L I O รายงานผลการดำเนินงาน ประจำเดือนมกราคม 2555 สำนักงานความร่วมมืออุตสาหกรรม OFFICE OF INDUSTRIAL LIAISON อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป บุคลากร ผศ.คำรณ พิทักษ์ ผู้จัดการสำนักงาน น.ส.พรพรรณ ด้วงทอง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป นายพิชนันท์ เรืองแสงวัฒนา น.ส.พจนีย์ จันทร์ศิริ น.ส. ณัชชา แสนละเอียด นายตรีภพ พินันโสตติกุล เจ้าหน้าที่ประสานงานความร่วมมืออุตสาหกรรม
ผลการดำเนินงาน iTAP
โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ลำดับ โครงการ งบประมาณ (บาท) ITA ดูแลโครงการ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพเตาอบไม้ 837,000 พจนีย์ 2 การพัฒนาระบบการทำสี 787,000 3 ที่ปรึกษา TFQS 368,000 4 การให้คำปรึกษาด้านการปรับปรุงกระบวนการการบำรุงรักษาเครื่องจักร ทวีผลแบบทุกคนที่มีส่วนร่วม (TPM) 316,000 พิชนันท์ 5 การปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรสำหรับกระบวนการผลิตถุงนิ้วแบบต่อเนื่อง 170,925 6 การให้คำปรึกษาด้านTPM 214,000 7 การศึกษาศักยภาพของระบบการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสีย และกากตะกอนดีเคนเตอร์ 370,015
โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ (ต่อ) ลำดับ โครงการ งบประมาณ (บาท) ITA ดูแลโครงการ 8 การพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรในการผลิตกาแฟผงสำเร็จรูป 660,000 ณัชชา 9 การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตน้ำหวานแต่งกลิ่นรสผลไม้ 342,700 10 การให้คำปรึกษาในการจัดทำระบบ GMP 221,950 11 การเพิ่มประสิทธิภาพและระบบบริหารจัดการกระบวนการผลิตกาแฟผงสำเร็จรูป 735,000
แผนการดำเนินงาน iTAP ปี 55-57
โครงการกลุ่ม โครงการบำบัดสีน้ำเสียของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม นายพิชนันท์ เรืองแสงวัฒนา การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางแผ่นรมควันสำหรับสหกรณ์กองทุนสวนยาง นางสาวพจนีย์ จันทร์ศิริ การจัดวางระบบบริหารความปลอดภัยอาหารของอุตสาหกรรมอาหาร นางสาวพจนีย์ จันทร์ศิริ การพัฒนาเทคโนโลยีกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและสมุนไพรในภาคใต้ น.ส.ณัชชา แสนละเอียด
โครงการกลุ่ม โครงการบำบัดสีน้ำเสียของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม หลักการและเหตุผล กระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์มมีน้ำเสียเกิดขึ้นในปริมาณมาก น้ำเสียที่ผ่านระบำบัดหรือระบบผลิตแก๊สชีวภาพแล้วยังคงมีสีคล้ำไม่สามารถปล่อยทิ้งหรือนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีที่วิจัยและพัฒนา โดยผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วัตถุประสงค์ เพื่อวิจัยและศึกษากระบวนการที่เหมาะสม สำหรับการบำบัดสีของน้ำเสียจากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม และออกแบบระบบเพื่อให้สามารถดำเนินการบำบัดสีของน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มลูกค้า/อุตสาหกรรมเป้าหมาย โรงงานอุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์ม ในพื้นที่ภาคใต้ ระยะเวลาดำเนินงาน 36 เดือน
สหกรณ์กองทุนสวนยางในภาคใต้ โครงการกลุ่ม (ต่อ) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางแผ่นรมควันสำหรับสหกรณ์กองทุนสวนยาง หลักการและเหตุผล โครงการนี้มุ่งเน้นการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยภายในมหาวิทยาลัย เช่น เครื่องผลิตยางแผ่นดิบอัตโนมัติ โรงตากยางพลังงานแสงอาทิตย์ ห้องรมยางและเตาเผาฟืนประหยัดพลังงาน ระบบบำบัดน้ำเสีย ไปสนับสนุนและพัฒนาประสิทธิภาพให้แก่สหกรณ์กองทุนสวนยางในภาคใต้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางแผ่นรมควันของสหกรณ์กองทุนสวนยางในภาคใต้ กลุ่มลูกค้า/อุตสาหกรรมเป้าหมาย สหกรณ์กองทุนสวนยางในภาคใต้ ระยะเวลาดำเนินงาน 36 เดือน
กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร โครงการกลุ่ม (ต่อ) การจัดวางระบบบริหารความปลอดภัยอาหารของอุตสาหกรรมอาหาร หลักการและเหตุผล จัดวางและพัฒนาระบบบริหารความปลอดภัยอาหารสากล ประกอบด้วย ISO 22000 GMP HACCP และ BRC ให้กับสถานประกอบการ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ โดยการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอาหาร ในการจัดวางระบบ เพื่อให้สถานประกอบการ มีระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยอาหาร ที่สอดคล้องตามมาตรฐานสากล ตลอดห่วงโซ่การผลิต และสามารถเพิ่มศักยภาพในการส่งออกได้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบบริหารการจัดการด้านความปลอดภัยของอาหาร เพื่อให้สอดคล้องตามข้อบังคับ ของกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตรงตามความต้องการของภาครัฐ ชุมชน สังคม และคู่ค้า 2. เพื่อควบคุมกระบวนการจัดการด้านการบริหารความปลอดภัยอาหาร ดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น 3. เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันทางการตลาดของอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มลูกค้า/อุตสาหกรรมเป้าหมาย กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร ระยะเวลาดำเนินงาน 36 เดือน
กลุ่มลูกค้า/อุตสาหกรรมเป้าหมาย โครงการกลุ่ม (ต่อ) การพัฒนาเทคโนโลยีกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและสมุนไพรในภาคใต้ หลักการและเหตุผล เป็นโครงการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านการผลิตวัตถุดิบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รูปแบบและคุณภาพบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการลงทุนในธุรกิจที่ต้องใช้ฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากคณะเภสัชศาสตร์ และคณะการแพทย์แผนไทยเป็นผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาหลักในการดำเนินโครงการ วัตถุประสงค์ 1. ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการกลุ่มเครื่องสำอางและสมุนไพรในภาคใต้ 2. สำรวจ ทราบความต้องการ และวินิจฉัยปัญหาเบื้องต้นให้กับผู้ประกอบการกลุ่มเครื่องสำอางและสมุนไพรในภาคใต้ 3. สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์ความรู้ต่างๆ จากหน่วยงานวิชาการในมหาวิทยาลัย เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ กลุ่มลูกค้า/อุตสาหกรรมเป้าหมาย กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สมุนไพร และธุรกิจสปาในภาคใต้ ระยะเวลาดำเนินงาน 36 เดือน
เยี่ยมโรงงานสำรวจปัญหาและวินิจฉัยปัญหา และความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ขั้นตอนการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์โครงการไปยังลูกค้าเป้าหมายเพื่อรับโจทย์ความต้องการจากภาคอุตสาหกรรม วางแผนปฏิบัติงานกับทีมผู้เชี่ยวชาญ หรือนักวิจัย เยี่ยมโรงงานสำรวจปัญหาและวินิจฉัยปัญหา และความต้องการของภาคอุตสาหกรรม จัดทำข้อเสนอ โครงการเดี่ยว รายบริษัท อนุมัติโครงการแต่ละบริษัท และเริ่มต้นให้คำปรึกษาเชิงลึก ติดตามความก้าวหน้า และประเมินผล เบิกเงินอุดหนุนแก่ภาคเอกชนและไม่เกิน 400,000 บาทต่อโครงการ จัดทำรายงานสรุปและ ประเมินผล
แผนการดำเนินงาน iTAP iTAP/ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญ กิจกรรม ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ผู้รับผิดชอบ เดือนที่ 1-6 เดือนที่ 7-12 ประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญ iTAP รับโจทย์ความต้องการจากภาคอุตสาหกรรม เยี่ยมโรงงานและวิเคราะห์ปัญหา iTAP/ผู้เชี่ยวชาญ ดำเนินโครงการให้คำปรึกษาเชิงลึก ผู้เชี่ยวชาญ ติดตามและประเมินผลโครงการ ประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้น
การบริหารโครงการและประเมินผล การบริหารโครงการและประเมินผลในระดับโครงการย่อย ประเมินผลในภาพรวมของโครงการเมื่อสิ้นสุดปีที่ 3 โดยประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นในภาพรวมทางเศรษฐกิจ ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเมินความพึงพอใจของลูกค้าต่อการดำเนินงานของโครงการ iTAP เมื่อสิ้นสุดโครงการ ด้านความพึงพอใจโดยรวมในการบริการ และความพึงพอใจต่อการทำงานของผู้เชี่ยวชาญ/นักวิจัย
Thank You