งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กลุ่มที่ 2 กลุ่มจังหวัดที่ 3.1 (นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี อ่างทอง) กลุ่มจังหวัดที่ 3.2 (ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี) กลุ่มจังหวัดที่ 4.1 (กาญจนบุรี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กลุ่มที่ 2 กลุ่มจังหวัดที่ 3.1 (นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี อ่างทอง) กลุ่มจังหวัดที่ 3.2 (ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี) กลุ่มจังหวัดที่ 4.1 (กาญจนบุรี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กลุ่มที่ 2 กลุ่มจังหวัดที่ 3.1 (นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี อ่างทอง) กลุ่มจังหวัดที่ 3.2 (ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี) กลุ่มจังหวัดที่ 4.1 (กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี) กลุ่มจังหวัดที่ 4.2 (สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์) กลุ่มจังหวัดที่ 4.3 (ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สมุทรปราการ สระแก้ว)

2 ประธาน : ผู้แทนสภาหอการค้า (คุณวันชัย นิ้วประสิทธิ์) เลขานุการกลุ่ม : คุณรุจิรา ทาบุตร (จ.ลพบุรี)

3 สรุปผลการประชุมในช่วงเช้า 1)การบริหารกลุ่มจังหวัด เห็นด้วยในหลักการ

4 2. แนวทางการจัดกลุ่มจังหวัด 2.1 ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ – ภาพรวมมีความเหมาะสม – กลุ่มจังหวัดที่คิดว่ายังไม่เหมาะสม กลุ่มจังหวัดที่ 3.1 (นนทบุรี อยุธยา ปทุมธานี อ่างทอง) กลุ่มจังหวัดที่ 3.2 (ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี) จ. อ่างทองกลุ่มจังหวัด 3.2 จ. สระบุรีกลุ่มจังหวัด 3.1 ข้อเสนอการจัดกลุ่มใหม่ 1) นนทบุรี อยุธยา ปทุมธานี สระบุรี 2) ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง

5 2. แนวทางการจัดกลุ่มจังหวัด ประเด็นการจัดกลุ่ม จังหวัด ความเห็นของภาครัฐความเห็นของภาคเอกชน กลุ่มจังหวัด 3.1เห็นควรให้มีการจัดกลุ่ม จังหวัดใหม่ตามข้อเสนอการ จัดกลุ่มใหม่ โดยนำจ. อ่างทองไปอยู่กลุ่ม 3.2 ให้คงเดิม เหตุผลเป็นกลุ่มที่เน้น ภาคอุตสาหกรรม กลุ่มจังหวัด 3.2เห็นควรให้มีการจัดกลุ่ม จังหวัดใหม่ตามข้อเสนอการ จัดกลุ่มใหม่ โดยนำ จ. สระบุรี ไปอยู่กลุ่ม 3.1 ให้คงเดิม เหตุผลเป็นกลุ่มที่เน้นภาค เกษตรกรรม

6 2.2 ความเกี่ยวเนื่องทางเศรษฐกิจ การผลิต การค้า และการ ลงทุนเพื่อมูลค่าเพิ่มและการได้เปรียบในการแข่งขันร่วมกัน – ภาพรวมมีความเหมาะสม – กลุ่มจังหวัดที่ 4.3 (สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก) มีหลายประเด็นยุทธศาสตร์ที่โดด เด่นแตกต่าง ทำให้มีปัญหาการเชื่อมโยงทางยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัด 2. แนวทางการจัดกลุ่มจังหวัด ข้อเสนอ ประเด็นการค้าชายแดน (จ. สระแก้ว) ควรจัดอยู่ในกลุ่มภาคตะวันออก 5.1

7 2.3 ยุทธศาสตร์ของการแก้ปัญหาเร่งด่วนร่วมกันของประเทศ ซึ่ง จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างจังหวัด - เห็นด้วย และควรให้ภาคเอกชน ภาคประชาชน ชุมชน และส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น -ความจริงจังของภาครัฐ ควรนำข้อคิดเห็นต่าง ๆ ไปสู่การ ปฏิบัติ -ขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน รวมทั้งยุทธศาสตร์ของ จังหวัดเมื่อมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนผู้ว่าราชการจังหวัด 2. แนวทางการจัดกลุ่มจังหวัด

8 การจัดระบบหรือกลไกการบริหารราชการ แบบกลุ่มจังหวัด

9 การบริหารเชิงยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด ปัญหา/ข้อเสนอแนะ ปัญหา เนื่องจากจังหวัดภายในกลุ่มบางจังหวัดมีศักยภาพใน พื้นที่ไม่สอดคล้องและเชื่อมโยงกันทำให้การจัดทำยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัดไม่เป็นเอกภาพ ส่งผลกระทบต่อการกำหนด ตัวชี้วัดและการประเมินผลตามตัวชี้วัด ข้อเสนอ ควรจัดกลุ่มจังหวัดให้มีความเหมาะสมและให้มีความ เชื่อมโยงกันระหว่างจังหวัดในกลุ่มภาคเศรษฐกิจ การ ท่องเที่ยว การค้าและการลงทุน

10 การบริหารงบประมาณ ปัญหา/ข้อเสนอแนะ เห็นสมควรให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณ ให้กับกลุ่มจังหวัด โดยให้คณะกรรมการระดับกลุ่มจังหวัดได้พิจารณากำหนด โครงการตามยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด

11 การบริหารจัดการทรัพยากรร่วมกันภายใน กลุ่มจังหวัด ปัญหา/ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดระบบการขับเคลื่อนเชื่อมโยงตามศักยภาพใน การนำทรัพยากรจัดสรรให้จังหวัดที่เป็นเจ้าภาพในยุทธศาสตร์ นั้นๆ และจังหวัดใกล้เคียงควรมีการสนับสนุนการสร้าง เครือข่าย เพื่อพัฒนาศักยภาพให้มีขีดความสามารถที่ ใกล้เคียงกัน

12 การประสานความร่วมมือระหว่างจังหวัด ปัญหา : เนื่องจากมีบางกลุ่มจังหวัดกำหนดให้สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัดตั้งอยู่ที่จังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง ประกอบกับผู้แทนกลุ่มจังหวัดอยู่ คนละแห่งกัน ทำให้เกิดปัญหาในการประสานความร่วมมือกันภายในกลุ่ม จังหวัด ข้อเสนอ : ควรกำหนดสำนักงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดมีที่ตั้งที่ แน่นอนและเหมาะสม และเป็นศูนย์กลางของกลุ่มจังหวัด ควรกำหนดให้ เป็นหน่วยงานตามกฎหมาย โดยที่รัฐบาลจัดสรรบุคลากรประจำเพื่อ บริหารงานในสำนักงานดังกล่าว โดยกำหนดให้ผู้ตรวจสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกลุ่มลงมาบริหารงานในสำนักงานโดยตรง โดยให้ส่วนราชการ ส่วนกลางและองค์กรภาคเอกชนที่มีความรู้และมีประสบการณ์ในพื้นที่ส่ง บุคลากรเข้ามาร่วมอยู่ด้วยเพื่อให้เป็นองค์กรที่มีการประสานความร่วมมือ ระหว่างจังหวัดภายในกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

13 การจัดหน่วยบริหารเชิงยุทธศาสตร์ (OSM) ใน กลุ่มจังหวัด ปัญหา : ปัจจุบันไม่มีองค์กรโดยตรงรับผิดชอบ หน่วยงาน รับผิดชอบหลักได้แก่ สำนักงานจังหวัดซึ่งสำนักงานจังหวัดมี งานหลายด้านทำให้ไม่สามารถลงมาปฏิบัติงานในสำนักงาน บริหารกลุ่มจังหวัดได้อย่างเต็มที่ ข้อเสนอ : รัฐบาลควรกำหนดองค์กรโดยตรงและควรจัดสรร อัตรากำลังบุคลากรมาบริหารงานในสำนักงาน

14 การบริหารงานบุคคล ปัญหา/ข้อเสนอแนะ ปัญหา : ขาดบุคลากรประจำ แต่ส่วนกลางมีนโยบาย กำหนดให้จังหวัดภายในกลุ่มจัดสรรบุคลากรจากหน่วยงาน ภาครัฐของจังหวัดหรือให้จังหวัดจ้างลูกจ้างชั่วคราวมาประจำ สำนักงานบริหารงานกลุ่มจังหวัด ข้อเท็จจริง : จังหวัดไม่มีงบประมาณและบุคลากรไม่เพียงพอ ข้อเสนอ : ส่วนกลางควรจัดสรรอัตรากำลังมาให้

15 ระบบสนับสนุนของหน่วยงานส่วนกลาง ปัญหา/ข้อเสนอแนะ ส่วนกลางควรสนับสนุนองค์ความรู้ในด้านการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ จังหวัดให้มาก ให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนกลางควรเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินการตามนโยบายต่างๆ เช่น การ ดำเนินงานตามตัวชี้วัด การพัฒนาบุคลากร ส่วนกลางควรสนับสนุนงบประมาณและบุคลากรเพื่อบริหารงานยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัดและจังหวัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

16 กฎหมายและระเบียบต่างๆ ปัญหา/ข้อเสนอแนะ ปัญหา : สำนักงานบริหารกลุ่มจังหวัดในปัจจุบัน ไม่ได้เป็น องค์กรที่มีกฎหมายรองรับ ทำให้การดำเนินการบริหารแบบ กลุ่มจังหวัดมีปัญหาค่อนข้างมาก ข้อเสนอแนะ : รัฐบาลควรที่จะกำหนดให้สำนักงานดังกล่าวเป็น องค์กรที่มีกฎระเบียบและกฎหมายรองรับ

17 ข้อคิดเห็น/ข้อแนะนำอื่นๆ


ดาวน์โหลด ppt กลุ่มที่ 2 กลุ่มจังหวัดที่ 3.1 (นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี อ่างทอง) กลุ่มจังหวัดที่ 3.2 (ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี) กลุ่มจังหวัดที่ 4.1 (กาญจนบุรี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google