งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1.บอกความหมายของการวิจัยได้ 2.บอกความสำคัญของการวิจัยได้ 3.สามารถจำแนกประเภทของการวิจัยได้ 4.บอกปัญหา อุปสรรค และแนวทางการนำ ผลการวิจัยไปใช้ได้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1.บอกความหมายของการวิจัยได้ 2.บอกความสำคัญของการวิจัยได้ 3.สามารถจำแนกประเภทของการวิจัยได้ 4.บอกปัญหา อุปสรรค และแนวทางการนำ ผลการวิจัยไปใช้ได้"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1.บอกความหมายของการวิจัยได้ 2.บอกความสำคัญของการวิจัยได้ 3.สามารถจำแนกประเภทของการวิจัยได้ 4.บอกปัญหา อุปสรรค และแนวทางการนำ ผลการวิจัยไปใช้ได้ 5.บอกจรรยาบรรณของนักวิจัยได้ 6.บอกกระบวนการในการทำการวิจัยได้ บทนำ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานวิจัย

2 ความหมายของการวิจัย (Definition of Research) การวิจัย หมายถึง การใช้ความรู้ที่มีอยู่เดิมมา เป็นพื้นฐานสำหรับค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่โดย ใช้วิธีการค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มี กระบวนการทดสอบสมมติฐานที่มีความ น่าเชื่อถือ เพื่อให้องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการ ศึกษาวิจัย ตรงตามข้อเท็จจริงและนำไปใช้ ประโยชน์ได้ (Burns & Glove, 1997)

3 การวิจัย หมายถึง การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์หรือทดลองอย่างมีระบบ โดยอาศัย อุปกรณ์หรือวิธีการ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง หรือค้นหาหลักการสำหรับนำไปตั้งกฎ ทฤษฎีหรือแนวทางปฏิบัติ (สำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2547)

4 การวิจัยทางการพยาบาล เป็นวิธีการค้นคว้า คำตอบที่เป็นข้อสงสัยหรือเป็นประเด็นปัญหา ทางการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล เพื่อให้องค์ความรู้ใหม่มีความน่าเชื่อถือและ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศาสตร์ ทางการพยาบาล รวมทั้งพัฒนางานที่เกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติการพยาบาล (Nursing Practice) การบริหารการพยาบาล (Nursing Administration) และการศึกษาพยาบาล (Nursing Education) (บุญใจ ศรีสถิตนรากูร,2547)

5 ความจำเป็นและ ความสำคัญ ของการวิจัย

6 เหตุผลที่พยาบาลต้องทำวิจัยคือ (ยุวดี ฦาชา,2537) 1.ตระเตรียมวิชาชีพให้มีขอบเขตของเนื้อหาวิชาที่ เฉพาะเจาะจงของพยาบาลและสร้างทฤษฎี ทางการพยาบาล 2.วางรากฐานให้มีการตัดสินใจที่ดีในทุกระดับของ วิชาชีพ 3.ไม่มีบุคคลในวิชาชีพใดที่จะรู้จักปัญหาทางการ พยาบาลได้ดีเท่ากับพยาบาล 4. การวิจัยจะช่วยให้พยาบาลเกิดแนวความคิด เกิด นิสัยในการตั้งคำถาม และเกิดความสามารถใน การโต้แย้งอย่างมีเหตุผล

7 ประโยชน์ของการทำวิจัยต่อวิชาชีพ 1.ค้นหาความรู้และข้อเท็จจริงใหม่ๆ ทางการ พยาบาล 2.สร้างทฤษฎีทางการพยาบาลเพื่อเป็นแนวทางใน การปฏิบัติงานในวิชาชีพ 3.ปรับปรุงเทคนิค และวิธีการให้การพยาบาลที่มีอยู่ ให้ก้าวทันความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทางการ แพทย์ 4.เพื่อประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ สำหรับการทำงานของ พยาบาล 5.เพื่อแก้ปัญหาด้านการพยาบาล และนำผลที่ได้มา เป็นเครื่องช่วยในการบริหารงานพยาบาล

8 การจำแนกประเภทของการวิจัย การวิจัยโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น ประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภทคือ 1. การวิจัยเชิงคุณภาพหรือการวิจัย เชิงธรรมชาติ (qualitative research or naturalistic research) 2. การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research)

9 การแบ่งชนิดของงานวิจัยตามเหตุผลในการ ทำ แบ่งได้ 3 อย่างคือ 1.การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์ (basic research or pure research) 2. การวิจัยประยุกต์ (applied research) 3. การวิจัยปฏิบัติการ (action research)

10 การแบ่งชนิดของการวิจัยตามจุดมุ่งหมายใน การทำ แบ่งได้ 3 ลักษณะคือ 1. การวิจัยเพื่อสำรวจเบื้องต้น (exploratory research) 2. การวิจัยเพื่อการอธิบาย (explanatory research) 3. การวิจัยเพื่อการทำนาย (prediction research)

11 การแบ่งชนิดของการวิจัยตามระเบียบวิธีในการวิจัย 1. การวิจัยแบบทดลอง (experimental research) งานวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) 2. การวิจัยแบบไม่ทดลอง (non-experimental research) 2.1 การวิจัยแบบสำรวจ (survey research) 2.2 งานวิจัยแบบเอ็กซโพสต์แฟคโต (ex post facto research) 2.3 การศึกษาเฉพาะกรณี (case study)

12 การแบ่งชนิดของการวิจัยตาม ลักษณะของการเก็บรวบรวม ข้อมูล 1.การศึกษาภาคตัดขวาง (cross-sectional study) 2. การศึกษาระยะยาว (longitudinal study)

13 การแบ่งชนิดของการวิจัยตามเนื้อหาที่นำมา ทำวิจัย มีการเรียกชื่อของศาสตร์ที่นำมาทำ วิจัยมากมาย เช่น การวิจัยทางระบาดวิทยา การวิจัยทางสังคมศาสตร์ การวิจัยทาง การศึกษา การวิจัยทางการพยาบาล การวิจัย ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นต้น

14 ไม่ได้จัดรวมอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอย่าง เด่นชัด ที่ควรรู้จักได้แก่ 1. การวิจัยประเมินผล (evaluative research) 2. การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (historical research) 3. การวิจัยเอกสาร (documentary research)

15 กระบวนการวิจัย กระบวนการวิจัยประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้ (ยุวดี ฦาชา, 2537) 1. การกำหนดปัญหาและขอบเขตของ ปัญหา 2. การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 3. การกำหนดกรอบทฤษฎี 4. การกำหนดตัวแปร 5. การตั้งสมมติฐาน

16 6. การเลือกแบบวิจัย 7. การกำหนดประชากรและเลือกกลุ่มตัวอย่าง 8. การเตรียมเครื่องมือในการวิจัย 9. การเก็บรวบรวมข้อมูล 10. การประมวลข้อมูล 11. การวิเคราะห์ข้อมูล 12. การตีความผลการวิจัย 13. การเผยแพร่ผลงานวิจัย

17 มีคำถามไหม????

18 วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1.บอกความหมายของการวิจัยได้ 2.บอกความสำคัญของการวิจัยได้ 3.สามารถจำแนกประเภทของการวิจัยได้ 4.บอกปัญหา อุปสรรค และแนวทางการนำ ผลการวิจัยไปใช้ได้ 5.บอกจรรยาบรรณของนักวิจัยได้ 6.บอกกระบวนการในการทำการวิจัยได้ บทนำ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานวิจัย

19 จรรยาบรรณนักวิจัย จรรยาบรรณ หมายถึง หลักความ ประพฤติอันเหมาะสมแสดงถึงคุณธรรม จริยธรรมในการประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคล แต่ละสาขาวิชาชีพประมวลขึ้นไว้เป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ ยึดถือ ปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียงและส่งเสริมเกียรติ คุณของสาขาวิชาชีพของตน

20 จรรยาบรรณนักวิจัย หมายถึง หลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัติของนักวิจัย ทั่วไป เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยตั้งอยู่บน พื้นฐานของจริยธรรมและหลักวิชาการที่ เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐานของ การศึกษาค้นคว้าให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของนักวิจัย

21 วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติ ปฏิบัติของนักวิจัยทั่วไป โดยมีลักษณะเป็น ข้อพึงสังวรณ์มากกว่าจะเป็นข้อบังคับ อัน นำไปสู่การเสริมสร้างจรรยาบรรณในหมู่ นักวิจัยต่อไป

22 จรรยาบรรณนักวิจัย : แนวทางปฏิบัติ 1.นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทาง วิชาการและการจัดการ 2.นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำ วิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้กับหน่วยงานที่ สนับสนุนการวิจัยและต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด 3.นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ ทำวิจัย

23 4.นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มี ชีวิต 5.นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของ มนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย 6.นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดย ปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย

24 7. นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ในทางที่ชอบ 8. นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการ ของผู้อื่น 9. นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุก ระดับ

25

26 การนำผลการวิจัยไปใช้ หมายถึง การนำความรู้ทางการพยาบาลที่ผ่านการ ตรวจสอบตามกระบวนการของระเบียบวิธี วิจัยเรียบร้อยแล้ว มาประยุกต์ใช้ในการ ปฏิบัติงาน (Polit, Beck & Hungler, 2001) ความหมาย การนำผลการวิจัยไปใช้ในการพยาบาล

27 ประเภทของการนำผลการวิจัยทางการพยาบาลไปใช้ 1. การนำไปใช้โดยตรง (direct application) 2. การดัดแปลงและสร้างขึ้นใหม่ (reinvention) 3. การนำไปใช้ทางอ้อม (indirect effects)

28 การนำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล Nursing Process Assessment phase Diagnosis phase Planning phase Intervention phase Evaluation phase

29 เกณฑ์สำคัญที่ควรคำนึง 1 ผลการวิจัยควรสามารถนำมาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน เพื่อแก้ปัญหาที่ เกิดขึ้นตรงประเด็นที่ต้องการ 2. ผลการวิจัยที่นำมาใช้ต้องผ่าน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3. ประเมินถึงส่วนประกอบอื่นๆ

30 อุปสรรคในการนำผลการวิจัยทางการพยาบาลไปใช้ 1. ลักษณะของงานวิจัยทางการพยาบาล 2. ลักษณะของพยาบาล 3. ลักษณะองค์กร 4. ลักษณะของวิชาชีพการพยาบาล

31 ปัจจัยส่งเสริมการนำผลการวิจัยทางการพยาบาลไปใช้ (LoBiondo-Wood & Haber, 1990) 1. การเตรียมทางด้านการศึกษา 2. การติดต่อสื่อสารและเผยแพร่ผลการวิจัย ทางการพยาบาล 3. การสนับสนุนจากองค์กร 4. การลดแรงต้านจากพยาบาลที่ ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานแบบเดิม

32 ปัจจัยส่งเสริมการนำผลการวิจัยไปใช้ ชรินรัตน์ พุทธปวน (2539) 1. ผู้ทำวิจัยหรือเจ้าของงานวิจัย 2. หน่วยงานที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ 3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

33

34


ดาวน์โหลด ppt วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1.บอกความหมายของการวิจัยได้ 2.บอกความสำคัญของการวิจัยได้ 3.สามารถจำแนกประเภทของการวิจัยได้ 4.บอกปัญหา อุปสรรค และแนวทางการนำ ผลการวิจัยไปใช้ได้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google