งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

2 ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
ควรเริ่มตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง และควรจะต้องได้รับการบอกถึง ประโยชน์ และ ข้อจำกัดของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง รวมทั้งได้รับการ สอนการตรวจเต้านมด้วยตนเองที่ถูกวิธี หากมีอาการที่สงสัยควรมีการตรวจโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ ได้รับการฝึกอบรม

3 ผู้หญิงที่มีอายุ 40 - 69 ปี และไม่มีอาการ
นอกจากการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำแล้ว ควรได้รับการตรวจโดย แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรม ทุก 1 ปี ผู้หญิงที่อายุ 70 ปีขึ้นไป การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในผู้หญิงกลุ่มนี้ให้พิจารณาเป็นรายบุคคล โดยพิจารณาถึงประโยชน์และอัตราการเสี่ยงของการตรวจด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านมในเรื่องของสภาวะสุขภาพในขณะนั้น และคำนึงระยะเวลาที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป

4 แนวทางการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข วิธีการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งเต้านม มีอยู่ 3 วิธี ได้แก่ 1. การตรวจเต้านมด้วยตนเอง 2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการ ฝึกอบรม 3. การตรวจด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านม--แมมโมแกรม

5 ถึงแม้ว่า จะมีการศึกษาว่า การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ไม่ได้มีผลต่อการลดอัตราตาย
แต่ก็ถือว่าเป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ ประหยัดที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย และเป็นการ สร้างความตระหนักให้กับผู้หญิงไทยให้มีความสนใจกับ สุขภาพของตนเอง

6 การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
  การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self Examination) ถือเป็นสิ่งแรกที่จะช่วยให้ผู้หญิงทุกคนป้องกันตนเองจากมะเร็ง เต้านม การตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อให้รู้สึกถึงธรรมชาติของเต้านม และเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ก็จะสามารถสังเกตได้ด้วยตนเอง โดยควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป โดยตรวจเดือนละครั้ง เวลาที่เหมาะสม คือ วันที่ประจำเดือนหมด (วันสุดท้าย หรือ วันรุ่งขึ้น) เนื่องจากเป็นช่วงที่เต้านมอ่อนตัว หรือนิ่มลง

7 ขั้นตอนและวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. การดู 2. การคลำ – 90% ของมะเร็งเป็นก้อน ดังนั้น การคลำจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การคลำไม่ใช่คลำเพื่อหาก้อน แต่ให้รู้สึกถึงธรรมชาติของเต้านมของเรา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะสังเกต และรู้สึกได้ง่าย

8 การดู ปล่อยแขนแนบข้างลำตัวตามสบาย เปรียบเทียบเต้านมทั้ง 2 ข้างว่ามีความ ผิดปกติของเต้านมหรือไม่ เช่น สีผิว รอยบุ๋ม รอยแผล หัวนมบุ๋มหรือบิดเบี้ยว ยกมือขึ้นทั้ง 2 ข้างเหนือศีรษะ แล้ว กลับมาอยู่ในท่าท้าวสะเอว พร้อมทั้งดูสิ่ง ที่ผิดปกติ โน้มตัวมาข้างหน้าโดยใช้มือท้าวสะเอว เกร็งกล้ามเนื้อหน้าอก สังเกตว่าเต้านม ห้อยลง อยู่ในลักษณะเดียวกันหรือมีการ ดึงรั้งของผิวเต้านมหรือไม่

9 การคลำ --บริเวณที่จะต้องคลำ
เริ่มจาก ใต้แขน ถึงบริเวณขอบเสื้อชั้นในด้านล่าง ใต้แขนข้ามมาถึงกระดูกกลาง ขึ้นไปถึงบริเวณไหปลาร้า กลับมายังรักแร้

10 3 นิ้วที่ใช้สัมผัส ใช้บริเวณกึ่งกลางนิ้วส่วนบนทั้ง สามนิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง) บริเวณกึ่งกลางนิ้วส่วนบนดังกล่าว จะสัมผัสได้ดีกว่า และมีจุดสัมผัส ได้กว้างกว่าส่วนปลายนิ้ว โค้งฝ่ามือเพื่อปรับให้นิ้วทั้งสามอยู่ ในสภาพแบนราบ เคลื่อนนิ้ววนเป็นวงกลมเท่าเหรียญ บาทในบริเวณที่จะต้องคลำอย่าง ทั่วถึง

11 วิธีการกด 3 ระดับ 1.กดเบา ๆ เพื่อให้รู้สึกถึงบริเวณใต้ผิวหนัง 2.กดปานกลาง เพื่อให้รู้สึกถึงกึ่งกลางของเต้านม 3.กดหนักขึ้น เพื่อให้รู้สึกถึงส่วนลึกใกล้ผนังปอด

12 ให้ใช้นิ้ว 3 นิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และ นิ้วนาง วางชิดเสมอกัน กด คลำให้ทั่วทั้งเต้านมและรักแร้ใน ลักษณะวนเป็นก้นหอยเล็กๆ หรืออาจจะใช้วิธีการคลำเป็นรัศมี วงกลม วนออกจากหัวนมจนทั่ว ทั้งเต้านม เพื่อตรวจดูว่ามีก้อน ผิดปกติหรือไม่

13 แนวการการคลำ การคลำในแนวก้นหอย โดยเริ่ม จากส่วนบนไปตามแนวก้นหอย จนกระทั่งถึงฐานเต้านมบริเวณ รักแร้ การคลำในแนวรูปลิ่ม เริ่มจาก ส่วนบนของเต้านมจนถึงฐานแล้ว กลับสู่ยอดอย่างนี้ไปเรื่อยๆให้ทั่ว ทั้งเต้านม

14 ขณะอาบน้ำ ก็สามารถตรวจเต้านมได้ ง่าย โดยใช้สบู่ช่วย สบู่จะทำให้ลื่น และ คลำเต้านมได้ง่ายขึ้น

15 ก้อนเต้านม

16 ก้อนเต้านม หัวนมถูกรั้งเข้าด้านใน

17 หัวนมแตกเป็นแผล

18 เต้านมบวมแดงอักเสบ ผิวหนังคล้ายผิวส้ม

19 ก้อนขนาดใหญ่มากกกกกกกกกก

20 รอยดึงรั้งที่ผิวหนัง

21 เลือดออกที่หัวนม

22 เครื่องตรวจเต้านม (แมมโมแกรม)

23 การทำแมมโมแกรม การตรวจแมมโมแกรมเพื่อตรวจค้น เริ่มเมื่อมีอายุ40 ปีขึ้นไป

24

25 ก้อนมะเร็งเต้านม

26 กลุ่มเสี่ยง (high risk)
ผู้หญิงกลุ่มนี้ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเหมือนกับกลุ่ม ผู้หญิงทั่วไปแต่ควรจะต้องเริ่มตรวจเร็วขึ้น เช่น ในกรณีที่มีญาติสายตรง เป็นมะเร็งเต้านมที่อายุน้อยกว่า 40 ปี ควรทำการตรวจคัดกรอง เมื่อ อายุที่ญาติเป็นมะเร็งเต้านมลบออกอีก 5 ปี และควรตรวจทุก 1 ปี

27 กลุ่มเสี่ยง (high risk)
มีประวัติญาติสายตรง ได้แก่ มารดา พี่สาว/น้องสาว และบุตร เป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งที่รังไข่ ผู้ที่มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมแล้วหนึ่งข้าง ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายแสงบริเวณหน้าอก ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งต่อม น้ำเหลือง ผู้ที่มีประวัติเคยตัดก้อนเต้านม แล้วมีผลเป็นเซลล์ที่เริ่มผิดปกติ atypical duct hyperplasia ผู้ที่ได้รับประทานฮอร์โมนเสริมทดแทนวัยหมดประจำเดือนเป็นประจำเกิน 5 ปี ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

28

29 มะเร็งเต้านมรักษาให้หายได้ ถ้าไปพบแพทย์ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก


ดาวน์โหลด ppt การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google