ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
อภิรัฐธรรมนูญไทย
2
ต้องการอธิบายรัฐธรรมนูญของไทยในเชิงภาพรวม ระยะยาว ตลอด 75 ปี (2475 – 2550) จะทำได้อย่างไร
มีรัฐธรรมนูญจำนวนมาก 2475 – 2560 (85 ปี 20 ฉบับ) อายุเฉลี่ย 4 ปี นิดๆ รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับก็แตกต่างกันไปเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เผด็จการ ประชาธิปไตย รวมถึงเนื้อหาในแต่ละส่วนก็แตกต่างกันอย่างสำคัญ เช่น องคมนตรี หลัง 2475 ไม่มี แต่มาเพิ่มเติม 2492 และขยายตัว
3
หยิบยืมแนวคิดแบบเสรี/ประชาธิปไตยมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์
หยิบยืมแนวคิดรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีเข้ามาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ รัฐธรรมนูญ 3 ฉบับและธรรมนูญของรัฐธรรมนูญไทย
4
สมชาย ปรีชาศิลปกุล. อภิรัฐธรรมนูญไทย. ปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ พ. ศ
สมชาย ปรีชาศิลปกุล. อภิรัฐธรรมนูญไทย. ปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ พ.ศ ครบรอบ 75 ปี การอภิวัฒน์ไทย 24 มิถุนายน 2475
5
รัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ รัฐธรรมนูญฉบับรัฐสภานิยม รัฐธรรมนูญฉบับอำนาจนิยม
รัฐธรรมนูญฉบับกึ่งรัฐสภากึ่งอำมาตยาธิปไตย
6
รัฐธรรมนูญฉบับรัฐสภานิยม
หนึ่ง รัฐสภามีอำนาจเหนือกว่าสถาบันการเมืองอื่นๆ โดยเฉพาะฝ่ายบริหาร ต้นแบบมาจากอังกฤษ บนหลัก supremacy of the parliament รัฐบาลจะอยู่ได้ด้วยความยินยอมของรัฐสภา
7
กฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภามีอำนาจสูงสุด
Parliament can make or unmake any law whatsoever
8
สอง รัฐสภาต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นสำคัญ แม้จะมีวุฒิสภาก็ตาม
ในอังกฤษ สมาชิกของสภาสามัญมาจากการเลือกตั้ง มีบทบาทหลัก ส่วนสภาขุนนาง ไม่มีและไม่แสดงบทบาทมากนัก หรือแม้สองสภามาจากการเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรก็จะเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่หลักในการควบคุมตรวจสอบรัฐบาล และการบัญญัติกฎหมาย
9
สาม รัฐสภาต้องเหนือและแยกจากระบบราชการ ข้าราชการจึงดำรงตำแหน่งไม่ได้
ข้าราชการไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ รมต. กลาโหม จำเป็นต้องเป็นทหารหรือไม่ ผบ. ทบ. ไม่สามารถเป็น รมต. กลาโหม ได้เพราะเป็นการทับซ้อนระหว่างผู้สร้างนโยบายกับผู้ปฏิบัติงาน
10
รัฐธรรมนูญฉบับอำนาจนิยม
หนึ่ง หลักการพื้นฐาน “อำนาจคือธรรม” มาจากการยึดอำนาจ รัฐธรรมนูญประเภทนี้มักเกิดขึ้นหลังรัฐประหาร รธน. 2557 ใครเขียน ประชาชน มีส่วนร่วมได้หรือไม่
11
“สภานิติบัญญัติแห่งชาติ”
สอง รัฐสภาจะเน้นการแต่งตั้ง ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับประชาชนโดยตรง ยอมให้ข้าราชการสามารถดำรงตำแหน่งได้ “สภานิติบัญญัติแห่งชาติ”
14
สาม ยอมรับอำนาจเด็ดขาดของฝ่ายบริหารที่สืบเนื่องจากการรัฐประหาร
มาตรา 17 ธรรมนูญ 2502 มาตรา 44 รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557
16
มาตรา 17 "ในระหว่างที่ใช้ธรรมนูญนี้ ในกรณีที่ นรม
มาตรา 17 "ในระหว่างที่ใช้ธรรมนูญนี้ ในกรณีที่ นรม. เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรหรือราชบัลลังก์ หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลาย ก่อกวนหรือคุกคามความสงบที่เกิดขึ้นภายใน หรือมาจากภายนอกราชอาณาจักร ให้ นรม. โดยมติของ ครม. มีอำนาจสั่งการ หรือกระทำการใด ๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย "เมื่อ นรม. ได้สั่งการหรือกระทำการใดไปตามความในวรรคก่อนแล้ว ให้ นรม. แจ้งให้สภาทราบ"
17
จอมพลสฤษดิ์ ใช้อำนาจตาม ม
จอมพลสฤษดิ์ ใช้อำนาจตาม ม.17 ธรรมนูญปกครองฯ ฐานะหัวหน้าคณะปฏิวัติ ตัดสินลงโทษผู้กระทำผิดในคดีอาญาโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม มีการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าผู้ต้องหาคดีวางเพลิงถึง 4 คดีในเวลาเพียง 2 เดือนหลังการทำรัฐประหาร
18
รัฐธรรมนูญ 2557
19
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓/๒๕๕๘ เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ
ข้อ ๑๒ ผู้ใดมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่เป็นการชุมนุม ที่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งที่สมัครใจเข้ารับการอบรมจากเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย เป็นระยะเวลาไม่เกินเจ็ดวันและเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยเห็นสมควรปล่อยตัวโดยมีเงื่อนไข หรือไม่มีเงื่อนไขตามข้อ ๑๑ วรรคสอง ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามมาตรา ๓๗ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
20
รัฐธรรมนูญฉบับกึ่งรัฐสภากึ่งอำมาตยาธิปไตย
ยอมรับหลักการของทั้งสองฉบับเข้ามาดำรงอยู่ร่วมกัน มีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และวุฒิสภาซึ่งมาจากการแต่งตั้งและยอมรับให้ข้าราชการดำรงตำแหน่งได้ ก่อน 2530 ข้าราชการยังมีบทบาทสูง แต่ภายหลังเริ่มลดน้อยลง (ถึง 2550)
21
ก่อนหน้า รธน. 2540 วุฒิสมาชิกมีบทบาทสำคัญในการควบคุมตรวจสอบรัฐบาล
หลัง รธน กลายเป็นองค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นต้น รัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งที่พ้นจากตำแหน่งไปก็เพราะองค์กรอิสระ
23
รธน ฉบับรัฐสภานิยม รธน ฉบับกึ่งฯ รธน ฉบับอำนาจนิยม ธนป 2475 รธน 2475 รธน 2540 รธน 2490 รธน 2492 รธน 2511 รธน 2521 รธน. 2534 ธนป 2502 ธนป 2515 ธนป 2519 ธนป 2520 ธนป 2534 รธป 2549 รธน 2557 รธน 2489 รธน 2475/2495 รธน 2517
24
อนาคตของรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ
รัฐธรรมนูญฉบับรัฐสภานิยม ความตกต่ำด้านภาพลักษณ์ของนักการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับอำนาจนิยม เกิดขึ้นได้เพราะการรับรองการรัฐประหารในระบบกฎหมายไทย แต่มีแนวโน้มสั้นลง
25
รัฐธรรมนูญฉบับกึ่งรัฐสภากึ่งอำมาตยาธิปไตย
มีความเป็นไปได้มากที่สุด ต้องยอมรับระบบการเลือกตั้ง นักการเมือง พรรคการเมือง ระบบรัฐสภา แต่ก็ต้องมีบทบาทของนักการเมืองข้าราชการ อดีตผ่านวุฒิสภา แต่ปัจจุบันผ่านองค์กรอิสระ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.