บทที่ 6 งบประมาณ
ความหมาย งบประมาณ หมายถึง แผนงานในรูปของตัวเลขที่แสดงรายละเอียดการจัดหา และใช้ ทรัพยากรในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานในอนาคต และ ควบคุมการดำเนินงานในปัจจุบัน งบประมาณเป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดหนึ่งที่ฝ่ายบริหารใช้ในการวางแผนและ ควบคุม โดยงบประมาณต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักขององค์กร รวมทั้ง นโยบายของฝ่ายบริหาร การนำงบประมาณมาใช้ให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด ควรจัดให้หน่วยงานในองค์กร มี ส่วนร่วมในการจัดทำ ตามหลักการความร่วมมือกันของแต่ละหน่วยงานในองค์กร การดำเนินงานไปสู่เป้าหมายเดียวกัน (Goal Congruence)คือการยึดวัตถุประสงค์ หลักขององค์กร
วัตถุประสงค์หลักของการจัดทำงบประมาณ เพื่อการวางแผนล่วงหน้า เพื่อการเป็นสื่อกลางในการประสานงานของแผนกต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมการดำเนินงานและการวางแผนกำไร เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลงานของฝ่ายต่างๆในองค์กร
ข้อจำกัดของการจัดทำงบประมาณ เหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดหมายล่วงหน้าในขณะจัดทำงบประมาณ ผู้จัดการแต่ละแผนกไม่ให้ความร่วมมือหรือไม่เห็นประโยชน์ของการจัดทำงบประมาณ
ขั้นตอนการจัดทำงบประมาณ ศึกษาวัตถุประสงค์ขององค์การรวมทั้งนโยบายขององค์การ โดยแสดงเฉพาะเรื่อง เกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินและทางการบัญชี ผู้จัดการของแต่ละแผนกในองค์การควรมีส่วนร่วมในการประมาณการรายการต่างๆใน ส่วนงานที่ตนรับผิดชอบอยู่เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำประมาณการ ประมาณการยอดขาย ผู้จัดการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตต้องประมาณการเกี่ยวกับต้นทุนผลิตภัณฑ์และต้นทุน ตามงวดเวลา ประมาณการขยายการลงทุนในแต่ละงวดเวลาที่จัดทำงบประมาณ ปรับปรุงรายการที่บันทึกบัญชีตามหลักเงินค้าง ให้เป็นราการที่บันทึกตามเกณฑ์เงินสด เพื่อนำไปใช้ประมาณเงินสดที่จะรับและจะจ่ายจริง เตรียมงบประมาณย่อยตามที่ฝ่ายบริหารต้องการ เปรียบเทียบงบประมาณที่จัดทำให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักขององค์กร
ประเภทของงบประมาณ งบประมาณดำเนินงาน งบประมาณการเงิน
งบประมาณดำเนินงาน งบประมาณขาย งบประมาณการผลิต งบประมาณวัตถุทางตรง งบประมาณแรงงานทางตรง งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต งบประมาณต้นทุนการผลิต งบประมาณค่าใช้จ่ายขายและบริหาร งบประมาณกำไรขาดทุน
งบประมาณการเงิน งบประมาณเงินลงทุน งบประมาณเงินสด งบประมาณงบดุล งบประมาณกำไรสะสม งบประมาณงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ งบประมาณกระแสเงินสด