งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทย์ คณะนิติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทย์ คณะนิติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทย์ คณะนิติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รายงานการประชุมเรื่อง “กลไกคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหายในคดีล่วงละเมิดทางเพศ” ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทย์ คณะนิติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ โดย สุรีพร ยุพา องค์การคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

2 รายงานการประชุมเรื่อง “กลไกคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหายในคดีล่วงละเมิดทางเพศ”
วันศุกร์ ที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๐๙.๐๐ น.- ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในเนื้อหาสัมมนาได้พูดถึง “สิทธิและความเสมอภาคทางเพศในกระบวนการยุติธรรม โดยพิจารณาประเด็น สถานะของผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ พนักงานบริการ แรงงานหญิงข้ามชาติเข้าเมืองผิดกฎหมาย เด็กหญิงและหญิงสาว หญิงที่มีสามีมากกว่า ๑ คน โดย ๑. พ.ต.ท. ปัญญา ชะเอมเทศ กองปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็ก เยาวชนและสตรี (ปดส) ๒. ศ.นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ ที่ปรึกษา ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ ๓. อาจารย์สมชาย ปรีชาศิลปะกุล คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ๔. คุณณัฐวุฒิ บัวประทุม มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ๕. คุณสุรางค์ จันทร์แย้ม มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ ๖. คุณฉันทลักษณ์ รักษาอยู่ องค์กรเครือข่ายบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ

3 ดำเนินรายการโดย รศ.ดร. กฤตยา อาชวนิชกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ซึ่งในช่วงเช้าที่ได้เข้าร่วมการอบรม ผู้แทนจากองค์กรต่างๆ ที่กล่าวข้างต้นได้ออกมาพูดถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งกฎหมายไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรณีแก๊งค์เกลียดกระเทย กลุ่มนี้จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่กลุ่มกระเทยโดยไม่มีเหตุผล หรือในกรณีสตรีขายบริการที่ถูกข่มขืนโดยชายมากกว่า ๑ คน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นว่าไม่ใช่การข่มขืน หรือกรณีสตรีขายบริการถูกจับในข้อหาขายบริการในวันสำคัญทางศาสนา เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นจากกลุ่มพนักงานขายบริการขาดความรู้ทางด้านกฎหมาย จึงทำให้ขาดความเข้าใจและไม่สามารถปกป้องสิทธิของตนเองได้ หลังจากที่ทุกกลุ่มได้นำเสนอประเด็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหายในคดีล่วงละเมิดทางเพศในกลุ่มแล้ว ทีมผู้จัดงานได้เชิญให้ทางเครือข่ายคนพิการนำเสนอประเด็นคดีล่วงละเมิดทางเพศในกลุ่มคนพิการ คุณสุภัทราพร จึงนำเสนอกรณีคนพิการที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ

4 ประเด็นคนพิการที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
กรณีของคนพิการที่ขอนแก่น กรณีของคนพิการที่ถูกข่มขืน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ป่าไม้แนะนำให้ไปพบแพทย์ และแนะนำให้ตัดมดลูกออก เรื่องสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของคนพิการทางสติปัญญา กรณีคนตาบอดถูกข่มขืน

5 สรุป มิติของสตรีพิการ ในการกระบวนการถูกฐานคติที่มองว่าความบกพร่องที่หลากหลาย ตาบอด หูหนวก สติปัญญา ตลอดจนความพิการทางกาย ทำให้สตรีพิการจัดเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในการถูกคุกคามทางเพศสูง แต่ไม่มีกลไลของกระบวนการยุติธรรมเข้ามาช่วยเหลือ นอกจากนั้นครอบครัวมีความอับอายที่มีลูกพิการ เมื่อลูกถูกข่มขืน ก็คิดว่าเป็นเวรกรรม ทั้งพิการและถูกข่มขืนควรจะเก็บความลับไว้ในครอบครัว (ฐานคติทางศาสนาที่มีต่อสตรีพิการ) สตรีพิการขาดความรู้ ในการสื่อที่ถูกกระทำรุนแรง ทั้งจากครอบครัวและบุคคลอื่น กลไกของรัฐไม่สามารถช่วยเหลือสตรีพิการ สตรีพิการไม่มีความน่าเชื่อถือ เพราะความบกพร่องของร่างกายที่ติดตัวตั้งเกิดหรือในภายหลัง ข้อเสนอแนะ เรื่องสตรีพิการเป็นเรื่องใหม่ ในกลุ่มของสตรี ในทางสถิติหรือการศึกษา กลุ่มสตรีชายขอบหรือสตรีพิการเนื่องจาก ๑. เกิดมาเป็นสตรี ๒.มีความพิการ ๓.อยู่ท่ามกลางความยากจน จึงเป็นมิติความซับซ้อนภายใต้มิติของสตรีทั่วไป สุรีพร ยุพา องค์การคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก


ดาวน์โหลด ppt ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทย์ คณะนิติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google