งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

มิติทางสังคมและจริยธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "มิติทางสังคมและจริยธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 887420 มิติทางสังคมและจริยธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
13 July 2002 มิติทางสังคมและจริยธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ  บทที่ 9 ทรัพย์สินทางปัญญา (ตอนที่ 2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชัย บุญเจือ

2 เนื้อหาสังเขป ตอนที่ 1 1. ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญา
2. การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ตอนที่ 2 3. การใช้งานอย่างชอบธรรม 4. ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 5. กรณีศึกษา: Google Books 20 October 2012

3 3 การใช้งานอย่างชอบธรรม
20 October 2012

4 3 การใช้งานอย่างชอบธรรม
การใช้งานอย่างชอบธรรม (Fair Use) หมายถึง การที่บุคคลสามารถทํางานอันมีลิขสิทธิ์ได้อย่างถูกกฎหมาย โดยไม่จําเป็นต้องขออนุญาตจากผู้ถือลิขสิทธิ์ (เจ้าของลิขสิทธิ์) [J. Quinn, 2010] อย่างไรก็ตาม งานที่นํามาทําซ้ํา หรือเผยแพร่จะต้องเป็นเพียงบางส่วน หรือเป็นการนํามาในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะถือว่าเป็นการใช้งานอย่างชอบธรรม เช่น การตัดข้อความบางส่วนของงานที่มีลิขสิทธิ์มาใช้ และมีการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น เพื่อประโยชน์ในการสอน การวิจัย การวิจารณ์ หรือการรายงานข่าว เป็นต้น 20 October 2012

5 3 การใช้งานอย่างชอบธรรม
ในประเทศสหรัฐอเมริกา การใช้งานอย่างชอบธรรมได้ระบุไว้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายลิขสิทธิ์ เช่นเดียวกับ ประเทศไทย ที่ได้ระบุการใช้งานอย่างชอบธรรมไว้ในลักษณะของ “ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์” ของพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ หมวดที่ 1 ส่วนที่ 6 ดังนี้ “มาตรา ๓๒ การกระทําแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้หากไม่ขัดต่อการแสวงหา ประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของ เจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ 20 October 2012

6 3 การใช้งานอย่างชอบธรรม
ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทําดังต่อไปนี้ วิจัยหรือเพื่อศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทําเพื่อหากําไร 2. ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท 3. ติชม วิจารณ์ หรือแนะนําผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น 20 October 2012

7 3 การใช้งานอย่างชอบธรรม
4. เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น 5. ทําซ้ํา ดัดแปลง นําออกแสดง หรือทําให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอํานาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว 6. ทําซ้ํา ดัดแปลง นําออกแสดง หรือทําให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทําเพื่อหากําไร 20 October 2012

8 3 การใช้งานอย่างชอบธรรม
7. ทําซ้ํา ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทําบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจําหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทําเพื่อหากําไร 8. นํางานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ 20 October 2012

9 3 การใช้งานอย่างชอบธรรม
มาตรา ๓๓ การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติ ตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง จากข้อยกเว้นดังกล่าว สามารถสรุปเป็นหลักเกณฑ์การพิจารณา “การใช้งานอย่างชอบธรรม” ในงานอันมีลิขสิทธิ์ ได้ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์และลักษณะการนําไปใช้ ส่วนใหญ่จะเป็นการนําไปใช้ด้วยวัตถุประสงค์ทางการศึกษา มากกว่าการนําไปใช้ในเชิงพาณิชย์ 20 October 2012

10 3 การใช้งานอย่างชอบธรรม
2. ลักษณะของงานอันมีลิขสิทธิ์ งานที่ไม่ใช่นวนิยาย หรือวรรณกรรม ส่วนใหญ่จะสามารถนําไปใช้อย่างชอบธรรมเพียงบางส่วนได้ ดังนั้น จึงไม่ควรนํางานที่เป็นนวนิยายหรือวรรณกรรมไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต 3. ปริมาณงานที่นํามาใช้ ควรตัดข้อความมาเพียงบางส่วนเท่านั้น ไม่ควรนํามาทั้งบท 4. ผลกระทบต่องานอันมีลิขสิทธิ์ หากงานที่นํามาใช้เป็นงานที่หมดอายุลิขสิทธิ์แล้ว จะมีโอกาสนําไปใช้อย่างชอบธรรมได้มากกว่างานที่ยังมีลิขสิทธิ์อยู่ ยังมีจําหน่ายในท้องตลาด) 20 October 2012

11 3 การใช้งานอย่างชอบธรรม
ยกตัวอย่างการใช้งานอย่างชอบธรรม โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ดังนี้ “อาจารย์นําวารสารไปไว้ในห้องสมุด เพื่อใช้เป็นแหล่งเนื้อหาที่จะสั่งงานให้นักศึกษาไปค้นคว้าจากวารสารเล่ม ดังกล่าว แต่เนื่องจากจํานวนนักศึกษามากเกินกว่าจํานวนวารสารในห้องสมุด อาจารย์จึงนํามาสแกนแล้วนําไฟล์ สแกนโพสต์ขึ้นบนเว็บไซต์ส่วนตัว จากนั้นจึงแจกรหัสผ่านให้นักศึกษาเข้าไปใช้ไฟล์สแกนวารสารนั้นได้” 20 October 2012

12 3 การใช้งานอย่างชอบธรรม
กรณีข้างต้น เป็นการสแกนวารสารเพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษาอย่างแท้จริง (ตามหลักข้อ 1) เป็นวารสาร ซึ่งมี ความเป็นไปได้ที่จะสามารถนํามาใช้โดยไม่ต้องขออนุญาต เนื่องจากไม่ใช่นวนิยายหรือวรรณกรรม (ตามหลักข้อ 2) เป็นการนําวารสารไปสแกนทั้งฉบับ (ขัดกับหลักข้อ 3) สําหรับหลักเกณฑ์ข้อที่ 4 หากวารสารนั้นยังวางจําหน่ายอยู่ จะ ถือว่าการกระทําของอาจารย์ได้ส่งผลกระทบต่อยอดขายของวารสาร แต่หากวารสารนั้นไม่มีวางจําหน่ายแล้ว จะถือว่า การกระทําของอาจารย์ไม่ส่งผลกระทบต่อยอดขายของวารสาร และถือว่าเป็นการนําไปใช้อย่างชอบธรรม 20 October 2012

13 3 การใช้งานอย่างชอบธรรม
สรุปตัวอย่างกรณีข้างต้น เป็นการกระทําที่ไม่ขัดหลักเกณฑ์ 3 ใน 4 ข้อ ถือว่าเป็นการกระทําที่ไม่เป็นการละเมิด ลิขสิทธิ์ นอกจากการที่ประเทศไทยได้มีการตราพระราชบัญญัติออกมาควบคุมการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว กรมทรัพย์สินทางปัญญาโดยกระทรวงพาณิชย์ ยังได้เข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านทรัพย์สินทางปัญญาของ ต่างประเทศด้วย ได้แก่ 20 October 2012

14 3 การใช้งานอย่างชอบธรรม
องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization) องค์การการค้าโลก (World Trade Organization) พิธีสารกรุงมาดริด (Madrid Protocol) สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (Paten Cooperation Treaty) ศึกษารายละเอียดของความร่วมมือแต่ละหน่วยงานได้จากเว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา 20 October 2012

15 4 ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
4.1 การขโมยความคิด การขโมยความคิด (Plagiarism) คือ การที่บุคคลขโมยความคิดและคําพูดของบุคคลอื่นมาเป็นผลงานของตน [Reynolds, 2007] เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การโจรกรรมผลงาน” หรือ “การโจรกรรมทางวิชาการ” 20 October 2012

16 4.1 การขโมยความคิด การขโมยความคิดหรือผลงานของผู้อื่น เป็นประเด็นที่มีการกล่าวถึงและให้ความสําคัญมากขึ้น โดยเฉพาะใน แวดวงการทําวิจัยและวิทยานิพนธ์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากแหล่งการสืบค้นงาน วิจัยของผู้อื่นและบทความต่างๆ นั้นสามารถเข้าถึงได้ง่ายจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้น จึงควรระมัดระวังเมื่อ ต้องการนําข้อความหรือผลงานของบุคคลอื่นมาใช้ โดยสามารถนํามาใช้ได้อย่างชอบธรรมคือเพียงบางส่วน และจะต้อง อ้างอิงถึงเจ้าของผลงานด้วย มิฉะนั้น จะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นการกระทําที่หลายมหาวิทยาลัยมีบทกําหนดโทษที่ ค่อนข้างรุนแรง 20 October 2012

17 4.1 การขโมยความคิด ดังนั้น จึงพบว่า หากใช้คําค้น “Plagiarism แปลว่า” ในเว็บไซต์ Google จะพบกับเว็บไซต์ที่เตือนให้ ระวังเรื่องการโจรกรรมผลงานทางวิชาการจํานวนมาก และการโจรกรรมผลงานทางวิชาการ ก็จัดว่าเป็น “การโจรกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา” ประเภทหนึ่ง 20 October 2012

18 4.1 การขโมยความคิด อย่างไรก็ตาม ได้มีหลายบริษัทจัดทําโปรแกรมให้บริการตรวจสอบการโจรกรรมความคิดดังกล่าวหลายราย ยกตัวอย่างเช่น บริษัท iParadigms ที่เว็บไซต์ หรือ บริษัท Glatt Plagiarism Services ที่ เว็บไซต์ 20 October 2012

19 4.2 การจดทะเบียนโดเมนเนมเพื่อแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ
เนื่องจากระบบการจดทะเบียนโดเมนเนม (Domain Name) ในปัจจุบันเป็นแบบ First-come, First-Served คือ บุคคลใดขอจดก่อนจะได้รับชื่อโดเมนเนมนั้นไปก่อน ดังนั้น จึงมีการแสวงหาผลประโยชน์จากช่องโหว่ของระบบ ดังกล่าว โดยการที่ผู้แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ จะไปขอจดทะเบียนโดเมนเนมที่มีชื่อตรงกับยี่ห้อสินค้าหรือชื่อบริษัท ที่มีชื่อเสียง ซึ่งหากเจ้าของชื่อบริษัทหรือยี่ห้อสินค้านั้นยังไม่ได้จดทะเบียนโดเมนเนมในชื่อดังกล่าว ผู้ประสงค์ร้ายก็จะ ได้สิทธิ์ในชื่อนั้นไป และหากเจ้าของชื่อบริษัทมาจดทะเบียนโดนเมนเนมภายหลัง จะไม่สามารถทําได้ เนื่องจากชื่อซ้ํา 20 October 2012

20 4.2 การจดทะเบียนโดเมนเนมเพื่อแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ
อาจเกิดกรณีที่เจ้าของชื่อบริษัทหรือยี่ห้อสินค้าไปขอซื้อชื่อโดเมนเนมจากผู้ประสงค์ร้ายต่ออีกทอดหนึ่ง ซึ่งแน่นอน ว่าผู้ประสงค์ร้ายจะต้องเรียกราคาที่สูงเกินความเป็นจริง เนื่องจากเป็นแผนการของผู้ประสงค์ร้ายเองที่ต้องการจะหา ผลกําไรจากผลต่างของค่าจดทะเบียน ลักษณะดังกล่าว เรียกว่า “การจดทะเบียนโดนเมนเนมเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ (Cybersquatting)” นั่นเอง 20 October 2012

21 4.2 การจดทะเบียนโดเมนเนมเพื่อแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ
ดังนั้น ปัจจุบันบริษัทต่างๆ จึงนิยมไปขอจดทะเบียนโดเมนเนมให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยนอกจากจะต้อง จดทะเบียนโดเมนเนมทันทีที่ทราบว่าจะต้องพัฒนาเว็บไซต์ของบริษัทแล้ว ยังจะต้องจดทะเบียนให้ครอบคลุมทุกภาษา (หากเป็นธุรกิจข้ามชาติ) ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ตนเสียผลประโยชน์ในส่วนนี้ไป 20 October 2012

22 4.3 Open Source Software Open Source Software คือ ซอฟต์แวร์ที่โปรแกรมเมอร์หรือผู้ใช้รายอื่นสามารถนําซอร์สโค้ดไปใช้ต่อโดย ม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น ระบบปฏิบัติการ Linux, Apache, Mozilla Firefox, OpenOffice, PHP, Ruby, GNU Compiler, MySQL, BIND เป็นต้น 20 October 2012

23 4.3 Open Source Software แม้ว่าซอฟต์แวร์ที่มีเจ้าของ (Proprietary Software) จะทํารายได้จากค่าลิขสิทธิ์ให้กับผู้พัฒนา แต่ปัจจุบัน ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์หลายรายก็หันมาพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Open Source บ้างเช่นกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากภาวะการแข่งขัน ที่รุนแรงจนต้องหันมาเอาใจลูกค้า หรือแม้กระทั่งหันมาดึงดูดความสนใจด้วยการจัดชุดซอฟต์แวร์ ให้มีทั้งแบบ Open Source ที่สามารถทํางานได้ในระดับหนึ่ง และหากต้องการความสามารถที่เพิ่มขึ้นก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในจํานวนที่ ลูกค้าสามารถซื้อได้ 20 October 2012

24 4.3 Open Source Software ปัจจุบัน มีผู้ให้ความสนใจและสนับสนุน Open Source Software เพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากข้อดีของ Open Source Software มีหลายประการ เช่น 1. ไม่เสียค่าใช้จ่าย 20 October 2012

25 4.3 Open Source Software 2. ซอฟต์แวร์บางผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ มีประสิทธิภาพและมีเสถียรภาพมากกว่าซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์บาง ผลิตภัณฑ์ เช่น ระบบปฏิบัติการ Linux ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงไม่แพ้ระบบปฏิบัติการ Windows ของ บริษัท Microsoft เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากกลุ่มโปรแกรมเมอร์อื่นๆ เมื่อพบว่ามี Bug หรือมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นใน Open Source Software ที่ตนนํามาใช้ ก็จะร่วมกันแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว ซึ่งจะทําให้ซอฟต์แวร์นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ 20 October 2012

26 4.3 Open Source Software 3. การนําซอร์สโค้ดมาพัฒนาต่อยอด ทําให้ซอฟต์แวร์มีความสามารถที่หลากหลายมากขึ้น เช่น ระบบปฏิบัติการ Linux ที่มีผู้นําไปพัฒนาต่อแตกต่างกันไปเป็น Ubuntu, Red Hat Fedora และ Mandriva ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจํานวนมากนิยมนําไปใช้บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของตน 4. เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถอัพเกรด หรือจัดหาได้ง่าย โดยผ่านทางเว็บไซต์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 20 October 2012

27 4.3 Open Source Software 5. ลดความลําบากใจเมื่อต้องแบ่งปันซอฟต์แวร์ให้เพื่อน กล่าวคือ หากเป็นซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ กรณีที่ต้องการแบ่งปันให้เพื่อนใช้ จะติดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ ซึ่งทําให้เป็นการตัดสินใจที่ลําบาก แต่หากเป็น Open Source Software จะทําให้เพื่อนสามารถแบ่งปันซอฟต์แวร์ให้แก่กันโดยไม่ต้องลําบากใจ 6. ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการผลิตซอฟต์แวร์ ให้กลายเป็นอุตสาหกรรมที่ให้ความสําคัญกับการบริการเพิ่มมากขึ้น 20 October 2012

28 4.3 Open Source Software คําถามสําหรับประเด็นนี้ คือ เหตุใดบริษัทหรือกลุ่มบุคคลยังคงพัฒนา Open Source Software ในเมื่อ ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ ไม่ก่อให้เกิดรายได้? คําตอบมีหลายประการ เช่น 1. ผู้พัฒนาต้องการวิธีแก้ Bug ของโปรแกรมที่ดีที่สุด จากสมาชิกในกลุ่ม Open Source 2. มีผู้ใช้บางกลุ่ม ที่เมื่อใช้งาน Open Source Software แล้วมีความรู้สึกต้องการจ่ายค่าตอบแทนแก่กลุ่มผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งการจ่ายค่าตอบแทนอาจอยู่ในรูปแบบการบริจาค 20 October 2012

29 4.3 Open Source Software 3. บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ บางครั้งจําเป็นต้องพัฒนาโปรแกรมแบบ Open Source เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดบางอย่างของซอฟต์แวร์ที่จําหน่ายไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในส่วนของโปรแกรม Open Source แต่จะคิดเฉพาะค่าแรงของทีมงานติดตั้ง 4. บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์บางราย ได้ทําการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Open Source ขึ้นมา เพื่อมุ่งหวังผลตอบแทนในรูปแบบอื่น เช่น ต้องการค่าบํารุงรักษาด้วย Open Source Software ที่พัฒนาขึ้นมา แต่อ้างว่าไม่มีค่าใช้จ่าย มีเพียงค่าบริการบํารุงรักษาระบบเท่านั้น 20 October 2012

30 5 กรณีศึกษา กรณีศึกษา: Google Books 9 Google Books.docx
20 October 2012

31 บทสรุปกรณีศึกษา ผู้อ่านจะเห็นว่าในต่างประเทศจะจริงจังกับเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างมาก แม้ว่าแผนงานห้องสมุดดิจิทัลของ Google จะได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยชื่อดังหลายแห่ง รวมทั้งห้องสมุดประชาชนในนิวยอร์กก็ตาม อย่างไรก็ตาม เมื่อ Google ถูกฟ้องร้อง ก็ได้หาวิธีการแก้ไขที่ได้รับความพึงพอใจจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น สํานักพิมพ์ นักเขียน ประชาชน หรือแม้แต่ Google เองก็ยังได้รับผลประโยชน์จากการสร้างฐานข้อมูลหนังสือในกรณี นี้ด้วย 20 October 2012

32 สรุป ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือ สร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชํานาญ โดยไม่คํานึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธี ในการแสดงออก ดังนั้น ทรัพย์สินทางปัญญาจึงสามารถแสดงออกได้ทั้งในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้และสิ่งที่จับต้อง ไม่ได้ เนื่องจาก “สิทธิความเป็นเจ้าของ (Property Rights)” ของสิ่งที่มนุษย์ได้ลงแรงสร้างขึ้นมาด้วยความคิดและ ความพยายาม จึงทําให้เกิดความหวงแหนในทรัพย์สินที่สร้างขึ้น รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาด้วย ดังนั้น ตามกฎหมาย คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของหลายประเทศ จึงได้จําแนกการคุ้มครองออกเป็นหลายประเภท ประเภทที่สําคัญ ได้แก่ ลิขสิทธิ์, เครื่องหมายการค้า, ความลับทางการค้า และสิทธิบัตร 20 October 2012

33 สรุป ลิขสิทธิ์ (Copyrights) สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทําการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทําขึ้นโดยการใช้ สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง ผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครอง ทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของ บุคคลอื่น 20 October 2012

34 สรุป ความลับทางการค้า (Trade Secret) หมายถึง ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือยังเข้าถึงไม่ได้ ในหมู่บุคคลซึ่งโดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เนื่องจาก การเป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้ มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ สิทธิบัตร (Patent) หมายถึง หนังสือสําคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ตามที่กําหนดไว้ใน พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2542 20 October 2012

35 สรุป การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา คือการนําผลงานซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นไปใช้โดยไม่รับอนุญาต หรือ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทําให้เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะด้านมูลค่าในทางพาณิชย์ ใน หลายประเทศจึงพยายามบังคับใช้กฎหมายให้ครอบคลุม เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญานั้นเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็น ส่วนใหญ่ ซึ่งเทคโนโลยีมักมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว หากกฎหมายไม่ครอบคลุมอาจกลายเป็นช่องโหว่ของการ ละเมิดได้ 20 October 2012

36 1 June 2010 E-mail:wichai@buu.ac.th 13 July 2002

37 คำถามท้ายบทที่ 9 ตอนที่ 2
ทั้งหมดอยู่ในตอนที่ 1 13 October 2007

38 ส วั ส ดี บทที่ 2 ไอทีคืออะไร


ดาวน์โหลด ppt มิติทางสังคมและจริยธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google