งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แรง มวลและกฎการเคลื่อนที่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แรง มวลและกฎการเคลื่อนที่"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แรง มวลและกฎการเคลื่อนที่
ฟิสิกส์ 1 แรง มวลและกฎการเคลื่อนที่

2 ผู้บุกเบิกคิดค้นถึงเหตุผล เพื่อหากฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ คือ
กาลิเลโอ ในเวลาต่อมา เซอร์ ไอแซก นิวตัน ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมและ ได้เขียนเป็นกฎไว้ 3 ข้อเรียกว่า กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน (Newton’s laws of motion) กฎเหล่านี้ใช้ได้กับการเคลื่อนที่ของวัตถุทุกชนิด

3 กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน มีปริมาณที่เกี่ยวข้องหลายปริมาณคือ มวล แรง ความเร่ง ความเร็ว การกระจัด
มวล (Mass) คือปริมาณเนื้อสารที่มีอยู่ในวัตถุ เป็นค่าที่จะบอกความเฉื่อยของวัตถุ ซึ่งความเฉื่อยนี้เป็นปริมาณที่จะต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพการเคลื่อนที่ หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า สมบัติของวัตถุที่ต่อต้านการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้นว่า “ความเฉื่อย” (Inertia) และปริมาณที่บอกให้ทราบว่า วัตถุใดมีความเฉื่อยมากหรือน้อย ก็คือ มวลของวัตถุ มวลเป็นปริมาณสเกลาร์ ใช้สัญลักษณ์ “m” หน่วยของมวลคือ กิโลกรัม (kg)

4 มวล (mass) คือปริมาณเนื้อสารที่มีอยู่ในวัตถุ เป็นค่าที่จะบอกความเฉื่อยของวัตถุ ซึ่งความเฉื่อยนี้เป็นปริมาณที่จะต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพการเคลื่อนที่ มวลมาก ความเฉื่อยมาก เคลื่อนที่ได้ยาก มวลน้อย ความเฉื่อยน้อย เคลื่อนที่ได้ง่าย

5 น้ำหนัก(Weight) คือแรงโน้มถ่วงที่โลกกระทำต่อวัตถุ ในทิศทางพุ่งเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก น้ำหนักเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเป็น นิวตัน(N) มวลและน้ำหนักมีความสัมพันธ์กัน ตามสมการ เมื่อ m =มวล(กิโลกรัม) g = สนามโน้มถ่วงของโลก (เมตร/วินาที2 ) ดังนั้นมวลจะมีค่าคงตัว แต่น้ำหนักจะแปรตามค่า g

6 แรง (Force) แรง คืออำนาจอย่างหนึ่งที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเป็น นิวตัน (N)

7   แรงที่ควรรู้จักมีดังนี้ - แรงกิริยา คือแรงที่กระทำต่อวัตถุ - แรงปฏิกิริยา คือแรงที่โต้ตอบแรงกิริยา
F1 F2

8 โดยที่แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1
โดยที่แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. มีขนาดเท่ากัน 2. มีทิศทางตรงกันข้าม และอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน 3.  กระทำ ณ ที่จุดเดียวกัน ถ้าวัตถุสัมผัสกัน กระทำบนมวลแต่ละก้อน แต่อยู่ในแนวเส้นตรงที่ผ่านจุดศูนย์กลางมวลทั้งสอง ถ้ามวลทั้งสองไม่สัมผัสกัน

9 แรงย่อย คือแรงเดียวเพียงแรงเดียวที่กระทำต่อวัตถุ
m F

10 แรงลัพธ์ คือผลรวมแบบเวกเตอร์ของแรงย่อย ที่กระทำต่อวัตถุ
F1 F2 แรงลัพธ์ หรือ F = F1+F2

11 แรงตึงเชือก คือแรงภายในเส้นเชือกขณะที่ถูกดึงและขณะที่ขึงเชือกให้ตึง
T

12 แรงเสียดทาน (Friction) คือแรงที่ต้านทานการเคลื่อนที่
ของวัตถุเมื่อวัตถุเริ่มจะมีการเคลื่อนที่ หรือกำลังมีการเคลื่อนที่

13 โดยที่ ก. แรงเสียดทานเกิดระหว่างที่ผิวสัมผัสของวัตถุ ข
โดยที่ ก.แรงเสียดทานเกิดระหว่างที่ผิวสัมผัสของวัตถุ ข. แรงเสียดทานจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ * วัตถุเริ่มเคลื่อนที่ขัดสีกัน * วัตถุกำลังเคลื่อนที่ขัดสีกัน เมื่อวัตถุวางทับกันเฉย ๆ โดยไม่มีแนวว่าจะเคลื่อนที่ หรือไม่มีแนวว่าจะขัดสีกันแสดงว่ายังไม่มีแรงเสียดทานเกิดขึ้น

14 ชนิดของแรงเสียดทาน แรงเสียดทานแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ แรงเสียดทานสถิต และแรงเสียดทานจลน์

15 แรงเสียดทานสถิต เป็นแรงเสียดทานขณะที่วัตถุอยู่นิ่งกับที่ มีค่าได้ตั้งแต่ ศูนย์ จนถึงสูงสุด เท่ากับ sN นั่นคือ แรงเสียดทานสถิต (fs) = sN

16 แรงเสียดทานจลน์ เป็นแรงเสียดทานขณะวัตถุกำลังเคลื่อนที่ มีค่าเท่ากับ kN นั่นคือ แรงเสียดทานสถิต (fk) = kN

17 กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1 ของนิวตัน
กฎข้อที่ 1 ของนิวตัน กล่าวว่า “วัตถุทุกชนิด จะดำรงสภาพหยุดนิ่ง หรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ ตราบใดที่ไม่มีแรงภายนอกมากระทำ” จากกฎข้อนี้อาจมีแรงหลาย ๆ แรงมากระทำกับวัตถุ แต่แรงลัพธ์ของแรงภายนอกเหล่านั้นเป็นศูนย์แล้ววัตถุนั้นยังคงรักษาสภาพนิ่งไว้อย่างเดิม

18 วัตถุซึ่งแรงลัพธ์ที่กระทำเป็นศูนย์จะไม่เคลื่อนที่หรือจะวิ่งด้วยความเร็วคงที่
F1 F2 F3 F1+F2+F3=0 m F1 F2 F1+F2=0

19 กฎข้อที่ 1 ของนิวตันกำหนดขอบเขตของผู้สังเกตว่า ผู้สังเกตจะต้องหยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่เทียบกับ กรอบอ้างอิงเฉื่อย (inertial frame) เท่านั้น

20 กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2 ของนิวตัน
กฎข้อที่ 2 ของนิวตัน กล่าวว่า “เมื่อมีแรงลัพธ์ซึ่งขนาดไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุจะทำให้วัตถุเกิดความเร่งในทิศเดียวกับแรงลัพธ์ที่มากระทำ และขนาดของความเร่งจะแปรผันตรงกับขนาดของแรงลัพธ์และจะแปรผกผันกับมวลของวัตถุ”

21 ตัวอย่าง 1.วัตถุมวล 10 กิโลกรัม ตกจากยอดตึกสูง 100 เมตร ลงมาจะมีแรงมากระทำต่อวัตถุ เท่าไร (g=10เมตร/วินาที2) 2.วัตถุก้อนหนึ่งมีมวล 20 กิโลกรัม เดิมอยู่นิ่ง ต่อมามีแรงมากระทำกับวัตถุนี้ 8 วินาที ปรากฏว่ามีความเร็ว เป็น 24 เมตร/วินาที จงหาแรงที่มากระทำต่อวัตถุ 3.แรง 20 นิวตัน กระทำต่อวัตถุหยุดนิ่งก้อนหนึ่ง ให้เคลื่อนที่ปรากฏว่าในเวลา 10 วินาที วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ 40 เมตร จงหามวลของวัตถุก้อนนี้

22 4.วัตถุมวล 2 กิโลกรัม ถูกแรง 10 นิวตัน กระทำในทิศทางเดียวกันกับการเคลื่อนที่ของวัตถุซึ่งขณะนั้นมีความเร็ว 10 เมตร/วินาที อีก 4 นาที ต่อมาวัตถุจะเคลื่อนที่ไปได้ระยะทางเท่าใด 5.วัตถุหนึ่งถูกแรง 100 นิวตัน กระทำแล้วเกิดความเร่ง 10 เมตร/วินาที2ถ้าวัตถุก้อนนี้ถูกแรง 50 นิวตัน กระทำจะเกิดความเร่งเท่าใด

23 กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน
กฎข้อที่ 3 ของนิวตัน กล่าวว่า “ทุกแรงกิริยาจะต้องมีแรงปฏิกิริยา ที่มีขนาดเท่ากัน และ มีทิศทางตรงข้ามกัน อยู่เสมอ” โดยที่ F12 เป็นแรงที่กระทำต่อวัตถุก้อนที่ 1 (กระทำโดยวัตถุก้อนที่ 2) F21เป็นแรงที่กระทำต่อวัตถุก้อนที่ 2 (กระทำโดยวัตถุก้อนที่ 1)

24 ลักษณะของแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
1.แรงกิริยา คือแรงภายนอกที่กระทำต่อวัตถุ 2.แรงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในเส้นเชือก เรียกว่า แรงตึงเชือก ( T ) คือแรงที่เกิดขึ้นในเส้นเชือก เป็นแรงภายใน จะต้องมีทิศออกจากวัตถุที่พิจารณาแรงที่มากระทำเสมอ 3.แรงปฏิกิริยาระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ จะต้องมีทิศเข้าสู่วัตถุที่พิจารณา แรงที่กระทำเสมอ

25 ลักษณะของแรงคู่กิริยา-ปฏิกิริยาและแรงกระทำต่อวัตถุ
วัตถุวางบนพื้นราบ แรงคู่กิริยา-ปฏิกิริยา mg เป็นแรงที่โลกดึงดูดวัตถุ N เป็นแรงที่พื้นดันวัตถุ แรงที่กระทำต่อวัตถุคือ N และ mg N เรียกอีกอย่างว่า แรงปฏิกิริยาที่พื้นกระทำต่อวัตถุ N mg N=mg ( กฎข้อที่1 ของนิวตัน )

26 แรงเสียดทาน แรงเสียดทาน คือ แรงต้านทานการเคลื่อนที่ของวัตถุ ใช้สัญลักษณ์ “ f ” m เกิดระหว่างวัตถุกับพื้น

27 1.แรงเสียดทานสถิต เกิดขึ้นจากการที่มีแรงภายนอกมากระทำต่อวัตถุ พยายามให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ แต่วัตถุนั้นยังไม่เคลื่อนที่ แรงเสียดทานสถิตมีค่าได้หลายค่าตั้งแต่น้อยที่สุดจนถึงมากที่สุด จะมีค่ามากที่สุด เมื่อวัตถุเริ่มเคลื่อนที่ แรงเสียดทานสถิตมากที่สุดหาได้จาก เมื่อ = แรงเสียดทานสถิต = สัมประสิทธิ์ของความเสียดทานสถิต = แรงปฎิกริยาที่ผิวสัมผัสนั้น

28 2.แรงเสียดทานจลน์ เป็นแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุกำลังเคลื่อนที่มีค่าคงที่เสมอ หาได้จาก เมื่อ = แรงเสียดทานจลน์ = สัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน = แรงปฏิกิริยาที่ผิวสัมผัสนั้น

29 ลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุเมื่อมีแรงเสียดทาน
อยู่นิ่ง N mg F1 fs วัตถุจะหยุดนิ่ง เมื่อ F1< = fs

30 ลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุเมื่อมีแรงเสียดทาน
เริ่มเคลื่อนที่ N mg F2 fs (max) วัตถุเริ่มเคลื่อนที่ เมื่อ F2 = fs

31 ลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุเมื่อมีแรงเสียดทาน
วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ F3 N mg fk วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ เมื่อ F3 = fk

32 การนำกฎของนิวตันไปใช้
การเคลื่อนที่ของวัตถุหลายก้อนด้วยความเร่งเท่ากัน หลักการแก้ปัญหา 1.วาดรูปการเคลื่อนที่ของวัตถุพร้อมทั้งกำหนดทิศทางความเร่ง ของมวลแต่ละก้อน 2.เขียนแรงที่เกิดขึ้นบนวัตถุแต่ละก้อน ถ้าแรงใดไม่อยู่ในแนวการเคลื่อนที่ให้แตกแรงนั้นให้อยู่ในแนวการเคลื่อนที่ 3.หาแรงลัพธ์บนมวลแต่ละก้อน โดยใช้ การแทนค่าแรงต่างๆ ให้แรงที่มีทิศเดียวกับการเคลื่อนที่มีทิศบวก(+) แรงใดมีทิศสวนการเคลื่อนที่มีทิศลบ(-)

33

34

35 ตัวอย่าง มวล 2 และ 3 กิโลกรัม แขวนอยู่ที่ปลายเชือกคล้องผ่านรอกคล่องดังรูป
ถ้ามวลของเชือกและรอกน้อยมาก (ไม่มีมวล) จงหา ก. ความเร่งของมวลทั้งสอง ข.แรงตึงในเส้นเชือก 2 3

36 กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน
นิวตัน นำผลการสังเกตของนักดาราศาสตร์ทั้งหลายมาสรุปว่า การที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ได้ เนื่องจากมีแรงกระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ ซึ่งแรงนี้เป็นแรงดึงดูดระหว่างมวลของดวงอาทิตย์กับมวลดาวเคราะห์ และยังเชื่อต่อไปอีกว่าแรงดึงดูดระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์เป็นแรงแบบเดียวกันกับแรงดึงดูดระหว่างโลกกับวัตถุบนผิวโลก และเป็นแรงดึงดูดระหว่างวัตถุทุกชนิดในเอกภพ นิวตันจึงสรุปเป็นกฎแรงดึงดูดระหว่างมวลซึ่งมีใจความว่า “วัตถุทั้งหลายในเอกภพจะออกแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน โดยขนาดของแรงดึงดูดระหว่างวัตถุคู่หนึ่งๆ จะแปรผันตรงกับผลคูณระหว่างมวลวัตถุทั้งสองและจะแปรผกผันกับกำลังสองของระยะห่างระหว่างวัตถุทั้งสองนั้น”

37 เขียนเป็นสมการได้ดังนี้
G เป็นค่าคงตัวของแรงดึงดูดระหว่างมวล เป็นค่าคงตัวเสมอ ไม่ว่าวัตถุที่ดึงดูดกันจะเป็นวัตถุใด ๆ ก็ตาม G นี้เรียกว่า ค่าคงตัวความโน้มถ่วงสากล มีค่า 6.673x10-11 Nm2/kg2


ดาวน์โหลด ppt แรง มวลและกฎการเคลื่อนที่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google