ทีมคลินิกเบาหวาน/ความดัน CQI ทีมคลินิกเบาหวาน/ความดัน ประจำปี 2554
ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา เพิ่มศักยภาพผู้เป็นเบาหวานให้สามารถประเมินระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง
คำสำคัญ ผู้เป็นเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร
สรุปผลงานโดยย่อ “ สีนี้ดีหรือแย่ ” ที่ช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานมีส่วน การพัฒนาระบบบริการเพื่อเพิ่มศักยภาพผู้เป็นเบาหวานในด้านความรู้ ทักษะให้สามารถประเมินระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองโดยใช้นวัตกรรม “ สีนี้ดีหรือแย่ ” ที่ช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานมีส่วน ร่วมในการประเมินระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองได้อย่างถูก
ชื่อและที่อยู่ขององค์กร คลินิกเบาหวาน / ความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลมะขาม อ. มะขาม จ. จันทบุรี
สมาชิกทีม 1.นางลักษณมณ วัฒนพลาชัยกูร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 1.นางลักษณมณ วัฒนพลาชัยกูร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 2.นางฐิติรัตน์ โคกขุนทด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 3.นางลดาวัลย์ แสนพวง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 4.นายสุรศักดิ์ อามะจันทร์ศรี เจ้าหน้าที่ชันสูตร 5. นางศรีวรรณ ภิรมย์จิตร เจ้าหน้าที่ธุรการ
ระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง เป้าหมาย เพื่อให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถประเมิน ระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง
ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ จากการประเมินความรู้ ทักษะของผู้เป็นเบาหวานในด้านการประเมินระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร พบว่า ปี 2548 ผู้เป็นเบาหวานมีอัตราความรู้ความเข้าใจในการประเมินระดับน้ำตาลได้ด้วยตนเองร้อยละ 32.57 ซึ่งมีผลต่อกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมได้
คลินิกปรึกษาร่วมกับแพทย์ และเจ้าหน้าที่ห้องชันสูตร การเปลี่ยนแปลง คลินิกปรึกษาร่วมกับแพทย์ และเจ้าหน้าที่ห้องชันสูตร ใช้เกณฑ์ทางวิชาการในการแบ่งระดับน้ำตาล และกำหนดสัญลักษณ์เป็นสี แทนระดับน้ำตาลก่อนอาหารในเลือด
จัดบอร์ด " วันนี้เราจะสีอะไรดี" เริ่มใช้ 2549
กราฟแสดงผลการควบคุมน้ำตาล ขนาดA4 เริ่มใช้2549-2550
ติดคำอธิบายกราฟที่สมุด , ระบายสีเป็นวงกลมข้างระดับน้ำตาล 2550-2552
ปรับเปลี่ยนคำอธิบาย , เพิ่มค่าระดับน้ำตาล 2552 - ปัจจุบัน
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง มีการวัดผลของการเปลี่ยนแปลงโดยการประเมินผลการบอกค่าระดับน้ำตาลในเลือดได้ถูกต้องเป็นรายบุคคลทุกครั้งที่มาเจาะเลือด การใช้แบบสอบถามความคิดเห็นและความพึงพอใจในการประเมินค่าน้ำตาล โดยใช้กราฟสีปีละครั้ง
ผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคือ ผู้เป็นเบาหวานยอมรับและเข้าใจผลการควบคุมระดับน้ำตาลของตนมากขึ้นจากสิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม เจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพรับรู้และเข้าใจในเกณฑ์การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สามารถให้ข้อมูลแก่ผู้เป็นเบาหวานได้เป็นไปตามแนวทางเดียวกัน
บทเรียนที่ได้รับ การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่เน้นการมีส่วนร่วมควรมีการประเมินผลเป็นระยะ ๆ เมื่อพบปัญหา ก็จะต้องวิเคราะห์และแก้ไข ตัดขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อนต่อผู้รับบริการ ควรคำนึงถึงความสะดวก และเกิดผลดีต่อผู้รับบริการเป็นหลัก
ได้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องใช้การทำงานเป็นทีม รวมทั้งมีการสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน ควรมีการติดตามเป้าหมายระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารตามแนวทางเวชปฏิบัติโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงค่าระดับน้ำตาลของนวัตกรรมนี้ก็จะต้องปรับเปลี่ยนให้ถูกต้องและเหมาะสมตามไปด้วย