การบริหารการทดสอบระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน O-NET ปีการศึกษา 2559 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 18
การบริหารการจัดสอบระดับศูนย์สอบ ปีการศึกษา 2559 โดย ผอ การบริหารการจัดสอบระดับศูนย์สอบ ปีการศึกษา 2559 โดย ผอ.กลุ่ม นิเทศฯ ธนนันท์ คณะรมย์
หน้าที่หลักของศูนย์สอบ 1. ประสานงานกับสทศ. ดำเนินการตามนโยบายและแนวปฏิบัติของสทศ. 2. กำกับและติดตามให้โรงเรียนส่งข้อมูลรายชื่อนักเรียนให้ครบถ้วนและ ถูกต้องตามช่วงเวลาที่สทศ. กำหนด 3. จัดสนามสอบและห้องสอบผ่านระบบ O-NET ภายในเวลาที่กำหนด 4. พิจารณาอนุมัติในกรณีมีผู้เข้าสอบกรณีพิเศษที่ไม่มีเลขที่นั่งสอบ โดย ตรวจสอบว่านักเรียนเป็นผู้มีสิทธิ์สอบและแจ้งสนามสอบทราบในวันสอบ
หน้าที่หลักของศูนย์สอบ 5. แต่งตั้งตัวแทนศูนย์สอบและส่งไปปฏิบัติหน้าที่ประจำสนามสอบ 6. แต่งตั้งคณะทำงานระดับศูนย์สอบ และคณะกรรมการระดับสนามสอบ ควบคุม กำกับให้การดำเนินการจัดสอบของศูนย์สอบและสนามสอบเป็นไป ด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ 8. แก้ปัญหาในการดำเนินการจัดสอบของศูนย์สอบและสนามสอบ บริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดสอบ ส่งรายงานสรุปผลการดำเนินการจัดสอบและสรุปค่าใช้จ่ายในการจัดสอบ แจ้ง ให้ สทศ. ทราบ ภายใน 30 วันหลังเสร็จสิ้นการสอบ
คณะทำงานระดับศูนย์สอบ 1 ประธานศูนย์สอบ 2 คณะทำงานประสานงานการจัดสอบ 3 คณะทำงานรับ-ส่ง เก็บรักษาแบบทดสอบกระดาษคำตอบ 4 คณะทำงานจัดทำฐานข้อมูลโรงเรียน นักเรียนและศูนย์สอบ 5 คณะทำงานการเงิน 6 ตัวแทนศูนย์สอบ
ประธานศูนย์สอบ ดำเนินการตามนโยบายที่ สทศ.กำหนด แต่งตั้งคณะทำงานระดับศูนย์สอบ และคณะทำงานระดับสนามสอบ ควบคุม กำกับ ติดตามให้การดำเนินการบริหารการจัดสอบ O-NET ระดับ ศูนย์สอบและสนามสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย พิจารณาอนุมัติการเบิกจ่ายเงินจัดสรร ในการดำเนินการบริหารการทดสอบ O-NET ให้อยู่ภายใต้บัญชีแนบท้ายของสทศ. พิจารณาตรวจสอบ สั่งการ ติดตามกรณีที่เกิดปัญหาในการบริหารการจัดสอบ ทั้งระดับศูนย์สอบและระดับสนามสอบ
คณะทำงานประสานงานการจัดสอบ ประสานงานการจัดสอบในด้านต่างๆ ระหว่าง สทศ.-ศูนย์สอบ-โรงเรียน จัดหาคณะกรรมการระดับสนามสอบและกรรมการคุมสอบ จัดทำคำสั่งคณะทำงานชุดต่างๆ ในระดับศูนย์สอบ ระดับสนามสอบและ ตัวแทนศูนย์สอบ เตรียมจัดการประชุมชี้แจงบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการสอบทั้งระดับ ศูนย์สอบและระดับสนามสอบ ตอบข้อซักถามและบริหารการจัดสอบให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
คณะทำงานรับ-ส่ง เก็บรักษาแบบทดสอบกระดาษคำตอบ และอุปกรณ์การสอบ จัดเตรียมห้องมั่นคงหรือสถานที่ที่มีความเหมาะสม เพื่อใช้ในการเก็บ แบบทดสอบและกระดาษคำตอบ ควบคุม ดูแล กำกับการขนส่งแบบทดสอบและกระดาษคำตอบจากศูนย์สอบ – สนามสอบ จัดเจ้าหน้าที่เพื่อดูแล รักษาและควบคุมแบบทดสอบและกระดาษคำตอบที่ เก็บรักษาไว้ศูนย์สอบ ประสานงานเรื่องการรับแบบทดสอบจาก สทศ. ตามวันและเวลาที่กำหนด
คณะทำงานรับ-ส่ง เก็บรักษาแบบทดสอบกระดาษคำตอบและอุปกรณ์การสอบ หลังเสร็จสิ้นการสอบประสานงานกับสนามสอบเรื่องการรับกล่อง กระดาษคำตอบจากสนามสอบ ประสานงานเรี่องการส่งกล่องกระดาษคำตอบและเอกสารการจัดสอบ (สทศ.5, สทศ.6) ให้สทศ.
คณะทำงานจัดทำฐานข้อมูลโรงเรียน ข้อมูลนักเรียนและข้อมูลศูนย์สอบ ดำเนินการปรับปรุงข้อมูลศูนย์สอบ และข้อมูลโรงเรียนในระบบ O-NET ให้เป็นปัจจุบัน ประสานงานกับ สทศ. เรื่องการเพิ่มข้อมูลโรงเรียนที่มีการตั้งใหม่เข้าระบบ กำกับ ติดตามให้โรงเรียนส่งรายชื่อนักเรียนที่สิทธิ์สอบ ภายในวันที่ 31 ส.ค. 2559 ดำเนินการจัดสนามสอบ ห้องสอบ ในระบบ O-NET ให้แล้วเสร็จภายใน วันที่ 30 ก.ย. 2559
คณะทำงานการเงิน พิจารณาเบิกจ่ายค่าตอบแทน ค่าดำเนินการต่างๆ ทั้งระดับศูนย์สอบและ สนามสอบ ตามบัญชีแนบท้าย 3 อัตราค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทดสอบ ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จัดส่งใบเสร็จรับเงินให้กับ สทศ. ทันที หลังจากที่ได้รับเงินจัดสรรในแต่ละ งวดเป็นที่เรียบร้อย จัดทำรายงานสรุปค่าใช้จ่ายการจัดทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับ ศูนย์สอบ (O-NET 9)
ตัวแทนศูนย์สอบ ตัวแทนศูนย์สอบ ให้ศูนย์สอบพิจารณาแต่งตั้งจากบุคลากร ภายในศูนย์สอบ ครูต่างเครือข่ายหรือจากหน่วยงานอื่นๆที่มี คุณสมบัติเหมาะสม (ทั้งด้านคุณวุฒิและวัยวุฒิ มีความรับผิดชอบ ต่องานที่ได้รับมอบหมาย มีความซื่อสัตย์และเป็นผู้นำที่ดี) จำนวนตัวแทนศูนย์สอบให้ใช้อัตรา 2 คนต่อสนามสอบ
บทบาทหน้าที่ของตัวแทนศูนย์สอบ 1. รับ-ส่งกล่องแบบทดสอบและกล่องกระดาษคำตอบระหว่างศูนย์สอบกับสนาม สอบ 2. กำกับการเปิดกล่องแบบทดสอบให้ตรงตามตารางสอบและเวลาที่กำหนด ร่วมกับหัวหน้าสนามสอบ และกรรมการกลาง 3. เมื่อกรรมการกลางตรวจนับกระดาษคำตอบครบถ้วนและบรรจุใส่ซองพร้อมทั้ง ปิดผนึกซองกระดาษคำตอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ตัวแทนศูนย์สอบเป็นผู้ที่ ทำหน้าที่ปิดเทปกาวพิเศษแบบทำลายตนเองที่ปากซองกระดาษคำตอบ พร้อมทั้งลงชื่อกำกับที่หน้าซองกระดาษคำตอบ
บทบาทหน้าที่ของตัวแทนศูนย์สอบ กำกับ ดูแลการจัดสอบภายในสนามสอบให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตาม มาตรฐานการทดสอบ กำกับการบรรจุซองกระดาษคำตอบลงกล่องทันทีหลังเสร็จสิ้นการสอบแต่ละ วิชา และปิดผนึกกล่องกระดาษคำตอบกลับด้วยเทปกาวของ สทศ. พร้อมทั้ง ให้ตัวแทนศูนย์สอบลงชื่อที่ใบปะหน้ากล่องบรรจุซองกระดาษคำตอบกลับ สทศ.
บทบาทหน้าที่ของตัวแทนศูนย์สอบ นำกล่องบรรจุซองกระดาษคำตอบกลับที่ปิดผนึกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่งศูนย์สอบหลังจากเสร็จสิ้นการสอบในแต่ละวัน ห้ามทิ้งกล่องบรรจุ ซองกระดาษคำตอบไว้ที่สนามสอบ รายงานการจัดสอบของสนามสอบให้ศูนย์สอบทราบตาม เอกสารรายงานการปฏิบัติงานของตัวแทนศูนย์สอบ
การโอนเงินจัดสรรให้ศูนย์สอบ งวดที่ เดือน จำนวนเงิน 1 ภายใน 23 พฤศจิกายน 2559 30% ของงบประมาณที่จัดสรรให้ 2 ภายใน 10 มกราคม 2560 งบประมาณส่วนที่เหลือทั้งหมดร้อยละ 70 จำนวนเงินที่จัดสรร =รายวิชาสอบ(5วิชา)*จำนวนผู้มีสิทธิ์สอบ*อัตราเหมาจ่ายรายหัว ขอให้ศูนย์สอบส่งใบเสร็จรับเงินกลับคืน สทศ. ซึ่งใบเสร็จรับเงินต้องระบุจำนวนเงินให้ชัดเจนว่าได้รับเงินการจัดสอบชั้นละเท่าใดและยอดเงินเท่าใดเพื่อเป็นหลักฐานการรับเงิน
การบริหารการจัดสอบ ระดับสนามสอบ การบริหารการจัดสอบ ระดับสนามสอบ ปีการศึกษา 2559
การแต่งตั้งคณะกรรมการระดับสนามสอบ เป็นประธานศูนย์เครือข่าย/ ผู้อำนวยการต่างโรงเรียน หรือผู้ที่ศูนย์สอบพิจารณาแต่งตั้งตามความเหมาะสม หัวหน้าสนามสอบ อัตรา 1 คน : 3 ห้องสอบ (หากไม่ถึง 3 ห้องสอบแต่งตั้งได้ 1 คน) กรรมการกลาง อัตรา 2 คน : 1 ห้องสอบ ต้องไม่คุมสอบนักเรียนตนเอง และทั้งสองคนต้องมาจากต่างโรงเรียนกัน กรรมการคุมสอบ อัตรา 1 คน : 5 ห้องสอบ ต้องไม่คุมสอบนักเรียนตนเอง และทั้งสองคนต้องมาจากต่างโรงเรียนกัน สำรอง
การแต่งตั้งคณะกรรมการระดับสนามสอบ ครู อาจารย์ ผู้บริหารของโรงเรียนที่เป็นสนามสอบ ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานเรื่องอาคารสถานที่ โดยไม่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารการสอบ เจ้าหน้าที่ประสานงานประจำสนามสอบ ครู อาจารย์โรงเรียนที่เป็นสนามสอบ เพื่อทำหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์การสอบ โดยไม่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารการสอบ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ อัตรา 1 คน : 5 ห้องสอบ (ขั้นต่ำ 1 คนต่อสนามสอบ) นักการ ภารโรง
การแต่งตั้งบุคลากรประจำสนามสอบ ศูนย์สอบต้องแต่งตั้งคณะกรรมการระดับสนามสอบ ซึ่งหัวหน้าสนามสอบ กรรมการกลางและกรรมการคุมสอบ ให้ใช้สลับกลุ่มกัน (อาจสลับระหว่างกลุ่มเครือข่าย กลุ่มอำเภอ หรือ กลุ่มสนามสอบ) กรรมการกลางและกรรมการคุมสอบต้องมาจากต่างโรงเรียนและจะต้องไม่คุมสอบนักเรียนตนเอง ซึ่งบุคลากรทุกตำแหน่งในสนามสอบจะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานศูนย์สอบ การประสานงานเรื่องการแต่งตั้งบุคลากรประจำสนามสอบ โรงเรียนที่ได้เป็นสนามสอบสามารถประสานงานโดยตรงไปที่ศูนย์สอบที่รับผิดชอบ
การแต่งตั้งคณะทำงานระดับสนามสอบ
คุณสมบัติของกรรมการกลางและกรรมการคุมสอบ ตำแหน่งกรรมการคุมสอบและกรรมการกลาง ต้องเป็นข้าราชการครูหรือบุคลากรทางการศึกษาระดับ 3 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า หรือพนักงานประจำตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป เป็นบุคลากรต่างโรงเรียน/ต่างกลุ่มเครือข่าย/ต่างอำเภอ สลับไขว้กัน 3. ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
คุณสมบัติของกรรมการกลางและกรรมการคุมสอบ 4. มีความรับผิดชอบ 5. ตรงต่อเวลา 6. เก็บรักษาความลับได้เป็นอย่างดี 7. ปฏิบัติตามระเบียบและข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด 8. มีความละเอียด ถี่ถ้วน รอบคอบและให้ความสำคัญในเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง
บทบาทหน้าที่ของสนามสอบ หัวหน้าสนามสอบ/กรรมการกลาง/กรรมการคุมสอบ ต้องปฏิบัติตามแนวนโยบายที่สถาบันทดสอบฯ กำหนดไว้ใน คู่มือการจัดสอบอย่างเคร่งครัดเพื่อให้การดำเนินการในทุก สนามสอบเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ และเป็นไปตาม มาตรฐานการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ
บทบาทหน้าที่ของสนามสอบ (ต่อ-2) ประสานงานกับศูนย์สอบ และดำเนินการตามนโยบายและแนว ปฏิบัติของศูนย์สอบอย่างเคร่งครัด กรอกข้อมูลห้องสอบผ่านระบบทางเว็บไซต์ http://www.niets.or.th ภายในเวลาที่ สทศ. กำหนด เสนอชื่อคณะกรรมการที่ทำงานในระดับสนามสอบ ให้ศูนย์สอบ พิจารณาอนุมัติแต่งตั้ง
บทบาทหน้าที่ของสนามสอบ (ต่อ-3) เตรียมความพร้อมก่อนการจัดสอบ เกี่ยวกับสถานที่สอบและ ห้องสอบ การประชาสัมพันธ์การสอบ การประกาศรายชื่อและ เลขที่นั่งสอบ ดำเนินการจัดสอบภายในสนามสอบให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีความยุติธรรม และเป็นไปตามแนวปฏิบัติที่ สทศ. กำหนด
บทบาทหน้าที่ของสนามสอบ (ต่อ-4) รวบรวมกระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบในแต่ละห้องสอบให้ ครบถ้วนไม่ให้ตกหล่นที่สนามสอบ เพื่อรักษาผลประโยชน์ให้กับ ผู้เข้าสอบ รวมทั้งส่งคืนแบบทดสอบทุกฉบับกลับคืน สทศ. ประสานงานกับศูนย์สอบเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าตอบแทนและ รายงานสรุปการดำเนินการจัดสอบระดับสนามสอบให้ศูนย์สอบ ทราบ
บทบาทหน้าที่ของสนามสอบ (ต่อ-5) รายงานค่าสถิติจำนวนผู้เข้าสอบหลังเสร็จสิ้นการสอบในแต่ ละวิชา ผ่าน www.niets.or.th / ระบบรายงานสถิติจำนวนผู้ เข้าสอบ / ใส่ Username และ Password ของสนามสอบ
ข้อเน้นย้ำสำหรับปีการศึกษา 2559
แบบทดสอบและกระดาษคำตอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาไทย ด้วยรูปแบบข้อสอบอัตนัยเป็นครั้งแรก สำหรับการสอบวิชาภาษาไทยกระดาษคำตอบจะแบ่งเป็น 2 ชุด ได้แก่ 1. กระดาษคำตอบสำหรับตอบแบบทดสอบรูปแบบปรนัย 2. กระดาษคำตอบสำหรับตอบแบบทดสอบรูปแบบอัตนัย
การทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาไทย จะประกอบด้วย กระดาษคำตอบสำหรับตอบแบบทดสอบรูปแบบปรนัย และกระดาษคำตอบ สำหรับตอบแบบทดสอบรูปแบบอัตนัย ขอให้กรรมการคุมสอบบรรจุ กระดาษคำตอบใส่ซองให้ถูกประเภทของกระดาษคำตอบ และปฏิบัติตามแนว ปฏิบัติที่ สทศ. กำหนด การสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาไทย สามารถดูรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ www.niets.or.th
ตัวอย่าง : กระดาษคำตอบสำหรับตอบแบบทดสอบ รูปแบบอัตนัย ตัวอย่าง : กระดาษคำตอบสำหรับตอบแบบทดสอบ รูปแบบอัตนัย
2. แบบทดสอบ แบบทดสอบมีรหัสชุดข้อสอบ แตกต่างกัน 6 ชุด ในแต่ละวิชา และ สทศ. ได้จัดเรียงสลับชุดไว้ แล้ว ให้กรรมการคุมสอบแจกให้ ผู้เข้าสอบตามลำดับที่นั่งสอบเป็น รูปตัว U
แบบทดสอบ (ต่อ) 1. กรรมการคุมสอบ ต้องตรวจสอบว่าผู้เข้าสอบระบายและกรอกรหัสชุดข้อสอบที่ตนเองได้รับถูกต้อง 2. ห้ามกรรมการคุมสอบหรือบุคคลอื่นมีการอ่านและวิเคราะห์แบบทดสอบ 3. ขอให้กรรมการคุมสอบแจกแบบทดสอบและกระดาษคำตอบ เป็นรูปตัว U ไม่ต้องดำเนินการสลับแบบทดสอบ ด้วยตนเอง 4. กรรมการคุมสอบต้องกำกับให้ผู้เข้าสอบกรอก ข้อมูลบนปกแบบทดสอบ เพื่อเป็นหลักฐาน สำหรับการตรวจสอบ
3. การจัดที่นั่งสอบและการแจก-เก็บรูปตัว U หน้าห้อง โต๊ะกรรมการ 1 1 12 13 24 25 2 11 14 23 26 3 10 15 22 27 4 9 16 21 28 5 8 17 20 29 6 7 18 19 30 โต๊ะกรรมการ 2
4. กระดาษคำตอบแบบลงข้อมูล
5. กระดาษคำตอบสำรอง
6. ระบายรหัสชุดข้อสอบบนกระดาษคำตอบ กรรมการคุมสอบกำกับให้ผู้เข้าสอบระบายชุดข้อสอบที่ ได้รับให้ถูกต้องบนกระดาษคำตอบ
7. กรอกรหัสชุดข้อสอบบน สทศ.2 กรรมการคุมสอบกำกับให้ผู้เข้าสอบกรอกรหัสชุดข้อสอบที่ได้รับให้ถูกต้องในใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบ (สทศ.2)
7. การกรอก – ระบาย รหัสชุดข้อสอบ 7. การกรอก – ระบาย รหัสชุดข้อสอบ ได้รหัสชุดข้อสอบใด ระบายและกรอกรหัสชุดข้อสอบที่ได้รับ ให้ตรงกันทั้งหมด
8.การบรรจุกระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบกรณีพิเศษ ให้บรรจุในซองกระดาษคำตอบกลับสำหรับผู้เข้าสอบกรณี พิเศษ สทศ. จัดเตรียมให้เฉพาะต่างหากวิชาละ 1 ซอง หากในสนามสอบนั้นๆ ไม่มีผู้เข้าสอบกรณีพิเศษ สนามสอบ ต้องส่งซองกระดาษคำตอบกลับสำหรับผู้เข้าสอบกรณีพิเศษ (ที่ไม่ได้ใช้) คืน สทศ. โดยให้บรรจุอยู่ในกล่องบรรจุซอง กระดาษคำตอบกลับ.......( ไม่ต้องนำกระดาษคำตอบสำรองที่ไม่ได้ ใช้ใส่ในซองนี้คืน สทศ.)
9. การบรรจุซองกระดาษคำตอบลงกล่องปรับขนาด (กล่องสำหรับบรรจุซองกระดาษคำตอบกลับ สทศ.) ให้สนามสอบบรรจุซองกระดาษคำตอบใส่กล่องปรับขนาด (กล่องสำหรับบรรจุ ซองกระดาษ คำตอบกลับ สทศ.) โดยใช้ 1 วิชาต่อ 1 กล่อง ห้ามรวมรายวิชา 1. กล่องปรับขนาด (กล่องสำหรับบรรจุซองกระดาษคำตอบกลับ สทศ.) คือ กระดาษรูปกากบาทที่ สทศ.จัดส่งให้ โดยสนามสอบต้องนำมาขึ้นรูปเพื่อทำเป็น กล่องบรรจุซองกระดาษคำตอบ 2. การบรรจุซองกระดาษคำตอบใช้ 1 กล่องต่อรายวิชา และแยกตาม ระดับชั้น
9. การบรรจุซองกระดาษคำตอบลงกล่องปรับขนาด (กล่องสำหรับบรรจุซองกระดาษคำตอบกลับ สทศ.) 3. ใบปะหน้ากล่องกระดาษคำตอบเพื่อส่งกลับ สทศ. ได้แยกเป็นรายวิชาที่จัด สอบ สนามสอบต้องนำมาติดให้ถูกต้อง และระบุจำนวนซองกระดาษคำตอบที่ บรรจุอยู่ในกล่องให้ถูกต้อง 4. สทศ.จัดทำเทปกาวของ สทศ. เพื่อใช้ในการติดกล่องกระดาษคำตอบกลับ เพื่อส่ง สทศ. โดยจัดเตรียมไว้ 3 เส้นต่อ 1 กล่อง 5. ตัวแทนศูนย์สอบนำกล่องสำหรับบรรจุซองกระดาษคำตอบกลับ สทศ. ที่ ปิดผนึกเป็นที่เรียบร้อยแล้วส่งศูนย์สอบหลังจากเสร็จสิ้นการสอบในแต่ละวัน ห้ามทิ้งกล่องสำหรับบรรจุซองกระดาษคำตอบกลับ สทศ. ไว้ที่สนามสอบ
เส้นที่ 1 เส้นที่ 2 เส้นที่ 3 9. การบรรจุซองกระดาษคำตอบลงกล่องปรับขนาด (กล่องสำหรับบรรจุซองกระดาษคำตอบกลับ สทศ.) 6. สนามสอบต้องกรอกข้อมูลบนใบปะหน้ากล่องให้ครบถ้วน และให้หัวหน้า สนามสอบลงนามให้เรียบร้อย พร้อมทั้งส่งมอบให้กับตัวแทนศูนย์สอบตรวจดู ความเรียบร้อยของกล่องและลงนามที่ใบปะหน้ากล่อง เส้นที่ 1 เส้นที่ 2 เส้นที่ 3
ภาพแสดง เทปกาว สทศ. สำหรับติดกล่องกระดาษคำตอบ เส้นที่ 2 , 3 ใช้ สำหรับติดด้านข้าง ทั้งสองด้าน เส้นที่ 1 ใช้สำหรับติดด้านยาว
10. การรวบรวมเอกสารการจัดสอบส่ง สทศ. ให้สนามสอบรวบรวม สทศ.5 และ สทศ.6 ใส่ซองเอกสารสีน้ำตาล นำส่งศูนย์สอบพร้อมกล่องกระดาษคำตอบ และศูนย์สอบรวบรวมซองเอกสารพร้อมกล่องกระดาษคำตอบให้กับ สทศ. ในวันที่ไปรับกระดาษคำตอบ
ระเบียบและข้อปฏิบัติ
ระเบียบการเข้าห้องสอบ ไม่มีเลขที่นั่งสอบ ไม่มีสิทธิ์สอบ ไม่มีบัตรแสดงตน ไม่มีสิทธิ์สอบ ไปผิดสนามสอบ ไม่มีสิทธิ์สอบ ไปสายเกิน 30 นาที ไม่มีสิทธิ์สอบในวิชานั้น ห้าม นำเครื่องมืออุปกรณ์สื่อสารเข้าห้องสอบ ให้นั่งสอบจนหมดเวลา อนุญาต ให้นำนาฬิกาเข้าห้องสอบ (ต้องเป็นนาฬิกาธรรมดา ที่ใช้ดูเวลา เท่านั้น)
การรับ-ส่งเอกสารจัดสอบ แบบทดสอบและกระดาษคำตอบ ระหว่าง สทศ,ศูนย์สอบ,สนามสอบ
1. การจัดส่งคู่มือการจัดสอบ O-NET ระดับสนามสอบและ DVD การจัดสอบ
2.การจัดส่งเอกสารและอุปกรณ์การจัดสอบ ศูนย์สอบจัดส่งเอกสารและอุปกรณ์การจัดสอบให้กับสนามสอบ ซึ่งเอกสาร การจัดสอบที่ สทศ.จัดส่งไปให้นั้น แบ่งเป็น 1.เอกสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ให้กับผู้เข้าสอบ เพื่อให้ผู้เข้าสอบรวมทั้ง บุคลากรในสนามสอบได้ทราบแนวปฏิบัติและข้อห้ามต่างๆที่ไม่ควรปฏิบัติ โดยมุ่งหวังให้การสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใส ยุติธรรม และ เป็นไปตามมาตรฐานการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ
2.การจัดส่งเอกสารและอุปกรณ์การจัดสอบ เอกสารจัดสอบติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ เอกสารจัดสอบติดหน้าห้องสอบ บัญชีรายชื่อผู้เข้าสอบ(สำหรับติดบอร์ดประชาสัมพันธ์) บัญชีรายชื่อผู้เข้าสอบ(สำหรับติดหน้าห้องสอบ) ตารางสอบ(สำหรับติดบอร์ดประชาสัมพันธ์) ตารางสอบ(สำหรับติดหน้าห้องสอบ) ระเบียบการเข้าห้องสอบ(สำหรับติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ ขนาด A3) ระเบียบการเข้าห้องสอบ(สำหรับติดหน้าห้องสอบ ขนาด A4) สำเนาราชกิจจานุเบกษา ระเบียบสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์กรมหาชน) ว่าด้วยแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการทดสอบ พ.ศ.2557(สำหรับติดบอร์ดประชาสัมพันธ์)ขนาด A2 จำนวน 1 แผ่น/สนามสอบ แผนผังที่นั่งสอบ(สำหรับติดหน้าห้องสอบ) คำเตือนสำหรับกรรมการประจำสนามสอบและกรรมการคุมสอบ(สำหรับติดหน้าห้องสอบ) ขนาด A3 จำนวน 1แผ่น/ห้องสอบ
2.การจัดส่งเอกสารและอุปกรณ์การจัดสอบ 2.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดสอบในห้องสอบและสนามสอบ เป็นเอกสารที่ใช้ในกระบวนการสอบซึ่งถือเป็นเอกสารที่มี ความสำคัญและเป็นหลักฐานเพื่อใช้ในการตรวจสอบการเข้า สอบ และเมื่อหลังเสร็จสิ้นการสอบสนามสอบต้องรวบรวมส่ง ศูนย์สอบ เพื่อจัดส่งให้ต่อไป
2.การจัดส่งเอกสารและอุปกรณ์การจัดสอบ รายการเอกสาร สนามสอบส่งศูนย์สอบ ใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบ (สทศ.2) แผ่นที่ 1 สำหรับสนามสอบใช้หุ้มกระดาษคำตอบ และส่งคืนสทศ. (บรรจุอยู่ในซองกระดาษคำตอบของแต่ละห้องสอบ) แผ่นที่ 2 สำหรับสนามสอบส่งคืนศูนย์สอบ ศูนย์สอบเก็บไว้ ใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบกรณีพิเศษ (สทศ.3) แบบฟอร์มสำหรับผู้เข้าสอบปฏิบัติผิดระเบียบการสอบ(สทศ.5) แบบฟอร์มคำขอแก้ไขข้อมูล(สทศ.6) ซองกระดาษคำตอบผู้เข้าสอบกรณีพิเศษ
2.การจัดส่งเอกสารและอุปกรณ์การจัดสอบ 3.เอกสารและแบบฟอร์มเพื่อเป็นหลักฐานระหว่าง สนามสอบกับศูนย์สอบ เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการ ทำงานในระดับสนามสอบ ซึ่งการส่งมอบเอกสารและ การจัดการเอกสารขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของ แต่ละศูนย์สอบ
2.การจัดส่งเอกสารและอุปกรณ์การจัดสอบ O-NET 1 บัญชีรับส่งแบบทดสอบและกระดาษคำตอบระหว่างหัวหน้าสนามสอบ/กรรมการกลางกับกรรมการคุมสอบ O-NET 2 บัญชีส่งจำนวนกล่องกระดาษคำตอบ และเอกสารอื่นๆจากหัวหน้าสนามสอบถึงศูนย์สอบ O-NET 5 รายงานผลการปฏิบัติงานการดำเนินการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)ระดับสนามสอบ
2.การจัดส่งเอกสารและอุปกรณ์การจัดสอบ O-NET 7 รายงานผลการปฏิบัติงานของตัวแทนศูนย์สอบประจำสนามสอบ O-NET 10 เอกสารกำกับการเปิดกล่องบรรจุแบบสดสอบและกล่องกระดาษคำตอบ O-NET 11 เอกสารกำกับการเปิดซองบรรจุแบบทดสอบสำรอง ใบสำคัญรับเงิน
3.การจัดส่งกล่องแบบทดสอบและกล่องกระดาษคำตอบก่อนการสอบ ตัวแทนศูนย์สอบนำกล่องแบบทดสอบ กล่องกระดาษคำตอบ กล่องกระดาษคำตอบสำรองและกล่องบรรจุกระดาษคำตอบ เพื่อส่งกลับ สทศ.(กล่องปรับขนาด) ไปส่งยังสนามสอบใน ตอนเช้าวันสอบ ซึ่งรายละเอียดในการขนส่งขึ้นอยู่กับการ บริหารจัดการของแต่ละศูนย์สอบ โดยคำนึงถึงความเหมาะสม ของแต่ละพื้นที่
หลังการสอบเสร็จสิ้น หลังจากสอบเสร็จสิ้นในแต่ละวัน ตัวแทนศูนย์สอบนำกล่องบรรจุ กระดาษคำตอบเพื่อส่งกลับ สทศ. ซองแบบทดสอบที่ตรวจนับจำนวนครบถ้วน บรรจุใส่กล่อง และเก็บไว้ที่สนามสอบหรือศูนย์สอบ จนกระทั่ง สทศ. ได้ประกาศผลสอบเป็นที่เรียบร้อย จึงอนุญาติให้ทำลาย
การลงลายมือชื่อที่ซองกระดาษคำตอบ การลงลายมือชื่อที่ซองกระดาษคำตอบและใบปะหน้า กล่องกระดาษคำตอบให้หัวหน้าสนามสอบและตัวแทน ศูนย์สอบเป็นผู้ลงลายมือชื่อร่วมกัน
ติดต่อประสานงานการสอบ O-NET
ติดต่อประสานงานการสอบ O-NET นางธนนันท์ คณะรมย์ ผอ.กลุ่มนิเทศฯ เบอร์โทรฯ 098-2527145 (เรื่องการบริหารงานการจัดสอบ) นางสาวกานต์รวี ทองคำ ธุรการกลุ่มนิเทศฯ เบอร์โทรฯ 087-4824561 (เรื่องการเปลี่ยนชื่อในคำสั่ง)