SERVICE PLAN 59
ปัญหาการฆ่าตัวตาย ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จของการดูแลช่วยเหลือและติดตามเฝ้าระวังผู้พยายาม ฆ่าตัวตายอย่างต่อเนื่อง จากแนวโน้มอัตราของเขต 8 มีทิศทางเพิ่มสูงขึ้น และใกล้เคียงในระดับประเทศมากขึ้น ปี 2558 มีรายงาน case ที่เป็นข่าว 18 ราย และปัจจัยส่วนใหญ่มาจาก อาการป่วยทางจิต และวิธีทำร้ายตัวเองจากการผูกคอ
การเข้าถึงบริการผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตาย ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จของการดูแลช่วยเหลือและติดตามเฝ้าระวังผู้พยายามฆ่าตัวตายอย่างต่อเนื่อง แนวคิดการดำเนินงานหลัก 1. สนับสนุนให้หน่วยบริการสาธารณสุขยังคงมีระบบ ดูแลช่วยเหลือผู้ที่พยายามทำร้ายตัวเองอย่างต่อเนื่อง (วางแผน บันทึกข้อมูล ดูแลเฝ้าระวัง กลุ่มเสี่ยง) 2. การดูแลช่วยเหลือและติดตามเฝ้าระวังผู้พยายามฆ่าตัวตายอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 50 ของผู้พยายามฆ่าตัวตายได้รับการดูแลต่อเนื่อง 3. มีการบันทึกข้อมูลในระบบรายงาน รง.506ds ให้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 20 4. จัดระบบการรายงานและการติดตาม case ที่เป็นข่าว (Case Alert)
โรคซึมเศร้า เป้าหมายการดำเนินงาน การเข้าถึงบริการผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เท่ากับหรือมากกว่า ร้อยละ 43 - รูปแบบการดำเนินงาน การพัฒนาศักยภาพ กิจกรรมเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงบริการ ในกลุ่มเป้าหมาย (คัดกรอง ประเมิน วินิจฉัย รักษา ดูแลต่อเนื่อง) การสนับสนุนการบันทึกข้อมูล แนวโน้ม สถานการณ์ ร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เขต 8 อยู่ที่ 49.79 ตั้งแต่ปี 56-58 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และจังหวัดเลย มีร้อยละสูงสุด อยู่ที่ 68.55 ซึ่งในภาพรวมมีค่าเกินเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 38
การเข้าถึงบริการโรคจิต - เพิ่มการเข้าถึงบริการผู้ป่วยโรคจิตในพื้นที่และมีการดูแลต่อเนื่องที่มีคุณภาพ การเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 พื้นที่เป้าหมาย : 2 อำเภอนำร่องต่อ 1 จังหวัด รูปแบบการดำเนินงาน : MH GAP PSYCHOSIS แนวคิดการดำเนินงานหลัก : 1. เกิดฐานข้อมูลผู้ป่วยโรคจิตร่วมกับพื้นที่เขตสุขภาพ 2. ดำเนินงานตามโครงการพัฒนาการเข้าถึงบริการโรคจิตในพื้นที่นำร่อง 3. พัฒนาศักยภาพและดำเนินโครงการในพื้นที่ : คัดกรอง ประเมิน วินิจฉัย และรักษา ส่งต่อ 4. สร้างระบบเพื่อส่งผู้ป่วยรับยาเดิมในพื้นที่
การพัฒนาระบบบริการวิกฤติสุขภาพจิต ร้อยละ 80 ของผู้ประสบภาวะวิกฤตกลุ่มเสี่ยงเข้าถึงบริการสุขภาพจิต รูปแบบการดำเนินงาน : 1. วิเคราะห์ความเสี่ยงสาธารณภัย/ภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นร่วมกับพื้นที่ 2. เมื่อเกิดภาวะวิกฤติ ตามรายงาน ผู้ประสบภาวะวิกฤตได้รับการประเมินว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง และได้รับการประเมินภาวะสุขภาพจิตอย่างน้อย 1 ครั้ง และมีการติดตามต่อเนื่องในกรณีที่มีปัญหา 3. พัฒนาระบบการดูแลกลุ่มเสี่ยงและพัฒนาศักยภาพทีม MCATT ให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ 4. หน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิต ร่วมจัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับจังหวัด (ร่วมทำแผนกับจังหวัด) และมีการฝึกซ้อมแผนแบบบูรณาการร่วมกับทีมที่เกี่ยวข้อง เช่น EMS , mini mert และSRRT
พัฒนาคุณภาพมาตรฐานของระบบบริการสุขภาพจิตในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ (Service plan) ชื่อตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชในเขตสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับ 1 ทุกด้านใน รพศ./รพท. (ระดับ A และ S) และ รพช. พื้นที่เป้าหมาย : ทุกจังหวัด แนวคิดการดำเนินงานหลัก : 1. ร่วมวางแผนและพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชตามแนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิต และจิตเวช 2. พัฒนารูปแบบ และแนวทางการดำเนินงานที่เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องกับบริบทและปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ 3.ผลลัพธ์ - ร้อยละ 40 ของ รพช. ในแต่ละเขตสุขภาพ มีการจัดบริการสุขภาพจิตและจิตเวชที่มีคุณภาพมาตรฐานในทุกด้าน (เป้าหมายสะสม) - ร้อยละ 60 ของ รพศ./รพท.(ระดับ A และ S )มีบริการสุขภาพจิตและจิตเวชที่มีคุณภาพมาตรฐาน ในระดับ 1 ทุกด้าน
พัฒนาคุณภาพมาตรฐานของระบบบริการสุขภาพจิตเด็กในสถานบริการสาธารณสุข (Service plan) ชื่อตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่นในเขตสุขภาพให้มีคุณภาพมาตรฐาน พื้นที่เป้าหมาย : ภาพรวม และ พื้นที่นำร่อง เขตละ 1 node (รพศ./รพท. + 1 รพช.) แนวคิดการดำเนินงานหลัก : 1. พัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่นในเครือข่ายบริการสุขภาพให้มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาสุขภาพจิต 2. เพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่นที่พบบ่อย : AUTISTIC , ADHD ≥ 5% 3. ผลลัพธ์ - ร้อยละ 30 ของ รพช.ในแต่ละเขตสุขภาพ มีการจัดบริการจิตเวชเด็กและวัยรุ่นที่มีคุณภาพมาตรฐาน ผ่านระดับ 3 (เฉพาะขีดความสามารถ) - ร้อยละ 50 ของ รพศ./รพท.(ระดับ A และ S )มีบริการจิตเวชเด็กและวัยรุ่นที่มีคุณภาพมาตรฐาน ผ่านระดับ 1 (เฉพาะขีดความสามารถ)
การผลักดัน ขับเคลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551 พรบ.สุขภาพจิต เน้น การผลักดัน ขับเคลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551 1. มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการ / คณะทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต 2.มีการประชุมเพื่อดำเนินงานคณะกรรมการประสานงานเพื่อบังคับใช้พ.ร.บ.สุขภาพจิต พรบ.สุขภาพจิต คือ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต ปี 2551 หมวด 3 มาตรา 22 กล่าวว่า บุคคลที่มีความ ผิดปกติทางจิตในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เป็นบุคคลที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา 1. มีภาวะอันตราย เช่น คลุ้มคลั่ง อาละวาด ท าร้ายตนเองหรือผู้อื่น ทำลายข้าวของ เป็นต้น 2. มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา เช่น พูดคนเดียว หูแว่ว การดูแลตนเองเสียไป หรือมี พฤติกรรมแปลกอื่นๆ มาตรา 23 ผู้ใดพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีลักษณะตามมาตรา 22 ให้ แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยไม่ชักช้า
พัฒนาระบบบริการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด ชื่อตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่หยุดเสพต่อเนื่อง 3 เดือน หลังจำหน่ายจากการบำบัดรักษา ( 3 Month remission rate) พื้นที่เป้าหมาย : ทุกจังหวัด แนวคิดการดำเนินงานหลัก 1. ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดตามรูปแบบของกรมสุขภาพจิต 2. มีการติดตามหลังจำหน่าย 3 เดือนและรายงานผลตามรูแบบรายงาน ยาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข(บสต.)
ร้อยละของผู้ป่วยยาเสพติดที่หยุดเสพต่อเนื่อง 3 เดือน หลังจำหน่ายจากการบำบัดรักษา (3 month remission rate) หน่วย PM(บริหารและติดตามผล) สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต หน่วยรับการประเมิน หน่วยบริการจิตเวช 13 แห่ง รายละเอียดการประเมินผล **Template ใหม่ พัฒนาจาก TP เดิม ปี 58 เป้าหมายคือ ร้อยละ 92 ของผู้ป่วยยาเสพติดที่หยุดเสพต่อเนื่อง 3 เดือนหลังจำหน่ายจากการบำบัดรักษา (3 month remission rate) จำนวนผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดรักษาและหยุดเสพต่อเนื่อง เป็นระยะเวลา 3 เดือน หลังจำหน่ายจากการบำบัดรักษา (บสต.ติดตาม) X 100 จำนวนผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดรักษาและได้รับการจำหน่ายตามเกณฑ์ที่กำหนด ของแต่ละแห่ง