หลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือเพื่อการชดเชย กรณีผู้ให้บริการได้รับความเสียหาย จากการให้บริการสาธารณสุข (มาตรา 18 (4))
ภายใต้วิสัยทัศน์ มีระบบหลักประกันสุขภาพที่ประชาชนเข้าถึงได้ด้วยความมั่นใจ และผู้ให้บริการมีความสุข
เอกสารหลักฐาน 1. สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการของผู้ให้บริการ 2. เอกสารแสดงสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขของ ผู้รับบริการ 3. เวชระเบียนของผู้รับบริการและของผู้ให้บริการในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับความเสียหาย 4. ใบรับรองแพทย์ที่ออกให้แก่ผู้ให้บริการ (ถ้ามี) 5. เอกสารหรือหลักฐานแสดงรายละเอียดข้อมูลที่อาจเป็น ประโยชน์ในการประกอบการพิจารณา
สาระสำคัญของคำร้อง 1. ชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหาย ตำแหน่ง หน้าที่ความ รับผิดชอบ 2. ความเสียหายที่ได้รับ 3. ชื่อหน่วยบริการที่ผู้ให้บริการสังกัดในขณะที่ได้รับความเสียหาย 4. วัน เวลา และพฤติการณ์ที่เกิดความเสียหาย 5. วันที่ทราบความเสียหาย 6. ชื่อผู้รับบริการที่เกี่ยวข้องกับความเสียหาย และสิทธิในการ รักษาของผู้รับบริการ 7. สถานที่ติดต่อ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สถานที่ยื่นคำร้อง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
ผู้พิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือ โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเพื่อการชดเชย เขตพื้นที่
คณะอนุกรรมการฯ 1. เลขาธิการ สปสช.แต่งตั้งจากบุคคลที่มีประสบการณ์ และมีความรู้ความสามารถเหมาะสม จำนวน 5-7 คน 2. การพิจารณาวินิจฉัยให้คำนึงถึงประเภท และความ รุนแรงของความเสียหายด้วย 3. พิจารณาวินิจฉัย ไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง
เกณฑ์การพิจารณา 1. ผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหาย จะต้องเป็น ผู้ให้บริการของหน่วยงานตาม พรบ.หลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 2. เป็นความเสียหายที่เกิดจากการให้บริการสาธารณสุข 3. เป็นการให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้รับบริการใน ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 4. ผู้ให้บริการหรือทายาทยื่นคำร้องภายใน 1 ปี นับ จากวันที่ทราบความเสียหาย
อัตราเงินช่วยเหลือมีสิทธิได้รับ ตามประเภทความเสียหาย 1. กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง ที่ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต และมีผลกระทบรุนแรงต่อ การดำรงชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือได้ตั้งแต่ 240,000 บาท แต่ไม่เกิน 400,000 บาท 2. กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือได้ตั้งแต่ 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 240,000 บาท 3. กรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายเงินช่วยเหลือได้ไม่เกิน 100,000 บาท
สิทธิการอุทธรณ์ กรณีที่ผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหาย หรือทายาท ไม่เห็นด้วยกับผลการวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการให้มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการที่เลขาธิการแต่งตั้ง โดยยื่นที่สำนักงานสาขา ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบผลการวินิจฉัย
ในพื้นที่เสี่ยงภัย จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ไม่เกิน 2 เท่าของอัตราฯ ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ (จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส)