การวิจัยในชั้นเรียน Classroom action Research รศ. ทนงศักดิ์ วันชัย
คำถาม ทำไมต้องทำวิจัยในชั้นเรียน ต้องมีพื้นฐานความรู้อะไร จะทำการวิจัยในชั้นเรียนได้อย่างไร จะเขียนโครงการวิจัยอย่างไร
ทำไมต้องทำวิจัยในชั้นเรียน เพราะ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ? มาตรา 24(5) ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอน สามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ มาตรา 30 ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เพราะแก้ปัญหาการเรียนการสอนในชั้นเรียน ? เพราะการประกันคุณภาพการศึกษา ? เพราะการพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านวิชาการ
ต้องมีพื้นฐานความรู้อะไร ต้องมีพื้นฐานความรู้อะไร หลักและวิธีสอนอุดมศึกษา การวัดและประเมินผลการศึกษา จิตวิทยาการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา การพัฒนาหลักสูตร การวิจัยทางการศึกษา หลักสูตรที่สอน ฯลฯ
จะทำการวิจัยในชั้นเรียนได้อย่างไร
การวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน การวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยทางการศึกษา (Educational Research) หมายถึง การศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ความเข้าใจ หรือ คำอธิบายเกี่ยวกับการศึกษาในเรื่องหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การประเมินผลการศึกษา นวัตกรรมการศึกษา การบริหารการศึกษา เป็นต้น
การวิจัยสถาบัน (Institutional Research) หมายถึง การศึกษาที่มุ่งจะศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน เพื่อนำข้อค้นพบไปประยุกต์ใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจ ในการวางแผน กำหนดนโยบาย การดำเนินงานพัฒนาและแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละสถาบัน ซึ่งถือว่าเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research)
การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research) หมายถึง กระบวนการในการค้นหาคำตอบอย่างเป็นระบบและมีจุดเน้นที่การแก้ปัญหาในชั้นเรียน สามารถพัฒนาทางเลือกในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพที่เหมาะสม เกิดประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพต่อชั้นเรียน
หลักการแนวคิดทฤษฎี และรูปแบบการวิจัยในชั้นเรียน
ลักษณะของการวิจัยในชั้นเรียน วิจัยสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน วิจัยสภาพปัญหาเพื่อนำผลไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน วิจัยเพื่อมุ่งค้นหารูปแบบและวิธีเกี่ยวกับการเรียนการสอน วิจัยเพื่อมุ่งศึกษาพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและประสิทธิภาพของผู้สอน วิจัยเพื่อมุ่งศึกษา สำรวจสภาพที่ปรากฏตามความต้องการ ความคิดเห็น และความสนใจของผู้เรียนในห้องเรียน วิจัยควบคู่การเรียนการสอน โดยสอนไปวิจัยไป แล้วนำผลไปแก้ปัญหาในชั้นเรียน และเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์
ขอบเขตของการวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยในชั้นเรียน จะทำกับนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก ในห้องเรียน เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนการสอน ในรายวิชาที่ครู-อาจารย์รับผิดชอบ ซึ่งจะให้ความสำคัญกับ การคิดค้นพัฒนานวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอน มี 2 ประเภท 1. สื่อการสอนที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ 2. กิจกรรมการพัฒนาหรือเทคนิควิธีสอน
สื่อการเรียนการสอนที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ หนังสือ คู่มือ ชุดการสอน บทเรียนโปรแกรม ฯลฯ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบฝึก ใบความรู้ ใบงาน
กิจกรรมการพัฒนาหรือเทคนิควิธีสอน เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เรียนรู้จากชุมชนและธรรมชาติ การเรียนรู้แบบบูรณาการ ทัศนศึกษา วิธีสอนแบบการทดลอง วิธีสอนแบบโครงงาน สถานการณ์จำลอง ฯลฯ วิธีสอนแบบอภิปราย การสอนเป็นทีม สอนซ่อมเสริม การสอนแบบสาธิต กระบวนการกลุ่ม กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
รูปแบบของการวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยหาความสัมพันธ์ การวิจัยเปรียบเทียบ การวิจัยเชิงทดลอง
การวิจัยเชิงสำรวจ เป็นการศึกษาลักษณะความเป็นจริงในเรื่องต่าง ๆ มุ่งรวบรวมข้อมูลและรายงานลักษณะที่มีอยู่เป็นอยู่ในสถานการณ์นั้นๆ เพื่อแก้ปัญหาของการปฏิบัติงาน ตลอดจนเป็นพื้นฐานประกอบการตัดสินใจวางแผนงาน ตัวอย่างหัวข้อวิจัย ความรู้พื้นฐานทางการเกษตรของนักศึกษาที่เรียนวิชาปัญหาพิเศษ สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สภาพและปัญหาห้องปฏิบัติการวิชาผลิตภัณฑ์นมที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การประเมินประสิทธิภาพการสอนวิชาหลักการเกษตร การสอนภาคปฏิบัติวิชาการขยายพันธุ์พืช
การวิจัยหาความสัมพันธ์ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ว่ามีความผันแปรร่วมกันอย่างไร เพื่อที่จะอธิบายหรือทำนายพฤติกรรม พฤติกรรมทั้งในแง่เหตุและผล โดยใช้เทคนิคทางสถิติเชิงสหสัมพันธ์ ตัวอย่างหัวข้อวิจัย ประสิทธิภาพของข้อสอบวิชาเทคโนโลยีของการผลิตสัตว์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการผสมพันธุ์พืช
การวิจัยเปรียบเทียบ ตัวอย่างหัวข้อวิจัย เป็นการศึกษาเหตุและผลทางการศึกษาในกรณีที่ไม่สามารถศึกษาด้วยการทดลอง เนื่องจากไม่สามารถควบคุมตัวแปรอิสระได้ จึงพยายามศึกษาเปรียบเทียบความเหมือน และความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ที่ศึกษานั้น ตัวอย่างหัวข้อวิจัย สาเหตุที่นักศึกษาสอบตกวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาโรคพืช การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานิเวศวิทยาของนักศึกษาโดยใช้แบบประเมินก่อนเรียน และหลังเรียน
การวิจัยเชิงทดลอง ตัวอย่างหัวข้อวิจัย เป็นการศึกษาที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของการควบคุม ซึ่งการทดลองนั้นจึงต้องประกอบด้วยกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ตัวอย่างหัวข้อวิจัย การทดลองการสอนแบบบรรยายกับการสอนโดยใช้สื่อ CAI ในวิชาอุตุนิยมวิทยา
การกำหนดหัวข้อการวิจัยในชั้นเรียน แหล่งที่มาของหัวข้อการวิจัย หัวข้อการวิจัย มาจากปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน อาจจะเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ 1. ผู้เรียน 2. ผู้สอน 3. เทคนิควิธีการสอน 4. สื่อการสอน 5. สภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก
ขอบข่ายหัวข้อการวิจัยในชั้นเรียน การศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน การศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของการเรียนการสอน การศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตร การศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การศึกษาเกี่ยวกับเทคนิควิธีการของการวัดและประเมินผล การศึกษาเกี่ยวกับสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
การศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มุ่งศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ; การปรับเปลี่ยนพัฒนาวิธีสอน ทดลองสอนด้วยเทคนิควิธีต่าง ๆ ค้นหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียน การสร้างแบบฝึกทักษะด้านต่าง ๆ หาเทคนิควิธีการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ หาแนวทางในการแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียน การเปรียบเทียบวิธีการสอนแบบต่าง ๆ
การศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของการเรียนการสอน มุ่งศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ; ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน ความรู้เดิมกับพัฒนาการของการเรียนรู้ ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนของผู้เรียน การวิเคราะห์หลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ บรรยากาศในห้องเรียนกับผลของการเรียนรู้
การศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตร มุ่งศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ; การประเมินหลักสูตร การติดตามการใช้หลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร การวิเคราะห์ความเหมาะสมของรายวิชา
การศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน มุ่งศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ; การประเมินการใช้แผนการสอน การทดลองใช้วิธีการสอน การสร้างสื่อ แบบฝึกชุดการสอน หนังสือนวัตกรรม การจัด/ใช้รูปแบบของกิจกรรมการเรียนการสอน เจตคติของครู-อาจารย์ นักศึกษาที่มีต่อรายวิชา บรรยากาศในห้องเรียน,ห้องปฏิบัติการ
การศึกษาเกี่ยวกับเทคนิควิธีการวัดและประเมินผล มุ่งศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ; การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบ/ข้อสอบ การวิเคราะห์หาคุณภาพของแบบทดสอบ/ข้อสอบ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การหาความสัมพันธ์ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การหาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การศึกษาเกี่ยวกับสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ; การพัฒนาเกี่ยวกับสื่อการสอน การหาประสิทธิภาพของสื่อการสอน การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสื่อการสอน ศึกษาผลการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน ศึกษาผลการเรียนรู้ที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เกิดจากการใช้สื่อ
กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 2 กำหนดปัญหาวิจัย ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 4 กำหนดนวัตกรรมที่ใช้ ขั้นตอนที่ 5 ออกแบบการวิจัย ขั้นตอนที่ 6 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 7 นำนวัตกรรมไปใช้ ขั้นตอนที่ 8 การเขียนรายงานวิจัย
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาการเรียนการสอน ปัญหาการเรียนการสอนในรายวิชาที่สอน ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับ ผู้เรียน ผู้สอน วิธีการสอน สื่อการสอน การวัดและการประเมินผล สภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกในชั้นเรียน จัดลำดับความสำคัญของปัญหาและเลือกปัญหาที่สำคัญที่สุด มาพิจารณาว่าปัญหาที่ต้องการศึกษานั้น มีที่มาอย่างไรและเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้างที่เกิดขึ้นภายในห้องเรียน
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดปัญหาวิจัย ขั้นตอนที่ 2 กำหนดปัญหาวิจัย กำหนดหัวข้อเรื่องที่ต้องการวิจัย(ชื่อเรื่อง) ซึ่งต้องสอดคล้องกับปัญหาที่ต้องการศึกษา และปัญหาวิจัยที่เลือกนั้นต้องไม่กว้างเกินไป และสามารถหาคำตอบได้จากการรวบรวมข้อมูลในห้องเรียนโดยทั่วไประยะเวลาในการศึกษา ไม่ควรเกิน 1 ภาคเรียนหรือ 1 ภาคการศึกษา กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยปกตินิยมเขียนในรูปประโยคบอกเล่ามากกว่าประโยคคำถาม
ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัย เพื่อจะได้เทคนิคการแก้ปัญหา ความเชื่อมโยงระหว่างปัญหาที่ศึกษากับแนวคิดทฤษฎี ตลอดจนการเลือกเครื่องมือสถิติที่ใช้
ขั้นตอนที่ 4 กำหนดนวัตกรรมที่ใช้ ขั้นตอนที่ 4 กำหนดนวัตกรรมที่ใช้ ผู้วิจัยจะต้องกำหนดนวัตกรรม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งอาจจะสร้างขึ้นมาเองหรือนำเอาที่ผู้อื่นทำไว้แล้วมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพของปัญหาและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ซึ่งอาจเป็นวิธีการสอน สื่อการสอนชุดการสอน ฯลฯ
ขั้นตอนที่ 5 ออกแบบการวิจัย ขั้นตอนที่ 5 ออกแบบการวิจัย ผู้วิจัยต้องกำหนดรูปแบบของการวิจัย ที่จะใช้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ กลุ่มตัวอย่าง และตัวแปรที่ศึกษา ซึ่งอาจเป็นรูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเปรียบเทียบ การวิจัยความสัมพันธ์ เป็นต้น และต้องมีการกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 6 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 6 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบวัดเจตคติซึ่งการใช้เครื่องมือชนิดใดนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิจัยและตัวแปรที่จะศึกษา เมื่อเลือกเครื่องมือและดำเนินการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะเหมือนกลุ่มตัวอย่างที่เราจะศึกษาแล้วนำมาตรวจสอบหาคุณภาพของเครื่องมือในด้านความเที่ยงตรง (validity) และความเชื่อมั่น (Reliability)
ขั้นตอนที่ 7 นำนวัตกรรมไปใช้ ขั้นตอนที่ 7 นำนวัตกรรมไปใช้ ผู้สอนนำนวัตกรรมไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างและดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้เครื่องมือที่ได้สร้างไว้แล้ว และนำมาวิเคราะห์หาค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way Analysis of variance) เป็นต้นและสรุปผล
ขั้นตอนที่ 8 การเขียนรายงานวิจัย ขั้นตอนที่ 8 การเขียนรายงานวิจัย การเขียนรายงานการวิจัยเป็นการนำเสนอ เนื้อหาสาระของการวิจัยกำหนด ซึ่ง ปกติประกอบ 5 บท คือ 1. บทนำ 2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3. วิธีดำเนินการวิจัย 4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 5. สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
จะเขียนโครงการวิจัยในชั้นเรียนอย่างไร
โครงการวิจัย เป็นกรอบแนวคิดในการดำเนินการวิจัยที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ที่เป็นแผนปฏิบัติในการวิจัย ที่จะทำให้ผู้วิจัยและผู้เกี่ยวข้องได้ทราบแนวทางในการดำเนินการวิจัยว่าจะทำอะไร ทำไมต้องทำ ทำอย่างไร ทำที่ไหน ทำกับใคร และทำเมื่อไร
องค์ประกอบของโครงการวิจัย โดยทั่วไปโครงการวิจัย จะมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน 1. ส่วนนำ 2. ส่วนเนื้อหา 3. ส่วนอ้างอิง
องค์ประกอบของส่วนนำ ชื่อเรื่อง ผู้วิจัย ชื่อหน่วยงาน ที่ปรึกษาโครงการ ปีที่ทำวิจัย
องค์ประกอบส่วนเนื้อหา ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐานการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ วิธีดำเนินการวิจัย
องค์ประกอบส่วนอ้างอิง บรรณานุกรม ภาคผนวก
องค์ประกอบของโครงการวิจัยในชั้นเรียน ชื่อเรื่องวิจัย ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐานการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย แผนการปฏิบัติงานวิจัย งบประมาณ ผู้รับผิดชอบโครงการ บรรณานุกรม
Workshop ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาการเรียนการสอนในชั้นเรียน ปัญหาที่พบ 1................................................................................... 2................................................................................... 3................................................................................... 4.................................................................................. 5..................................................................................
จัดลำดับความสำคัญของปัญหา 1................................................................................... 2................................................................................... 3................................................................................... 4.................................................................................. 5..................................................................................
เลือกปัญหาที่สำคัญที่สุด 1................................................................................................ แนวทางในการแก้ไขปัญหา 1................................................................................... 2................................................................................... 3................................................................................... กำหนดชื่อเรื่องงานวิจัย ................................................................................................................ ......................................................................................................................