เครื่องมือชุดธารปัญญา: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ นายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
เครื่องมือชุดธารปัญญา 1. ตารางแห่งอิสรภาพ เป็นตารางที่แสดงขีดความสามารถหลักในด้านต่างๆและช่องคะแนนประเมินในระดับตั้งแต่ 1(พื้นฐาน)ถึง5(ดีเยี่ยม) 2. แผนภูมิแม่น้ำ(River diagram) นำตารางอิสรภาพของแต่ละองค์การที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ประเมินขีดความสามารถไว้โดยนำค่าระดับจุดเป็นเส้นกราฟเพื่อสร้างเป็นแผนภูมิแม่น้ำ โดยให้แกนนอน(x)เป็นแกนที่ระบุขีดความสามารถหลัก แกนตั้ง(Y)เป็นแกนที่แสดงค่าระดับจาก 1-5
เครื่องมือชุดธารปัญญา 3. แผนภูมิขั้นบันได(Stair diagram)มีบทบาทต่อการจัดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้มาก โดยแกนตั้งเป็นค่าระดับ 1-5 ส่วนแกนนอนเป็นตัวแสดงค่าช่องว่าง จะมีกลุ่มพร้อมให้และกลุ่มใฝ่รู้ 4. ขุมความรู้(Knowledge assets) เก็บรวบรวมสิ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3 ส่วนสำคัญคือประเด็นหลักๆ,เรื่องเล่า,ส่วนที่ให้รายละเอียดเพิ่มเติม 5. พื้นที่ประเทืองปัญญา เปิดเวทีให้ผู้สนใจได้เข้ามาศึกษาค้นคว้าแลกเปลี่ยนได้สะดวกขึ้นไม่ติดขัดทางด้านเวลาและระยะทาง
ตารางแห่งอิสรภาพ (Self Assessment) การกำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จในตารางอิสรภาพ กำหนดจากขั้นตอนหรือกระบวนการในการทำงาน(Process) ปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการทำงาน(Input) กำหนดจากผลลัพธ์ของความสำเร็จ(Results) กำหนดจากขีดความสามารถที่จะปฏิบัติงานนั้นๆให้สำเร็จ(Competency)
การกำหนดค่าระดับการประเมินแต่ละปัจจัย กำหนดเป็นตัวชี้วัดเชิงตัวเลข ๓-๕ ระดับ กำหนดเป็นคำอธิบายเชิงคุณภาพ ๓-๕ ระดับ
อัตราความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ 1 = อัตราความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ร้อยละ 50หรือน้อยกว่า 2 = อัตราความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ร้อยละ 60 3 = อัตราความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ร้อยละ70 4 = อัตราความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ร้อยละ 80 5 = อัตราความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ร้อยละ 90หรือมากกว่า
ตารางอิสรภาพ “งานได้ผล ตนสุขใจ” การประชุมเชิงปฏิบัติการ มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมฯ 4 – 5 ตุลาคม 2548 ตารางอิสรภาพ “งานได้ผล ตนสุขใจ” งานได้ผล ทำงานได้ตาม มาตรฐาน และ/หรือ ตามแนวทางที่ตั้งไว้ ทำงานได้บรรลุเป้าหมาย สามารถตอบสนองความต้องการของหน่วยงานได้ สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำงานได้เหนือความคาดหมาย สร้างความประทับใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการปรับปรุงและพัฒนาการทำงาน ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ตนสุขใจ สุขใจเพราะทำงานได้ตามที่รับผิดชอบ ทำได้ตามที่ได้รับมอบหมาย สุขและสนุกกับงาน มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง สุขเพราะมีใจจดจ่ออยู่กับงาน คิดเชิงบวกและมองโลกในแง่ดี สุขเพราะเห็นคุณค่าของงานที่ทำ ทำงานด้วยใจ สุขเพราะการทำงานประสานกลมกลืนกับการดำเนินชีวิต สามารถ บูรณาการ งานและชีวิตได้
การกำหนดปัจจัยตารางอิสระภาพ การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน: Process การจัดทำบัตรและรับเข้าสู่บริการ การตรวจประเมินเบื้องต้นก่อนพบแพทย์ การตรวจค่าน้ำตาลในเลือด การรักษาและการจ่ายยา การแนะนำเรื่องการรับประทานยาและการปฏิบัติตัว การตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง
การกำหนดปัจจัยตารางอิสระภาพ การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน: Result การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในระดับปกติ การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มาระบบริการ ความร่วมมือในการรักษา การปฏิบัติตัวหรือพฤติกรรมสุขภาพเหมาะสม
การกำหนดปัจจัยตารางอิสระภาพ การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน: Competency การให้การวินิจฉัยโรค การให้สุขศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การรักษาอย่างเหมาะสมกับโรคที่ผู้ป่วยเป็น การสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติ พฤติกรรมบริการที่ดี
การกำหนดปัจจัยตารางอิสระภาพ การให้บริการห้องสมุดอย่างมีคุณภาพ: Input จำนวนบรรณารักษ์ คุณลักษณะของบรรณารักษ์ บริเวณหรือห้องให้บริการ ประเภทและจำนวนของหนังสือและสื่อต่างๆ งบประมาณที่ใช้ในการทำงาน อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานหรือเครื่องมือต่างๆ
การกำหนดปัจจัยตารางอิสระภาพ การให้บริการห้องสมุดอย่างมีคุณภาพ: Process การจัดทำบัตรสมาชิก การต้อนรับผู้มาใช้บริการ การให้บริการยืมหนังสือ การให้บริการคืนหนังสือ การซ่อมบำรุงหนังสือ การประชาสัมพันธ์การใช้ห้องสมุด
การกำหนดปัจจัยตารางอิสระภาพ การให้บริการห้องสมุดอย่างมีคุณภาพ: Result ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ความครอบคลุมของผู้ใช้บริการ การมาใช้บริการซ้ำของผู้ใช้บริการ การได้รับการยอมรับจากชุมชน การชำรุดหรือสูญหายของหนังสือที่ให้บริการ ความทันสมัยของหนังสือที่มีให้บริการ
การกำหนดปัจจัยตารางอิสระภาพ การให้บริการห้องสมุดอย่างมีคุณภาพ: Competency พฤติกรรมบริการ การให้บริการยืมหรือคืนหนังสือ การสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้บริการ การสื่อสารหรือการประชาสัมพันธ์ การมุ่งความสำเร็จของงาน การดูแลหนังสือหรือสื่อต่างๆในห้องสมุด
ร.พ. ที่ 1 กรอบแนวคิดการประเมินตนเองตามบันไดขั้นที่ 1 สู่ HA เริ่มต้น (ระดับ 1) พอใช้ (ระดับ2) ดี ( ระดับ3) ดีมาก (ระดับ4) ดีเยี่ยม (ระดับ5) 1. การทบทวนขณะดูแลผู้ป่วย 2. การทบทวนความคิดเห็น/คำร้องเรียนของ ผู้รับบริการ 3. การทบทวนการส่งต่อ/ขอย้าย/ปฏิเสธการรักษา 4. การทบทวนการตรวจรักษาโดยผู้ชำนาญกว่า 5. การค้นหาและป้องกันความเสี่ยง 6. การป้องกันและเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล 7. การป้องกันและเฝ้าระวังความคลาดเคลื่อนทางยา 8. การทบทวนการดูแลผู้ป่วยจากเหตุการณ์สำคัญ 9. การทบทวนความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียน 10. การทบทวนการใช้ข้อมูลวิชาการ 11. การทบทวนการใช้ทรัพยากร 12. การติดตามเครื่องชี้วัดสำคัญ กรอบแนวคิดการประเมินตนเองตามบันไดขั้นที่ 1 สู่ HA (Self Assessment Framework for HA) ร.พ. ที่ 1
แผนภูมิแม่น้ำ (River Diagram) แกนนอน (X) เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ แกนตั้ง (Y) เป็นค่าระดับที่แต่ละแห่งประเมินได้ ลากเส้นเชื่อมจุดแต่ละจุดที่ประเมินได้ในแต่ละปัจจัยของแต่ละหน่วยงาน เปรียบเทียบคะแนนประเมินสูงที่สุดและต่ำที่สุดของแต่ละหน่วยงานในแต่ละปัจจัย ลากเส้นเชื่อมจุดสุงสุดของทุกปัจจัย และต่ำสุดของทุกปัจจัย แล้วแปลผลที่ได้???
ระดับปัจจุบันของ รพ.ที่ 1 และรพ.อื่นๆ
ระดับที่แตกต่างของแต่ละองค์ประกอบ
“ธารปัญญา” แสดงระดับปัจจุบันของ รพ. ที่ 1 เมื่อเทียบกับกลุ่ม
ในเรื่องการป้องกันและเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล ช่องว่าง (Gap) ระหว่างระดับที่เป็นเป้าหมาย (Target) กับระดับปัจจุบัน (Current) ในเรื่องการป้องกันและเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล Target Current
แผนภูมิขั้นบันได(Stair diagram) ๑ แผนภูมิขั้นบันได คือ ๑ ปัจจัยที่ใช้เปรียบเทียบกันของทุกหน่วยงาน ทุกหน่วยงานประเมินตนเองโดยอิสระว่า ณ ปัจจุบันหน่วยงานของตนเองทำได้ในระดับไหน (ปัจจุบัน) และในอนาคตข้างหน้าจะพัฒนาไปจนถึงระดับไหน (ความใฝ่ฝัน/เป้าหมายอนาคต) นำค่าอนาคตลบด้วยค่าปัจจุบันเพื่อหาช่องว่างหรือโอกาสในการพัฒนา แปลผลที่ได้เพื่อกำหนดหาผู้พร้อมให้และผู้ใฝ่รู้ นำมาจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
6. การป้องกันและเฝ้าระวัง การติดเชื้อในโรงพยาบาล ร.พ.7 GAP ( = Target minus Current) 5 4 3 2 1 LEVEL พร้อมให้ 6. การป้องกันและเฝ้าระวัง การติดเชื้อในโรงพยาบาล ร.พ.7 ร.พ.2, 8 ร.พ.5, 9 ใฝ่รู้ ร.พ.6 ร.พ.1 ร.พ.3 ร.พ.4 ร.พ.10, 11
เครื่องมือชุดธารปัญญา “ True success exists not in learning, but in its application to the benefit of mankind” สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก องค์พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย “ความสำเร็จที่แท้จริงมิได้อยู่ที่การเรียนรู้ หากแต่อยู่ที่การนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อคุณประโยชน์แก่มนุษยชาติ” Tel. 081 8889011 e-mail : tingbanyati@yahoo.com , www.practicallykm.gotoknow.org