งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ ทางด้านวิทยาศาสตร์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเป็น หัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ สารสนเทศ หมายถึง เนื้อหาของข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี + สารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศ

2 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาจัดการกับสารสนเทศ การ ติดต่อสื่อสาร การส่งข้อมูลทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ตัวเลข เสียง ภาพโดยผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งการ นำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบเครือข่าย โดยผ่าน ระบบโทรคมนาคม

3 องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) ข่าวสาร (Message) ตัวกลาง (Medium) โปรโตคอล (Protocol) ซอฟต์แวร์ (Software) ข้อมูล (Data) ข้อความ (Text) รูปภาพ (Image) เสียง (Voice)

4 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูล เป็นการส่งข้อมูลข่าวสารจากต้นทางไปยังปลายทางโดยผ่านช่องทางการสื่อสารทั้งสื่อแบบที่ต้องใช้สายและไม่ใช้สายนอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับชนิดของสัญญาณ ประเภทของการส่งสัญญาณข้อมูล วิธีการสื่อสารข้อมูล ทิศทางการสื่อสารข้อมูล อุปกรณ์แปลงสัญญาณ วิธีการแปลงสัญญาณ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป เพื่อติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยทั่วไปจะประกอบด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ ช่องทางการสื่อสารข้อมูล และอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ นอกจากนั้นยังมีแบบจำลองไอเอสโอ ซึ่งเป็นระบบเปิดเพื่อเป็นแนวทางมาตรฐาน เพื่อให้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างระบบกันทำงานร่วมกันได้

5 การสื่อสารข้อมูล (DATA COMMUNICATION)
เป็นการส่งข้อมูลข่าวสารที่เข้ารหัสแล้วจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งโดยอาศัยระบบการส่งบนตัวนำแบบใดแบบหนึ่ง 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

6 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูล เป็นการส่งข้อมูลข่าวสารจากต้นทางไปยังปลายทางโดยผ่านช่องทางการสื่อสารทั้งสื่อแบบที่ต้องใช้สายและไม่ใช้สายนอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับชนิดของสัญญาณ ประเภทของการส่งสัญญาณข้อมูล วิธีการสื่อสารข้อมูล ทิศทางการสื่อสารข้อมูล อุปกรณ์แปลงสัญญาณ วิธีการแปลงสัญญาณ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป เพื่อติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยทั่วไปจะประกอบด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ ช่องทางการสื่อสารข้อมูล และอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ นอกจากนั้นยังมีแบบจำลองไอเอสโอ ซึ่งเป็นระบบเปิดเพื่อเป็นแนวทางมาตรฐาน เพื่อให้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างระบบกันทำงานร่วมกันได้

7 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล
ก่อนที่จะมีการใช้คอมพิวเตอร์ การติดต่อสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลและข่าวสารจะผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น ไปรษณีย์ โทรศัพท์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อหลักในการติดต่อสื่อสารเป็นเวลานาน ยุคแรกการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน การทำงานทุกอย่างจะเป็นแบบรวมศูนย์ นั่นคือจะมีคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องหลักทำงานที่ศูนย์กลาง งานต่างๆจะต้องส่งมาประมวลผลที่ศูนย์กลาง ยุคต่อมา พัฒนาเป็นระบบการประมวลผลทางไกล ซึ่งจะประกอบด้วยเทอร์มินัลที่จะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลาง ระบบนี้ถึงแม้ว่าจะมีการกระจายการใช้งานของผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกล แต่ระบบการทำงานก็ยังรวมศูนย์อยู่ที่คอมพิวเตอร์กลางขององค์การอยู่นั่นเอง

8 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล (ต่อ)
เมื่อมีการนำไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ทำให้เกิดการทำงานแบบกระจายศูนย์อย่างชัดเจนและแพร่หลายมากขึ้น ในขณะเดียวกันหากมีงานที่ซับซ้อนและไม่สามารถทำงานได้โดยไมโครคอมพิวเตอร์ก็สามารถที่จะประมวลผลภายใต้คอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลางได้ ซึ่งจะเห็นว่าการทำงานดังกล่าวเป็นรูปแบบการประมวลผลแบบกระจาย ในช่วงแรก จะทำงานเป็นเอกเทศโดยเป็นรูปแบบการทำงานแบบกระจายศูนย์ นั่นคือ ไม่มีการเชื่อมโยงถึงกัน จนกระทั่งเกิดระบบแลน การทำงานใดๆจะทำโดยเจ้าของงานซึ่งเป็นต้นทางของข้อมูลเพื่อการประมวลผล แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถเชื่อมโยงกับผู้ใช้ในจุดต่างๆที่อยู่ห่างไกลกันได้ ทำให้การสื่อสารข้อมูลในสำนักงานมีความสะดวกและเป็นเครื่องมือสำคัญของการสื่อสารข้อมูลในสำนักงานปัจจุบันนี้

9 ความหมายของการสื่อสารโทรคมนาคมและการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) หมายถึง การส่งผ่านสัญญาณ หรือพลังงาน ซึ่งอาจจะเป็นข่าวสารหรือข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ระหว่างผู้ส่งและผู้รับที่อยู่ห่างไกลกัน ในการส่งผ่านสัญญาณจะอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล ซึ่งจะเป็นแบบใช้สายโดยใช้ลวดตัวนำฉนวน หรือแบบไม่ใช้สายโดยส่งสัญญาณผ่านชั้นบรรยากาศ เช่น การสื่อสารโดยการใช้โทรศัพท์ (tele+phone = การพูดระยะไกล) การแพร่ภาพโทรทัศน์ (tele + vision = การดูระยะไกล) โทรเลข (tele + graph = การเขียนทางไกล) เป็นต้น

10 ความหมายของการสื่อสารโทรคมนาคมและการสื่อสารข้อมูล (ต่อ)
การสื่อสารข้อมูล (Data communication) หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสาร จากผู้ส่งต้นทางไปยังผู้รับปลายทางที่อยู่ห่างไกล โดยผ่านช่องทางการสื่อสารเพื่อเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นแบบใช้สาย หรือไม่ใช้สายก็ได้ ส่วนข้อมูลหรือข่าวสารนั้นอาจจะเป็นข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือข้อมูลที่เป็นมัลติมีเดียก็ได้ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลจึงเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารโทรคมนาคม โดยเน้นการส่งผ่านข้อมูล โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นหลัก

11 องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) ข่าวสาร (Message) ตัวกลาง (Medium) โปรโตคอล (Protocol) ซอฟต์แวร์ (Software) ข้อมูล (Data) ข้อความ (Text) รูปภาพ (Image) เสียง (Voice)

12 ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูล

13 ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการเลือกตัวกลาง
อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูล (Transmission Rate) ระยะทาง ระหว่างอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อ ค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ค่าใช้จ่ายประจำ และค่าบำรุงรักษา ความสะดวกในการติดตั้ง บางพื้นที่อาจเหมาะกับการเดินสาย หรือบางพื้นที่อาจจะเหมาะกับสื่อแบบไร้สาย ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม วิธีที่ใช้ในการสื่อสาร เช่นการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม หรือแบบขนาน ทิศทางที่ใช้ส่งข้อมูลเป็นแบบทางเดียว กึ่งสองทาง หรือแบบสองทาง เป็นต้น

14 ชนิดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) สัญญาณอนาล็อก คือ สัญญาณที่อยู่ในรูปแบบของคลื่น (Waveform) ที่มีความต่อเนื่องกัน (Continuous) มีการเปลี่ยนแปลงระดับของสัญญาณขึ้น – ลงตามขนาดของสัญญาณ (Amplitude) และมีความถี่ (Frequency) ที่เรียกว่า Hertz (Hz) ตัวอย่างของสัญญาณอนาล็อก เช่น เสียงพูด (Voice) กระแสไฟฟ้าสลับ เป็นต้น

15 ชนิดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล (ต่อ)
สัญญาณดิจิตอล (digital Signal) สัญญาณดิจิตอล หรือเรียกว่า “สัญญาณพัลซ์ (Pulse Signal)” สัญญาณที่มีระบบของสัญญาณเพียง 2 ระดับ คือ สูงและต่ำ การเปลี่ยนระดับสัญญาณจะไม่มีความต่อเนื่องกัน (Discrete) โดยปกติแล้วระดับสูงจะแทนด้วยตัวเลข 1 และระดับต่ำจะแทนด้วย 0

16 ชนิดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล (ต่อ)
ในการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณอนาล็อกนั้นเมื่อระยะทางในการส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะส่งผลให้พลังงานของสัญญาณอ่อนลงเรื่อย ๆ ดังนั้นในการส่งสัญญาณอนาล็อกที่ระยะทางไกล ๆ จึงจำเป็นต้องมีเครื่องขยายสัญญาณ (Amplifier) เพื่อเพิ่มพลังงานให้กับสัญญาณ แต่ข้อเสียของการใช้เครื่องขยายสัญญาณคือจะทำให้เกิดสัญญาณรบกวน (Noise) ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้วงจรกรองสัญญาณ (Filter) เพื่อกรองเอาสัญญาณรบกวนออก ส่วนสัญญาณดิจิตอลเมื่อเพิ่มระยะทางในการส่งขึ้นจะส่งผลให้สัญญาณดิจิตอลจางหายไป (เปลี่ยนจาก 1 เป็น 0) ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องทวนสัญญาณ (Repeater) ในการกู้ข้อมูลคืนมาแล้วจึงส่งสัญญาณออกไปใหม่

17 ประเภทของการรับ - ส่งสัญญาณข้อมูล
แบบขนาน (Parallel Transmission) รับส่งข้อมูลครั้งละหลาย ๆ บิตพร้อมกัน จำนวนของสายสื่อสารเท่ากับจำนวนบิตของข้อมูลที่ ต้องการส่งไปแบบขนานกัน เสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการรับส่งข้อมูลแบบอนุกรม ไม่สามารถส่งไปในระยะทางที่ไกล ๆ ได้เนื่องจากข้อมูลแต่ละบิตอาจจะไปถึงปลายทางไม่พร้อมกัน เร็วกว่าการส่งแบบอนุกรม นิยมใช้ในการรับส่งเพียงใกล้ ๆ เช่นการส่งข้อมูลออกไปพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์เป็นต้น

18 ประเภทของการรับ - ส่งสัญญาณข้อมูล (ต่อ)
แบบอนุกรม (Serial Transmission) รับส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิตเรียงตามลำดับกันไป ใช้สายสื่อสารเพียงเส้นเดียวเท่านั้น สามารถส่งไปได้ในระยะทางที่ไกล ๆ นิยมใช้ในการสื่อสารข้อมูลผ่านทางสายโทรศัพท์ เมาส์ และ COM Port

19 ประเภทของการรับ - ส่งสัญญาณข้อมูล (ต่อ)
Asynchronous Transmission เพิ่มบิตควบคุม Start Bit, Stop Bit และ Parity Bit เพื่อใช้แบ่งข้อมูลออกมาเป็น 1 ตัวอักขระ (1 Character) ความเร็วในการรับส่งข้อมูลจะช้า เนื่องจากต้องมีการเพิ่มทั้ง 3 บิตนั้นลงไปยังตัวอักขระทุกตัว พบการรับส่งข้อมูลแบบนี้ได้ในอุปกรณ์ที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำ เช่นโมเด็ม คีย์บอร์ด เป็นต้น Synchronous Transmission เพิ่มไบต์ที่เป็น Header Trailer และParity Bit ไว้ที่ส่วนหัวและท้ายของแพ็คเก็ตข้อมูลทำให้สามารถรับ – ส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งการรับส่งข้อมูลนั้น ทั้งฝั่งรับและฝั่งส่งจะต้องทำงานให้สอดคล้องโดยใช้สัญญาณนาฬิกา (Clock) ที่มีความถี่เท่ากันหากใช้ความถี่ไม่เท่ากันจะทำให้การรับ - ส่งข้อมูลผิดพลาดวิธีนี้จะเหมาะกับระบบที่ต้องมีการรับ – ส่งข้อมูลตลอดเวลา

20 ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล
แบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลได้เพียงทางเดียวเท่านั้น ผู้รับไม่สามารถส่งข้อมูลตอบกลับมาได้ เช่น การกระจายเสียงทางวิทยุและการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ เป็นต้น แบบทางใดทางหนึ่ง (Half-duplex Transmission) แต่ละฝ่ายสามารถรับ – ส่งข้อมูลได้แต่จะไม่สามารถทำได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การใช้วิทยุสื่อสารของตำรวจ กระดานสนทนา (Web board) อีเมล์ เป็นต้น แบบสองทิศทาง (Full-duplex Transmission) สามารถรับส่ง – ข้อมูลได้พร้อมกันทั้งสองทาง ตัวอย่างเช่น การคุยโทรศัพท์ การสนทนาออนไลน์ในห้องสนทนา (Chat Room) เป็นต้น

21 ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล (ต่อ)

22 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่าย (Network) คือ กลุ่มของเทคโนโลยี (ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ตัวกลาง และอื่นๆ) ที่สามารถเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถติดต่อสื่อสารกัน และเปลี่ยนสารสนเทศระหว่างกัน และใช้แหล่งข้อมูลร่วมกันแบบเรียลไทม์ (real time) ในปัจจุบันองค์กรบางองค์กรใช้ระบบรวมศูนย์กลาง คือ ใช้เครื่องเมนเฟรมและเครื่องเทอร์มินัล แต่ในขณะเดียวกันระบบธุรกิจและโรงเรียนจำนวนมากได้เปลี่ยนจากระบบรวมศูนย์กลางเป็นระบบเครือข่ายแบบใช้เครื่องพีซี เพราะมีความยืดหยุ่นมากกว่าการใช้เครื่องเมนเฟรมร่วมกับเครื่องเทอร์มินัล

23 ประโยชน์ของการใช้ระบบเครือข่าย
การใช้งานพร้อมกัน ระบบเครือข่ายจะอนุญาตให้ผู้ใช้หลายๆ คนใช้โปรแกรมและข้อมูลต่างๆ ได้ในเวลาเดียวกัน การใช้อุปกรณ์รอบข้างร่วมกัน ระบบเครือข่ายจะอนุญาตให้ผู้ใช้หลายๆ คน ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น การสื่อสารส่วนบุคคล ระบบเครือข่ายสามารถทำให้ผู้ใช้ติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น การสำรองข้อมูลที่ง่ายขึ้น ระบบเครือข่ายสามารถทำให้ผู้ใช้และผู้ดูแลระบบสำรองข้อมูลที่สำคัญได้ง่าย

24 ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายระยะใกล้หรือเครือข่ายแลน แลน คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ กัน เช่น ในแผนกเดียวกัน ในสำนักงาน หรือตึกทำการเดียวกัน โดยแต่ละเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้

25 ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
เครือข่ายแลนเป็นเครือข่ายสำคัญที่ปรับเปลี่ยนการทำงานภายในสำนักงานให้เป็นระบบสำนักงานอัตโนมัติ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลมาช่วยอำนวยความสะดวก ในการทำงานในสำนักงานด้านต่างๆ ได้แก่ - การติดต่อสื่อสารภายในสำนักงาน เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างพนักงาน การนัดหมาย เป็นต้น - การใช้ทรัพยากรต่างๆ ร่วมกัน เช่น การใช้แฟ้มข้อมูล หรือ ฐานข้อมูลกลางระหว่างหน่วยงาน การใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน เป็นต้น - การทำงานร่วมกัน เช่น การทำงานกลุ่ม เพื่อส่งเอกสารระหว่างสมาชิกในกลุ่ม การประชุมทางไกล เป็นต้น

26 ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
ชนิดของเครือข่ายแลน (แบ่งตามการจัดการทรัพยากรของเครือข่ายคอมพิวเตอร์) แบบลูกข่าย/แม่ข่าย (Client/Server) มีแม่ข่าย (Server) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่มักจะใช้ควบคุมการทำงานในเครือข่ายเป็นผู้ให้บริการแก่คอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client) ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายแลน - แบบแม่ข่ายกำหนดหน้าที่เฉพาะ (Delicate Server) - แบบแม่ข่ายไม่กำหนดหน้าที่เฉพาะ (Non delicate server) แบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer) คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายมีสถานะเท่าเทียมกันหมด คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถเป็นผู้ให้บริการและผู้รับบริการในขณะใดขณะหนึ่ง

27 ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
เครือข่ายระยะไกลหรือเครือข่ายแวน แวน คือ ระบบเครือข่ายแลนสองระบบเครือข่ายหรือมากกว่าเชื่อมต่อกัน โดยส่วนมากจะครอบคลุมพื้นที่กว้าง ตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งมีสำนักงานขนาดใหญ่ และฝ่ายการผลิตตั้งอยู่ที่เมืองหนึ่ง ฝ่ายการตลาดตั้งอยู่อีกเมืองหนึ่ง แต่ละแผนกต้องมีการใช้ทรัพยากร ข้อมูล และโปรแกรม นอกจากนี้แต่ละแผนกต้องการใช้ข้อมูลร่วมกับแผนกอื่นด้วย จึงต้องมีการระบบแวน

28 โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (Bus Network) ใช้สายสัญญาณต่อเชื่อม ซึ่งเรียกว่า “บัส (Bus)” เป็นทางเดินของข้อมูลร่วมกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยสัญญาณจะถูกกระจายไปตลอดทั้งเส้นทาง

29 โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
ข้อดีของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (Bus Network) การใช้สายส่งข้อมูลจะใช้สายส่งข้อมูลร่วมกันทำให้ใช้สายส่งข้อมูลได้อย่างงเต็มประสิทธิภาพช่วยลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการบำรุง เครือข่ายแบบบัสมีโครงสร้างที่ง่ายและมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากใช้สายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว การเพิ่มจุดใช้บริการใหม่เข้าไปในเครือข่ายสามารถทำได้ง่าย เนื่องจากจุดใหม่จะใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้

30 โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
ข้อเสียของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (Bus Network) การหาข้อผิดพลาดทำได้ยาก เนื่องจากในเครือข่ายจะไม่มีศูนย์กลางในการควบคุมอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง ดังนั้นการตรวจสอบข้อผิดพลาดจึงต้องทำจากหลาย ๆ จุดในเครือข่าย ในกรณีที่เกิดการเสียหายในสายส่งข้อมูล จะทำให้ทั้งเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้ เมื่อมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอาจทำให้เกิดการชนกันของข้อมูลเมื่อมีการับส่งข้อมูล

31 โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสตาร์ (Star Network) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสตาร์ เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางโดยใช้ฮับ (Hub) หรือสวิตช์ (Switch) เป็นจุดเชื่อมต่อและจะเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนั้นว่า “โฮสต์คอมพิวเตอร์ (Host Computer)”

32 โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
ข้อดีของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสตาร์ (Star Network) เครือข่ายแบบสตาร์จะมีโฮสต์คอมพิวเตอร์อยู่ที่จุดเดียวทำให้ง่ายในการติดตั้งหรือจัดการกับระบบ จุดใช้งาน 1 จุด ต่อกับสายส่งข้อมูล 1 เส้น เมื่อเกิดการเสียหายของจุดใช้งานใดในเครือข่ายจะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของจุดอื่น ๆ

33 โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
ข้อเสียของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสตาร์ (Star Network) เนื่องจากแต่ละจุดจะต่อโดยตรงกับโฮสต์คอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมากทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการติดตั้งและบำรุงรักษา การเพิ่มจุดใหม่เข้าในระบบจะต้องเดินสายจากโฮสต์คอมพิวเตอร์ออกมาส่งผลให้การขยายระบบทำได้ยาก การทำงานขึ้นอยู่กับโฮสต์คอมพิวเตอร์ถ้าโฮสต์คอมพิวเตอร์เกิดเสียหายขึ้นก็จะไม่สามารถใช้งานเครือข่ายได้

34 โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบริง (Ring Network) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบริง มีการต่อเชื่อมกันเป็นวงแหวน (Ring Network) การรับส่งข้อมูลจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การติดต่อสื่อสารจะใช้ “โทเค็น (Token)” เป็นสื่อกลางในการติดต่อภายในเครือข่าย

35 โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
ข้อดีของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบริง (Ring Network) ใช้สายส่งข้อมูลน้อย ความยาวของสายส่งข้อมูลจะใกล้เคียงกับแบบบัส แต่จะน้อยกว่าแบบสตาร์ ทำให้เพิ่มความน่าเชื่อถือของการส่งข้อมูลได้มากขึ้น เหมาะสำหรับใช้กับเคเบิลเส้นใยแก้วนำแสง เนื่องจากจะช่วยให้ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง ข้อมูลในวงแหวนจะเดินทางเดียว ในการส่งแต่ละจุดจะเชื่อมกับจุดติดกันด้วยสายส่งข้อมูลทำให้สามารถเลือกได้ว่าจะใช้สายส่งข้อมูลแบบไหนในแต่ละส่วนของระบบ เช่น เลือกใช้เคเบิลใยแก้วนำแสงในส่วนที่ใช้ในโรงงานซึ่งมีปัญหาด้านสัญญาณ ไฟฟ้ารบกวนมาก เป็นต้น

36 โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
ข้อเสียของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบริง (Ring Network) การส่งข้อมูลบนวงแหวนจะต้องผ่านทุก ๆ จุดที่อยู่ในวงแหวน ดังนั้นหากมีจุดใดจุดหนึ่งเสียหาย ทั้งเครือข่ายก็จะไม่สามารถติดต่อกันได้ จนกว่าจะนำจุดที่เสียหายออกไป หรือแก้ไขให้ใช้งานได้ ในการตรวจสอบข้อผิดพลาดอาจต้องทดสอบระหว่างจุดกับจุดถัดไป เพื่อหาดูว่าจุดใดเสียหาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากและเสียเวลามาก ยากต่อการเพิ่มจุดใช้งานใหม่

37 โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
การเชื่อมเครือข่ายแบบผสม (Mesh Network) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบผสม เป็นเครือข่ายที่ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน เครือข่ายแบบผสมนี้จะใช้การผสมรูปแบบการเชื่อมต่อหลาย ๆ แบบเข้าด้วยกัน เช่น ใช้เครือข่ายแบบบัสผสมกับเครือข่ายแบบสตาร์ เป็นต้น

38 โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless Network) เริ่มแรกนั้นสามารถรับส่งข้อมูลได้ 2 Mbps (Megabits per Second) จนพัฒนาให้สามารถส่งข้อมูลได้ 11 Mbps ด้วยราคาที่ถูกลง ทำให้เครือข่ายไร้สายได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งเครือข่ายไร้สายนี้จะใช้เทคโนโลยีที่สามารถส่งข้อมูลไปบนความถี่ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ ซึ่งเรียกว่า “Spread Spectrum” โดยข้อมูลที่แยกส่งออกไปนั้นจะประกอบกันเหมือนเดิมที่ ตัวรับสัญญาณ เครือข่ายไร้สายจะช่วยอำนวยความสะดวกและความคล่องตัวในการใช้งานเครือข่าย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนภายในบริเวณพื้นที่ของเครือข่ายก็สามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้ข้อมูลได้อย่างเต็มที่เช่นเดียวกับเครือข่ายปกติ

39 โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless Network)

40 โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless Network)

41 อุปกรณ์เครือข่าย (Network Devices)
อุปกรณ์ทวนสัญญาณ (Repeater) อุปกรณ์ทวนสัญญาณทำงานใน Layer ที่ 1 ของ OSI Model เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิตอลเข้ามาแล้วสร้างใหม่ (Regenerate) ให้เป็นเหมือนสัญญาณข้อมูลเดิมที่ส่งมาจากต้นทาง จากนั้นค่อยส่งต่อออกไปยังอุปกรณ์ตัวอื่น ทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้น โดยที่สัญญาณไม่สูญหาย

42 อุปกรณ์เครือข่าย (Network Devices) (ต่อ)
ฮับ (Hub) Hub ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย จะมี “พอร์ต (Port)” ใช้เชื่อมต่อระหว่าง Hub กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เครือข่ายตัวอื่น ๆ Hub จะทวนสัญญาณและส่งต่อข้อมูลนั้นออกไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่กับ Hub

43 อุปกรณ์เครือข่าย (Network Devices) (ต่อ)
บริดจ์ (Bridge) บริดจ์ ทำงานใน Layer ที่ 2 ของ OSI Mode ใช้เชื่อมต่อ Segment ของเครือข่าย 2 Segment หรือมากกว่าเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่ใช้ Data Link Protocol ตัวเดียวกัน และ Network Protocol ตัวเดียวกัน เช่น ต่อ Ethernet LAN (ใช้ Topology แบบบัส และใช้โปรโตคอล Ethernet) 2 Segment เข้าด้วยกัน Bridge สามารถกรองข้อมูลที่จะส่งต่อได้ โดยตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ส่งนั้นมีปลายทางอยู่ที่ใด ทำให้สามารถจัดการกับความหนาแน่นของข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

44 อุปกรณ์เครือข่าย (Network Devices) (ต่อ)
เราเตอร์ (Router) เราเตอร์ ทำงานใน Layer ที่ 3 ของ OSI Model ใช้เชื่อมต่อเครือข่าย 2 เครือข่ายหรือมากกว่าเข้าด้วยกัน โดยที่เครือข่ายนั้นจะต้องใช้ Network Protocol ตัวเดียวกัน แต่ใช้ Data Link Protocol ต่างกันได้ (ต่อ Ethernet LAN เข้ากับ Token LAN ได้) Router สามารถกรองข้อมูลได้เช่นเดียวกับ Bridge และสามารถหาเส้นทางในการส่งแพ็คเก็ตข้อมูลไปยังเครื่องปลายทางได้สั้นที่สุดด้วย

45 OSI Model (Open Systems Interconnection Model)
หน่วยงานกำหนดมาตรฐานสากล หรือ ISO ระบุว่าควรแบ่งโปรโตคอลออกเป็น 7 เลเยอร์ (Layer) และในแต่ละเลเยอร์ควรมีหน้าที่อะไรบ้าง ดังนั้นเมื่อบริษัทต่าง ๆ ได้ผลิตโปรโตคอลใหม่ขึ้นมา ก็ออกแบบให้สอดคล้องกับ OSI Model นี้เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับระบบของต่างบริษัทได้

46 OSI Model (Open Systems Interconnection Model) (ต่อ)
Application Layer ประกอบไปด้วย Application Protocol ต่าง ๆ ที่มีผู้นิยมใช้งาน เช่น , File Transfer เป็นต้น Presentation Layer จัดการเกี่ยวกับรูปแบบของข้อมูลโดยการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานที่ทุกเครื่องเข้าใจ Session Layer สร้างการเชื่อมต่อเชิงตรรกะระหว่างเครื่องสองเครื่อง ทำการ Synchronize ข้อมูลเพื่อป้องกันปัญหาการเชื่อมต่อหลุด Transport Layer ตัดข้อมูลออกเป็น segment ตรวจสอบความครบถ้วน ให้บริการเรื่องคุณภาพ Network layer แปลงข้อมูลเป็น packet และกำหนดเส้นทาง Data Link Layer อธิบายการส่งข้อมูลไปบนสื่อกลาง เพิ่ม Header และ Trailer เพื่อใช้ในการตรวจสอบต่าง ๆ Physical Layer ทำหน้าที่ดูแลการส่งข้อมูลที่เป็น Bit ไปในช่องทางการสื่อสาร

47 โปรโตคอล (Protocol) โปรโตคอล คือ ระเบียบวิธีการ กฎ และข้อกำหนดต่าง ๆ ใน การติดต่อสื่อสารรวมถึงมาตรฐานที่ใช้เพื่อให้สามารถส่งผ่านข้อมูล ไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง

48 โปรโตคอล (Protocol) (ต่อ)
TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) โปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันใช้ระบบปฏิบัติการที่ต่างกันและอยู่บนเครือข่ายที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันผ่านทางเครือข่ายได้โดย TCP/IP จะประกอบไปด้วยโปรโคตอล 2 ตัว TCP (Transmission Control Protocol) และ IP (Internet Protocol)

49 โปรโตคอล (Protocol) (ต่อ)
HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) โปรโตคอลที่ใช้ในการส่งเว็บเพจ (Web Page) ที่อยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาให้เครื่องไคลเอ็นท์ที่ทำการร้องขอไปทำให้ผู้ใช้งานสามารถท่องไปในเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกได้ FTP (File Transfer Protocol ) โปรโตคอลที่ใช้ในการส่งโอนไฟล์ข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์โดยจะเรียกการโอนไฟล์จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาที่เคลื่อนไคลเอ็นท์ว่า “Download” และเรียกการโอนไฟล์จากเครื่องไคลเอ็นท์ไปไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ว่า “Upload”

50 โปรโตคอล (Protocol) (ต่อ)
SMTP (Simple Mail Transport Protocol) โปรโตคอลที่ใช้ในการส่ง ไปยัง Mailbox ที่จุดหมายปลายทาง POP3 (Post Office Protocol – 3) โปรโตคอลที่ใช้ในการดึง จาก Maibox ของผู้ให้บริการมาเก็บไว้ที่เครื่องตนเองเพื่อให้สะดวกต่อการจัดการับ

51 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ
Videoconference เป็นการรวมเทคโนโลยี 2 อย่าง เข้าไว้ด้วยกัน นั่นคือ เทคโนโลยีวีดีโอและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จุดประสงค์ของการใช้เทคโนโลยี Videoconference นั้นเพื่อสนับสนุนการประชุมทางไกลเป็นหลัก Videoconference เป็นเทคโนโลยีที่ต้องใช้อุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมการ์ดเสียง กล้องถ่ายวีดีโอขนาดเล็ก ไมโครโฟน ลำโพง (หรือหูฟัง หรือ Head-Set) และต้องมีโปรแกรมที่ใช้ควบคุมการรับส่งข้อความ ภาพ และเสียง ตลอดจนไฟล์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งหมดจะทำให้ผู้ร่วมประชุมเห็นภาพและได้ยินเสียงของผู้ร่วมประชุมคนอื่น ๆ ได้

52 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ (ต่อ)
Voice Mail Voice Mail เป็นเทคโนโลยีที่ทำหน้าที่คล้ายกับเครื่องตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติ โดยบันทึกเสียงของผู้พูดไว้ใน Voice Mailbox ของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยสัญญาณดิจิตอล ภายใน Voice Mailbox นี้สามารถแบ่งเป็นโฟลเดอร์ย่อย ๆ ให้ผู้ใช้แต่ละคนได้ทำให้สามารถเรียกข้อความขึ้นมาฟังตอบกลับหรือส่งต่อข้อความไปถึงผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้และหากต้องการส่งข้อความไปถึงผู้รับพร้อมกันหลายคนก็สามารถทำได้

53 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ (ต่อ)
Fax ข้อมูลอาจเป็นข้อความที่พิมพ์ขึ้นหรือเขียนขึ้นด้วยมือ และอาจจะมีรูปภาพด้วยก็ได้ ผู้ใช้สามารถเลือกใช้เครื่องแฟ็กซ์ หรือจะใช้คอมพิวเตอร์ที่มีการติดตั้งแฟ็กซ์/โมเด็มเป็นอุปกรณ์สื่อสารก็ได้ ผู้ใช้สามารถดูข้อความหรือรูปภาพผ่านทางหน้าจอได้ทันทีไม่จำเป็นต้องพิมพ์ออกมาเป็นเอกสาร นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้เป็นไฟล์ได้

54 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ (ต่อ)
Group Ware Group Ware คือ โปรแกรมที่ช่วยสนับสนุนให้มีการแบ่งปันสารสนเทศผ่านทางเครือข่าย (LAN และ WAN) โดย GroupWare เป็นองค์ประกอบของแนวความคิดอิสระที่เรียกว่า “Workgroup Computing” ซึ่งประกอบไปด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ของเครือข่ายซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมงานทุกคนสามารถสื่อสารถึงกัน และร่วมกันจัดการโครงการต่าง ๆ ร่วมประชุมตามหมายกำหนดการตลอดจนร่วมกันตัดสินใจเป็นกลุ่มได้

55 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ (ต่อ)
Collaboration Collaboration เป็นความสามารถของซอฟต์แวร์แต่ละชนิดที่ทำให้ผู้ใช้งานทำงานร่วมกันได้โดยต่อเชื่อมถึงกันผ่าน Server เช่น โปรแกรม Microsoft Office XP ที่สามารถปฏิบัติงานหรือติดต่องานร่วมกับผู้อื่นได้และมีความสามารถในการควบคุมการประชุมแบบออนไลน์ (Online Meeting) เช่น สามารถแบ่งปันไฟล์เอกสารให้กับผู้อื่นได้เปิดอ่านพร้อมกันและถ้ามีใครซักคนเปลี่ยนแปลงข้อมูลไฟล์คนอื่น ๆ ที่กำลังเปิดไฟล์อยู่ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงนั้นด้วย เป็นต้น

56 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ (ต่อ)
EDI (Electronic Data Interchange) EDI คือ การแลกเปลี่ยนเอกสารทางธุรกิจระหว่างบริษัทคู่ค้าในรูปแบบมาตรฐานสากลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง โดยระบบ EDI จะมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 2 อย่าง คือ การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์แทนเอกสารที่เป็นกระดาษและเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐานสากลด้วยสององค์ประกอบนี้ให้ทุกธุรกิจสามารถแลกเปลี่ยนเอกสารกันได้ทั่วโลก

57 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ (ต่อ)
GPS (Global Positioning System) ระบบ GPS ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งของ GPS Receiver (อุปกรณ์รับสัญญาณ) ผ่านทางดาวเทียม ปัจจุบันนี้ได้มีผู้นำระบบ GPS ไปประยุกต์ใช้มากมาย ตัวอย่างเช่น การป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สิน การนำร่องเรือเดินสมุทร การควบคุมการบินอัตโนมัติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้นำไปใช้ในโครงการวิจัยสัตว์ป่า โดยฝัง GPS Receiver ไว้ที่ในตัวสัตว์ (GPS Receiver จะถูกออกแบบและสร้างมาให้เล็กเป็นพิเศษ) เพื่อเฝ้าสะกดรอยตาม หรือหากนำไปฝังไว้ในตัวนักโทษก็จะทำให้การติดตามจับกุมนักโทษแหกคุกทำได้ง่ายขึ้น

58 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ (ต่อ)
อินเตอร์เน็ต (Internet) อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งเกิดจากการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ จำนวนมากเข้าไว้ด้วยกันทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นชนิดใดหรือขนาดใดตาม สามารถส่งผ่านและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศซึ่งกันและกันได้ โดยใช้โปรโตคอลเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันเหมือนเส้นใยแมงมุม หรือที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า “เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web: WWW)”

59 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ (ต่อ)
ตัวอย่างบริการบนอินเตอร์เน็ต (Internet) Telnet Gopher, Archie Instant Messaging, Chat Room Internet Telephony Newsgroup USENET

60 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)
การสื่อสาร การสื่อสาร การส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น การพูดคุย การแสดงกริยาท่าทาง เอกสาร ข้อมูล ผู้ส่ง ผู้รับ ตัวกลางสื่อสาร 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

61 ความสำคัญของเทคโนโลยีการสื่อสาร
อำนวยความสะดวกในการสื่อสารของมนุษย์ ลดระยะเวลาในการส่งข้อมูลข่าวสาร ลดการเดินทางของผู้ส่งสาร ผู้รับสารสามารถส่งข้อมูลตอบกลับได้ทันที สามารถส่งข้อมูลข่าวสารไปยังผู้รับหลายคนในพื้นที่ต่างๆได้ในเวลาเดียวกัน TV, teleconference (การประชุมทางไกล), การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม สร้างความหลากหลายและความน่าสนใจในการสื่อสาร วิทยุ, TV, webpage, โทรศัพท์มือถือ การเก็บข้อมูลข่าวสารไว้ที่แหล่งจัดเก็บกลางและสามารถดึงไปใช้ได้เมื่อต้องการ 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

62 ตัวอย่าง - การดู Video ได้จาก Internet
ดู Video จาก ใครต้องอะไรบ้าง Application Layer Client Server 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

63 การดู Video ได้จาก Internet (ต่อ)
Network Layer Router Server Client Router Router 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

64 กว่าจะดู Video ได้จาก Internet (ต่อ)
Physical Layer Client Access Point ภายในตึก/ห้องเรียน 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

65 องค์ประกอบพื้นฐานหลัก 4 อย่าง ในระบบการสื่อสารข้อมูล
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (sender) และ ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล ชุดของอุปกรณ์ส่งและรับข้อมูลอาจจะเป็นอุปกรณ์ชุดเดียวกัน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และโมเด็ม โมเด็ม เครือข่ายโทรศัพท์ 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

66 2. โปรโตคอล และ ซอฟต์แวร์
โปรโตคอล คือ วิธีการ กฎระเบียบ หรือข้อตกลงที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันได้ ตัวอย่างเช่น ส่งข้อมูลเลย -> ถ้ามีคนอื่นพูดให้รอเพื่อดูไหม (สนทนาทั่วไป) ยกมือ -> ถ้าไม่มีใครยกมืออีก -> เริ่มพูดได้เลย (สนทนาแบบเป็นทางการ) แข่งกันตะโกน -> ใครตะโกนได้นานกว่าชนะ -> ได้พูดต่อ (ทะเลาะกัน) ซอฟต์แวร์ มีหน้าที่ในการดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลให้เป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น Internet Browser, MSN, Window Media Player, Real Player Microsoft Outlook? 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

67 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)
3. ข่าวสาร (Message) อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร บางครั้งเรียกว่า Information มี 4 รูปแบบ เสียง (Voice) ข้อมูล (Data) ข้อความ (Text) ภาพ (Image/Video) มีอย่างอื่นได้ไหม ความรู้สึก?? กลิ่น?? 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

68 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)
4.สื่อกลาง (Medium) เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางตัวอย่างเช่น ลวดทองแดง สายเคเบิ้ล สายใยแก้วนำแสง คลื่นที่ส่งผ่านอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม คลื่นวิทยุ คลื่นโทรศัพท์ สื่อกลางของสัญญาณแบ่งเป็น 2 ประเภท จำพวกที่สามารถกำหนดเส้นทางได้ (Guided Media) ได้แก่ สายเกลียวคู่ สายโทรศัพท์ สายโคแอกเชียล และสายไฟเบอร์ออปติก จำพวกที่ไม่สามารถกำหนดเส้นทางได้ (Unguided Media) ได้แก่ ชั้นบรรยากาศ สุญญากาศ และน้ำ เมื่อเราสนทนา -> อะไรคือสือกลาง เมื่อเราใช้ Wireless LAN -> อะไรคือสือกลาง 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

69 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)
มาตรฐานสากล ทำไมต้องมีมาตรฐานสากลในการสื่อสาร ใช้คนละภาษาพูด ก็สามารถเข้าใจกันได้ อยู่คนละประเทศ ก็สามารถเข้าใจกันได้ ใช้คนละระบบ ก็สามารถสื่อสารและเข้าใจกันได้ มาตรฐานมีมากมาย เช่น มาตรฐานเพื่อการ การส่ง การเชื่อมต่อ การเข้ารหัส 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

70 องค์กรกำหนดมาตรฐานที่สำคัญ
ISO The International Standards Organization มีสมาชิกจาก 89 ประเทศ กำหนดมาตรฐานไปแล้วมากว่า 5000 มาตรฐาน ANSI The American National Standards Institute องค์กรกำหนดมาตรฐานต่างๆสำหรับประเทศสหรัสอเมริกา เช่น FDDI IEEE The Institute of Electrical and Electronic Engineers กลุ่มนักวิชาการและผู้ประกอบการอาชีพสาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศสหรัฐอเมริการ เช่น Ethernet, Wireless LAN, Wireless MAN 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

71 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)
รหัสสื่อสารสากล ทำไมต้องใช้รหัส เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์คุยกันด้วยภาษาคนไม่ได้ ใช้รหัสแทนตัวอักษร, ตัวเลข, สัญลักษณ์ รหัสสื่อสารสากลได้แก่ รหัสมอร์ส (Morse Code) รหัสแอสกี (ASCII) รหัสเอบซีดิก (EBCDIC) รหัสภาษสากล (Unicode) 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

72 รหัสมอร์ส (Morse Code)
รหัสสากลรูปแบบแรกที่เกิดขึ้นในโลกการสื่อสารข้อมูล เริ่มใช้สำหรับการส่งข่าวทางโทรเลข รหัสเกิดจากการผสมสัญลักษณ์สั้นและยาว เช่น A . _ B _ . . . C _ . _ . การบ้าน ลองไปผสมคำว่า Telecommunications ภาษาไทยมีรหัส Morse Code หรือไม่ ข้อมูลเพิ่มเติมที่ 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

73 รหัสแอสกี (ASCII Code)
รหัสแอสกี (ASCII Code) หรือ American Standard Code for Information Interchange เป็นรหัสที่มีการใช้แพร่หลายกันมากที่สุด รหัสแอสกี เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยองค์กร ANSI ประกอบด้วยรหัส 7 บิต+1 พาริตี้บิต เท่ากับ 8 บิต ต่อหนึ่งอักขระ ซึ่งแต่ละบิตจะแทนด้วยตัวเลข “0” หรือ “1” ตัวอย่าง A B C การบ้าน ลองไปเขียนคำว่า Network ด้วยรหัส ASCII ดู ข้อมูลเพิ่มเติมที่ 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

74 รหัสเอบซีดิก (EBCDIC)
EBCDIC ย่อมาจาก Extended Binary Coded Becimal Interchange Code พัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM รหัสเอบซีดิกมีขนาด 8 บิต ต่อหนึ่งอักขระ บิตที่ 9 เป็นพาริตี้บิต ดังนั้นจึงสามารถใช้แทนอักขระได้ 28 หรือ ตัว หรือสองเท่าของรหัสแอสกี 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

75 รหัสยูนิโค้ด (UNICODE )
เป็นรหัสที่สร้างขึ้นเพื่อให้สามารถรองรับตัวอักษรและสัญลักษณ์ของทุกภาษาที่มีอยู่ในโลกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเอกสารที่มีหลายภาษาปนกัน ภาษาเขียนที่รองรับเช่น Greek Thai Myanmar Lao 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

76 วิธีการส่งข่าวสาร: ตามลักษณะการจัดส่งข้อมูล (1/2)
วิธีการส่งข่าวสาร: ตามลักษณะการจัดส่งข้อมูล (1/2) แบบอนุกรม (Serial Transmission) เป็นการส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิทไปบนสายสัญญาณจนครบจำนวนที่ข้อมูลที่มีอยู่ การส่งข้อมูลประเภทนี้จะช้า ตัวอย่างเช่น เม้าส์ คีย์บอร์ด 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

77 วิธีการส่งข่าวสาร: ตามลักษณะการจัดข้อมูล (2/2)
วิธีการส่งข่าวสาร: ตามลักษณะการจัดข้อมูล (2/2) แบบขนาน (Parallel Transmission) เป็นการส่งข้อมูลครั้งละหลายๆบิตขนานกันไปบนสื่อที่มีหลายช่องสัญญาณ การส่งแบบนี้จะเร็วกว่าแบบอนุกรม ตัวอย่างเช่น เครื่องพิมพ์ 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

78 วิธีการส่งข่าวสาร: ตามทิศทางการส่งภายในสาย (1/3)
การส่งทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การแพร่ภาพของโทรทัศน์, Fiber Optic 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

79 วิธีการส่งข่าวสาร: ตามทิศทางการส่งภายในสาย (2/3)
การส่งสองทิศทางสลับกัน (Half Duplex Transmission) เช่น วิทยุสื่อสาร 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

80 วิธีการส่งข่าวสาร: ตามทิศทางการส่งภายในสาย (3/3)
การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission) เช่น โทรศัพท์ 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

81 คำศัพท์พื้นฐานในการสื่อสาร (ต่อ)
แบนด์วิดท์หรือแถบความถี่ (Bandwidth) หมายถึงขีดจำกัดที่ช่องทางสื่อสารสามารถนำข่าวสารหรือข้อมูลผ่านทางช่องทางในช่วงเวลากำหนด หรืออีกนัยหนึ่ง คือช่วงที่เป็นค่าความถี่ต่ำสุดและความถี่สูงสุดของสัญญาณอนาล็อก 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

82 คำศัพท์พื้นฐานในการสื่อสาร
ช่องทางการสื่อสาร (Channel) ช่องทางการสื่อสารจะนำข่าวสารจากจุดต้นกำเนิดไปยังจุดปลายทางหนึ่งหรือมากกว่า ชนิดของช่องทางการสื่อสาร (Channel Types) ได้แก่ ช่องทางอนาล็อก และช่องทางดิจิตอล การเบาบางของสัญญาณ (Signal Attenuation) ความต้านทาน (Resistance) ของช่องทางสื่อสารทำให้พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนแผ่สู่สภาพแวดล้อมใกล้เคียง 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

83 ความรู้พื้นฐานในการสื่อสาร (ต่อ)
ช่องทางบอร์ดแบนด์และเบสแบนด์ (Broadband and Beseband Channel) ช่องทางอนาล็อก จะเรียกว่า ช่องทางบรอดแบนด์ ก็ต่อเมื่อช่องทางนั้นสามารถส่งผ่านสัญญาณอนาล็อกได้หลาย ๆ สัญญาณ ช่องทางที่ส่งผ่านสัญญาณดิจิตอลเราจะเรียกว่า ช่องทางเบสแบนด์ วิธีที่นิยมใช้ก็คือการส่งสัญญาณข้อมูลเป็นบิต หรือตัวเลขไบนารี (Binary digits) 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

84 ความรู้พื้นฐานในการสื่อสาร (ต่อ)
อัตราบิท และอัตราบอด (Bit Rate and Baud Rate) อัตราบิท เป็นความจุของช่องทางดิจิตอล คือ จำนวนบิทที่ช่องทางสามารถนำผ่านได้ภายใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น บิทต่อวินาที (bps หรือ bit per second) อัตราบอด คือจำนวนสัญญาณดิจิตอลหรืออนาล็อก (ซึ่งถูกเปลี่ยนเป็นดิจิตอลแล้ว) ที่ส่งผ่านไปในช่องทางสื่อสารภายใน 1 วินาที มีหน่วยเป็นบอดต่อวินาที (baud per second) 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

85 ความรู้พื้นฐานในการสื่อสาร (ต่อ)
อัตราบิทของบรอดแบนด์และเบสแบนด์ การเพิ่มจำนวนของอัตราบิท ในช่องทางบรอดแบนด์ สามารถเพิ่มอัตราบิทได้โดยการเพิ่มจำนวนบิทเข้าไปในช่องทาง โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแบนด์วิดท์ของช่องทางเลย สัญญาณดิจิตอลที่ผ่านมาในช่องทางเบสแบนด์จะใช้ช่องทางเต็มแบนด์วิดท์ที่มี มีเพียงวิธีเดียวที่จะเพิ่มอัตราบิทในช่องทางเบสแบนด์ได้คือลดเวลาในแต่ละบิทลง (คือเพิ่มสัญญาณนาฬิกาให้เร็วขึ้น) 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

86 ความรู้พื้นฐานในการสื่อสาร (ต่อ)
การเบาบางของสัญญาณ สัญญาณรบกวน การเข้ารหัส (Encoding) และการถอดรหัส (Decoding) 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

87 ชนิดของสัญญาณที่ส่งผ่านสื่อนำข้อมูล
ข้อมูลและสารสนเทศที่จะถูกส่งแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ส่งและผู้รับจะต้องถูกแปลงให้อยู่ในรูปของสัญญาณ (signal) ที่มีลักษณะเหมาะสมก่อนที่จะถูกส่งผ่านทางสื่อนำข้อมูล (medium) สัญญาณแบ่งได้เป็น 2 ชนิด สัญญาณแอนะล็อก (Analog signal) สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

88 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)
Analog Signal สัญญาณอนาล็อกที่ส่งออกจะมีความต่อเนื่องกันตลอดเวลา เช่น สัญญาณเสียง เป็นต้น สัญญาณอนาล็อกที่ใช้กันโดยทั่วไปได้แก่สัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณวิทยุกระจายเสียง สัญญาณโทรทัศน์ คนสามารถเปล่งเสียงตั้งแต่ ,000 Hz แต่ระบบโทรศัพท์ออกแบบมาสำหรับช่วง ,300 Hz 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

89 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)
Analog Signal สัญญาณอนาล็อกที่ส่งออกไป พลังงานจะอ่อนลงเรื่อย ๆ เมื่อระยะทางเพิ่มขึ้น ในการส่งสัญญาณอนาล็อกไประยะไกล ๆ จะต้องใช้เครื่องขยายสัญญาณหรือแอมปลิไฟเออร์ (Amplifier) เพื่อเพิ่มพลังงานให้กับสัญญาณ การขยายสัญญาณจะมีการสร้างสัญญาณรบกวน (Noise) รวมกับสัญญาณข้อมูล จึงมีวงจรกรองของสัญญาณ (Filter) เพื่อกรองเอาสัญญาณรบกวนออกอีก 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

90 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)
Digital Signal สัญญาณดิจิตอล หมายถึง สัญญาณที่ Amplitude ถูกจัดระดับให้แปรผันไปกับเวลาตามค่าที่กำหนดให้ เช่น ถ้าแปรผันอยู่ระหว่าง 2 ค่า เรียกว่า Binary Signal วงจรสัญญาณดิจิตอลสามารถส่งสัญญาณรูปร่างลักษณะเป็นพัลส์ (Pulse) ซึ่งแสดงค่า “0” หรือ “1” การส่งสัญญาณดิจิตอลระยะไกลจะทำให้สัญญาณดิจิตอลจางหายไป จะต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ (Repeater) 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

91 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)
Signal Modulation เป็นเทคนิคการพาสัญญาณที่ต้องการส่งเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางผ่านตัวกลางการสื่อสาร สัญญาณที่เป็นตัวพาสัญญาณข้อมูลไปเรียกว่า คลื่นพาหะ (Carrier wave) วิธีการมอดูเลตสัญญาณอนาล็อก การมอดูเลตทางแอมปลิจูด (Amplitude Modulation, AM) การมอดูเลตทางความถี่ (Frequency Modulation, FM) การมอดูเลตทางเฟส (Phase Modulation, PM) 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

92 การมอดูเลททางขนาด (Amplitude modulation : AM)
วิธีนี้จะทำให้ขนาดของสัญญาณพาหะเปลี่ยนไป โดยที่ความถี่ของสัญญาณพาหะยังคงเดิม โดยอาจจะทำได้โดยให้ค่าสูงแทนค่าบิตที่มีค่า 1 และขนาดที่มีค่าต่ำแทนบิตที่มีค่า 0 การมอดูเลทวิธีนี้จะเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพด้อยที่สุด ทั้งนี้เพราะอาจถูกรบกวนด้วยสัญญาณรบกวนทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

93 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)
ตัวอย่าง 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

94 การมอดูเลททางความถี่ (Frequency Modulation : FM)
เป็นการเปลี่ยนค่าความถี่ของสัญญาณพาหะไปตามค่าบิตที่มีค่า 1 และ 0 โดยการใช้ความถี่ 2 ความถี่สำหรับค่าทั้ง 2 สัญญาณพาหะจะมีขนาดคงที่เสมอ เทคนิคการมอดูเลทนี้เรียกว่า FSK (Frequency Shift Keying) 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

95 Frequency Shift Keying
14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

96 การมอดูเลททางเฟส (Phase Modulation : PM)
เป็นวิธีการที่เข้าใจค่อนข้างยาก เพราะการมอดูเลทอาศัยค่าเฟส ค่าเฟส 2 เฟส คือ 0 องศา และ 180 องศา ค่าเฟส 4 เฟส (0, 90, 180 และ 270 องศา) ค่าเฟส 8 เฟส (10, 45, 90, 135, 180, 225, 270 และ 315 องศา) การมอดูเลททางเฟสที่เรียกว่า Phase Shift Keying) สำหรับชุดของไบนารี 0 และ 1 ในระบบ 2 เฟส ที่มีค่าเฟสต่างกัน 180 องศา เมื่อมีการเปลี่ยนของข้อมูลระหว่าง 0 กับ 1 ทุกครั้ง ค่าเฟสของสัญญาณจะเปลี่ยนไป 180 องศา 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

97 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)
ตัวอย่าง 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

98 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network topology)
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะของการเชื่อมต่อ 5 ประเภทได้ดังนี้ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (Bus topology) โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (Ring topology) โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (Star topology) โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบตาข่าย (Mesh topology) โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบผสม (Hybrid topology) 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

99 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส Bus
Multipoint Use backbone cable Advantages: Easy of installation Use less cabling than mesh star topologies Disadvantages: Difficult to add new devices Limitation on distance and number of devices Failure of backbone stops all transmission 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

100 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (Ring topology)
Dedicated point-to-point link to 2 devices on both sides Advantages: Easy of installation, Add new devices Disadvantages: Break in a ring can stop communication 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

101 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (Star topology)
Dedicate point-to-point link to hub Advantages: Cheaper than mesh Easy to install and reconfigure Disadvantages: Single point of failure: hub 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

102 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบตาข่าย (Mesh topology)
n devices need (n-1)n/2 links Advantages: Dedicated link between 2 devices Robust Security Fault isolation, identification Disadvantages: Number of cables and I/O ports Bulk of wiring Expensive I/O hardwares 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

103 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบผสม (Hybrid topology)
14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

104 ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามระยะทางของการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์การสื่อสารได้เป็น 4 ประเภทดังนี้ Personal Area Network (PAN) Local Area Network (LAN) Metropolitan Area Network (MAN) Wide Area Network (WAN) 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

105 Personal Area Network (PAN)
14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

106 Local Area Network (LAN)
14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

107 Metropolitan Area Network (MAN)
14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)

108 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)
การบ้าน เราน่าจะสามารถทำอะไรทางไกลได้อีก (5 อย่าง) 14 เมษายน 2560 วสันต์ ภัทรอธิคม, Ph.D., M.B.A. (NECTEC)


ดาวน์โหลด ppt ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google