งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หัวข้อการบรรยาย  เสรีนิยมใหม่  มาร์กซิสต์ใหม่  อนาร์คิสต์ใหม่  นิเวศนิยม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หัวข้อการบรรยาย  เสรีนิยมใหม่  มาร์กซิสต์ใหม่  อนาร์คิสต์ใหม่  นิเวศนิยม."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทวิเคราะห์ เศรษฐศาสตร์การเมือง นิเวศวิทยาการเมือง และการวิพากษ์ทางอุดมการณ์ ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม

2 หัวข้อการบรรยาย  เสรีนิยมใหม่  มาร์กซิสต์ใหม่  อนาร์คิสต์ใหม่  นิเวศนิยม

3 บทสรุป : การรื้อถอนระบบคิดบนหนทาง POSTMARXISM / POSTMODERNISM และ NEW ANARCHISM

4 เศรษฐศาสตร์การเมือง กับอุดมการณ์
บทวิเคราะห์นี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ “อุดมการณ์” ในเศรษฐศาสตร์การเมือง แต่ในการวิเคราะห์ของเราเราจะไม่ใช้คำว่า “อุดมการณ์” ในความหมายเชิงลบดังกล่าว “อุดมการณ์” ของเรามีความหมายแค่เพียงว่าเป็น “ระบบความคิด” ที่จะช่วยให้เราเข้าใจได้ดีขึ้นเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจการเมืองและสังคมที่ล้อมรอบตัวเรา ระบบของเราเป็นอย่างไร กำลังมีปัญหารุนแรงอะไรบ้าง? ระบบจะพัฒนาไปในทางไหน ? แนวโน้มจะเป็นอย่างไร? สังคมเรามีเสรีภาพมากน้อย แค่ไหน ? ความเสมอภาคความยุติธรรมอยู่ที่ไหน ? สังคมในอุดมคติ ควรจะเป็นอย่างไร ?

5 อุดมการณ์และโลกทัศน์
อุดมการณ์ หรือ ideology เป็นคำที่เกิดขึ้นในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสมีการใช้เป็นครั้งแรกในปี 1797 ในความหมายของ “ศาสตร์ใหม่ แห่งความคิด” ในยุคปัจจุบันคำนิยาม ที่เป็นกลางที่สุด มีเนื้อหาดังนี้ : อุดมการณ์ คือ ระบบความคิด ซึ่งมนุษย์ (ผู้คน) นำไปใช้ ในการอธิบาย และการกระทำเหล่านั้น จะพิทักษ์รักษา ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจการเมืองที่ดำรงอยู่ก็ตาม ระบบความคิดเหล่านี้จะเป็นเครื่องชี้นำสำคัญในการช่วยให้มนุษย์เราสามารถมองเห็นได้ว่าระบบเศรษฐกิจการเมืองของเราเป็นอย่างไร มีปัญหาอย่างไร ระบบที่น่าใฝ่ฝันและพึงปรารถนาควรจะเป็นอย่างไร ?

6 องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของอุดมการณ์ เห็นจะเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า “โลกทัศน์” (worldview)
ในที่นี้ โลกทัศน์ หมายถึง ระบบเกี่ยวกับความเชื่อ ค่านิยม และ วิธีคิดซึ่งมีบทบาทสำคัญในการให้ความหมายแก่โลก และกำหนดชะตากรรมของโลก อันเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คน คนทุกคนย่อมมีโลกทัศน์ซึ่งประกอบด้วยหลักการบางอย่าง อันเป็นเครื่องชี้นำพฤติกรรมและการกระทำของเขา โลกทัศน์จะมีเนื้อหาอย่างไรนั้น ส่วนหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับระบบที่ดำรงอยู่ และการหล่อหลอมจากสถาบันสังคม

7 ในที่นี้ อุดมการณ์และโลกทัศน์ จะครอบคลุม 3 มิติ คือ
ในที่นี้ อุดมการณ์และโลกทัศน์ จะครอบคลุม 3 มิติ คือ  การเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจสังคมที่มีอยู่  การหาเหตุผลมาสนับสนุนความชอบธรรม (หรือความไม่ ชอบธรรม) ของสิ่งที่ดำรงอยู่  การเสนอภาพ “วิชั่น” (vision) เกี่ยวกับเศรษฐกิจสังคมในอุดมคติ

8 อุดมการณ์ในโลกนี้มีมากมาย แต่เราจะเน้นเฉพาะอุดมการณ์หลักที่สำคัญของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งมี 3 สำนัก คือ อนุรักษ์นิยมใหม่ เสรีนิยมใหม่ ซ้ายใหม่ หรือ (มาร์กซิสต์ใหม่) การที่เราใช้คำว่า “ใหม่” ก็เพื่อจะให้ความสำคัญสูงแก่การวิเคราะห์แนวคิดในยุคปัจจุบันของศตวรรษที่ 20  นักเศรษฐศาสตร์แนวอนุรักษ์นิยมใหม่ เช่น FRIEDMAN ส่วนใหญ่ก็ได้รับอิทธิพลมาจากอนุรักษ์นิยมเก่า เช่น จากอาดัม สมิธ (ADAM SMITH) แนวคิดของฝ่ายซ้ายใหม่ได้รับอิทธิพลมาจาก คาร์ล มาร์กซ์ (KARL MARX) เป็นต้น

9 แนวอนุรักษ์นิยมใหม่ (Neo – Conservatism)
โลกทัศน์ของอนุรักษ์นิยมใหม่ มีรากฐานทางอุดมการณ์ย้อนหลังไปไกลถึงนักเศรษฐศาสตร์ชื่อ ADAM SMITH ( ) อาดัม สมิธ มีพื้นฐานทางปรัชญา 3 ข้อ คือ 1. มนุษย์ทุกคนมี “สิทธิทางธรรมชาติ” ที่จะแสวงหาและปกป้องทรัพย์สมบัติของตน

10 2. โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ทุกคนย่อมนิยมวัตถุ และ
3. มนุษย์ทุกคนคิดอย่างมีเหตุผล (rational) และใช้เหตุผลนี้ แสวงหาความร่ำรวยทางวัตถุให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ปรัชญาแบบนี้ เราเรียกว่า “ปัจเจกชนนิยม” (individualism) และเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้มนุษย์ทำการแข่งขันในตลาด

11 ในขั้นพื้นฐานนักเศรษฐศาสตร์ แนวอนุรักษ์นิยมใหม่ยุคปัจจุบัน ยังคงยึดมั่นในปรัชญาหลัก 2 ข้อ ของ อาดัม สมิธ นั่นคือ 1. ระบบตลาดและการแข่งขัน เป็นหัวใจของการจัดการทางเศรษฐกิจ 2. สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล จะต้องไม่มีขีดจำกัดและไม่มีการละเมิดหรือถูกลิดรอน นักเศรษฐศาสตร์แนวนี้ ต่อต้านการแทรกแซงของรัฐที่เข้าไปยุ่งกับกลไตลาด และยังมองว่าการที่รัฐบาลมีภารกิจที่ขยายตัวมากขึ้น (Big Government) จะเป็นการคุกคามความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง

12 หลักปรัชญาอีกข้อหนึ่งของอนุรักษ์นิยมใหม่ คือ การให้ความสำคัญสูง แก่ ปัจเจกชนนิยม (individualism) และเสรีภาพส่วนบุคคล แต่ละบุคคลย่อมมีเสรีภาพเต็มที่ในการดำรงชีวิต หรือทำธุรกิจ ไม่มีใคร มากำหนดได้ว่า เขาควรทำอะไรไม่ควรทำอะไร และแต่ละคนย่อมรู้ด้วยตัวเองว่าอะไรดี อะไรไม่ดี ปัญหาหลักของอนุรักษ์นิยม คือ ปล่อยให้ปัญหา จริยธรรม เป็นเรื่องที่ปัจเจกชนจะต้องใช้ดุลพินิจเอาเอง นโยบายและข้อเสนอแนะใด ๆ ที่ขัดกับ หลักเสรีภาพส่วนบุคคลย่อมต้องได้รับการปฏิเสธ

13 Libertarian Economics ของ Friedman
อาจกล่าวได้ว่า บุคคลที่สอนแนวคิดแบบนี้ คือ Economic Jeffersonian ซึ่งเชื่อว่า “รัฐบาลที่ดีที่สุด คือ รัฐบาลที่ใช้อำนาจปกครองน้อยที่สุด”

14 Friedman ประกาศว่า “ ระบบการจัดองค์กรที่ให้เสรีภาพทางเศรษฐกิจโดยตรง คือ ระบบทุนนิยมแบบแข่งขัน ระบบนี้ส่งเสริมเสรีภาพทางการเมืองด้วย เพราะเป็นระบบที่แยกอำนาจเศรษฐกิจออกจากอำนาจทางการเมือง ด้วยวิธีการนี้ มีผลให้อำนาจ 2 แบบ ดังกล่าวไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกัน” “พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่า เสรีภาพทางการเมือง และตลาดเสรีมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน ที่ไหนมีเสรีภาพทางการเมืองที่นั่นย่อมมีตลาดเสรีด้วย ซึ่งทำหน้าที่คอยจัดการเรื่องกิจกรรมทางเศรษฐกิจ”

15 เสรีภาพของตลาด - อุดมการณ์ขวาใหม่
ในช่วง เศรษฐศาสตร์การเมืองของ New Right (กลุ่มขวาใหม่) มีอิทธิพลต่อการวางนโยบายเศรษฐกิจสังคมของประเทศทุนนิยมตะวันตก บางประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในอังกฤษภายใต้การบริหารงาน ของนางมาร์กาเร็ต

16 บนพื้นฐานของความชื่นชมแนวคิดเกี่ยวกับ “เสรีภาพของตลาด” ของ Hayek นักเศรษฐศาสตร์ของกลุ่มขวาใหม่ เสนอแนวนโยบายหลัก 2 ข้อ เพื่อบริหารระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ คือ

17 กลุ่มขวาใหม่ต้องการให้เศรษฐกิจภาครัฐบาลใช้กลไกตลาดเช่นเดียวกับ ในภาคเอกชน ซึ่งจะทำให้มีการจัดระบบบริการสังคมด้วยต้นทุนต่ำสุด และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นได้ว่ากลุ่มขวาใหม่เสนอให้มี การแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างกว้างขวาง (privatization) แนวคิดนี้ระบาดไปยังยุโรปตะวันออก และรัสเซียด้วยการปฏิรูปเศรษฐกิจ ที่นั่น หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไปสู่ตลาดเสรี โดยมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นโครงการที่สำคัญที่สุด เราอาจกล่าวได้ว่า การแปรรูปที่ใหญ่โตจำนวนมากมายที่สุดในโลกกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในอดีตประเทศสังคมนิยม

18 1. กลุ่มขวาใหม่ต่อต้านแนวคิด “welfare state” หรือ “รัฐสวัสดิการ” โดยมองว่าระบบการบริการสังคมอย่างรอบด้านโดยรัฐ ทำให้รัฐเข้ามายุ่งเกี่ยวกับชีวิต ของประชาชนมากเกินไป อันเป็นการสร้างอำนาจล้นฟ้าให้แก่รัฐ เสรีภาพของบุคคลถูกจำกัด ความรู้สึกรับผิดชอบต่อชะตากรรมของตนเองสูญหายไป นอกจากนั้นยังเป็นการให้อภิสิทธิแก่ผู้ยากไร้เหนือกลุ่มอื่นๆ ซึ่งไม่เป็นการยุติธรรม กลุ่มขวาใหม่ต้องการให้รัฐถอนตัวออกไปจากการบริการสังคม และให้เอกชนเข้ามาดำเนินการแข่งขันกันในระบบตลาด

19 ปรัชญาเสรีนิยมใหม่ (Neo – Liberalism)
1. ระบบกรรมสิทธิ์เอกชน และระบบธุรกิจเสรีจะต้องได้รับ การปกป้องคุ้มครอง (ข้อนี้เหมือนกับอนุรักษ์นิยมใหม่) เสรีภาพ ในการถือครองกรรมสิทธิ์และเสรีภาพในระบบตลาดเป็นสิ่งสำคัญ 2. อย่างไรก็ตาม ความสุขสมบูรณ์ของสังคม และผลประโยชน์ส่วนรวมของเศรษฐกิจจะต้องอยู่เหนือผลประโยชน์ของบุคคล แสดงว่า เสรีภาพส่วนบุคคลมีขอบเขตจำกัดและต้องอยู่ใต้ผลประโยชน์ของสังคม

20 นักคิดเสรีนิยมที่ยิ่งใหญ่ JOHN MAYNARD KEYNES กล่าวเกี่ยวกับปรัชญาหลัก 2 ข้อไว้ว่า
“ในโลกเรานี้ไม่จำเป็นเสมอไปว่า ผลประโยชน์ของเอกชนและสังคมจะต้องสอดคล้องกัน การแสวงหาผลประโยชน์ของเอกชน ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมทุกครั้งไป เราต้องยอมรับว่าการกระทำของปัจเจกชนบ่อยครั้งเป็นไปเพื่อสนองความต้องการและเป้าหมายของตนเองโดยไม่มีการคำนึงถึงสังคมแต่อย่างใดเลย” ในทัศนะของ เคนส์ เสรีภาพตามธรรมชาติของปัจเจกชน ไม่ได้ให้หลักประกันเลยว่าสังคมส่วนรวมจะได้รับผลประโยชน์ไปด้วยอัตโนมัติ

21 เมื่อเป็นเช่นนี้ รัฐบาลมีหน้าที่ที่จะต้องแทรกแซง หรือ ควบคุมเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์สุขของสังคมและมหาชน ผลประโยชน์ที่สังคมได้รับย่อมมีน้ำหนักเหนือกว่าการเรียกร้อง “สิทธิเสรีภาพทางธรรมชาติของบุคคล” การเข้าแทรกแซงเศรษฐกิจอาจมีหลายแนวหลายรูปแบบ ซึ่งล้วนแต่มีวัตถุประสงค์สุดยอดเดียวกัน นั่นคือ ทำการแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องต่างๆ เพื่อก่อให้เกิด ผลประโยชน์สูงสุดแก่สังคมส่วนรวม

22 เมื่อมองประวัติศาสตร์เศรษฐกิจสังคมของโลกตะวันตกเราจะเห็นว่า ในขณะที่การพัฒนาอุตสาหกรรมดำเนินไป รัฐบาลได้เข้ามาแทรกแซงและควบคุมเศรษฐกิจ ในหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น  การควบคุมธุรกิจผูกขาด  การสถาปนา ระบบสหภาพแรงงาน  การใช้ระบบสวัสดิการสังคม และการประกันสังคม  การส่งเสริมการแข่งขันทางธุรกิจ  การแก้ไขปัญหาความยากจน และการกระจายรายได้  การปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม

23 Galbraith กับการวิพากษ์เศรษฐศาสตร์
ในค่ายของเศรษฐศาสตร์แนวเสรีนิยมใหม่ยุคปัจจุบัน บุคคลที่มีชื่อเสียงที่สุดเห็น จะเป็น John Kenneth Galbraith จากคณะเศรษฐศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขากล่าวสรุปว่า นักเศรษฐศาสตร์มัวแต่ไปสนใจเรื่อง ดีมานด์ – ซัพพลาย ในตลาดที่เป็นนามธรรม เรื่องที่สำคัญกว่า คือ เรื่อง “อำนาจเศรษฐกิจ” ได้ถูกหลงลืมไป อย่างสิ้นเชิง จึงทำให้เราไม่สามารถจะเข้าใจปรากฎการณ์ต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจได้

24 2. เป้าหมายของธุรกิจ คือ การแสวงหากำไรสูงสุด
เศรษฐศาสตร์นิโอคลาสสิค ยังคงเป็น นิโอคลาสสิคเหมือนเดิม คือ เชื่อว่า 1. ผู้บริโภคมีอธิปไตย 2. เป้าหมายของธุรกิจ คือ การแสวงหากำไรสูงสุด 3. ธุรกิจอยู่ใต้อิทธิพล ของตลาดทั้ง 3 ข้อ คือ เสาหลักของเศรษฐศาสตร์ แนวนิโอคลาสสิค ซึ่งพยายามจะปิดหูปิดตาตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงบทบาทของ “อำนาจ” ในระบบเศรษฐกิจเลย

25 แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ทุนนิยมไม่ได้ปรากฎท่ามกลางความว่างเปล่า (แบบไม่มีอะไรเลย) เมื่อมี สถาบันกรรมสิทธิ์เอกชน เกิดขึ้นมา การแบ่งรายได้ และอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันก็ปรากฎตามด้วย เมื่อมี สถาบันตลาดเสรี ก็ย่อมมีแนวโน้มที่ธุรกิจบางรายต้องการเข้าไปมี “อำนาจตลาด” ความไม่สมบูรณ์ของตลาด (market imperfections) มีอยู่มากมายหลายประเภท

26 แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ปรากฏการณ์เช่นนี้จะเป็นการทำลายเป้าหมายอุดมคติบางอย่างของระบบเศรษฐกิจเสรี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการที่บอกว่า “ให้ผลประโยชน์แก่ แต่ละคนตามความสามารถและสมรรถภาพของเขา” จะกลายเป็นหลักการ “ให้ผลประโยชน์แก่แต่ละคนตามฐานะอำนาจของเขา”

27 บทสรุป : ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ และอำนาจในโลกแห่งความเป็นจริง
จากการวิเคราะห์มาทั้งหมดนี้ เราพอจะสรุปได้ว่า ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (เช่นทฤษฎีนีโอคลาสสิค) แทบจะไม่ได้กล่าวถึงเรื่อง “อำนาจเศรษฐกิจ” เลย ในแบบจำลองของการแข่งขันที่สมบูรณ์แบบ ย่อมไม่มีใครมีอำนาจ เหนือใคร “กฎเศรษฐกิจ” มีพลังเหนือกว่า “อำนาจเศรษฐกิจ”

28 แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงเราจะพบกับมิติและปรากฏการณ์ของอำนาจ ทุกหนทุกแห่ง จะมีคนกลุ่มหนึ่งสามารถครอบงำ ควบคุม คนอีกกลุ่มหนึ่งเสมอ และก็มีหลายสถานการณ์ที่คนกลุ่มหนึ่งต้องคอยพึ่งพา และยอมรับคำสั่ง กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ จากคนอีกกลุ่มหนึ่งเช่นกัน ชีวิตเศรษฐกิจที่เป็นจริงไม่ได้อยู่ในระบบดุลภาพที่บริสุทธิ์หากแต่เป็น กระบวบการที่เกิดขึ้นท่ามกลาง โครงสร้างอำนาจที่ไม่เท่ากัน

29 ในโลกเศรษฐกิจที่เป็นจริงในบางประเทศ เช่น ประเทศไทยเราจะพบสถานการณ์ประการหนึ่งที่น่ากลัวและอันตราย นั่นคือ ธุรกิจเอกชนกำลังมีแนวโน้มที่จะเข้ามาครอบงำระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ดูเหมือนว่าเอกชนจะเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างมีอำนาจมากกว่ากลุ่มอื่นๆ คือ จะสามารถกำหนดได้ว่าจะผลิตอะไร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร และเพื่อใคร ? การรวมศูนย์อำนาจแบบนี้ย่อมนำไปสู่ความโน้มเอียงในการจัดสรรทรัพยากร ซึ่งจะก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ธุรกิจเอกชนมากกว่าสังคมส่วนรวมทั้งหมด และสิ่งที่น่าอันตรายที่สุดก็คือ ความจริงที่ว่าอำนาจเบ็ดเสร็จของธุรกิจเอกชนย่อม หมายถึง การทำลายสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ที่ทำงานอยู่ในระบบเศรษฐกิจนั่นเอง

30 แนวคิดมาร์กซิสต์ใหม่
(Neo – Marxism) ในยุโรป ความคิดสังคมนิยม (Socialism) และ ลัทธิมาร์กซ์ (Marxism) มีประวัติศาสตร์ค่อนข้างยาวนานมาก สังคมนิยม เพ้อฝัน (Utopian Socialism) กำเนิดขึ้นมาในฝรั่งเศส เมื่อ 400 กว่าปีมาแล้ว ในเยอรมันนี นักปรัชญาและนักเศรษฐศาสตร์ ชื่อ KARL MARX (คาร์ล มาร์กซ์) ได้เผยแพร่ paradigm (พาราไดม์) ใหม่ในการมองโลกและระบบเศรษฐกิจสังคมเมื่อ 130 กว่าปี มาแล้ว

31 ทฤษฏีของเขานับว่าได้สร้างแรงจูงใจให้มีการคิดและการปฏิบัติการ เพื่อ ปฏิวัติสังคม ที่ดำรงอยู่
ทฤษฎีนี้มีอิทธิพลสูงต่อพัฒนาการของสังคมศาสตร์ในเยอรมันนี และในยุโรป และยังก่อให้เกิดการ ปฏิวัติสังคมนิยม ในรัสเซีย ซึ่งมีผลสะท้อนต่อการเคลื่อนไหวของขบวนการสังคมนิยมทั่วโลก

32 เกี่ยวกับวิธีคิดแบบ เศรษฐศาสตร์การเมือง เราอาจสรุปหลักการของ มาร์กซ์ ออกเป็น 3 ข้อ คือ
ในระบบเศรษฐกิจ เราจะต้องให้ความสำคัญในการวิเคราะห์ เรื่อง ผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีทั้งมิติของความสอดคล้องกันและความขัดแย้งดำรงอยู่ ในการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจผู้คน 2 ฝ่าย ย่อมได้รับผลประโยชน์มากกว่า ความเหลื่อมล้ำในการแบ่งผลประโยชน์นี้ย่อมมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ ทางเศรษฐกิจของกลุ่มคนเหล่านี้

33 2. ในการวิเคราะห์เรื่องการแลกเปลี่ยนและการแบ่งผลประโยชน์เราอาจมองไปที่การกระทำและพฤติกรรมของมนุษย์ ในฐานะที่เป็นปัจเจกบุคคลหรือเป็นกลุ่มชนก็ได้ มาร์กซ์ เน้นการวิเคราะห์เรื่อง “ชนชั้นทางเศรษฐกิจ” เช่น ชนชั้นแรงงานกับชนชั้นนายทุน โดยมองว่า กลุ่มคนที่อยู่ในชนชั้นใด ชนชั้นหนึ่งมีแนวโน้มที่มีพฤติกรรมเหมือนกัน มีความต้องการ และความใฝ่ฝันเหมือนกัน มีวิถีชีวิตและโอกาสเหมือนกัน ผลประโยชน์ ที่แตกต่างระหว่าง ชนชั้น มักก่อให้เกิด ความขัดแย้งทางชนชั้น เช่น แรงงานกับทุน

34 3. ในระบบเศรษฐกิจ จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังเช่น ในระบบ ทุนนิยม การสะสมทุนจะเป็นตัวจักรสำหรับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง การสะสมทุนก่อให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรม อันนำไปสู่การเจริญเติบโตของเมืองใหญ่ วิถีชีวิตแบบใหม่เกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับแบบแผนการบริโภค ที่เน้นความฟุ้งเฟ้อ ซึ่งกระตุ้นให้มีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง การวิเคราะห์เชิงระบบ (system analysis) และการมองมิติ ของการเปลี่ยนแปลง นับว่าเป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของเศรษฐศาสตร์การเมืองแนวมาร์กซิสต์

35 เศรษฐศาสตร์การเมืองของซ้ายใหม่
ตัวอย่างของ Radical Economics ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของ New Left (ซ้ายใหม่) ซึ่งกำเนิดมาท่ามกลาง การเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาของสหรัฐอเมริกา ในทศวรรษที่ 1960 นักคิดกลุ่มนี้วิจารณ์ทั้งทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ และระบบเศรษฐกิจทุนนิยมสมัยใหม่ โดยใช้จุดยืน ทางปรัชญาของ คาร์ล มาร์กซ์ กลุ่มซ้ายใหม่ทำการวิเคราะห์ระบบ ในแนวเดียวกับ มาร์กซ์

36 ฝ่ายซ้ายใหม่มองวิถีการผลิตและผลกระทบที่มีต่อวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง พวกเขาให้ความสำคัญสูง ในการมองเรื่อง อุดมการณ์และอำนาจรัฐ ฝ่ายซ้ายใหม่มีความเชื่อเช่นเดียวกับมาร์กซ์ว่า ความขัดแย้งภายใน ระบบทุนนิยม จะนำไปสู่การปฏิวัติและการพังทลายของระบบในที่สุด ในขณะเดียวกันกลุ่มซ้ายใหม่ก็มีแนวคิดชัดเจนเกี่ยวกับการสร้าง สังคมใหม่

37 บทวิพากษ์ระบบและอุดมการณ์
ในการวิจารณ์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเราได้เห็นแล้วว่า นักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายซ้ายใหม่ได้กล่าวพาดพิงถึงระบบทุนนิยมอเมริกันด้วยข้อวิจารณ์ทั้งหมดนี้ อาจสรุปได้สั้น ๆ คือ - ในระบบมีความเหลื่อมล้ำทางรายได้และทรัพย์สมบัติดำรงอยู่มาก - ระบบส่งเสริมให้มีการกีดกันทางผิวเชื้อชาติและทางเพศ - ระบบเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดภาวะ “ความแปลกแยก” ในโครงสร้างทางจิต ของคนทำงาน และประชาชนที่อยู่ในวงการต่าง ๆ

38 - ทุนนิยมส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยในการผลิตสิ่งที่ไม่มีค่าสำหรับสังคมและมีการละเลยการสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ - ระบบไม่สามารถแก้ไขปัญหาความไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ - ทุนนิยมสนับสนุนลัทธิจักรวรรดินิยมและลัทธิทหาร - เศรษฐกิจแบบตลาดเสรีสุดขั้วมีแนวโน้มที่จะสร้างมลภาวะที่ร้ายแรงอย่างกว้างขวาง

39 ในความคิดของเศรษฐศาสตร์ฝ่ายซ้ายใหม่ ระบบใหม่จะต้องไม่ใช่ ระบบ สังคมนิยมแบบโซเวียต ที่มีการวางแผนส่วนกลางโดยรัฐ เพราะ อำนาจรัฐแบบผูกขาด ของโซเวียตก็มีลักษณะกดขี่ เช่นเดียวกับอำนาจทุน นอกจากนี้ยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวางอีกด้วยในระบบของโซเวียต

40 นักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายซ้ายใหม่ บางคนมีความเห็นว่าระบบใหม่น่าจะเป็น “สังคมนิยมแบบตลาด” (market socialism)
ดังปรากฏอยู่ในแบบจำลองของนักทฤษฎีสังคมนิยม คนสำคัญ ชื่อ OSKAR LANGE ซึ่งมีการผสมผสานระหว่างกลไกตลาด และกลไกการวางแผนของรัฐ

41 นักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายซ้ายใหม่ มีแนวคิดที่ชัดเจนมากอยู่ 2 เรื่อง เกี่ยวกับระบบใหม่ คือ
1. จะต้องเป็นระบบที่มี การกระจายอำนาจ ไม่ใช่เป็นแบบรวมศูนย์ จากข้างบน ลงมาข้างล่าง 2. จะต้องเป็นระบบที่มี หลักการการมีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงงานต้องมีส่วนร่วมในโครงสร้างการ ตัดสินใจขององค์กร รวมทั้งมีอำนาจในการวางนโยบายเศรษฐกิจของชาติร่วมกับบุคคลวงการอื่นๆ ด้วย

42 สรุปแล้ว สังคมนิยม ที่พึงปรารถนาไม่ใช่เป็นแบบ ผูกขาด หรือ อำนาจนิยม หากแต่เป็น สังคมนิยมแนวประชาธิปไตย เป็นสังคมที่คนทุกคนสามารถมีชีวิตอยู่อย่างเท่าเทียม อิสรเสรี ปลอดจากภาวะ แห่ง ความแปลกแยก และ การครอบงำ ทั้งปวง

43 อนาคตของสังคมนิยม การปฏิวัติประชาธิปไตย ปี 1989 ในยุโรปตะวันออก และการล่มสลายของสหภาพ โซเวียตได้กระตุ้นให้ผู้คนในวงการเศรษฐศาสตร์การเมือง แนวมาร์กซิสต์ ตั้งคำถามกันว่า “สังคมนิยม คืออะไรกันแน่?” ในขณะเดียวกันก็เกิดความไม่แน่ใจกันขึ้นมา จึงมีคำถามเพิ่มเติมว่า “สังคมนิยม มีอนาคตหรือไม่?“

44 บทเรียนจากการล่มสลายของสังคมนิยม
อาจสรุปได้ดังนี้ ประการแรก เราต้องยอมรับว่า สังคมนิยมที่ดำรงอยู่อย่างเป็นจริง (ในประเทศที่เรียกตัวเองว่าสังคมนิยม) ได้เปิดเผยให้เราเห็น ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ มากกว่าที่เราได้เคย คิดคาด กันไว้ ในอุดมการณ์มีการกล่าวถึงความเจริญความรุ่งเรือง ความเสมอภาค แต่ในความเป็นจริงในยุโรปตะวันออก และสหภาพโซเวียต ระบบนี้ล้มเหลวอย่างมาก

45 การขยายตัวทางเศรษฐกิจและประสิทธิภาพในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา มีน้อยมาก ความเสมอภาคในรูปแบบต่าง ๆ ก็ไม่ปรากฏให้เห็นชัดเจน และยังมีวิกฤติการณ์ ทางสิ่งแวดล้อมที่หนักหน่วงด้วย สิ่งที่สำคัญ คือ ประชาชนในระบบนี้ไม่ได้พบเห็น เสรีภาพทางการเมือง เลย ตลอดเวลาที่มีการสร้างสรรสังคมนิยม พวกเขาได้ยินแค่คำว่า “ประชาธิปไตย แบบรวมศูนย์” ซึ่งมีการรวมศูนย์มากกว่าประชาธิปไตย

46 ประการที่สอง ประเทศสังคมนิยมเหล่านี้ แม้จะไม่ใช่สังคมนิยมที่แท้จริง แต่ก็มีหลักการหลายอย่างที่เอามาจากคัมภีร์สังคมนิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง - การมีระบบกรรมสิทธิ์ส่วนรวมโดยจำกัดกรรมสิทธิ์เอกชน - การควบคุมการสะสมทุนโดยรัฐและระบบการวางแผนส่วนกลาง - การจำกัดบทบาทของกลไกตลาด - การให้หลักประกันทางด้านการบริการสังคมและความมั่นคงทางสังคม สรุปแล้ว หลักการหลายอย่างบ่งว่า ประเทศเหล่านี้ไม่ใช่เป็นประเทศทุนนิยมแน่นอน หากแต่อยู่บนหนทางของสังคมนิยม

47 นักเศรษฐศาสตร์การเมืองแนวมาร์กซิสต์สมัยใหม่ ได้ทำการวิเคราะห์สังคมนิยม ทั้ง 2 รูปแบบ และได้ข้อสรุปว่าการผสมผสานกัน จะนำไปสู่การสร้างแบบจำลองสังคมนิยมใหม่ ซึ่งพอจะเป็นความหวังสำหรับอนาคตได้ Thomas E. Weisskopf มีความเห็นว่า ประชาธิปไตย ควรจะเป็นหลักการสำคัญที่สุดของการสร้างสังคมนิยม โดยเน้น market socialism ในขณะเดียวกันประชาธิปไตยจะต้องครอบคลุมทั้งการเมืองเศรษฐกิจและสังคมด้วย นั่นคือต้องใช้หลักการ “การจัดการตนเอง” (self – management) ด้วย

48 นอกจากนี้ จะมีการผสมผสาน 2 กลไก คือ กลไกตลาด ทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรและ กลไกรัฐ ทำหน้าที่วางนโยบายมหภาคของเศรษฐกิจระดับชาติ รวมทั้งนโยบายความมั่นคงทางสังคม และการแบ่งรายได้ แบบจำลองนี้ ก็คือ market socialism ในแนวคิดของ O. Lange ผสมกับแนวคิดประชาธิปไตยทางการเมือง และการมีส่วนร่วม ในการจัดการ ทางเศรษฐกิจสังคมนั่นเอง

49 ภาคผนวก โลกทัศน์ที่ต่างกัน กับการมองความเป็นจริงภายใต้ระบบทุนนิยม
paradigms ธรรมชาติของมนุษย์ แรงจูงใจกระตุ้นการทำงาน หน่วยวิเคราะห์ ทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์ เป้าหมายสูงสุด อนุรักษ์นิยมใหม่ แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน -เพิ่มค่าจ้างรายได้ -กลัวการตกงาน -เน้นการสะสมวัตถุ - ปัจเจกชน (บุคคล) - หน่วยธุรกิจ (บริษัท) เศรษฐศาสตร์นิโอคลาสิกที่เน้นหลักการ การแข่งขันและการแสวงหากำไรสูงสุด แสวงหาเสรีภาพของบุคคลสูงสุดและความเจริญทางวัตถุสูงสุด เสรีนิยมใหม่ มีคุณธรรม - เพิ่มค่าจ้างรายได้ - กลัวการตกงาน - เน้นการสะสมวัตถุ ปัจเจกชนผสมกลุ่มชนในสังคม - เศรษฐศาสตร์ของเคนส์ - เน้นหลักการแข่งขันและการแสวงหากำไร - รัฐสนับสนุนเอกชน แสวงหาความเสมอภาคของบุคคลและความยุติธรรมทางสังคม (ความเสมอภาคทางโอกาส) มาร์กซิสต์ใหม่ มีจิตใจสามัคคีร่วมมือกัน - แรงกระตุ้นทางอุดมการณ์ - ไม่เน้นการสะสมวัตถุ ชนชั้นในสังคม - เศรษฐศาสตร์ของมาร์กซและซ้ายใหม่ - ทฤษฏีมูลค่าส่วนเกินและการปฏิวัติทางชนชั้น แสวงหาความเสมอภาคทางสังคม - สร้างสังคมคอมมิวนิสต์ที่ทุกคนเท่าเทียมกัน

50 ปัญหาหลักของเศรษฐกิจสังคม
paradigms ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ปัญหาหลักของเศรษฐกิจสังคม บทบาทของรัฐ การเปลี่ยนแปลงสังคม อนุรักษ์นิยมใหม่ อยู่ในภาวะของดุลยภาพซึ่งเกิดขึ้นจากความสอดคล้องของดีมานต์ ซัพพลาย  ธุรกิจเอกชนขาดแรงจูงใจ  แรงงานเรียกร้องมากไป  รัฐเข้ามายุ่งกับเศรษฐกิจมากไป รัฐควรมีหน้าที่รักษาระเบียบเรียบร้อยของสังคมเท่านั้นเพื่อให้กลไกตลาดแก้ไขปัญหาส่วนใหญ่ในเศรษฐกิจ ควรเป็นอย่างขั้นตอนและเป็นไปตามธรรมชาติอันเกิดจากการทำงานของระบบตลาด เสรีนิยมใหม่ อยู่ในภาวะของดุลยภาพซื่งเกิดขึ้นได้ โดยการแทรกแซงของรัฐในระบบเศรษฐกิจ  มีแนวโน้มผูกขาดของธุรกิจขนาดใหญ่  รัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพ รัฐรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย และควรเข้าแทรกแซงในเศรษฐกิจ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น และเมื่อมีความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้นทางสังคม ควรเป็นไปอย่างรวดเร็วโดยการสนับสนุนของรัฐอย่างเข้มแข็ง มาร์กซิสต์ใหม่ อยู่ในภาวะที่มีความขัดกันหลายอย่างและมีวิกฤตการณ์  มีการขูดรีดแรงงาน  มีการใช้ทรัพยากร  มีภาวะ ความแปลกแยก  มีการเน้นการแสวงหากำไรมากไป  ระบบกรรมสิทธิเอกชนก่อให้เกิดปัญหามากมาย  มีความไม่เท่าเทียมกันในการแบ่งรายได้ และทรัพย์สมบัติ รัฐเป็นผู้รักษาผลประโยชน์ของชนขั้นนายทุน ควรมีลักษณะเป็นการปฏิวัติสังคม โดยการเคลื่อนไหวมวลชน เพื่อล้มล้างระบบเก่าและโลกทัศน์เก่าของสังคมเก่า

51 จบ ภาคที่ 1

52 ตอนต่อไป

53 เศรษฐศาสตร์การเมืองแห่งความหายนะ และ ความหายนะของเศรษฐศาสตร์การเมือง


ดาวน์โหลด ppt หัวข้อการบรรยาย  เสรีนิยมใหม่  มาร์กซิสต์ใหม่  อนาร์คิสต์ใหม่  นิเวศนิยม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google