแล้วได้ ต้องใช้ CD-RW drive ในการเขียนข้อมูล

ประเภทของแผ่นดีวีดี ดีวีดีรอม (DVD-ROM: DVD read-only memory) ดีวีดี-อาร์ (DVD-R: DVD-recordable) ดีวีดี+อาร์ (DVD+R: DVD+recordable) ดีวีดี-อาร์ดับบลิว (DVD-RW: DVD-rewritable) ดีวีดี+อาร์ดับบลิว (DVD-RW: DVD+rewritable) ดีวีดีแรม (DVD-RAM: DVD-random access memory)

ดีวีดีรอม (DVD-ROM) เป็นแผ่นที่ถูกบันทึกข้อมูลจากโรงงาน ผู้ใช้งานไม่สามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมได้ สามารถอ่านด้วยดีวีดีไดร์ฟ (DVD drive) ทุกประเภท

ดีวีดี-อาร์ (DVD-R) เป็นแผ่นที่ผู้ใช้งานบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว ไม่ สามารถลบและบันทึกซ้ำได้ ใช้ดีวีดีอาร์ไดร์ฟ (DVD-R drive) ในการอ่านเขียนข้อมูล

ดีวีดี+อาร์ (DVD+R) เป็นแผ่นที่ผู้ใช้งานบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว ไม่ สามารถลบและบันทึกซ้ำได้ สามารถบันทึกข้อมูลต่อได้ ในกรณีแผ่นยังมีพื้นที่ว่าง เหลืออยู่ ใช้ดีวีดีอาร์ไดร์ฟ (DVD+R drive) ในการอ่านเขียน ข้อมูล

ดีวีดี-อาร์ดับบลิว (DVD-RW) เป็นแผ่นที่ผู้ใช้งานสามารถลบและเขียนข้อมูลซ้ำได้ หลายครั้ง ใช้ DVD-R/RW drive บนเครื่องคอมพิวเตอร์ในการอ่าน เขียนข้อมูลเท่านั้น

ดีวีดี+อาร์ดับบลิว (DVD+RW) สามารถบันทึกข้อมูลต่อได้ ในกรณีแผ่นยังมีพื้นที่ว่าง เหลืออยู่ ใช้ DVD+R/RW drive บนเครื่องคอมพิวเตอร์ในการ อ่านเขียนข้อมูลเท่านั้น

ดีวีดีแรม (DVD-RAM) เป็นดิสก์แบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม สามารถบันทึกซ้ำได้เช่นเดียวกับ DVD-R, DVD+R/RW ต้องมีไดร์ฟชนิดพิเศษในการอ่านและเขียนข้อมูล จุดเด่น คือ สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำได้มากกว่า 100,000 ครั้ง ซึ่งได้ถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่ มากขึ้น เช่น กล้องดิจิตอล

บลูเลย์ดิสก์ (Blu-ray Disc) บลูเรย์ดิสก์ (Blu-ray Disc) หรือ บีดี (BD) คือรูปแบบ ของแผ่นออพติคอลสำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของบลูเรย์มาจาก ช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบ บลูเรย์ ที่ 405 nm ของเลเซอร์สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถ ทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดี ที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single- Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer)

เอชดีดีวีดี (HD-DVD) HD DVD (High Definition DVD หรือ High Density DVD) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกวิดีโอความละเอียดสูง (high definition) โดยใช้ขนาดแผ่นเท่ากับซีดีรอม HD DVD แบบเลเยอร์เดียวจุข้อมูลได้ 15 GB และ 30GB สำหรับแบบสองเลเยอร์ การอ่านข้อมูลใช้เลเซอร์ความยาวคลื่นแสงสีฟ้า (405 นาโนเมตร)

เทคนิคในการเก็บข้อมูลของดีวีดี Single-Side, Single Layer หรือ DVD5 เป็นแผ่น ที่ทำการจัดเก็บภาพได้เพียงชั้นเดียวและหน้า เดียว สามารถบันทึกข้อมูลได้ 4.7 GB DVD5 จะแบ่งใช้วัสดุ 2 แผ่น ประกบกัน จะใช้งาน เพียงแค่ส่วนล่างเพียงแค่แผ่นเดียวในการบันทึก ข้อมูลและ บันทึกลงไปเพียงแค่ชั้นเดียว แผ่น รูปแบบนี้ใช้งานแพร่หลายมากที่สุด

Single-Side, Single Layer หรือ DVD5

เทคนิคในการเก็บข้อมูลของดีวีดี (ต่อ) Single-Side, Dual Layer หรือ DVD9 จะคล้ายกับ DVD5 คือการบันทึกข้อมูลลงในหน้าเดียว แต่จะบันทึก ข้อมูลไว้ 2 ชั้นกระบวนการผลิตจะเป็นวัสดุแผ่นเดียว บันทึกข้อมูลได้ประมาณ 8.5 GB จึงเรียกว่า DVD9 โดยทั่วไป DVD9 จะใช้บันทึกข้อมูลที่ต้องการ รายละเอียดมากๆ เช่น ภาพยนตร์ที่ต้องการคุณภาพ ของภาพสูงๆ และมีเนื้อเรื่องยาวๆ

Single-Side, Dual Layer หรือ DVD9

เทคนิคในการเก็บข้อมูลของดีวีดี (ต่อ) Double-Sided, Single Layer หรือ DVD10 สามารถ บันทึกข้อมูลลงไปในแผ่นได้ทั้งสองหน้า และในแต่ละหน้า ก็จะสามารถบันทึกข้อมูลได้เพียง 1 ชั้น แผ่นแบบนี้สามารถบันทึกข้อมูลได้เป็น 2 เท่าของ DVD5 คือสามารถบันทึกข้อมูลได้ 9.4 GB

เทคนิคในการเก็บข้อมูลของดีวีดี (ต่อ) Double-Sided, Dual Layer หรือ DVD18 สามารถบันทึก ข้อมูลลงไปในแผ่นได้ทั้งสองด้าน และแต่ละด้านสามารถ บันทึกได้มากถึงสองชั้น แผ่นชนิดนี้สามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง 17 GB นำไปบันทึก ข้อมูลขนาดใหญ่มาก เช่น ภาพยนตร์ความยาวมากๆ

เปรียบเทียบแผ่นดีวีดี ทั้ง 4 ประเภท ประเภทของแผ่นดีวีดี ความจุ เวลาประมาณ ที่บันทึกได้ Single-Side, Single Layer หรือ DVD5 4.7 GB 2 ชั่วโมง Single-Side, Dual Layer : หรือ DVD90 8.5 GB 4 ชั่วโมง Double-Sided, Single Layer : หรือ DVD10 9.4 GB 4.5 ชั่วโมง Double-Sided, Dual Layer : หรือ DVD18 17 GB มากกว่า 8 ชั่วโมง

การแบ่งโซนดีวีดี ดีวีดีถูกสร้างมาเพื่อใช้บันทึกภาพยนตร์ซึ่งมีโอกาสถูก ละเมิดลิขสิทธิ์ได้สูงมาก ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตภาพยนตร์จากค่ายต่างๆ จึงได้กำหนด โซนให้กับดีวีดีเพื่อป้องกันไม่ให้มีการคัดลอกข้ามโซน แต่ละโซนจะมีสิทธิดูได้เฉพาะดีวีดีในโซนของตนเอง เท่านั้น หรือจะซื้อเครื่องเล่นดีวีดีจากโซนอื่นมาใช้กับ แผ่นในโซนตัวเองก็ไม่ได้เช่นกัน

การแบ่งโซนดีวีดี (ต่อ) การแบ่งโซนมีการแบ่งดังนี้ โซนที่ 1 อเมริกาเหนือ แคนาดา โซนที่ 2 ญี่ปุ่นและยุโรป โซนที่ 3 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โซนที่ 4 ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อเมริกาใต้ โซนที่ 5 อินเดีย โซเวียต รัสเซีย แอฟริกา โซนที่ 6 ประเทศจีน

ไดร์ฟสำหรับอ่านแผ่นซีดี (CD-ROM Drive) คือ เครื่องอ่านแผ่นซีดีรอม หรือเครื่องเล่นซีดีรอม สามารถอ่านแผ่นได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถบันทึก ข้อมูลลงแผ่นได้ มีความเร็วในการอ่านข้อมูลที่ 150 Kbps (Kilobytes per second) เรียกว่า ความเร็ว 1 เท่า หรือ 1X เช่น ความเร็ว 2 เท่า (2X) ความเร็ว 4 เท่า (4X) เป็น ต้น ซึ่งในปัจจุบันความเร็วของซีดีรอมไดร์ฟจะอยู่ในช่วง ระหว่าง 48X ถึง 75X หรือมากกว่า

ไดร์ฟสำหรับอ่านแผ่นซีดี (ต่อ) ตัวอย่าง หากผู้ใช้ซื้อ CD-ROM drive ที่มีความเร็ว 56X นั่นหมายความว่า จะมีความเร็วในการอ่านข้อมูล (Read Speed) เท่ากับ 8,400 Kbps หรือประมาณ 8.4 Mbps โดยคำนวณจาก 56 *150 (ความเร็ว 1X ของซีดี ประมาณ 150 Kbps)

ไดร์ฟสำหรับอ่านแผ่นซีดีอาร์ (CD-R Drive) คือ เครื่องอ่านแผ่นซีดีอาร์ เป็นแผ่นที่สามารถอ่าน ข้อมูลจากแผ่นซีดีอาร์และแผ่นซีดีรอมได้ สามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีอาร์ในรูปแบบของ Session แต่ไม่สามารถลบ Session เพื่อบันทึกข้อมูล ทับลงไปได้

ไดร์ฟสำหรับอ่านแผ่นซีดีอาร์ดับบลิว (CR-RW Drive) เป็นเครื่องสำหรับอ่านแผ่นซีดีได้ทุกประเภท สามารถบันทึกข้อมูลลงบนแผ่น CD-RW ได้ ซึ่งสามารถ ลบและบันทึกข้อมูลซ้ำได้หลายครั้ง

ตัวอย่าง หากผู้ใช้ซื้อ CD-RW drive ที่ข้างกล่องจะปรากฏข้อมูล 40X/12X/48X หมายความว่า 40X หมายถึง ความเร็วสูงสุดในการอ่านและบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD-R 12X หมายถึง ความเร็วสูงสุดในการลบและบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD- RW 48X หมายถึง ความเร็วในการอ่านข้อมูลบนแผ่น CD-R และ CD-RW

ประเภทของไดร์ฟสำหรับอ่านแผ่นซีดี ไดร์ฟภายใน (Internal Drive) เป็นไดร์ฟที่ติดตั้ง ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันกำลังเป็นที่ นิยมมาใช้แทนไดร์ฟซีดีรอม เนื่องจากสามารถอ่านแผ่น ซีดีได้ทุกประเภท และยังสามารถอ่านแผ่นดีวีดีได้

ประเภทของไดร์ฟสำหรับอ่านแผ่นซีดี (ต่อ) ไดร์ฟภายนอก (External Drive) ติดตั้งอยู่ภายนอก คอมพิวเตอร์ คุณสมบัติอื่นๆเทียบเท่ากับไดร์ฟภายใน แต่จะทำให้สะดวกสบายในการเคลื่อนย้าย

ไดร์ฟสำหรับอ่านแผ่นดีวีดี หากผู้ใช้ซื้อ DVD-ROM drive ที่มีความเร็ว 16X นั่น หมายความว่า จะมีความเร็วในการอ่านข้อมูล (Read Speed) เท่ากับ 21,600 Kbps หรือประมาณ 21.6 Mbps โดยคำนวณจาก 16 * 1,350 (ความเร็ว 1X ของดีวีดี ประมาณ 1,350 Kbps)

ตัวอย่าง หากผู้ใช้ซื้อ DVD+RW/R, DVD-RW/R drive ที่ข้าง กล่องจะปรากฏข้อมูล 16X/16X/8X หมายถึง ความเร็วสูงสุดในการอ่าน ข้อมูล (Read Speed) แผ่น DVD-ROM, DVD+R/RW, DVD-R/RW เท่ากับ 16X ความเร็วสูงสุดในการเขียน ข้อมูล (Write Speed) แผ่น DVD+R/-R เท่ากับ 16X แผ่น DVD+RW เท่ากับ 8X แผ่น DVD-RW เท่ากับ 4X

แฟลชเมมโมรี (Flash Memory)

แฟลชเมมโมรี่ (Flash Memory) แฟลชเมมโมรี่ Flash memory, Flash ROM หรือ Flash RAM เป็นหน่วยความจำชนิด Nonvolatile ที่นำ ข้อดีของ ROM คือสามารถเก็บข้อมูลโดยไม่มีไฟฟ้า หล่อเลี้ยงได้ และสามารถบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง คล้าย RAM แฟลชเมมโมรี่ เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่ให้ผู้ใช้งาน สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลประเภทภาพ เสียง หรือ เอกสารต่างๆ จากคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์ที่ใช้เก็บ บันทึกข้อมูลอยู่ได้

ประเภทของแฟลชเมมโมรี ชื่ออุปกรณ์ ประเภท การใช้งาน CompactFlash Flash memory card กล้องดิจิตอล, โน้ตบุ๊ก, เครื่องพิมพ์, เครื่อง เล่นเพลงพกพา, โทรศัพท์มือถือ, PDA Smart Media กล้องดิจิตอล, โทรศัพท์มือถือ, PDA, Photo printer Secure Digital กล้องดิจิตอล, กล้องวิดีโอดิจิตอล, โน้ตบุ๊ค, เครื่องเล่นเพลงพกพา, โทรศัพท์มือถือ, PDA, e-books xD Picture Card กล้องดิจิตอล Memory Stick กล้องดิจิตอล, โน๊ตบุ๊ค, Photo printer Microdrive Magnetic media กล้องดิจิตอล, กล้องวิดีโอดิจิตอล, โน้ตบุ๊ค, เครื่องเล่นเพลงพกพา, PDA

ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ (USB Flash Drives) เป็นอุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูลที่ใช้หน่วยความจำแบบ แฟลชเมมโมรี่ (Flash memory) ซึ่งสามารถบันทึก ข้อมูลได้ แม้จะไม่มีไฟฟ้าหล่อเลี้ยง (Nonvolatile memory) เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ตยูเอสบี ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สามารถพกพาได้สะดวก นิยม นำมาใช้ทดแทนแผ่นดิสก์ซึ่งมีความจุต่ำ และสามารถ ทดแทนแผ่นซีดีซึ่งพกพายากกว่า

ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ (ต่อ) สามารถอ่าน เขียน ลบ หรือย้ายข้อมูลได้อย่างสะดวก ความจุที่นิยม ใช้กันจะเริ่มตั้งแต่ 128 MB ขึ้นไป ได้แก่ 256 MB, 512 MB, 1 GB, 2 GB, 4GB และ 8 GB เป็น ต้น

สมาร์ทการ์ด (SMART Cards) เป็นอุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูลที่ใช้หน่วยความจำแบบ Flash memory ซึ่งมีขนาดเท่ากับบัตรเครดิต หรือบัตร เอทีเอ็ม แต่จะมีการฝังชิพ (Chip) ไว้ที่บนบัตร ซึ่งชิพ จะบันทึกข้อมูลทางอิเล็คทรอนิคส์ไว้ และมีวิธีการรักษา ความปลอดภัยเป็นอย่างดี

วีธีการเลิกใช้งาน Handy Drive คลิกเมาส์ขวาที่ไอคอนของ Handy Drive ณ ตำแหน่ง Notification Area

วีธีการเลิกใช้งาน Handy Drive (ต่อ) เลือกอุปกรณ์ที่ต้องการ Unplug

วีธีการเลิกใช้งาน Handy Drive (ต่อ) ปิดหน้าต่าง และ Unplug อุปกรณ์

Tips of the Day: การปิด Autorun ไปที่ Start Menu เลือก Run… แล้วพิมพ์คำว่า gpedit.msc และคลิกที่ปุ่ม OK

การปิด Autorun (ต่อ) จะปรากฎหน้าต่าง Group Policy ให้คลิกเลือกที่เมนู Computer Configuration -> Administrative Templates -> System

การปิด Autorun (ต่อ) ดับเบิลคลิกเลือกที่รายการ Turn off Autoplay

การปิด Autorun (ต่อ) จะปรากฎหน้าต่าง Turn off Autoplay Properties ให้คลิกเลือก Enabled ให้คลิกเลือก Turn off Autoplay on: All drives คลิกที่ปุ่ม OK เพื่อปิดหน้าต่าง Restart เครื่อง