งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ภาษาปาสคาล บทนำ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ภาษาปาสคาล บทนำ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ภาษาปาสคาล บทนำ

2 ประวัติภาษาปาสคาล ปาสคาลเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นโดย ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์นิเคลาส์ เวิร์ต(Dr. Niklaus Wirth) จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งซูริค ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2514 ชื่อภาษาตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) นักคณิตศาสตร์ และปรัชญาชาวฝรั่งเศส (พ.ศ ) เป็นผู้สร้างเครื่องบวกเลขได้สำเร็จเป็นคนแรกของโลกในปี พ.ศ ซึ่งเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ดร.นิเคลาส์ เป็นผู้สร้างภาษา PL/1 และ ALGOL-60 มาก่อน บางส่วนของปาสคาลจึงมีพื้นฐานมาจากภาษาทั้งสองนี้

3 ลักษณะของภาษาปาสคาล ภาษาปาสคาลทำให้แบ่งงานภายในโปรแกรม ซึ่งเป็นงานใหญ่ออกเป็นงานย่อยๆ เป็นตอนๆได้ เป็นภาษาที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความง่ายในการใช้งาน โปรแกรมที่ทำไว้ สามารถนำกลับมาใช้งานได้

4 รูปแบบของภาษาปาสคาล PROGRAM ชื่อโปรแกรม; ส่วนหัว (Head) USE LABEL
VAR CONST TYPE ส่วนประกาศ (Declaration) PROCEDURE or FUNCTION BEGIN เริ่มโปรแกรม …. ส่วนคำสั่ง (Body) END.

5 ส่วนหัว (Head) สำหรับกำหนดชื่อโปรแกรม มีรูปแบบ ดังนี้
PROGRAM ชื่อโปรแกรม ; ต้องเริ่มต้นด้วยคำว่า PROGRAM แล้วตามด้วยชื่อโปรแกรม เช่น PROGRAM Hello; <-----> PROGRAM HELLO; **จะเขียนตัวเล็กตัวใหญ่ก็มีความหมายเหมือนกัน**

6 การตั้งชื่อ ชื่อ คือ คำที่ตั้งขึ้นเพื่อกำหนดให้เป็นชื่อของโปรแกรม โปรแกรมย่อย ตัวแปร แบบของข้อมูล และค่าคงตัวอักขระ (Character) ที่เรานำมาใช้เป็นชื่อได้ คือ ตัวอักษร ตัวเลข และขีดล่างเท่านั้น จะนำเครื่องหมายใดๆ มาใช้เป็นชื่อไม่ได้ และจะต้องขึ้นต้นด้วยอักษรหรือขีดล่างไม่ให้ขึ้นต้นด้วยตัวเลข ความยาวของชื่อที่สั้นที่สุดคือ 1 อักขระ ส่วนชื่อที่ยาวที่สุดในปาสคาลมาตรฐานกำหนดไว้ว่าไม่เกิน 1 Line คือ 127 อักขระ แต่ก็ขึ้นอยู่กับคอมไฟเลอร์แต่ละตัว ส่วนมากกำหนดไว้ไม่เกิน 30 อักขระ และมีความหมายเพียง 8 ตัวแรก สำหรับเทอร์โบปาสคาลกำหนดไว้ไม่เกิน 127 อักขระ แต่จะมีความหมายเพียง 63 ตัวแรก

7 ส่วนประกาศ (Declaration)
LABEL สำหรับกำหนดชื่อ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่คำสั่ง GOTO จะไปหา มีรูปแบบดังนี้ LABEL ชื่อ [,ชื่อ] ; เช่น Label Point1,Point2;

8 ส่วนประกาศ (Declaration) <ต่อ>
CONST สำหรับกำหนดชื่อ และค่าที่ไม่เปลี่ยนแปลง มีรูปแบบดังนี้ CONST ชื่อ = ค่าที่กำหนด ; เช่น CONST title = ‘TITANIC’; max = 200;

9 ส่วนประกาศ (Declaration) <ต่อ>
Var สำหรับกำหนด ชื่อตัวแปรและชนิดข้อมูลของคำสั่ง Var ชื่อ [,ชื่อ] : ชนิดของข้อมูล ; เช่น Var title : string; max, min, avg : integer;

10 ส่วนประกาศ (Declaration) <ต่อ>
Uses เป็นส่วนที่จะบอกให้ทราบว่าในโปรแกรมนั้นจะต้องอาศัยไฟล์ใดมาช่วยงานบ้าง (นามสกุล .TPU) หัวข้อนี้จะอยู่ต่อจากส่วนหัว ตัวอย่าง Program Example; Uses Crt,Dos,Printer;

11 ส่วนประกาศ (Declaration) <ต่อ>
Type ใช้ในกรณีที่ผู้ใช้กำหนดชนิดหรือแบบของตัวแปรขึ้นมาเอง วิธีการใช้งาน “ขึ้นต้นด้วย Type แล้วตามด้วยตัวแปรที่จะกำหนดและแบบของตัวแปร” ตัวอย่าง Type Date = 1..31;

12 การให้ค่าแก่ตัวแปร (Assisment Expression)
เมื่อกำหนดตัวแปรแล้ว การดำเนินขั้นตอนแรกกับตัวแปร คือ การให้ค่าตัวแปร ซึ่งทำได้ 2 วิธี คือ อ่านจากอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ดมาให้แก่ตัวแปร และการให้ค่าคงตัว แก่ตัวแปร เช่น num := 154; name := ‘Nipaporn Khamcharoen’;

13 ส่วนคำสั่ง (Body) เริ่มจาก BEGIN ถึง END. ส่วนนี้ประกอบด้วยประโยคคำสั่งต่าง ๆ สำหรับสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานประเภทของคำสั่ง ตัวอย่าง PROGRAM hello; BEGIN writeln(‘Hello! World’); END.

14 อินพุตและเอาต์พุต คำในภาษาปาสคาลที่ใช้เป็นอินพุตและเอาต์พุตกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ดและจอภาพ คือ Read และ Write เช่น Write (‘Good Morning’); Write (num); Read (num); Read (name);

15 ตัวดำเนินการ (Operators)
ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ ใช้กับข้อมูลที่เป็นตัวเลข ให้ผลจากการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ มีอยู่ 6 ตัว คือ + , - , * , / , DIV และ MOD ซึ่ง 4 ตัวแรกเป็นการดำเนินการ บวก ลบ คูณ และหาร ส่วน DIV และ MOD เลขจำนวนเต็มเท่านั้น โดยที่ DIV เป็นการหารแบบปัดทิ้ง ส่วน MOD ให้เศษของการหาร

16 ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
ใช้เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลที่เป็นอักขระ เลขจำนวน บูลีน และสตริง แล้วให้ค่าเป็นความจริงหรือเท็จ มีอยู่ 6 ตัว คือ = , < > , < , > , <= , >= ตัวดำเนินการบูลีน ให้ค่าความเป็นจริงและเป็นเท็จระหว่างความสัมพันธ์ของตัวตั้ง และตัวกระทำในรูปของคณิตศาสตร์บูลีน มีอยู่ 4 ตัว NOT , AND , OR , XOR

17 ตัวดำเนินการตรรก ให้ผลการดำเนินกรรมวิธีทางตรรกของเลขจำนวนเต็มในแบบบิตต่อบิต มีตัวดำเนินการ 6 ตัว คือ AND , OR , XOR , NOT , SHL , SHR

18 วิธีใช้โปรแกรม Turbo Pascalเบื้องต้น

19 การใช้โปรแกรม Turbo Pascal เบื้องต้น(ต่อ)
F1 คือ สวนของการช่วยเหลือในการใช้งาน F2 คือ save หรือเซฟโปรแกรม F3 คือ openไปไฟล์หรือ เรียกไฟล์ที่เซฟไว้ขึ้นมา Alt+F9 คือ compile หรือแปลโปรแกรม F9 คือ make หรือการตรวจสอบโปรแกรมว่าถูกต้องหรือผิดพลาดในการใช้ไวยากรของภาษา

20 การใช้โปรแกรม Turbo Pascal เบื้องต้น(ต่อ)
F10 คือ ทำให้เกิดแสงสว่างที่คำสั่งบนเมนู แล้วสามารถเลื่อนลูกศรไปซ้ายหรือขวาได้ Alt+X คือ การออกจากโปรแกรม

21 จบแล้ว ขอบคุณครับ/ค่ะ


ดาวน์โหลด ppt ภาษาปาสคาล บทนำ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google