สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
EC451 International Trade Theory and Policy
Advertisements

ทรัพย์สินทางปัญญากับผลงานวิจัย.. เกี่ยวข้องอย่างไร???
ผู้นำจีนยุคใหม่ (New Generation of Leader in China)
การว่างแผนกลยุทธ์ การวางแผนกลยุทธ์
การเตรียมการของประเทศไทยเพื่อรองรับการค้าเสรี
แนะนำทีมบริหารและหน่วยงานที่กำกับ
AEC กับระบบหลักประกันสุขภาพไทย
ภญ. อมรา วงศ์พุทธพิทักษ์ ที่ปรึกษาอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
วช.เพิ่มมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาสู่เชิงพาณิชย์
Nested loop and its applications.
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและการวิเคราะห์
แปล Slide. What is WIPO? The World Intellectual Property Organization (WIPO) is a specialized agency of the United Nations. It is dedicated to developing.
สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
นางสาวสรัญญา ชื่นเย็น (พี่ออย) เจ้าหน้าที่ศูนย์นวัตกรรมการจัดการ อ.ก้องภู นิมานันท์ อาจารย์ที่ปรึกษา 1.น.ส.นพรัตน์ ปฏิกรณ์ (คุ๊กกี้) นายบุรินทร์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริการ
การทำให้ดีขึ้น [improvement]
บทที่ 11 กฎหมายและจริยธรรม ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
Can we create and own them?
Market System Promotion & Development Devision
การเตรียมความพร้อมของSMEsไทยสู่...
การใช้คอมพิวเตอร์ในสังคมสารสนเทศ
กฎหมายสิทธิบัตร (Patent Law).
บทที่ 9 ชีวิตง่ายๆ ในโลกดิจิทัล
ความรู้เกี่ยวกับการ นำเข้าและส่งออก
สถานการณ์การผลิตและการตลาด พืชตระกูลถั่ว
การบริหารงานสอบบัญชี
Techniques of Environmental Law
มลพิษทางดิน (Soil Pollution or land Pollution)
Gucci v. Guess. Gucci v. Guess Gucci lost the court case in France to GUESS in February 2015 Gucci won the court case in Australia, in September 2015.
กฎหมายสิทธิบัตร (Patent Law).
โดย พระมหาปรีชา ปภสฺสโร พระวิทยากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
PPA 1106 สถาบันการเมืองและรัฐธรรมนูญ
GATT & WTO.
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
25/02/62 Equality Human dignity Human Rights Pitak kerdhom.
การประกันคุณภาพผลิตผลสดทางการเกษตรตามมาตรฐาน Codex
บทที่ 1 ความเบื้องต้นเกี่ยวกับ ความรับผิดละเมิด
กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจออนไลน์
การเปลี่ยนแปลงบริษัทและควบรวมกิจการ
แนวทางการปฏิบัติงานสอบบัญชี ปี 2561
อีคอมเมิร์ซกับจริยธรรม กฎหมาย และสภาพแวดล้อมทางสังคม
ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซด์นี้...
ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
สิทธิทางปัญญาและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
วิชา กฎหมายพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิต
การพัฒนาและการจัดการคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยศิลปากร
กระบวนการเรียกร้องสิทธิและการดำเนินคดีผู้บริโภค
หลักเศรษฐศาสตร์สำหรับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
มิติทางสังคมและจริยธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
มิติทางสังคมและจริยธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
หลักเศรษฐศาสตร์สำหรับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การจัดการกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
Review - Techniques of Environmental Law
หน่วยที่ 9 เครื่องโทรศัพท์.
SERVICE MARKETING การตลาดบริการ • ความหมายของการบริการ • ความสำคัญของการบริการ • ความแตกต่างระหว่างสินค้าและการบริการ • ประเภทธุรกิจบริการ.
พืชเกษตรอย่างครบวงจรในระดับพื้นที่
Integrated Information Technology
นิเทศงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
บทที่ 8 ผลิตภัณฑ์การบริหารการผลิต
การวิเคราะห์ข้อมูล เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด
งาน Trade Association’s President Club (TAP)
การจัดทำแผนปฏิบัติการ ระดับหน่วยงานกรมอนามัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560
ระบบทรัพย์สินทางปัญญาในโลกดิจิทัล
การวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องข้าว เพื่อการทบทวนประเด็นยุทธศาสตร์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริการ
บ่อเกิดแห่งสิทธิประเภทของสิทธิเสรีภาพสิทธิมนุษยชน สิทธิพลเมือง
หัวข้อการนำเสนอ ความเป็นมา นำเสนอเว็บไซต์ระบบคลังข้อมูลทางการค้าของไทย
บทที่ 7 การใช้คอมพิวเตอร์ในสังคมสารสนเทศ
เงินนอกงบประมาณ โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรตามเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านบัญชีในระบบ GFMIS (กระทรวงสาธารณสุข) นายธราธิป หนูเจริญ นักวิชาการคลังชำนาญการ.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สิทธิบัตรยา สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สิทธิบัตร สิทธิพิเศษที่ภาครัฐออกให้กับบุคคลหรือองค์กร ที่เป็นเจ้าของสิ่งประดิษฐ์แต่เพียงผู้เดียว เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลหรือองค์กรอื่นผลิต ขาย มีไว้เพื่อขาย และนำเข้าสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับความคุ้มครองนั้น โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือ อนุญาตก่อน

ทำให้เจ้าของสิทธิบัตรสามารถผูกขาดการผลิต การจำหน่าย และการนำเข้าสิ่งประดิษฐ์ โดยปราศจากคู่แข่ง ซึ่งหากไม่มีมาตรการควบคุมราคาอย่างเหมาะสม ผู้เป็นเจ้าของสิทธิบัตรสามารถ ตั้งราคาได้ตามที่ต้องการ ดังเช่นกรณียาที่มีสิทธิบัตร ซึ่งส่วนใหญ่มีราคาแพง จนเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงยาของผู้ป่วย

ในมุมหนึ่ง สิทธิบัตรทำให้เกิดแรงจูงใจในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ช่วยสร้างความมั่นใจในการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และช่วยให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ประดิษฐ์ไปสู่สาธารณะผ่านการเปิดเผยรายละเอียดของสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งของการขอรับสิทธิบัตร

แต่ในอีกมุมหนึ่ง อำนาจผูกขาดที่ผู้ทรงสิทธิได้รับ อาจทำให้สินค้ามีราคาสูงจนอาจเป็นอุปสรรค ต่อการเข้าถึงสินค้า โดยเฉพาะสินค้าสำคัญที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น ยารักษาโรค

ประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา มีความเห็นเกี่ยวกับสิทธิบัตรที่แตกต่างกันมาก ประเทศที่พัฒนาแล้วมักเลือกที่จะให้ความคุ้มครองที่เข้มงวด เนื่องจากมีความสามารถและมีทรัพยากรต่างๆ ที่จะใช้ประโยชน์จากความคุ้มครองที่เข้มงวดได้

ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนา มักเลือกที่จะให้ความคุ้มครองในระดับที่ ไม่เข้มงวดมากนัก เพราะประเทศกำลังพัฒนา มีศักยภาพในการจดสิทธิบัตรน้อยและ ไม่มีกำลังซื้อที่สูงพอที่จะเข้าถึงสินค้า ที่ได้รับการคุ้มครองได้

อย่างไรก็ตาม ประเทศพัฒนาแล้วประสบความสำเร็จ ในการเจรจาการค้าเสรีแบบพหุภาคีขององค์การการค้าโลก ผลักดันให้ประเทศกำลังพัฒนายกระดับความคุ้มครองของสิทธิบัตรให้เข้มแข็งขึ้น

ปี 2537 ประเทศภาคีสมาชิกองค์การการค้าโลก รวมทั้งไทย ได้ร่วมลงนามใน ความตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Trade-Related Aspect of Intellectual Property Rights หรือ TRIPS) ซึ่งกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่างๆ รวมทั้งสิทธิบัตร (สิทธิบัตร เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง)

สิ่งประดิษฐ์ที่สามารถได้รับการคุ้มครองสิทธิบัตร จะต้องมีความใหม่ มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น (inventive step) และ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้

ประเทศภาคีต้องให้สิทธิบัตรแก่สิ่งประดิษฐ์ในทุกสาขาเทคโนโลยี รวมทั้งการให้สิทธิบัตรแก่ยารักษาโรค กำหนดระยะเวลาคุ้มครองอย่างน้อย 20 ปี

ข้อตกลงทริปส์มีบทบัญญัติที่ป้องกัน ไม่ให้เจ้าของสิทธิบัตรใช้สิทธิตามสิทธิบัตร จนเกิดผลเสียต่อสังคมโดยรวม โดยระบุว่า การทำความตกลงขอใช้สิทธิจากเจ้าของสิทธิบัตรจะได้รับการยกเว้น หากประเทศสมาชิกมีกรณีฉุกเฉินของชาติ หรือภาวะที่เป็นเรื่องเร่งด่วน หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะที่มิใช่เชิงพาณิชย์

ต่อมาในการประชุม WTO รอบโดฮา ในปี 2544 ได้มีการประกาศปฏิญญาโดฮา สาระสำคัญคือ เน้นให้มีการใช้มาตรการยืดหยุ่นตามข้อตกลงทริปส์ เกี่ยวกับสิทธิบัตรยา ด้วยการประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ์เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ และในกรณีที่ประเทศนั้นไม่มีศักยภาพในการผลิต ให้สามารถนำเข้ายาชื่อสามัญราคาถูก จากประเทศอื่นได้

การบังคับใช้ข้อตกลงทริปส์ มีมาตรการผ่อนปรน โดยกำหนดระยะเวลาที่แตกต่างกัน สำหรับการแก้ไขกฎหมายภายในประเทศสมาชิกให้สอดคล้องกับข้อตกลง เนื่องจากประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลกมีความแตกต่างกันอย่างมากในระดับการพัฒนาเทคโนโลยี ดังนี้

ประเทศพัฒนาแล้ว ภายในปี 2538 ประเทศกำลังพัฒนา ภายในปี 2548 ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ภายในปี 2558

ในขณะเดียวกัน ประเทศมหาอำนาจได้นำมาตรการต่างๆ มาใช้เพื่อบีบบังคับประเทศกำลังพัฒนา ให้ปรับปรุงกฎหมายสิทธิบัตรให้มีการคุ้มครองสิทธิบัตรมากขึ้น โดยกดดันว่าจะมีมาตรการตอบโต้ต่างๆ เช่น การสูญเสียตลาดส่งออกและสิทธิพิเศษทางการค้า

ตั้งแต่ปี 2528 สหรัฐอเมริกาได้กดดันประเทศไทยเรื่องสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญา โดยยื่นข้อเสนอว่าจะให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่สินค้าไทยบางรายการ และให้ไทยยินยอมแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรเกี่ยวกับยาคือ ให้เพิ่มการคุ้มครองตัวยาและผลิตภัณฑ์ยา รวมทั้งยืดระยะเวลาการคุ้มครองจาก 15 ปี เป็น 20 ปี ในที่สุด ไทยยอมรับข้อเสนอของสหรัฐฯ แก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรในปี 2535

ประเทศไทยแก้กฎหมายสิทธิบัตร ก่อนกำหนดเวลาในข้อตกลงทริปส์ถึง 13 ปี ในช่วงก่อนปี 2535 ไทยมีขีดความสามารถในการผลิตยา ใกล้เคียงกับอินเดีย แต่อินเดียซึ่งถูกสหรัฐฯกดดันเช่นเดียวกับไทย อินเดียสามารถผ่านกระแสกดดันสำเร็จ เพิ่งแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรเมื่อปี 2548 ส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตยาของไทยตามหลังอินเดียอย่างไม่เห็นฝุ่น

มาตรการบังคับใช้สิทธิ คือ มาตรการทางกฎหมายที่อนุญาตให้หน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน ที่ไม่ใช่เจ้าของสิทธิบัตร สามารถใช้สิทธิในการผลิต การใช้ การนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีสิทธิบัตรได้

ในช่วงปี 2549 - 2551 รัฐบาลไทยโดยกระทรวงสาธารณสุข ประกาศใช้มาตรการ CL กับยา 7 รายการ ประกอบด้วย ยาโรคเอดส์ 2 รายการ ยาโรคหัวใจ 1 รายการ และยาบำบัดโรคมะเร็ง 4 รายการ

หลังปี 2548 ประเทศภาคีสมาชิกองค์การการค้าโลก ต้องให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา อย่างเข้มงวดภายใต้ข้อตกลง TRIPS ทำให้หลายประเทศซึ่งเป็นผู้ผลิตยาชื่อสามัญที่สำคัญของโลก เช่น บราซิล และอินเดีย ไม่สามารถผลิตยาชื่อสามัญที่ติดสิทธิบัตรได้ อีกต่อไป

ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย รวมทั้งประเทศไทย จึงไม่สามารถพึ่งพายาชื่อสามัญที่ติดสิทธิบัตรจากประเทศเหล่านี้ได้ จึงต้องมีมาตรการสนับสนุนเพื่อการแก้ไขปัญหาการเข้าไม่ถึงยาอย่างยั่งยืน เช่น พัฒนาและเลือกใช้มาตรการควบคุมราคายาและเพิ่มการเข้าถึงยาจำเป็นที่หลากหลาย ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนายาในประเทศ เพื่อการพึ่งตนเองด้านยาและสนับสนุนให้เกิด การเข้าถึงยาอย่างยั่งยืน

ในขณะที่การเจรจาเปิดเสรีในระดับพหุภาคีกำลังเผชิญกับภาวะชะงักงัน ประเทศต่างๆ ได้หันมาใช้การเจรจาเขตการค้าเสรีแบบทวิภาคี

ซึ่งการเจรจาเขตการค้าเสรีแบบทวิภาคีเป็นเครื่องมือสำคัญที่ประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ใช้ในการเรียกร้องให้ประเทศกำลังพัฒนายกระดับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้สูงขึ้นจนเกินกว่าระดับการคุ้มครองขั้นต่ำที่ระบุไว้ในข้อตกลง TRIPS เรียกสั้นๆ ว่า ทริปส์พลัส

เช่น การขยายอายุสิทธิบัตรเกินกว่า 20 ปี เพื่อชดเชยเวลาที่ล่าช้าจากการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตร และการขึ้นทะเบียนตำรับยา การใช้มาตรการชายแดนเพื่อยึดจับยาชื่อสามัญที่ถูกกฎหมายที่อยู่ในระหว่างขนส่ง การผูกขาดข้อมูลทางยา

สวัสดี