หน้าที่ของประโยค
ประโยคต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสารย่อมแสดงถึงเจตนา ของผู้ส่งสาร เช่น บอกกล่าว เสนอแนะ อธิบาย ซักถาม ขอร้อง วิงวอน สั่งห้าม เป็นต้น หากจะแบ่งประโยคตามหน้าที่หรือลักษณะที่ใช้ ในการสื่อสาร สามารถแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
๑. ประโยคบอกเล่า เป็นประโยคที่ใช้ในเรื่องราวบอกเล่าธรรมดา ซึ่ง ประกอบด้วยประธาน กริยา และอาจมีกรรมหรือส่วนเติมเต็ม นอกจากนั้นอาจ มีส่วนขยาย เพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้น เช่น - ความรู้เป็นทรัพย์อันประเสริฐ - พระอาทิตย์กำลังจะตกดิน - เราควรช่วยตัวเองก่อนที่จะให้คนอื่นช่วย เรา
๒. ประโยคปฏิเสธ เป็นประโยคที่ผู้พูดต้องการห้ามหรือปฏิเสธ ไม่รับ โดยที่ ประโยคเหล่านี้ ต้องมีผู้กระทำและอาจมีผู้ถูกกระทำหรือส่วนเติมเต็ม และอาจไม่มีส่วนขยายต่าง ๆ เพื่อให้ได้ความชัดเจนขึ้น ก็ได้ คำที่ใช้แสดงการปฏิเสธ ได้แก่ ไม่ ไม่ได้ มิได้ มิใช่ ไม่ใช่ หามิได้ ฯลฯ เช่น - เด็ก ๆ ไม่ควรนอนดึก - ฉันไม่เคยลืมไหว้พระก่อนนอน - รัฐบาลไม่สามารถอยู่ได้ครบ ๔ ปี
๓. ประโยคคำสั่งและประโยคขอร้อง เป็นประโยคที่ต้องการให้คนใดคนหนึ่ง หรือหลายคน ปฏิบัติตาม ประโยคคำสั่งมักใช้คำว่า อย่า ห้าม จง นำ หน้าข้อความ เช่น - อย่าทำพื้นห้องสกปรก - ห้ามสนทนาเวลาเรียน - จงเลือกคำตอบข้อที่ถูกต้องที่สุด ประโยคขอร้อง มักใช้คำว่า โปรด กรุณา กรุณาถอดรองเท้าก่อนเข้าห้อง โปรดช่วยกันรักษาความสะอาด
๔. ประโยคคำถาม เป็นประโยคที่ผู้พูดแสดงความสงสัยต้องการถามมี หลายชนิด คือ ๔. ๑ ประโยคถามเนื้อความ ใช้ถามเรื่องราวบาง ประการจากผู้ฟัง จะมีคำถามไม่ชี้เฉพาะ ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ไหน เท่าไร เหตุใด เมื่อไร กี่ อยู่ใน ตำแหน่งคำหรือกลุ่มคำที่ถาม เช่น - ใครเป็นคนนำสวดมนต์เมื่อเช้านี้ - เมื่อไหร่เธอจะส่งงาน - นักเรียนมีปากกากี่ด้าม ๔. ๒ ประโยคถามให้ตอบรับหรือปฏิเสธ ใช้ถาม เพื่อให้ตอบรับหรือปฏิเสธ ได้แก่ คำว่า ไม่ ไม่ใช่ ไม่ใช่หรือ ไหม เช่น - คุณชอบรับประทานสุกี้ไหม - นักเรียนทุกคนชอบวันหยุดใช่ไหม