งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐาน ทางการจัดการโลจิสติกส์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐาน ทางการจัดการโลจิสติกส์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 03764491 ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐาน ทางการจัดการโลจิสติกส์
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐาน ทางการจัดการโลจิสติกส์ Basic Research Methods in Logistics Management กุสุมา พิริยาพรรณ เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์ คณะวิทยาการจัดการ 4 : 3 ก.พ. 58

2 ศาสตร์กับการวิจัย Sciences and Research

3 เหตุผลการแสวงหาความรู้
Rational of Acquiring Knowledge มนุษย์ต้องการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ความรู้และความจริงที่เกิดขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงได้ มนุษย์มักมีปัญหาตลอดเวลา เพราะมีประสบการณ์ใหม่ๆ ไม่ตอบสนองความต้องการ ไม่สามารถอธิบายหรือบอกสิ่งที่ต้องการรู้ การสังเกตุสภาพแวดล้อมหรือเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัว มนุษย์มีความอยากรู้ อยากเห็นและต้องการใหม่เสมอ

4 ระดับความรู้ (Level of Knowledge) วิเคราะห์ / สังเคราะห์ / วิจัย
Wisdom ปัญญา ประมวลทฤษฎี & ประสบการณ์ กฎ/ทฤษฎี Law/Theory สรุป / สังเคราะห์ / วิจัย ความรู้ Knowledge วิเคราะห์ / สังเคราะห์ / วิจัย ข่าวสาร Information จัดระบบ / ประมวล ข้อมูล Raw Data ข้อมูลดิบ

5 การพัฒนาความรู้ 1. การพัฒนาด้านความรู้/ความคิด (Cognitive Domain/พุทธิพิสัย) - การพัฒนาความรอบรู้ทางสมอง ความคิดและองค์ความรู้ 2. การพัฒนาด้านทักษะ (Psychomotor Domain/ทักษะพิสัย) - การพัฒนาความคล่องแคล่ว ความชำนาญ ความสามารถในการทำงาน 3. การพัฒนาด้านความเข้าใจ ค่านิยมและทัศนคติ (Affective Domain/จิตพิสัย) - การพัฒนาความเข้าใจและการยึดถือค่านิยมที่ดี จริยศึกษาหรือการมองโลก

6 การพัฒนาความคิด 1. ระดับความจำ (Knowledge)
ระดับความเข้าใจ (Comprehension) ระดับการรู้จักประยุกต์ (Application) 4. ระดับการวิเคราะห์ (Analysis) 5. ระดับการสังเคราะห์ (Synthesis) 6. ระดับการรู้จักประเมิน (Evaluation)

7 ลักษณะของศาสตร์ (Science)
ศาสตร์ :“ วิธีการวิเคราะห์ที่เป็นระบบ เป็นเหตุเป็นผลและเป็นวัตถุวิสัย ” วิธีการวิเคราะห์ - เป็นระบบ (Systematic) - เป็นเหตุเป็นผล (Logical) - เป็นวัตถุวิสัย (Objective) จุดประสงค์ศาสตร์ - บรรยาย (Descriptive) - อธิบาย (Explanatory) - ทำนาย (Predictive) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น/สังเกต เพื่อ ระบบวิชาความรู้/องค์ความรู้ เนื้อหาวิชา (Content) วิธีการ (Method)

8 การวิเคราะห์ของศาสตร์
ลักษณะเป็นระบบ (Systematic) ส่วนย่อยหลายส่วนมีการเชื่อมกันอย่างดี แต่ละส่วนย่อย มีผลต่อกันและกัน ลักษณะเป็นเหตุเป็นผล (Logical) การใช้หลักของความเป็นเหตุผลหรือมรรควิธีในการ พิจารณา ลักษณะเป็นวัตถุวิสัย (Objective) หลักเกณฑ์ทั้งหมดต้องสามารถทดสอบโดยผู้ที่มีความ สามารถอื่นๆได้ หรือหลายวิธีการซ้ำๆ ทุกขั้นตอนได้

9 การวิเคราะห์ของศาสตร์
การบรรยาย (Description) ความพยายามจะตอบคำถามว่า ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไรและอย่างไร การอธิบาย (Explanation) ความพยายามจะตอบคำถามว่าทำไม การทำนาย (Predictive) ความพยายามจะตอบคำถามในอนาคตข้างหน้า

10 ศาสตร์ที่ว่าด้วยสาระเกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตและ
สาขาของศาสตร์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Sciences) ศาสตร์ที่ว่าด้วยสาระเกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตและ สิ่งไม่มีชีวิต * วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Sciences) เช่น เคมี ฟิสิกส์ ธรณีวิทยา วิศวกรรม ปฐพีวิทยา * วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Sciences) เช่น การเกษตร ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตววิทยา ชีววิทยา

11 ศาสตร์ที่ว่าด้วยเกี่ยวกับพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์
สาขาของศาสตร์ สังคมศาสตร์ (Social Sciences) ศาสตร์ที่ว่าด้วยเกี่ยวกับพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ หรือปรากฏการณ์ทางสังคม ซึ่งจะมีการเกิดขึ้นและการ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา Encyclopaedia of Social Sciences แบ่งเป็น * สังคมศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Social Sciences) * กึ่งสังคมศาสตร์ (Semi Social Sciences) * ศาสตร์เกี่ยวกับสังคมศาสตร์ (Sciences with Social Implication)

12 วิธีการค้นหาความรู้ Methods of Acquiring Knowledge
การไต่ถามผู้รู้ (Authority) - ผู้เชี่ยวชาญ (Scholar) - ผู้ชำนาญการ (Expert) การใช้ประสบการณ์ (Experience) อาศัยประสบการณ์ที่ผ่านมาและรวบรวมมาใช้ใน การแก้ปัญหาหรือการลองผิด/ลองถูก (Trial and Error) สรุปเป็นข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่

13 วิธีการค้นหาความรู้ Methods of Acquiring Knowledge
การอนุมาน (Deductive Method/ Syllogism/ Deductive Logic/ Inside-out Method) Aristotle นำวิธีการมาค้นหาความรู้/ข้อเท็จจริง โดยใช้ เหตุผล ด้วยการอ้างข้อเท็จจริงที่พบแล้วมาสรุปเป็นข้อเท็จ จริงใหม่ /ความรู้ใหม่ ข้อบกพร่อง : - ข้อสรุป/ข้อเท็จจริงที่ได้อาจไม่เป็นความจริง/สรุปได้ไม่ ชัดเจน - ข้อสรุปหรือข้อเท็จจริงที่ได้ไม่ใช่ความรู้ใหม่

14 วิธีการค้นหาความรู้ Methods of Acquiring Knowledge
การอุปมาน (Inductive Method) Francis Bacon เสนอให้มีการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ /ข้อเท็จจริงใหม่ในลักษณะเก็บรวบรวมข้อมูล/ข้อเท็จจริง ย่อยๆ จำแนกประเภทตามลักษณะ หาความสัมพันธ์ แปล ความหมายและสรุป : - การอุปมานแบบสมบูรณ์ (Perfect Inductive Method) เก็บรวมรวมข้อเท็จจริงย่อยครบทุกหน่วยประชากร - การอุปมานแบบไม่สมบูรณ์ (Imperfect Inductive Method)เก็บรวมรวมข้อเท็จจริงย่อยจากตัวอย่างบางส่วน ประชากร

15 วิธีการค้นหาความรู้ Methods of Acquiring Knowledge
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) Charles Darwin เป็นผู้นำค้นคว้าวิธีการมาใช้ศึกษาหา ข้อเท็จจริงและความรู้ใหม่ โดยอาศัยใช้วิธีการ : - Deductive Method - Inductive Method

16 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
การตรวจสอบและนิยามปัญหา Identification and Definition of the Problem การตั้งสมมติฐาน Formulation of Hypothesis การรวบรวมข้อมูล จัดระเบียบและการวิเคราะห์ข้อมูล Collection Organization and Analysis of Data การสรุป Formulation of Conclusion การยืนยัน ปฏิเสธ หรือปรับสมมติฐาน Verification Rejection or Modification of Hypothesis

17 พื้นฐานการสำรวจและศึกษาวิจัย :
ความแตกต่างระหว่าง Social Sciences กับ Natural Sciences 1. หน่วยการศึกษาวิเคราะห์ (Unit of Analysis) - มุ่งที่ศึกษาความสัมพันธ์ของ มุ่งเน้นที่จะศึกษาหน่วยหรือ มนุษย์ในฐานะมนุษย์จะอยู่ ปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ร่วมกันเป็นกลุ่ม/เป็นสังคม เกิดขึ้น/มีอยู่โดยธรรมชาติ 2. กระบวนการศึกษา (Process of Study) - เน้นใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ เน้นการศึกษาเชิงปริมาณ (Qualitative approach) มากกว่า (Quantitative approach) มากกว่า 3. ค่านิยมในการศึกษา (Values in Study) - โอกาสที่จะมีอคติในการศึกษา ความรู้สึกผูกพันกับหน่วย ได้ง่ายกว่า ในการศึกษาน้อยกว่า

18 ความแตกต่างระหว่าง การวิจัยเชิงปริมาณ กับ การวิจัยเชิงคุณภาพ

19 ความแตกต่างระหว่าง การวิจัยเชิงปริมาณ กับ การวิจัยเชิงคุณภาพ

20 การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. วิธีการทดลอง (Experimental Design) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยจะต้องอาศัยการวางแผนการทดลองมาช่วย การวิจัยทางสังคมส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้ไม่ได้ โดยมากจะใช้กับการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และวิศวกรรมศาสตร์ 2. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงาน (Reporting System) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการเก็บข้อมูลจากรายงาน เอกสาร ผลงานวิจัยหรือผลงานอื่นๆ ที่มีการทำไว้ก่อนหน้า ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐาน 3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทะเบียน (Registration) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยข้อมูลสถิติจากระบบทะเบียนจากแหล่งเบื้องต้นของข้อมูลเป็นเอกสารการทะเบียน ซึ่งมีลักษณะต่อเนื่องมีการปรับแก้หรือเปลี่ยนแปลง ให้ถูกต้องทันสมัยทำให้ได้สถิติที่ต่อเนื่องเป็นอนุกรมเวลา

21 การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
4. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสำมะโน (Census) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยเก็บข้อมูลสถิติของทุกๆ หน่วยของประชากรที่สนใจศึกษาภายในพื้นที่ที่กำหนด และระยะเวลาที่กำหนดการเก็บรวบรวม ข้อมูลสถิติด้วยวิธีนี้จะทำให้ได้ข้อมูลในระดับพื้นที่ย่อย เช่น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นค่าจริง 5. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสำรวจ (Sample Survey) การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติจากบางหน่วยของประชากรด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง/การสำรวจด้วยตัวอย่าง (Sample Survey) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต/โดยการวัดค่าต่างๆ จากบางหน่วยของประชากร จะทำให้ได้ข้อมูลในระดับรวม เช่น จังหวัด ภาค เขตการปกครองและรวมทั่วประเทศ และข้อมูลที่ได้จะเป็นค่าโดยประมาณการสำรวจเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้งบประมาณ เวลาและกำลังคนไม่มากนัก

22 รูปแบบการสร้างทฤษฎีแห่งวิทยาศาสตร์
Deductive Theory Building Functional Theory Building ทฤษฎี (Theories) INDUCTIVE LOGIC EMPIRICAL BASED DEDUCTIVE LOGIC THEORY BASED การสรุปจากข้อเท็จจริง (Empirical generalization) สมมติฐาน (Hypothesis) Inductive Theory building Model based Theory Building การสังเกต/ เก็บข้อมูล (Observation)

23 ขั้นตอนในกระบวนการทำวิจัย (Steps of Research Process)
เลือกหัวข้อ (Choose Topic) ตั้งคำถามในการวิจัย (Focus Research Question) บอกกล่าวผู้อื่น (Inform Others) ตีความข้อมูล (Interpret Data) ออกแบบการวิจัย (Research Design) วิเคราะห์ข้อมูล (Analyze Data) เก็บรวบรวมข้อมูล (Collect Data)

24 วงล้อการวิจัย (The Research Wheel) แบบที่ 1
การกลั่นกรองและคำถามใหม่ (Refinement and new question) ความคิด (idea) เอกสาร (Literature) การเผยแพร่ (Dissemination) ทฤษฎี (theory) การอนุมาน (Deduction) ผลและข้อค้นพบ (Results and findings) สมมติฐาน (Hypothesis) นิยามและการวัด (Operational definition and measurement) การวิเคราะห์ (Analysis) การจัดการข้อมูล (Data organization) แบบแผนการวิจัย (Research design) การเก็บข้อมูล (Data collection)

25 ขั้นตอนสำคัญของการวิจัย
1. การตั้งคำถามหรือปัญหาของการวิจัย 2. การทบทวนวรรณกรรม 3. การกำหนดแบบของการวิจัย 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การจัดกระทำกับข้อมูล 6. การวิเคราะห์ข้อมูล และ 7. รายงานผลการวิเคราะห์

26 การกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย
ความสำคัญของปัญหาการวิจัย 1. ปัญหาการวิจัยแต่ละปัญหาจะมีตัวแปร (variables) ที่เปลี่ยน แปลงตามบุคคล เวลาและสถานที่ 2. ข้อเท็จจริงของปัญหาการวิจัยเป็นความจริงเชิงสัมพันธ์ (relative truth) ไม่ใช่ความจริงเชิงสมบูรณ์ (absolute truth) 3. ข้อสรุปทั่วไป แนวคิด ทฤษฎีและกฎต่างๆ ต้องการการยืนยัน (confirm) และตรวจสอบ (verify)

27 หลักเกณฑ์การกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย
ความชัดเจนของประเด็น ความไม่ซ้ำซ้อนของประเด็นที่จะวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็น ประโยชน์การกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย ทำให้ผู้วิจัยเกิดความชัดเจนว่าต้องการศึกษาในเรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับหัวข้อนั้นๆ ทำให้ผู้วิจัยทราบว่าจะต้องเก็บข้อมูลที่สำคัญในเรื่องอะไรบ้าง ทำให้ผู้อ่านรายงานผลของการวิจัย สามารถติดตามและประเมินผลของการวิจัยได้

28 การกำหนดหัวข้อการวิจัย
กระบวนการต่างๆ ที่ใช้ในการระบุให้ชัดเจนว่า ผู้ที่จะ ทำการวิจัย หรือผู้วิจัยมีความประสงค์จะศึกษาเรื่องอะไร ที่มาของหัวข้อสำหรับการวิจัย ผู้ที่จะทำการวิจัย วรรณกรรมในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ผู้นำทางวิชาการ แหล่งทุนอุดหนุนการวิจัย หน่วยที่ผู้วิจัยทำอยู่

29 มิติการกำหนดหัวข้อการวิจัย
สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ลักษณะของการเก็บข้อมูล ประชากรเป้าหมายหรือสถานที่ การกำหนดประเด็นสาระสำคัญ การผสมผสานหลายประการ

30 หลักเกณฑ์การเลือกหัวข้อการวิจัย
ความสำคัญของปัญหา ความเป็นไปได้ ความน่าสนใจและการทันต่อเหตุการณ์ ความสนใจของผู้ที่จะวิจัย ความสามารถที่จะทำให้ลุล่วง

31 การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย
หลักการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objective) การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นการคาดหวังจากผลการศึกษา และค้นคว้าข้อเท็จเกี่ยวกับปรากฏการณ์และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามที่ ประเด็นสาระในปัญหาการวิจัย (Research Questions) ซึ่งจะนำมา เป็นแนวทางแสวงหาคำตอบ ผลการวิจัยต้องตอบสนองวัตถุประสงค์ การวิจัยทั้งหมด ลักษณะวัตถุประสงค์การวิจัย : - สอดคล้องกับปัญหาการวิจัย - ความชัดเจน - ความเฉพาะเจาจง 31

32 หลักเกณฑ์การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย
1. การเขียนให้สั้น กระชับและใช้ภาษาง่าย (วิชาการ) 2. ประเด็นปัญหาชัดเจน ศึกษาอะไร แง่มุมใดและอยู่ภายใน กรอบหัวข้อเรื่อง 3. วัตถุประสงค์ที่กำหนดต้องสามารถศึกษาหาคำตอบ 4. ประโยคที่ใช้เป็นประโยคบอกเล่า ไม่น่าเกิน 5 ข้อ : 4.1 ข้อเดียวเป็นภาพรวม (Overall Objective) 4.2 หลายข้อแยกรายข้อ (Specific Objectives) 5. การเรียงลำดับตามความสำคัญของปัญหา/ระดับปัญหา รวมทั้งไม่ควรนำประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ/ข้อเสนอแนะเป็น วัตถุประสงค์ 32


ดาวน์โหลด ppt ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐาน ทางการจัดการโลจิสติกส์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google