งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เขียนได้ความตามรูปแบบ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เขียนได้ความตามรูปแบบ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เขียนได้ความตามรูปแบบ
วิวิธภาษาบทที่ ๔

2 หลักการเขียนจดหมายทั่วไป
๑. เขียนให้ถูกรูปแบบตามที่นิยมใช้กัน ๒. ใจความจดหมายต้องชัดเจน สมบูรณ์ครบถ้วน ๓. เลือกใช้กระดาษสำหรับเขียนจดหมาย และซองจดหมายสีสุภาพเหมาะสมกับผู้รับ ๔. เขียนด้วยลายมือที่อ่านง่ายเป็นระเบียบสะอาดเรียบร้อย ๕. ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหลักภาษาและคำนึงถึงความสุภาพถูกกาลเทศะ ๖. ระบุที่อยู่ของผู้เขียนให้ชัดเจน

3 ๗. ระบุวันที่ที่เขียนจดหมายทุกครั้ง
๘. ใช้คำขึ้นต้น (คำนำ) คำสรรพนามแทนผู้เขียน และผนึกตรา ไปรษณียากรตามที่กรมไปรษณีย์กำหนด ๙. การเขียนเนื้อเรื่อง จะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ ๙.๑ จดหมายถึงเพื่อนหรือถึงญาติผู้ใหญ่ การเขียนมีลักษณะคล้ายเรียงความ ควรมีการย่อหน้าทุกครั้งที่เปลี่ยนใจความตอนใหม่ เพื่อให้ดูสวยงามน่าอ่านและเป็นสัดส่วนด้วย ๙.๒ ถ้าเป็นจดหมายถึงบุคคลอื่น การใช้ถ้อยคำภาษาอาจจะต้องระมัดระวังให้สุภาพเรียบร้อยกว่าจดหมายส่วนตัว

4 ๑๐. ในกรณีที่มีการให้พร ควรอ้างคุณพระศรีรัตนตรัย (ผู้น้อยไม่ควรให้พรผู้ใหญ่)
๑๑. คำลงท้าย ต้องให้เหมาะแก่กาลเทศะและบุคคล ๑๒. การลงชื่อผู้เขียน โดยมารยาทควรเขียนให้อ่านออก เพราะผู้รับจะไม่สบายใจว่าใครเป็นผู้เขียน

5 แบบการใช้คำนำ คำสรรพนาม และคำลงท้าย
แบบการใช้คำนำ คำสรรพนาม และคำลงท้าย ผู้รับ คำนำ สรรพนาม คำลงท้าย ผู้เขียน พ่อ , แม่ กราบเท้า…ที่ เคารพอย่างสูง ลูก,หนู,ผม,กระผม ,ดิฉัน คุณพ่อ,พ่อ,คุณแม่ ,แม่ หรือใช้ชื่อเล่น แทน ด้วยความเคารพ รักอย่างสูง ญาติผู้ใหญ่ กราบเท้า…ที่ เคารพอย่างสูง หรือกราบเรียน… ที่เคารพอย่างสูง หลาน,ผม,หนู, กระผม,ดิฉัน หรือ ใช้ชื่อเล่นแทน คูณปู่,คุณย่า,คุณตา ,คุณยาย,คุณลุง, คุณน้า,คุณป้า,คุณ อา ด้วยความเคารพ อย่างสูง พี่หรือเพื่อนที่ อาวุโสกว่า เรียนคุณพี่ที่เคารพ หรือ กราบ…ที่ เคารพ น้อง,ผม,ดิฉัน,หนู, หรืออาจใช้ชื่อเล่น แทน คุณพี่ ,คุณ…. ด้วยความเคารพ, ด้วยความเคารพ รัก

6 ผู้รับ คำนำ สรรพนาม คำลงท้าย ผู้เขียน น้องหรือเพื่อน …น้องรัก หรือ คุณ…ที่รักหรือ (ชื่อเล่น) ที่รัก ฉัน,พี่ เธอ,คุณ,น้อง ด้วยความรัก,ด้วย ความรักยิ่ง,รักและ คิดถึง บุคคลทั่วไป เรียน….หรือ เรียนผู้จัดการ บริษัท…จำกัด กระผม,ผม,ดิฉัน ,ข้าพเจ้า คุณ,ท่าน ขอแสดงความนับ ถือ พระภิกษุทั่วไป นมัสการ… กระผม,ผม,ดิฉัน ท่าน,พระคุณท่าน, พระคุณเจ้า ขอมนัสการด้วย ความเคารพ ครู,อาจารย์ เรียน…อาจารย์ที่ เคารพ คุณครู,อาจารย์ ด้วยความเคารพ อย่างสูง

7 จดหมายกิจธุระ หมายถึง  จดหมายที่เขียนไปเพื่อติดต่อสื่อสารกันระหว่างบุคคลหรือหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ  เพื่อแจ้งเรื่องการงานหรือเรื่องส่วนตัว  **จดหมายกิจธุระจะใช้รูปแบบเหมือนจดหมายราชการทั่วไปและใช้ภาษาระดับทางการ**

8 ประเภทของจดหมายกิจธุระ
๑.  จดหมายส่วนตัว    เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่สนิทสนมคุ้นเคยกัน ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อเล่าเรื่องราวส่วนตัวหรือสอบถามเรื่องราวไต่ถามสารทุกข์สุกดิบ และขอความช่วยเหลือ   

9 ส่วนตัว

10 ๒.  จดหมายติดต่อธุระ            เป็นการสื่อสารเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร  ความจำเป็นต่างๆ ที่ประสงค์ให้ผู้อื่นหรือองค์กรต่าง ๆ  รับทราบเพื่อนำไปสู่การพิจารณาให้ความร่วมมือในเหตุจำเป็น  ได้แก่ จดหมายลาป่วย จดหมายลากิจ จดหมายขอความร่วมมือหรือขอความอนุเคราะห์จากองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ จดหมายเชิญวิทยากร ฯลฯ

11 ติดต่อธุระ

12 ส่วนต่างๆของจดหมายกิจธุระ
๑. หัวจดหมาย มุมขวาบน ส่วนที่เป็นชื่อองค์กรหรือหน่วยงานต้น สังกัดของผู้ออกจม. ๒. ลำดับที่ของจดหมาย อยู่ด้านซ้ายมือมุมบน ๓. วัน เดือน ปี อยู่ตรงกลางหน้ากระดาษ ๔. เรื่อง เป็นข้อความสรุปสาระสำคัญ เพื่อบอกวัตถุประสงค์ ๕. คำขึ้นต้น จะใช้คำว่า “เรียน” ๖. สิ่งที่ส่งมาด้วย ระบุเอกสารหรือสิ่งที่มาด้วยกับจม. ๗. ข้อความ - ข้อความย่อหน้าแรก บอกสาเหตุถึงการเขียนจม. ขึ้นต้นว่า “ด้วย” “เนื่อง” “เนื่องจาก “เนื่องด้วย” - ข้อความย่อหน้าที่ ๒ บอก วถป. ว่าเขียนมาเพื่ออะไร

13 ๘. คำลงท้าย อยู่ตรงกลางหน้ากระดาษ
๙. ลายมือชื่อ ต้องเซ็นด้วยลายมือจริง ๑๐. ชื่อผู้เต็มของผู้เขียนจดหมาย พิมพ์อยู่ในวงเล็บ ๑๑. ตำแหน่งของผู้เขียนจดหมาย ต้องเขียนกำกับไว้ทุกครั้ง ๑๒. หน่วยงานที่ออกจดหมายและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้เขียนจดหมาย อยู่มุมซ้ายล่างชิดขอบกระดาษ เพื่อให้ผู้รับติดต่อกลับได้ สะดวก ๑๓. ซองจดหมาย

14 ตัวอย่างซองจดหมาย

15 จดหมายกิจธุระที่ดี ความชัดเจน ความสมบูรณ์ ความถูกต้อง ความสุภาพ
ความกะทัดรัด ความถูกต้อง ความสุภาพ

16 ประโยชน์ของจดหมายกิจธุระ
๑.  ใช้สื่อสารแทนการพูด ๒.  ใช้เพื่อบอกกล่าวข้อความบางประการที่ไม่อาจพูดจากันโดยตรงได้ ๓. ใช้เป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ไม่รู้จักกัน เช่น การเขียนจดหมายสมัครงาน  จดหมายเพื่อหามิตรต่างโรงเรียน ๔. ใช้เป็นเอกสารสำคัญ  ถือว่าเป็นลายลักษณ์อักษรสามารถใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้

17 แบบฝึกหัด ให้นักเรียนเขียนจดหมายเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่อง “ภาษาเพื่อการสื่อสาร” โดยกำหนดเนื้อหา วัตถุประสงค์ และรายละเอียดต่างๆตามความเหมาะสม

18 จบ...


ดาวน์โหลด ppt เขียนได้ความตามรูปแบบ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google