งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชา กฎหมายพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชา กฎหมายพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 001232 วิชา กฎหมายพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิต
(Fundamental Laws for Quality of Life) ผู้สอน รองศาสตราจารย์จิรประภา มา-กลิ่น “อตหิ อตโน นาโถ” “หิริ โอตัปปะ” “วิริเยนะ ทุกขะมัจเจติ” 04/04/2019 มีไว้ใช้เพื่อการเรียนการสอนเท่านั้น

2 กฎหมายสูงสุดของประเทศคือ..กฎหมายอะไร?
กฎหมายคือ... กฎหมายสูงสุดของประเทศคือ..กฎหมายอะไร? ทำไมต้องมี...สูงสุดของประเทศ..? สำคัญอย่างไร ?(ศักดิ์ของกฎหมาย) เห็นด้วยหรือไม่ ที่ต้องมีกฎหมาย? 04/04/2019

3 กฎหมายมีลักษณะทั่วไป *๕ ประการคือ ต้องเป็นคำสั่ง หรือข้อบังคับ
เป็นคำสั่ง หรือข้อบังคับที่มาจากรัฎฐาธิปัตย์ เป็นคำสั่ง หรือข้อบังคับ ที่ใช้ได้ ทั่วไป บัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม มีสภาพบังคับ 04/04/2019

4 รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ กม สูงสุดของประเทศ
พระราชบัญญัติ ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ ตามคำแนะนำยินยอมของรัฐสภา พระราชกำหนด ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ โดยคำแนะนำยินยอมของคณะรัฐมนตรี.... 04/04/2019

5 พระราชกฤษฎีกา ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
กฎกระทรวง ตราขึ้นโดยรัฐมนตรีประจำกระทรวง กฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่นข้อบังคับ ข้อบัญญัติต่างๆ 04/04/2019

6 ความแตกต่างระหว่างความผิดทางแพ่งและอาญา ตัวอย่าง กรณี การกระทำละเมิด
ข้อสังเกต ความผิดทางแพ่ง ๑.คำนึงถึงการเกิดความเสียหาย ๒.ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น(ความเสียหายที่เกิดขึ้น)” 04/04/2019

7 ข้อสังเกตหลักๆ ถ้าเป็นความผิดทางอาญา (จะแตกต่างจากความผิดทางแพ่ง)
๑ เป็นเรื่องที่มุ่งถึงความสงบสุข ความมั่นคงในสังคม เป็นสำคัญ ๒.มีโทษ(หนักไปหาเบาสุด) ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน 04/04/2019

8 ตัวอย่าง ความผิดทางแพ่ง เช่น
มาตรา ๔๒๐“ผู้ใด/จงใจ/หรือ/ประมาทเลินเล่อ /ทำ/ต่อบุคคลอื่น/โดยผิดกฎหมาย/ให้เขาเสียหาย/ถึงแก่ชีวิตก็ดี /แก่ร่างกายก็ดี /อนามัยก็ดี /เสรีภาพก็ดี /ทรัพย์สิน/หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี /ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” 04/04/2019

9 วิธีการฝึกพิจารณาว่ากระทำความผิดทางแพ่ง เช่น กรณีกระทำละเมิด ตาม ม.420
กรณีความผิดทางแพ่ง สามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้ ดังนี้ คือ อันดับแรก ให้พิจารณาถึงองค์ประกอบภายนอก และองค์ประกอบภายใน ? คือ? 04/04/2019

10 คำถาม หรือข้อเท็จจริง
อ.หมู ขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูงชน นส. เย็นฤดี ขาหัก อ.หมูกระทำผิดฐานละเมิด ตาม ม.420หรือไม่ และต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย หรือไม่ อย่างไร? 04/04/2019

11 3.วัตถุแห่งการกระทำ (สิ่งที่ถูกกระทำ) ....นส. เย็นฤดี (ขาหัก)
องค์ประกอบภายนอก 1.ผู้กระทำ .....อ หมู 2.การกระทำ.....ขับรถยนต์ ชน.. 3.วัตถุแห่งการกระทำ (สิ่งที่ถูกกระทำ) ....นส. เย็นฤดี (ขาหัก) 04/04/2019

12 องค์ประกอบภายใน ..ภายในไหน..ภายในใจเรา คือ?กระทำ โดย..
จงใจ (ต่าง กับเจตนา ตาม ปอ ม.59 วรรค 2 หรือไม่ อย่างไร?) หรือ ประมาทเลินเล่อ (ปอ. ม.59 วรรค 4 นำมาปรับใช้โดยอนุโลม ?) 04/04/2019

13 การกระทำโดยงดเว้น(ต้องมีหน้าที่ฯให้กระทำด้วย)....มีอะไรบ้าง?
คำว่า กระทำ คือ? ปอ. 59 วรรคท้าย “การกระทำ/ ให้หมายความรวมถึง การให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้น การที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย” การกระทำโดยงดเว้น(ต้องมีหน้าที่ฯให้กระทำด้วย)....มีอะไรบ้าง? 04/04/2019

14 1.กระทำตามหน้าที่ โดยกฎหมายกำหนดให้กระทำ เช่น พ่อแม่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร ซึ่งเป็นผู้เยาว์
2.กระทำตามหน้าที่ อันเกิดจากความสัมพันธ์ครั้งก่อน เช่น ช่วยคนตาบอด คนชราข้ามถนน 3.กระทำโดยงดเว้นไม่กระทำตามหน้าที่ ในฐานะผู้มีวิชาชีพ เช่น หมอ พยาบาลต้องดูแลคนไข้ ครูสอนว่ายน้ำ 04/04/2019

15 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรค 2 (นำมาปรับใช้โดยอนุโลม)
“กระทำโดย เจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำ และในขณะเดียวกัน เช่น?ผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือ ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น”คือ? อย่างไร?เช่น? 04/04/2019

16 มาตรา 59 วรรค 4 “กระทำโดยประมาท ได้แก่ กระทำความผิด มิใช่ โดยเจตนา แต่กระทำ โดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัย และพฤติการณ์ และผู้กระทำ อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่” คือ….? อย่างไร..? เช่น ? 04/04/2019

17 กรณีพิจารณา ว่า การกระทำใดเป็นความผิดอาญา หรือไม่ อย่างไร?
วิธีฝึกพิจารณาด้วยตนเอง เบื้องต้น ต้องพิจารณา องค์ประกอบภายนอก และองค์ประกอบภายใน ของความผิดนั้นๆว่าครบองค์ประกอบ หรือไม่ อย่างไร? ข้อสังเกตและข้อควรจำ จะเห็นว่า วิธีการพิจารณา เหมือนๆกับความผิดทางแพ่ง 04/04/2019

18 2.การกระทำ (รวมถึงการงดเว้นไม่กระทำตามหน้าที่ฯ) 3.วัตถุแห่งการกระทำ
องค์ประกอบภายนอก 1.ผู้กระทำ 2.การกระทำ (รวมถึงการงดเว้นไม่กระทำตามหน้าที่ฯ) 3.วัตถุแห่งการกระทำ องค์ประกอบภายใน เจตนา ประมาท ไม่เจตนา หลักการพิจารณาหลักเหมือนๆกับการกระทำผิดทางแพ่ง 04/04/2019

19 ตัวอย่าง เช่น กรณีทำร้ายร่างกายผู้อื่นมาตรา ๒๙๕ “ผู้ใด/ทำร้าย/ผู้อื่น/จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย/หรือจิตใจของผู้อื่น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษ...” 04/04/2019

20 การกระทำนี้ องค์ประกอบภายใน คือ กระทำโดยเจตนา คือ? อย่างไร?
ข้อสังเกต ข้อควรจำ การกระทำนี้ องค์ประกอบภายใน คือ กระทำโดยเจตนา คือ? อย่างไร? ดู ตาม มาตรา 59 วรรคหนึ่ง (นำมาปรับใช้โดยอนุโลม) 04/04/2019

21 ปอ.อาญา ม.59 วรรคหนึ่ง “ บุคคลจะต้อง “รับผิด” ในทางอาญา ก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่ จะได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิด แม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา” 04/04/2019

22 ป.อาญา มาตรา 290 “ผู้ใด/มิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้าย/ผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ผู้นั้น ถึงแก่ความตาย ...ต้องระวางโทษ...” 04/04/2019

23 ป. อาญา มาตรา ๓๐๐ “ผู้ใด/กระทำโดยประมาทและการกระทำ/นั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษ ” 04/04/2019

24 ป.อาญา มาตรา ๓๕๘ “ผู้ใด/ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่ง ทรัพย์/ของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษ...” 04/04/2019

25 มาตรา ๓๖๑ “ความผิดตามมาตรา ๓๕๘ และมาตรา ๓๕๙ เป็นความผิดอันยอมความได้”
04/04/2019

26 ป.อาญา ข้อสังเกต ข้อควรจำ อายุความในการร้องทุกข์ สำหรับความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 .... มีกำหนดเวลาสามเดือน นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำความผิดประกอบกันทั้งสองประการ 04/04/2019

27 ข้อสังเกต ให้สังเกตด้วยว่า. บางกรณีอาจมีความผิดได้ ทั้งทางแพ่งและอาญา
ข้อสังเกต ให้สังเกตด้วยว่า.. บางกรณีอาจมีความผิดได้ ทั้งทางแพ่งและอาญา..ได้ แม้กระทำในเรื่องเดียวกัน ถ้าหากเข้าองค์ประกอบที่กฎหมายเหล่านั้น กำหนดไว้ ตัวอย่าง กรณีศึกษา เช่น อาจารย์หมู/ขับรถชน/นางสาวเย็นฤดีขาหัก ผิดอะไร อย่างไรบ้าง? 04/04/2019

28 กรณีนี้ ผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตาม ม.358 หรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด?
หรือ กรณีศึกษา เช่น นิสิต ก. เหม็นขี้หน้า นิสิต ข. นิสิต ก. (ผู้กระทำ)/จึงได้ชกและตบตี (ทำร้ายร่างกาย)(การกระทำ)/นิสิต ข จนแขนและฟันเกือบหัก(วัตถุแห่งการกระทำ) ผิดอะไร อย่างไร? และหากกรณีนี้ปรากฏว่า ระหว่างที่นิสิต ก/ตบตี/นิสิต ข นั้น มือของนิสิต ก./ ไปเกี่ยวโดนสร้อยคอ/ของ นิสิต ข. คู่กรณีขาด โดยบังเอิญ.. เช่น นี้ นิสิต ก. ผิดอะไร อย่างไร? กรณีนี้ ผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตาม ม.358 หรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด? 04/04/2019

29 ลักษณะของสัญญา ยืม (ไม่มีแบบ) ? มี 2 ประเภท ยืมใช้คงรูป
มาตรา 640 อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า “ผู้ให้ยืม”ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า “ผู้ยืม”ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว” 04/04/2019

30 ผศ.จิรประภา มากลิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
มาตรา ๖๕๐“ยืมใช้สิ้นเปลือง คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืม/ โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน /ชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้น/เป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม /และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิดและปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น” 04/04/2019 ผศ.จิรประภา มากลิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

31 หมายความว่าอะไร อย่างไร?
มาตรา ๖๕๓ “การกู้ยืมเงิน กว่าสองพันบาทขึ้นไป ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่(ไม่ได้) หมายความว่าอะไร อย่างไร? 04/04/2019

32 .... วรรค 2 ..ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือ จะนำสืบการใช้เงินต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว” 04/04/2019

33 กรณีศึกษา -กู้ยืมเงิน ไม่มีหลักประกัน มีผลอย่างไร? จำเป็นต้องมีหลักประกัน หรือไม่ อย่างไร? -กู้ยืมเงิน ที่มีหลักประกัน มีผลดี ผลเสีย หรือไม่ อย่างไร อะไรคือหลักประกันที่ดี? 04/04/2019

34 ลักษณะสัญญาค้ำประกัน ไม่มีแบบ สัญญาเกิดขึ้นเมื่อไหร่?
มาตรา ๖๘๐“ อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ค้ำประกัน /ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง/ เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น วรรค ” หน้าถัดไป.. 04/04/2019

35 หลักฐานเป็นหนังสือ คืออะไร อย่างไร? สำคัญแค่ไหน อย่างไร?
วรรค 2 อนึ่ง สัญญาค้ำประกัน ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ (ฟ้องไม่ได้)” หลักฐานเป็นหนังสือ คืออะไร อย่างไร? สำคัญแค่ไหน อย่างไร? 04/04/2019

36 มาตรา ๗๐๒ “อันว่าจำนอง คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนอง เอาทรัพย์สิน(มาตรา ๗๐๓) “ตรา”(ดู มาตรา ๗๑๔)ไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ โดย ไม่ส่งมอบทรัพย์สิน (กรรมสิทธิ์ยังอยู่ที่ผู้จำนอง โอนไปยังคนอื่นสิทธิจำนองก็ตกติดไปเสมอกับตัวทรัพย์ที่จำนองนั้น) นั้นให้แก่ผู้รับจำนอง…..” 04/04/2019

37 มาตรา 703 “อันอสังหาริมทรัพย์นั้นอาจจำนองได้ไม่ว่าประเภท ใด ๆ
สังหาริมทรัพย์อันจะกล่าวต่อไปนี้ก็อาจจำนองได้ดุจกัน หากว่า ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมายคือ ”(หน้าถัดไป) 04/04/2019

38 (ต่อ)(1) เรือกำปัน หรือเรือมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือ เรือยนต์มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป (2) แพ (3) สัตว์พาหนะ (4) สังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งกฎหมายหากบัญญัติไว้ให้จดทะเบียน เฉพาะการ..” 04/04/2019

39 ลักษณะสำคัญของสัญญาจำนำ –ไม่มีแบบ สัญญาเกิดขึ้น เมื่อ... ?
มาตรา ๗๔๗ “อันว่าจำนำนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้จำนำ” /ส่งมอบ “สังหาริมทรัพย์” สิ่งหนึ่ง/ให้แก่ บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับจำนำ”/ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้.....” 04/04/2019

40 กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาคือ....? อย่างไร?
..กฎหมายอะไรบ้าง...ทราบหรือไม่? 04/04/2019

41 มาตรา ๑๓๗ “ทรัพย์หมายความว่า...วัตถุมีรูปร่าง”
มาตรา ๑๓๘ “ทรัพย์สิน หมายรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้” มีความใหม่ มีการแสดงออกซึ่งความคิด เมื่อได้รับการคุ้มครองฯเจ้าของ หรือผู้สร้างสรรค์ย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว(มาตรา ๑๕) 04/04/2019

42 เครื่องหมายการค้าคือ........?
ลิขสิทธิ์คือ....? สิทธิบัตรคือ.....? เครื่องหมายการค้าคือ ? กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยมีกฎหมายอะไรบ้าง...? 04/04/2019

43 การคุ้มครองลิขสิทธิ์ก็น่าจะด้วยเหตุผลหลายประการด้วยกัน
แต่สิ่งที่เป็นเหตุผลสำคัญก็น่าจะเนื่องจากเหตุผล 3 ประการดังต่อไปนี้คือ 2.1.เหตุผลทางด้านความเป็นธรรมตามธรรมชาติ 2.2.เหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ 2.3.เหตุผลทางสังคม 04/04/2019

44 มาตรา 6 งานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด..... 04/04/2019

45 การคุ้มครองลิขสิทธิ์ ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธี หรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ 04/04/2019

46 มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ...... 04/04/2019

47 (2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น (4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ..... 04/04/2019

48 (5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น 04/04/2019

49 (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน (3).................
มาตรา 15 ภายใต้บังคับมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 14 เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียว (Exclusive rights)ดังต่อไปนี้ (1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน (3) 04/04/2019

50 4) ให้ ประโยชน์ อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
(3) ให้เช่าต้นฉบับ หรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง 4) ให้ ประโยชน์ อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น (5) อนุญาตให้ผู้อื่น ใช้สิทธิตาม (1) (2) หรือ (3) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใด หรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้” 04/04/2019

51 มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

52 (1) วิจัย หรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้ (1) วิจัย หรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร (2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเอง และบุคคลอื่นในครอบครัว หรือญาติสนิท …… 04/04/2019

53 ...... (3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงาน โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น……... (6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ โดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร 04/04/2019

54 (8) นำงานนั้นมาใช้เป็น ส่วนหนึ่ง ในการถาม และตอบในการสอบ
(7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร (8) นำงานนั้นมาใช้เป็น ส่วนหนึ่ง ในการถาม และตอบในการสอบ 04/04/2019

55 สิทธิบัตร มาตรา ๓ในพระราชบัญญัตินี้
"สิทธิบัตร" หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กำหนดในหมวด ๒ และหมวด ๓ แห่งพระราชบัญญัตินี้ "อนุสิทธิบัตร" หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ ตามที่กำหนดในหมวด ๓ ทวิ แห่งพระราชบัญญัตินี้ 04/04/2019

56 "การประดิษฐ์" หมายความว่า การคิดค้น หรือคิดทำขึ้น อันเป็นผลให้ ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์ หรือกรรมวิธี 04/04/2019

57 "กรรมวิธี" หมายความว่า วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิต หรือการเก็บรักษาให้คงสภาพ หรือให้มีคุณภาพดีขึ้น หรือการปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์ และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้น ๆ ด้วย 04/04/2019

58 "แบบผลิตภัณฑ์" หมายความว่า รูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบ ของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้ 04/04/2019

59 มาตรา ๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๙ (หน้าถัดไป) การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบ ด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ (๒) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และ (๓) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม 04/04/2019

60 มาตรา ๙ การประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ
(๑) จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตาม ธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช (๒) กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (๓) ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ (๔) วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์ (๕) การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน 04/04/2019

61 มาตรา ๓๖ ผู้ทรงสิทธิบัตรเท่านั้นมีสิทธิดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ สิทธิในการผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร (๒) ในกรณีสิทธิบัตรกรรมวิธี สิทธิในการใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร ผลิตใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้ กรรมวิธีตามสิทธิบัตร... 04/04/2019

62 ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่
(๑) การกระทำใด ๆ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือวิจัย ทั้งนี้ ต้องไม่ขัดต่อการใช้ประโยชน์ตามปกติของผู้ทรงสิทธิบัตร และไม่ทำให้เสื่อมเสียต่อประโยชน์อันชอบธรรมของผู้ทรงสิทธิบัตรเกินสมควร (๔) การกระทำใด ๆ เกี่ยวกับการขอขึ้นทะเบียนยา โดยผู้ขอมีวัตถุประสงค์ที่จะผลิต จำหน่าย หรือนำเข้าซึ่งผลิตภัณฑ์ยาตามสิทธิบัตร หลังจากสิทธิบัตร ดังกล่าวสิ้นอายุลง.... 04/04/2019

63 เครื่องหมายการค้า มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ "เครื่องหมาย" หมายความว่า ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ หรือสิ่งเหล่านี้อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างรวมกัน แต่ไม่หมายความรวมถึงแบบผลิตภัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร.... 04/04/2019

64 04/04/2019

65 "เครื่องหมายบริการ" หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายบริการนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น 04/04/2019

66 "เครื่องหมายรับรอง" หมายความว่า เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้ หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบวิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่นใดของสินค้านั้น หรือเพื่อรับรองเกี่ยวกับสภาพ คุณภาพ ชนิด หรือคุณลักษณะอื่นใดของบริการนั้น 04/04/2019

67 04/04/2019

68 04/04/2019

69 "เครื่องหมายร่วม" หมายความว่า เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้หรือจะใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกันหรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคลหรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน 04/04/2019

70 04/04/2019

71 ผศ จิรประภา มากลิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
มาตรา 6 เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ (2) เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัตินี้และ (3) ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือน หรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว 04/04/2019 ผศ จิรประภา มากลิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

72 เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ม.7
เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะที่ทำให้ประชาชน หรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น 04/04/2019

73 อย่างไร ที่ไม่เล็งถึงลักษณะ หรือคุณสมบัติของสินค้า?
เครื่องหมายการค้าที่มี หรือประกอบด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ (๑) ชื่อตัว ชื่อสกุล.... ชื่อเต็มของนิติบุคคล..หรือชื่อลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนในทางการค้าที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ และไม่เล็งถึงลักษณะ หรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง อย่างไร ที่ไม่เล็งถึงลักษณะ หรือคุณสมบัติของสินค้า? 04/04/2019

74 (๒) คำ หรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะ หรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดฯ Why? (๓) กลุ่มของสีที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ หรือตัวหนังสือ ตัวเลข หรือคำที่ประดิษฐ์ขึ้น 04/04/2019

75 (๔) ลายมือชื่อ ของผู้ขอจดทะเบียน หรือของเจ้าของเดิมของกิจการของผู้ขอจดทะเบียน หรือลายมือชื่อของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว (๕) ภาพ ของผู้ขอจดทะเบียน หรือของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว หรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้วโดยได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้น.. 04/04/2019

76 (๖) ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น
ข้อสังเกต ชื่อ คำ หรือข้อความที่ไม่มีลักษณะตาม ((๑) หรือ (๒))....อันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กม.ฉบับนี้กำหนดไว้ แต่.. หากได้มีการจำหน่ายเผยแพร่ หรือโฆษณา สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้วฯ...ก็ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ 04/04/2019

77 เครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม พรบ.นี้ ม.6 ประกอบ ม.8
(๑) ตราแผ่นดิน พระราชลัญจกร ลัญจกรในราชการ ตราจักรี ตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตราประจำตำาแหน่ง ตราประจากระทรวง ทบวง กรมหรือตราประจำจังหวัด (๒) ธงชาติของประเทศไทย ธงพระอิสริยยศ หรือธงราชการ (๓) พระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย พระปรมาภิไธยย่อ พระนามาภิไธยย่อหรือนามพระราชวงศ์...... 04/04/2019

78 (๔) พระบรมฉายาลักษณ์ หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ พระราชินีหรือรัชทายาท
(๕) ชื่อ คำ ข้อความ หรือเครื่องหมายใด อันแสดงถึงพระมหากษัตริย์ พระราชินีรัชทายาท หรือพระราชวงศ์ 04/04/2019

79 (๗) เครื่องหมายราชการ เครื่องหมายกาชาด นามกาชาด หรือกาเจนีวา
(๖) ธงชาติ หรือเครื่องหมายประจำชาติของรัฐต่างประเทศ ธงหรือ เครื่องหมายขององค์การระหว่างประเทศ ตราประจำประมุขของรัฐต่างประเทศ เครื่องหมายราชการและเครื่องหมายควบคุมและรับรองคุณภาพสินค้าของรัฐต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ หรือชื่อและชื่อย่อของรัฐต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ของรัฐต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศนั้น (๗) เครื่องหมายราชการ เครื่องหมายกาชาด นามกาชาด หรือกาเจนีวา 04/04/2019

80 (๘) เครื่องหมายที่เหมือน หรือคล้ายกับ เหรียญ ใบสำคัญ หนังสือรับรอง ประกาศนียบัตร หรือเครื่องหมายอื่นใดอันได้รับเป็นรางวัลในการแสดง หรือประกวดสินค้าที่รัฐบาลไทย ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐของประเทศไทย รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศได้จัดให้มีขึ้น เว้นแต่ผู้ขอจดทะเบียนจะได้รับเหรียญ ใบสำคัญ หนังสือรับรอง ประกาศนียบัตร หรือเครื่องหมายเช่นว่านั้น เป็นรางวัลสาหรับสินค้านั้น และใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้านั้น แต่ทั้งนี้ ต้องระบุปีปฏิทินที่ได้รับรางวัลด้วย (๙) เครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรัฐประศาสโนบาย 04/04/2019

81 (๑๑) เครื่องหมายที่คล้ายกับ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗)
(๑๐) เครื่องหมายที่เหมือนกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด หรือคล้ายกับเครื่องหมายดังกล่าว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของ หรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนไว้แล้ว หรือไม่ก็ตาม (๑๑) เครื่องหมายที่คล้ายกับ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) (๑๒) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น (๑๓) เครื่องหมายอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด 04/04/2019

82 เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้อีกประการ คือ
ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือน หรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว เช่น สตาร์บัง คล้ายกับสตาร์บัคส์แบบนี้ไม่ได้ 04/04/2019


ดาวน์โหลด ppt วิชา กฎหมายพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google