การถ่ายทอดพลังงาน และการหมุนเวียนสารในระบบนิเวศ
การถ่ายทอดพลังงานในสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแบ่งออกตามหน้าที่ ได้ 3 กลุ่ม ผู้ผลิต (producer) ผู้บริโภค (consumer) ผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (decomposer)
ซึ่งสิ่งมีชีวิตจะกินกันเป็นทอด ๆ ทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงาน (energy flow) ในรูปแบบโซ่อาหาร (food chain) และสายใยอาหาร (food web) http://techalive.mtu.edu/meec/module10/EnergyFlow2.html
ลำดับขั้นการกิน (tropic level) 1. โซ่อาหารแบบจับกินหรือแบบผู้ล่า (grazing food chain) พลังงานจากผู้ผลิตหรือผู้บริโภคไปยังผู้ลำดับสูงขึ้น พืช กระรอก เหยี่ยว
2. โซ่อาหารแบบดีไทรทัส (detritus food chain) พลังงานหรือสารอาหารถ่ายทอดจากการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ของผู้สลายสารอินทรีย์ผ่านต่อไปยังผู้บริโภคลำดับต่าง ๆ
3. โซ่อาหารแบบปรสิต (parasitic food chain) พลังงานหรือสารอาหารถ่ายทอดจาก host ไปยัง parasite เช่น สุนัขถูกเห็บดูดเลือด และเห็บนี้ติดเชื่อแบคทีเรีย Borrelia lonestari
พีระมิดทางนิเวศวิทยา (Ecological Pyramid) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ลำดับขั้นของโซ่อาหารในรูปแบบของพีระมิด ผู้ผลิตจะอยู่ที่ฐาน ตามด้วยผู้บริโภคอันดับหนึ่ง สอง และลำดับต่อไปเรื่อยๆ พีระมิดทางนิเวศวิทยาจำแนกเป็น 3 แบบ ได้แก่
1. พีระมิดจำนวน (pyramid of numbers) แสดงลำดับของจำนวนสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ มีหน่วยเป็น จำนวน/ตารางเมตร
2. พีระมิดมวลชีวภาพ (pyramid of biomass) แสดงมวลชีวภาพหรือเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดในรูปของน้ำหนักแห้ง มีหน่วยเป็น กรัม/ตารางเมตร
3. พีระมิดพลังงาน (pyramid of energy) แสดงปริมาณสิ่งมีชีวิตโดยบอกอัตราของการถ่ายทอดพลังงานและอัตราการผลิตของแต่ละลำดับชั้นอาหาร มีหน่วยเป็น กิโลแคลอรี/ตารางเมตร/ปี