แผนปฏิบัติการยึดคืน พัฒนา และจัดสรรพื้นที่

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ให้ไว้ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2556
Advertisements

Innovative Solution Integration Co, Ltd
โจทย์ หาราคาค่าเช่าห้องพัก โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าพักไม่เกิน5วัน จะไม่มีส่วนลด ถ้าพัก5-8วัน จะมีส่วนลด 5% แต่ถ้าพักมากกว่า8วันขึ้นไป จะมีส่วนลด 10%
ผลสำเร็จการดำเนินการ การดำเนินการในระยะต่อไป
ระบบสารสนเทศเพื่อการปกครอง
กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพและการสร้างภาพลักษณ์
การประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างศูนย์วิชาการเขต กรมควบคุมโรคมี SRRT การจัดทีมระดับเขต นโยบาย – การติดตามสถานการณ์ – สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในคน – จัดทีม.
เน้นเป้าหมายที่คนมากกว่ายุง
WAR ROOM โรคไข้เลือดออก วันที่ 3 กันยายน 2556
พายุ แกมี ได้สลายตัวเป็นร่องความกดอากาศต่ำ และยังคงพาดผ่านจังหวัดเพชรบุรี ส่งผลให้มีฝนตกถึงวันที่ 10 ตค. 55 สำหรับพายุที่ก่อตัวขึ้นใหม่มีทิศทางเคลื่อนตัวไปทิศเหนือ.
Road Map เขตบริการสุขภาพที่ ๑๒
โดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เลย เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู
ผลการ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
วันพุธที่ 20 ตุลาคม 2553 ณ ประชุม War room กรมการพัฒนาชุมชน
แนวทางการดำเนินงานควบคุม โรคไข้เลือดออก /โรคคอตีบ
ประชุมwar room ครั้งที่ 3/2554
D: Detection I: Incident Command S: Safety & Security A: Assess Hazards S: Support T: Triage & Treatment E: Evacuation R: Recovery.
VDO conference dengue 1 July 2013.
นพ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี
มาตรการในการป้องกันควบคุม โรค ในพื้นที่ระบาดและพื้นที่รอยต่อ 1. ตั้งศูนย์ปฏิบัติการฯ ( War room ) เฝ้าระวัง ประเมิน สถานการณ์ ระดมทรัพยากรในการแก้ไขปัญหา.
การบริการวิกฤตสุขภาพจิตและการปฏิบัติงานทีม MCATTและบทบาทหน้าที่
การสร้าง object และ room
วิชาที่ 3 การจัดการความรู้และระบบข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ
หัวข้อในการบรรยาย : ทำความเข้าใจกับระบบ แนะนำเว็บไซต์
เป้าหมายในช่วงฤดูการระบาด ลดการตาย เน้นการมี Dengue Corner ในโรงพยาบาล มี Case manager จังหวัดที่มีอัตราผู้ป่วยตายเกิน 0.12 เป็นพื้นที่ที่กระทรวงให้ความสำคัญ.
นโยบายและการจัดการกับภาวะฉุกเฉิน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครปฐม
ทิศทางการดำเนินงานป้องกันควบคุม โรคติดต่อนำโดยแมลง ปี 2556
การใช้ระบาดวิทยาเพื่อแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ (กรณีการสอบสวนอหิวาตกโรค)
ไข้หวัดใหญ่ 2009 โรงพยาบาลเชียงรายประชานุ เคราะห์.
ผู้ป่วยไข้เลือดออกจังหวัด กำแพงเพชร ปี 2556 พบผู้ป่วย 484 ราย อัตราป่วย ต่อแสน พบผู้ป่วย เสียชีวิต 1 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.21 ข้อมูล ณ 23 มิถุนายน.
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกประเทศไทย ปี 2556
เศรษฐกิจ FTA Trade Barrier (NTB) Hub CM. การเมือง วิสัยทัศน์ผู้นำ นโยบายผู้ว่า CEO นโยบาย Food Safety การเมืองมีพรรคใหญ่ 2 พรรค ความโปร่งใส เผด็จการ และ.
ระบบติดตามผลการปฏิบัติราชการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ
LOGO com ครูที่ปรึกษา ระบบดูแลนักเรียน.
แนวทางรณรงค์ควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกของชาติ ด้วยยุทธศาสตร์ “รวมพลัง เอาชนะไข้เลือดออก”
โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
บทสรุปจากการประชุม เครือข่ายระบบสารสนเทศน้ำจังหวัด
บูรณาการเพื่อบ้านเรา ( พช.) วันพุธที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณ WAR ROOM กรมการ พัฒนาชุมชน อาคาร บี ศูนย์ราชการเฉลิมพระ เกียรติฯ แจ้งวัฒนะ.
Writing Test (สอบเขียน) Write the second sentence to have the same meaning as the first. เขียนประโยคที่ 2 ให้มีความหมาย เหมือนกับประโยคแรก.
Good Morning.
การประชุม War Room กระทรวงสาธารณสุข ติดตามเฝ้าระวังแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก ครั้งที่ 7/2556 วันที่ 5 เมษายน 2556 เวลา – น. ณ ห้องประชุม.
PMQA Organization 2 รหัสแนวทางการดำเนินการ การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการ IT1 ส่วนราชการต้องมีระบบฐานข้อมูลผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ.
PMQA Organization เอกสารประกอบการชี้แจงตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ สำหรับส่วนราชการระดับกรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ วันที่ 28 ตุลาคม.
ศูนย์ข้อมูลกลางเพื่อบริหารจัดเก็บและใช้ประโยชน์
ประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่
Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team (MCATT)
การกำหนดสัดส่วนการจองและการจองเกิน
บทที่ 2 กระบวนการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์
การนิเทศ ติดตาม ควบคุม กำกับงานสาธารณสุข ครั้งที่ 1 ประจำปี 2561 คพสอ
ทิศทางการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2560
WAR ROOM โรคไข้เลือดออก สัปดาห์ที่ 34
การให้บริการข้อสอบ Pre O-NET
ศูนย์ปฏิบัติการป้องกัน ควบคุมโรคตับอักเสบ ชนิด เอ
นโยบายการบริหาร นักเรียน นักศึกษา มีวินัยและจรรยาบรรณ
บทที่ 2 การดูแลความสะอาดสุขสบาย
สรุปแนวทางการดำเนินงานวัณโรค ปี ๒๕๖๑
กฎหมายและ โลกสมัยใหม่
วิชา ศาสนศึกษาขั้นแนะนำ
หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการขาย
นโยบายการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บ จากการจราจรในเมืองใหญ่ (City RTI)
แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา THM 3307 การจัดการงานฝ่ายห้องพัก
องค์ประกอบ ตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การ ประเมิน มาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย (ประเภทห้องประชุม) ฉบับปรับปรุง 2558 กลุ่มที่ 1 ศูนย์ประชุม/อาคารแสดง.
ภัยคุกคามกับการรักษาความปลอดภัย
นำเสนอ RDU อำเภอแม่วาง เทียบไตรมาสที่ 1 ปี 2560 กับ 2561
MR. PAPHAT AUPAKA UPDATE PICTURE MEETING ROOM SYSTEM
ระบอบทรัพย์สินดิจิทัล
ถัดไป.
USA Revision BBC videos
งานสุดยอดแบรนด์ไทย (Top Thai Brands) ครั้งที่ 2 30 กย – 4 ตค
ใบสำเนางานนำเสนอ:

แผนปฏิบัติการยึดคืน พัฒนา และจัดสรรพื้นที่ ส.ป.ก. ที่มีการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามคำสั่ง คสช. ที่ ๓๖/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เรื่องมาตรการในการแก้ไขปัญหาการครอบครองที่ดิน ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

สถานการณ์การปฏิรูปที่ดินในปัจจุบัน 1 . ยังคงเหลือพื้นที่ไม่ได้สำรวจรังวัด เนื่องจาก 3. การบังคับใช้กฎหมายไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก มีผู้ถือครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถือครองไม่ให้ความร่วมมือ หรือยินยอมเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การส่งมอบพื้นที่คืนให้ ส.ป.ก.ตามคำพิพากษา ยังไม่ได้รับการปฏิบัติตาม 1. พรบ. มีช่องว่าง ทำให้ไม่สามารถดำเนินการกับผู้ครอบครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยมิชอบด้วยกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ 2. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่ทราบผู้ครอบครองชัดเจน ไม่สามารถดำเนินการฟ้องร้องตามกระบวนการปกติได้ 3. กระบวนการบังคับใช้กฎหมายปกติ มีขั้นตอนและระยะเวลามาก ทำให้ผู้ครอบครองใช้โอกาสในการแสวงประโยชน์จากพื้นที่ที่ครองครองโดยมิชอบกฎหมาย 2 . มีการซื้อ ขาย เปลี่ยนมือ และนำไปใช้ประโยชน์ไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ

คำสั่ง คสช. ที่ ๓๖/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙ คำสั่ง คสช. ที่ ๓๖/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เรื่องมาตรการในการแก้ไขปัญหา การครอบครองที่ดิน ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ภารกิจ ส.ป.ก. ประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ดำเนินการสำรวจ ตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งนี้หากไม่ถูกต้อง ให้ดำเนินกรรมวิธีการยึดพื้นที่คืน เพื่อนำมาจัดสรรให้กับเกษตรกรตัวจริง ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำกิน ตามวัตถุประสงค์ และนโยบายของคณะกรรมการจัดการที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ต่อไป เจตนารมณ์ ให้ดำเนินการสำรวจ และตรวจสอบในการใช้ประโยชน์ที่ดินของ ส.ป.ก. ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ด้วยความรอบคอบและหากตรวจพบว่ามีการดำเนินการผิดไปจากวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ให้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานฝ่ายความมั่นคง และส่วนราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินการตามกรรมวิธีที่จะยึดพื้นที่กลับคืน โดยไม่มีการใช้ความรุนแรงปฏิบัติการใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อนำที่ดินเหล่านั้น มาดำเนินการจัดสรรให้กับเกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จริง ตามนโยบายของ คทช. ทั้งนี้ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง อย่างเคร่งครัด

พื้นที่เป้าหมายดำเนินงาน 1 ที่ดินที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่มีเนื้อที่ตั้งแต่ 500 ไร่ ขึ้นไป ที่ดินที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีมติให้เกษตรกรผู้ได้รับการจัดที่ดินสิ้นสิทธิเข้าทำประโยชน์แล้ว และครอบครองโดยบุคคลที่มิใช่ผู้ได้รับการจัดที่ดิน มีเนื้อที่ตั้งแต่ 100 ไร่ ขึ้นไป 2 3 ที่ดินศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ส่งมอบแก่ ส.ป.ก. แล้ว และมีเนื้อที่ตั้งแต่ 500 ไร่ ขึ้นไป

หรือ ผู้สืบสันดานที่ร่วมทำประโยชน์ในที่ดิน แผนผังมาตรการแก้ไขปัญหาการครอบครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามคำสั่ง คสช. ที่ 36/2559 พื้นที่เป้าหมาย (3) พื้นที่ซึ่งมีผลแห่งคำพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่ เพื่อที่ตั้งแต่ 500 ไร่ขึ้นไป ส.ป.ก. ประกาศพื้นที่เป้าหมายตามข้อ 1 (1) และ (2) พื้นที่เป้าหมาย (1) (ที่ดินที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการปฏิรูป เนื้อที่ตั้งแต่ 500 ไร่ขึ้นไป) พื้นที่เป้าหมาย (2) (ที่ดินที่จัดให้แก่เกษตรกรตามกฎหมายแล้ว เนื้อที่ตั้งแต่ 100 ไร่ ขึ้นไป) ส.ป.ก.จังหวัด -ขอออกคำบังคับ -ขอหมายบังคับคดี (แจ้ง ส.ป.ก. จังหวัด) ส.ป.ก.จังหวัด นำหมายบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี และนำเจ้าพนักงานบังคับคดีเข้าพื้นที่ ส.ป.ก. จังหวัดปิดประกาศ ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน และ ที่ทำการ อปท. เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหาร อปท. มีหน้าที่ดูแลประกาศ เจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกองทัพบก/กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจัก/กองกำลังป้องกันชายแดนกองทัพบก/กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค เจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วแต่กรณีตามที่ ส.ป.ก.ร้องขอ มีอำนาจ ปักป้ายแจ้งเตือนแปลงที่ดิน ภายใน 30 วัน สั่งให้ออกจากที่ดิน หรือสั่งให้รื้อถอน ทำลาย หรือกระทำการอันอื่นใดแก่สิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ ภายใน 30 วัน เข้าไปสำรวจรังวัด หรือ ตรวจสอบการครอบครอง และการใช้ประโยชน์ ออกคำสั่งให้บุคคลมารายงานตัว ให้ถ้อยคำ หรือส่งมอบเอกสารหลักฐาน ยึด รื้อถอน ทำลาย หรือ กระทำการอื่นใดกับสิ่งปลูกสร้างที่เป็นอุปสรรค คัดค้านต่อ ส.ป.ก. จังหวัด ภายใน 15 วัน ผู้ครอบครองที่ดินยื่นคำร้องคัดค้าน ไม่ปรากฏการคัดค้าน ส.ป.ก. จังหวัดตรวจสอบ ภายใน 30 วัน ผู้คัดค้าน มีสิทธิในที่ดิน ผู้คัดค้าน ไม่มีสิทธิในที่ดิน รายงาน ส.ป.ก. เพื่อยุติเรื่องตามหลักเกณฑ์ที่ รมว.กษ. กำหนด ผู้ครอบครองที่ดินชดใช้ค่าใช้จ่าย ส.ป.ก. นำที่ดินไปจัดให้แก่เกษตรกรตามนโยบายจัดที่ดินทำกินชุมชนของรัฐบาล/เกษตรกรผู้ถือครองที่ดินเดิม หรือ ผู้สืบสันดานที่ร่วมทำประโยชน์ในที่ดิน

ขั้นตอนการปฏิบัติ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1 ขั้นตอนเตรียมการ จัดเตรียมแผน และคำสั่ง ข้อมูล แผนที่แนบท้าย และอื่นๆ 2 ขั้นตอนการแจ้งเตือน 3 ขั้นตอนการยึดที่ดิน และการรื้อถอน 4 ขั้นตอนการปรับปรุงพัฒนาที่ดิน 5 ขั้นตอนการจัดสรรที่ดินให้เกษตรกร

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนเตรียมการ ส.ป.ก. กรมบังคับคดี กองทัพภาค กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย กองทัพบก กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค และหน่วยที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมแผน คำสั่ง ข้อมูล แผนที่แนบท้าย และอื่นๆ ที่จำเป็น โดยดำเนินการดังนี้ สำรวจพื้นที่เป้าหมาย จัดทำประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการตรวจสอบหลักฐาน แสดงสิทธิในที่ดินของผู้ครอบครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม จัดทำแผนที่แนบท้าย (ในกรณีที่ 1) ส่งให้ ส.ป.ก.จังหวัด ส.ป.ก.จังหวัดปิดประกาศเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน เพื่อให้ผู้ครอบครองที่ดินยื่นคำร้อง เพื่อแสดงสิทธิในที่ดิน ต่อ ส.ป.ก.จังหวัดภายใน 15 วัน นับแต่วันปิดประกาศ ส.ป.ก. แต่งตั้งคณะทำงานในระดับจังหวัด

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนเตรียมการ (ต่อ) 6. ส.ป.ก.จังหวัด ตรวจสอบหลักฐานแสดงสิทธิ ให้แล้วเสร็จ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ที่ รมว.กษ. กำหนด 7. หากหลักฐานแสดงสิทธิ ชอบด้วยหลักเกณฑ์ฯ ให้ ส.ป.ก. จังหวัดรายงาน ต่อ ส.ป.ก.รับรอง หาก ส.ป.ก.รับรองแล้ว ให้ ตัดที่ดินเป้าหมายนั้นออก แต่หาก ส.ป.ก. ไม่รับรองให้ ส.ป.ก. จังหวัดดำเนินการตามที่ ส.ป.ก.สั่งการต่อไป 8. หากหลักฐานแสดงสิทธิ ไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์ฯ ให้ ส.ป.ก.จังหวัดเสนอคณะทำงานระดับจังหวัด ดำเนินงานเพื่อ ยึดที่ดินคืน ต่อไป

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนเตรียมการ (ต่อ) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนเตรียมการ (ต่อ) 9. คณะทำงานระดับจังหวัด ประเมินสถานการณ์ความรุนแรง เป็น 2 ระดับ ดังนี้ 9.1 ระดับปกติ คือ สถานการณ์อาจไม่มีความรุนแรง ให้ ส.ป.ก.จังหวัดเป็นหน่วยนำ เจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 นาย และเจ้าหน้าที่ฝ่าย ปกครอง ผู้ปกครองท้องที่ เป็นหน่วยสนับสนุน 9.2 ระดับมีความเสี่ยง คือ สถานการณ์ที่อาจมีความรุนแรง เนื่องจากผู้ครอบครองที่ดินเป็นผู้มีอิทธิพล หรือมีกลุ่มบุคคลอยู่ในท้องที่ ให้ใช้ ส.ป.ก.เป็นหน่วยนำ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ประกอบด้วยนายทหารชั้น สัญญาบัตรเป็นหัวหน้าชุด จำนวน 1 ราย และกำลังพลปฏิบัติการ 10 นาย หรือ มากกว่า และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ผู้ปกครองท้องที่ เป็นหน่วยสนับสนุน โดยให้ดำเนินการ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ว่าจะเกิดความรุนแรงเพียงใด 2) วิเคราะห์ผู้ครอบครองที่ดินที่เป็นผู้มีอิทธิพล หรือ แกนนำ โดยสืบค้นประวัติของแกนนำ ด้านต่างๆ ในเชิงลึก เช่น การประกอบอาชีพ และประวัติอาชญากรรม โดยขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ฝ่าย ความมั่นคงเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ อาทิ การเจรจา เป็นต้น 3) เตรียมข้อมูลเพื่อเจรจาหาข้อยุติความขัดแย้ง โดยแบ่งระดับการเจรจาเป็นระดับพื้นที่ใน จังหวัด ระดับส่วนกลาง (ส.ป.ก.) และระดับนโยบาย (กระทรวง) 4) รวบรวมรายงานเหตุการณ์ผ่านศูนย์ควบคุมและติดตามสถานการณ์ (War Room) ของ ส.ป.ก. เพื่อรายงานให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทราบโดยทันที

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนเตรียมการ (ต่อ) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนเตรียมการ (ต่อ) 10. ในการดำเนินการในทุกขั้นตอน ให้ ส.ป.ก.จังหวัดจัดทำการบันทึกภาพ หรือ ประชาสัมพันธ์ภาพการทำงานในทุกขั้นตอนที่อาจเป็นปัญหา หรือ มี ผลกระทบต่อการดำเนินงาน เพื่อประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ และทางคดี

ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการแจ้งเตือน แบ่งเป็น 3 กรณี กรณีที่ 1 ที่ดินที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่มีเนื้อที่ตั้งแต่ 500 ไร่ ขึ้นไป เป็นขั้นที่ ส.ป.ก.จังหวัดปิดประกาศพร้อมแผนที่แนบท้าย ให้ผู้ครอบครองนำหลักฐานมาแสดง ซึ่ง ส.ป.ก. จะดำเนินการตรวจสอบหลักฐานตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการตรวจสอบหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินของผู้ครอบครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ดำเนินการ ดังนี้ 1. หากผู้ครอบครองที่ดินไม่มายื่นคำร้องแสดงสิทธิในที่ดิน หรือผู้ครอบครองมายื่นคำร้องแล้ว ส.ป.ก.จังหวัดพิจารณาแล้ว ไม่เห็นชอบกับคำร้องของผู้ครอบครองที่ดินให้ ส.ป.ก.จังหวัดมีคำสั่ง เป็นหนังสือไปยังผู้ครอบครองที่ดิน ให้รื้อถอนอาคาร สิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งอื่นใดในที่ดิน และออกจากพื้นที่ภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับคำสั่ง 2.หากไม่ปรากฏว่ามีผู้ครอบครองหรือไม่ทราบผู้ครอบครองที่ดินในพื้นที่เป้าหมาย ให้ ส.ป.ก.จังหวัดปักป้ายคำสั่งในพื้นที่เป้าหมาย ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งอื่นใดในที่ดิน และออกจากพื้นที่ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันปักป้ายคำสั่ง

ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการแจ้งเตือน (ต่อ) กรณีที่ 2 ที่ดินที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีมติให้เกษตรกรผู้ได้รับการจัดที่ดินสิ้นสิทธิเข้าทำประโยชน์แล้ว และครอบครองโดยบุคคลที่มิใช่ผู้ได้รับการจัดที่ดินมีเนื้อที่ตั้งแต่ 100 ไร่ ขึ้นไป เป็นขั้นที่ ส.ป.ก.จังหวัดแจ้งให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดพิจารณาเพิกถอนสิทธิตามข้อเท็จจริง และหลักฐานต่างๆ หากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีมติให้เกษตรกรผู้ได้รับการจัดที่ดินสิ้นสิทธิแล้ว ส.ป.ก.จังหวัด จะแจ้งให้ ผู้ครอบครองที่ดินรื้อถอน และออกจากพื้นที่ ภายใน 30 วัน นับจากวันปิดประกาศ กรณีที่ 3 ที่ดินที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ส่งมอบแก่ ส.ป.ก. แล้ว และมีเนื้อที่ตั้งแต่ 500 ไร่ ขึ้นไป ส.ป.ก.จังหวัดประสานอัยการขอออกหมายบังคับคดี และส่งหมายบังคับคดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดี และนำเจ้าพนักงานบังคับคดีเข้าพื้นที่เพื่อปิดประกาศขับไล่และรื้อถอนภายใน 30 วัน

ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนการยึดที่ดิน และการรื้อถอน เมื่อผู้ครอบครองไม่ดำเนินรื้อถอน และออกจากพื้นที่ ตามที่ ส.ป.ก.มีคำสั่ง ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ปิดประกาศ ส.ป.ก. จะดำเนินการจากเบาไปหาหนัก โดยขอรับการสนับสนุนกำลังจาก กองทัพภาค กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยกองทัพบก กองกำลังป้องกันชายแดนของกองทัพบก หรือกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค ให้ดำเนินการ ดังนี้ ขั้นตอนการยึดที่ดิน ขั้นตอนการรื้อถอน ส.ป.ก. จังหวัดแจ้งขอรับการสนับสนุนกำลัง ส.ป.ก.จังหวัดร่วมกับหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ร่วมกันทำแผน และปฏิบัติการโดยใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก เพื่อดำเนินการยึดที่ดิน ในวันที่เข้ายึด ให้ ส.ป.ก.จังหวัด ดำเนินการดังนี้ - ทำหลักฐานแสดงขอบเขตพื้นที่โดยแจ้งผู้ครอบครองข้างเคียงร่วมระวังแนวเขต - สำรวจและจัดทำบัญชีทรัพย์สิน ผลอาสิน และสิ่งปลูกสร้าง ฯลฯ ในกรณีมีผู้ครอบครองที่ดินให้ผู้ครอบครองที่ดินลงชื่อรับรอง ในกรณีผู้ครอบครองที่ดินไม่ยอมลงชื่อ หรือ ไม่ปรากฏผู้ครอบครอง ให้ปฏิรูปที่ดินจังหวัด และเจ้าหน้าที่ที่ร่วมทำการยึดร่วมลงชื่ออีกไม่น้อยกว่า 2 คน - ให้ ส.ป.ก.จังหวัดจัดทำแผนที่ และนำบัญชีทรัพย์สินปิดประกาศ ณ แปลงที่ดิน โดยเปิดเผย เพื่อให้ทราบทั่วกัน ส.ป.ก. จังหวัด แจ้งความร้องทุกข์ เพื่อดำเนินคดีอาญา ข้อหายึดถือและครอบครองที่ดินของรัฐ และ ข้อหา บุกรุก ส.ป.ก.จังหวัดรายงานผลการดำเนินการให้ ส.ป.ก. ส.ป.ก.สรุปผลการดำเนินงาน รายงานให้ รมว.กษ. 1. ให้ ส.ป.ก.จังหวัดประมาณการค่าใช้จ่ายเฉพาะการรื้อถอนอาคาร และสิ่งปลูกสร้าง หรือวัสดุอื่นๆที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพื้นที่ ยกเว้น พืชผลอาสิน 2. การรื้อถอนให้ดำเนินการรื้อถอนโดยการจ้าง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และเมื่อดำเนินการแจ้งแล้ว ให้นำเงินที่ใช้ในการจ้างรื้อถอนไปตั้งเป็นยอดหนี้ที่ต้องเรียกร้องให้ผู้ครอบครองที่ดินชดใช้ 3. กรณีผู้ครอบครองยินยอมยกอาคาร และสิ่งปลูกสร้าง หรือวัสดุอื่นให้กับ ส.ป.ก. และ ส.ป.ก.พิจารณาแล้วเห็นควรรับมอบไว้ ให้ถือว่า วันที่ ส.ป.ก. เห็นชอบเป็นวันที่รับมอบทรัพย์สินดังกล่าวแล้ว

ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนการปรับปรุงพัฒนาที่ดิน เป็นขั้นที่ ส.ป.ก. ดำเนินการพัฒนาพื้นที่เป้าหมายที่ยึดคืนได้ นำไปพัฒนาให้มีความพร้อมในการทำการเกษตรตามนโยบายของ คทช. ก่อนที่จะจัดสรรให้เกษตรกรต่อไป โดยให้ดำเนินการ ดังนี้ 1. ดำเนินการสำรวจ รังวัด ออกแบบ และประมาณการค่าใช้จ่าย ในการพัฒนาพื้นที่ที่ยึดคืนมาได้ 2. ประสานสำนักงบประมาณขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน 3. หากเกินศักยภาพที่จะดำเนินการได้ ให้พิจารณาประสานกระทรวงกลาโหม ขอรับการสนับสนุนหน่วยงานทหารช่างเข้าดำเนินการ 4. ดำเนินการตามขั้นตอนงบประมาณ

1 2 3 4 ขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนการจัดสรรที่ดินให้เกษตรกร หลังจากที่คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน (คณะที่ 1) มีมติรับที่ดินที่ได้ทำการยึดคืนกลับมาเป็นของ ส.ป.ก. เป็นแปลงที่จะดำเนินการจัดสรรให้แก่ ราษฎรที่เป็นผู้ยากไร้ ตามแนวทางของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ แล้ว และได้ส่งมอบพื้นที่ให้แก่คณะอนุกรรมการจัดที่ดิน (คณะที่ 2) ให้ ส.ป.ก. ดำเนินการ ดังนี้ ให้ ส.ป.ก. มอบพื้นที่ที่ได้ดำเนินการออกแบบ และเตรียมการปรับปรุงพัฒนาที่ดินแล้ว ให้แก่ คทช.จังหวัด ให้ ส.ป.ก. แจ้งรายละเอียดแผนผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่ให้ คทช.จังหวัด ใช้เป็นแนวทางในการจัดสรรให้เกษตรกร ให้ ส.ป.ก.จังหวัด สนับสนุน คทช.จังหวัด ในการจัดสรรที่ดินให้กับกลุ่มเกษตรกร หรือ สหกรณ์ หรือ สถาบันเกษตรกร ให้ ส.ป.ก.จังหวัด อำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกร หรือ กลุ่มเกษตรกร หรือ สหกรณ์ หรือ สถาบันเกษตรกรในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินแปลงจัดสรร 1 2 3 4

คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน คณะอนุกรรมการจัดที่ดิน กลุ่มเป้าหมาย 1. ผู้อพยพโยกย้ายจากพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ 2. ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการของทางราชการ 3. เกษตรกรผู้ไร้ที่ดินทำกินที่ในท้องถิ่น และ ขึ้นทะเบียนกับ ส.ป.ก. และหน่วยงานอื่น 4. เกษตรกรรุ่นใหม่ของ ส.ป.ก. เพื่อเป็นต้นแบบ การพัฒนา (จำนวนแปลงที่จัดสรรให้เกษตรกรรุ่นใหม่ไม่เกินร้อยละ 5 ของจำนวนแปลงที่ดินที่จัดสรรทั้งหมด และขนาดเนื้อที่ที่จัดสรรให้แต่ ละรายไม่เกินกึ่งหนึ่งของเนื้อที่จัดสรรให้เกษตรกรทั่วไปในพื้นที่นั้น) ที่ดินที่ยึดคืน นำมาจัดที่ดินให้กลุ่ม หรือสถาบันเกษตรกร ภายใต้คณะอนุกรรมการ จำนวน 4 คณะ ตามนโยบาย คทช. 1. คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน 2. คณะอนุกรรมการจัดที่ดิน 3. คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ 4. คณะอนุกรรมการจัดที่ดินจังหวัด (คทช.จังหวัด) คณะอนุกรรมการ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน คณะอนุกรรมการจัดที่ดิน 1 1 รับมอบข้อมูลพื้นที่ ข้อมูลผู้ได้รับการจัดที่ดิน จากคณะอนุกรรมการจัดหาที่ดินและคณะอนุกรรมการจัดที่ดิน 1 ส.ป.ก. เสนอพื้นที่เป้าหมาย รับมอบพื้นที่ดำเนินการ จากคณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน 2 2 ตรวจสอบ จัดทำข้อมูล จัดส่งแผนที่ ให้ คทช.จังหวัด คณะอนุกรรมการฯ กำหนดพื้นที่ ส่งให้ คทช.จังหวัด ตรวจสอบ/พิจารณา 2 ตรวจสอบข้อมูลพื้นที่และ ข้อมูลรายชื่อผู้ครอบครองที่ดิน 3 คทช.จังหวัด สำรวจข้อมูลพื้นที่ รายงานผลต่อคณะอนุกรรมการฯ 3 3 คทช.จังหวัด ตรวจสอบ นำเสนอข้อมูลต่อคณะอนุกรรมการฯ แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแผนการใช้ที่ดินและ วางแผนส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ 4 จัดทำบัญชีสถานะและแยกประเภทกลุ่มเป้าหมาย 4 คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ 4 5 พิจารณาให้ความเห็นชอบ พร้อมทั้งแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ 5.1 กำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ กลุ่มเป้าหมาย แจ้ง คทช.จังหวัด คัดเลือกราษฎรตามหลักเกณฑ์ ภายใต้กฎหมายของ ส.ป.ก. แจ้งคณะอนุกรรมการจัดที่ดิน พร้อมข้อมูลเขตพื้นที่ 5 ติดตามผลการดำเนินงาน 5.2 แจ้ง คทช.จังหวัด เพื่อเตรียมการอนุญาต ตามกฎหมายของ ส.ป.ก. 6 ส่งบัญชีรายชื่อผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือให้คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ

ภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสนับสนุนทั่วไป หน่วยที่ออกปฏิบัติการขอรับการสนับสนุนค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายจาก ส.ป.ก. โดยผ่าน ส.ป.ก.จังหวัด ตามหลักเกณฑ์ที่ ส.ป.ก. กำหนด 2. ส.ป.ก. ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงบประมาณ โดยขอความเห็นชอบจากส่วนที่เกี่ยวข้องตามระเบียบทางราชการ การควบคุมบังคับบัญชา การติดต่อสื่อสาร และการรายงาน ให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ควบคุม และติดตามสถานการณ์ (War Room) ทั้งในระดับส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค โดยมี เลขาธิการ ส.ป.ก. เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด ในส่วนกลาง และปฏิรูปจังหวัด เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในระดับภูมิภาค โดยให้รายงานผลการปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน ในเวลา 15.00 น. ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์เร่งด่วน ให้รายงานให้ทราบโดยทันที

1. กองทัพภาค กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กองกำลังป้องกันชายแดน กองทัพบก หรือ กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยกองทัพบก (ทั้ง 3 กรณี) 1. ขั้นตอนการเตรียมการ ผู้บัญชาการหน่วยงานในระดับพื้นที่ มอบหมายเจ้าหน้าที่ร่วมเป็นคณะทำงานระดับจังหวัด เมื่อได้รับแจ้งเป็นหนังสือ จาก ส.ป.ก.จังหวัด ผู้แทนหน่วยในระดับพื้นที่เข้าร่วมประชุมกับคณะทำงานระดับจังหวัดเพื่อรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลด้านการข่าว ประเมินระดับสถานการณ์ในพื้นที่เป้าหมายเพื่อกำหนดแผนเข้าปฏิบัติการในขั้นตอนการแจ้งเตือนและขั้นตอนการยึด และการรื้อถอน 2. ขั้นตอนการแจ้งเตือน จัดกำลังพลชุดปฏิบัติการ เป็นหน่วยสนับสนุน กรณีพื้นที่เป้าหมายระดับมีความเสี่ยง ประกอบด้วยนายทหารชั้นสัญญาบัตร 1 นาย และกำลังพล จำนวนอย่างน้อย 10 นาย หรือมากกว่าตามความเหมาะสมของระดับสภาพปัญหา เข้าร่วมปักป้ายคำสั่งให้ผู้ครอบครองที่ดินรื้อถอน อาคารสิ่งปลูกสร้าง และออกจากที่ดิน (กรณีไม่ปรากฏตัว)

3. ขั้นตอนการยึดและรื้อถอน จัดกำลังพลชุดปฏิบัติการ เป็นหน่วยสนับสนุน 1. กองทัพภาค กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กองกำลังป้องกันชายแดน กองทัพบก หรือ กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยกองทัพบก (ต่อ) 3. ขั้นตอนการยึดและรื้อถอน จัดกำลังพลชุดปฏิบัติการ เป็นหน่วยสนับสนุน กรณีพื้นที่เป้าหมายระดับมีความเสี่ยง ประกอบด้วยนายทหารชั้นสัญญาบัตร 1 นาย และกำลังพล จำนวนอย่างน้อย 10 นาย หรือมากกว่าตามความเหมาะสมของระดับสภาพปัญหา เข้าร่วมยึดพื้นที่เป้าหมาย เมื่อได้รับการ้องขอเป็นหนังสือจาก ส.ป.ก.จังหวัด กรณีประเมินสถานการณ์แล้วว่าพื้นที่เป้าหมายมีระดับความเสี่ยงกับภยันตรายต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการ เนื่องจากมีกลุ่มบุคคลอยู่ในพื้นที่เป้าหมายเป็นจำนวนมากไม่ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอน และออกจากที่ดิน ให้เจรจาชี้แจง ทำความเข้าใจต่อกลุ่มบุคคลในพื้นที่เป้าหมายเป็นลำดับแรก ทั้งนี้จะต้องทำการบันทึกภาพเหตุการณ์โดยละเอียดทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวในการปฏิบัติการพร้อมรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อประกอบการดำเนินคดีต่อไป 4. ขั้นตอนการปรับปรุงพัฒนาที่ดิน กระทรวงกลาโหม มอบหมายให้หน่วยทหารช่างพร้อมยุทโธปกรณ์เข้าร่วมการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ให้มีความพร้อมในการประกอบเกษตรกรรม เมื่อได้รับการร้องขอเป็นหนังสือจาก ส.ป.ก.

2. กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค (ทั้ง 3 กรณี) 1. ขั้นตอนการเตรียมการ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค มอบหมายเจ้าหน้าที่ร่วมเป็นคณะทำงานระดับจังหวัด เมื่อได้รับแจ้งเป็นหนังสือ จาก ส.ป.ก.จังหวัด ผู้แทนหน่วยในระดับพื้นที่เข้าร่วมประชุมกับคณะทำงานระดับจังหวัดเพื่อรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลด้านการข่าว ประเมินระดับสถานการณ์ในพื้นที่เป้าหมายเพื่อกำหนดแผนเข้าปฏิบัติการในขั้นตอนการแจ้งเตือนและขั้นตอนการยึด และการรื้อถอน 2. ขั้นตอนการแจ้งเตือน จัดกำลังพลชุดปฏิบัติการ เป็นหน่วยสนับสนุน กรณีพื้นที่เป้าหมายระดับปกติ ประกอบด้วยนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร 1 นาย และกำลังพล จำนวนอย่างน้อย 2 นาย หรือมากกว่าตามความเหมาะสมของระดับสภาพปัญหา เข้าร่วมปักป้ายคำสั่งให้ผู้ครอบครองที่ดินรื้อถอน อาคารสิ่งปลูกสร้าง และออกจากที่ดิน (กรณีไม่ปรากฏตัว) สั่งการให้สถานีตำรวจภูธรในพื้นที่เป้าหมายรับแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีที่ ส.ป.ก.จังหวัดร้องขอและให้เร่งรัดดำเนินคดีโดยเร็วต่อไป 3. ขั้นตอนการยึดและรื้อถอน จัดกำลังพลชุดปฏิบัติการ เป็นหน่วยสนับสนุน กรณีพื้นที่เป้าหมายระดับมีความเสี่ยง ประกอบด้วยนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร 1 นาย และกำลังพล จำนวนอย่างน้อย 3 นาย หรือมากกว่าตามความเหมาะสมของระดับสภาพปัญหา เข้าร่วมยึดพื้นที่เป้าหมาย เมื่อได้รับการ้องขอเป็นหนังสือจาก ส.ป.ก.จังหวัด

3. กระทรวงมหาดไทย (ทั้ง 3 กรณี) 1. ขั้นตอนการเตรียมการ นายอำเภอ ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ จาก ส.ป.ก.จังหวัด แล้ว ให้หาข้อมูลในพื้นที่เชิงลึกของบุคคลที่เกี่ยวข้อง นายอำเภอ สั่งการ ให้ผู้ปกครองท้องที่ ตำรวจ สมาชิก อส. เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าร่วมการปฏิบัติงาน 2. ขั้นตอนการแจ้งเตือน นายอำเภอ หรือผู้แทน กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน เข้าร่วมกับคณะทำงาน ปักป้ายคำสั่งให้ผู้ครอบครองที่ดินรื้อถอน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใด และออกจากที่ดิน (กรณีไม่ปรากฏตัว) 3. ขั้นตอนการยึดและรื้อถอน นายอำเภอหรือผู้แทน กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน เข้าร่วมกับหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินการยึดของ ส.ป.ก.จังหวัดตามระดับความรุนแรงในการเข้าปฏิบัติการในพื้นที่เป้าหมายที่มีลักษณะน่าจะเป็นภยันตรายต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการ

ได้รับมอบหมายบังคับคดีจาก ส.ป.ก.จังหวัด 4. กรมบังคับคดี (กรณีที่ 3) 1. ขั้นตอนการเตรียมการ ได้รับมอบหมายบังคับคดีจาก ส.ป.ก.จังหวัด จัดทำประกาศขับไล่ ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด 2. ขั้นตอนการแจ้งเตือน เจ้าพนักงานบังคับคดี โดยการนำของ ส.ป.ก.จังหวัด ปิดประกาศขับไล่ และให้ลูกหนี้ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างภายใน 30 วัน และ ให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารลูกหนี้ ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาล ภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ปิดประกาศ ทั้งนี้ ในพื้นที่เป้าหมายแปลงใดที่มีข้อขัดข้องหรือมีลักษณะน่าจะเป็นภยันตรายต่อเจ้าหน้าที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ ส.ป.ก.จังหวัดร้องขอการสนับสนุน (ตามสถานการณ์ความรุนแรง) เพื่อให้ความคุ้มครองการเข้าดำเนินการปิดประกาศ

4. กรมบังคับคดี (ต่อ) 3. ขั้นตอนการยึดและรื้อถอน ปิดประกาศครบกำหนด 30 วัน ไม่มีบุคคลใดอยู่อาศัย ไม่ออกตามคำบังคับศาล (ส.ป.ก. จังหวัด แจ้งผลการตรวจสอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดี) ทั้งนี้ ในการดำเนินงานขับไล่ และรื้อถอนแปลงใดที่มีข้อขัดข้องหรือมีลักษณะน่าจะเป็นภยันตรายต่อเจ้าหน้าที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ ส.ป.ก.จังหวัดร้องขอการสนับสนุน (ตามสถานการณ์ความรุนแรง) เพื่อให้ความคุ้มครองการเข้าดำเนินการ ไม่พบบุคลใดยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษ บุคคลยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษ (ส.ป.ก. จังหวัด แจ้งคำร้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดียื่นคำร้องต่อศาลออกหมายจับ) รายงานต่อศาลให้มีคำสั่งจับกุม และกักขัง ดำเนินการให้เฉพาะผู้ที่มิได้ยื่นคำร้องฯ ภายในระยะเวลาที่กำหนด และรอการจัดการมอบพื้นที่เป้าหมายไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดตามคำร้องแสดงอำนาจพิเศษนั้น ส่งมอบที่ดิน ให้ ส.ป.ก. จังหวัดทำลายสิ่งกีดขวางที่เป็นอุปสรรค ในการจัดการตามสมควร มอบทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมายให้ ส.ป.ก.จังหวัดเก็บรักษาไว้หรือขนย้ายไปเก็บ ณ สถานที่ใด โดยลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย และเจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีสิ่งของไว้และแจ้งหรือประกาศให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษารับคืนไปภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปที่ดิน ออกไปจากพื้นที่เป้าหมายและให้ลูกหนี้เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและขนย้ายสิ่งของ ถ้าไม่รับคืนในกำหนด อนุญาตให้ขายทอดตลาด แล้วเก็บรักษาเงินสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายไว้แทน

ขอบคุณครับ