งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบบนิเวศ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบนิเวศ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบนิเวศ

2 นิยาม ระบบนิเวศนี้สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ ระบบนิเวศบนบก
ระบบนิเวศ เป็นระบบความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศนี้สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ ระบบนิเวศบนบก ระบบนิเวศในนํ้า เราถือได้ว่าโลกเป็นระบบนิเวศที่มีขนาดใหญ่ที่สุด Biosphere คือ ระบบนิเวศทุกสิ่งในโลก

3 บทบาทของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
ผู้ผลิต (Producer) บทบาท … สังเคราะห์ด้วยแสงได้ … เปลี่ยนสารอนินทรีย์เป็นสารอินทรีย์ (การหมุนเวียนสาร) ได้แก่ พืช สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิด

4 ผู้บริโภค (Consumer) บทบาท … เปลี่ยนสารอินทรีย์ให้เป็นสารอนินทรีย์ ได้แก่ ผู้บริโภคพืช (Herbivore) กระต่าย ช้าง ม้า วัว ผู้บริโภคสัตว์ (Carnivore) เสือ สิงโต งู ผู้บริโภคทั้งพืช และสัตว์ (Omnivore) คน นก ไก่ ผู้บริโภคซาก (Detritivore) หนอน กิ้งกือ แร้ง

5 ผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร (Decomposer)
บทบาท…เปลี่ยนสารอินทรีย์เป็น สารอนินทรีย์ ได้แก่ จุลินทรีย์ แบคทีเรีย เห็ด รา

6 แบ่งออกเป็น ไบโอม (Biomes)

7 ไบโอมบนบก แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่
1 ไบโอมป่าดิบชื้น 2 ไบโอมป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น 3 ไบโอมป่าสน หรือไทกา หรือป่าบอเรียล 4 ไบโอมทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น 5 ไบโอมสะวันนา 6 ไบโอมทะเลหราย 7 ไบโอมทุนดรา หรือทุ่งน้ำแข็ง

8 ไบโอมในน้ำ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1 ไบโอมน้ำจืด 2 ไบโอมน้ำเค็ม 3 ไบโอมน้ำกร่อย

9 ป่าดิบชื้น (Tropical rain forest) พบได้ในบริเวณใกล้เขตเส้นศูนย์สูตรของโลกในทวีปอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเอเชียตอนใต้ และบริเวณบางส่วนของหมู่เกาะแปซิฟิก ลักษณะของภูมิอากาศร้อนและชื้น มีฝนตกตลอดปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 200 – 400 เซนติเมตรต่อปี ในป่าชนิดนี้พบพืชและสัตว์หลากหลายพันสปีชีส์ เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงมาก

10 ป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น (Temperate deciduous forest) พบกระจายทั่วไปในละติจูดกลาง ซึ่งมีปริมาณความชื้นเพียงพอที่ต้นไม้ใหญ่จะเจริญเติบโตได้ดี โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 100 เซนติเมตรต่อปี และมีอากาศค่อนข้างเย็น ในป่าชนิดนี้และต้นไม้จะทิ้งใบหรือผลัดใบก่อนฤดูหนาว และจะเริ่มผลิใบอีกครั้งเมื่อฤดูหนาวผ่านพ้นไปแล้ว ต้นไม้ที่พบมีหลากหลายทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม รวมถึงไม้ล้มลุก

11 ป่าสน (Coniferous forest)
ป่าไทกา (Taiga) และป่าบอเรียล (Boreal) เป็นป่าประเภทเขียวชอุ่มตลอดปี พบได้ทางตอนใต้ของประเทศแคนนาดา ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปเอเชียและยุโรป ในเขตละติจูดตั้งแต่ 45 – 67 องศาเหนือ ลักษณะของภูมิดากาศมีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน อากาศเย็นและแห้ง พืชเด่นที่พบได้แก่ พืชจำพวกสน เช่น ไพน์ (Pine) เฟอ (Fir) สพรูซ (Spruce) เป็นต้น

12 ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น (Temperate grassland)
หรือที่รู้จักกันในชื่อทุ่งหญ้าแพรี่ (Prairie) ในตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือและทุ่งหญ้า สเตปส์ (Steppes) ของประเทศรัสเซีย สภาพภูมิอากาศมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 25 – 50 เซนติเมตรต่อปี ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นนี้เหมาะสำหรับการทำกสิกรและปศุสัตว์ เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงมีหญ้านานาชนิดขึ้นอยู่ ส่วนใหญ่พบมีการทำเกษตรกรรมควบคู่ในพื้นที่นี่ด้วย

13 สะวันนา (Savanna) เป็นทุ่งหญ้าที่พบได้ในทวีปแอฟริกาและพบบ้างทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ลักษณะของภูมิอากาศร้อน พืชที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นหญ้าและมีต้นไม้กระจายเป็นหย่อม ๆ ในฤดูร้อนมักเกิดไฟป่า

14 ทะเลทราย (Desert) พบได้ทั่วไปในโลก ในพื้นที่มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยน้อยกว่า 25 เซนติเมตรต่อปี ทะเลทรายบางแห่งร้อนมากมีอุณหภูมิเหนือผิวดินสูงถึง 60 องศาเซลเซียสตลอดวัน บางวันแห่งมีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น พืชที่พบในไบโอมทะเลทรายนี้มีการป้องกันการสูญเสียน้ำ โดยใบลดรูปเป็นหนาม ลำต้นอวบ เก็บสะสมน้ำดี ทะเลทรายที่รู้จักกันโดยทั่วไป ได้แก่ ทะเลทรายซาฮารา (Sahara) ในทวีปแอฟริกา ทะเลทรายโกบี (Gobi) ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและทะเลทรายโมฮาวี (Mojave) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

15 ทุนดรา (Tundra) เป็นเขตที่มีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน ฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ ลักษณะเด่นคือ ชั้นของดินที่อยู่ต่ำกว่าจากผิวดินชั้นบนลงไปจะจับตัวเป็นน้ำแข็งถาวร ทุนดราพบเพียงตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ และยูเรเซีย พบพพืชและสัตว์อาศัยอยู่น้อยชนิด ปริมาณฝนน้อยในฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ น้ำแข็งที่ผิวหน้าดินละลาย แต่เนื่องจากน้ำไม่สามารถซึมผ่านลงไปในชั้นน้ำแข็งได้ในระยะสั้ๆ พืชที่พบจะเป็นพวกไม้ดอกและไม้พุ่ม นอกจากนี้ยังพบสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น ไลเคน ด้วย

16 ความหลากหลายของระบบนิเวศ
การศึกษาระบบนิเวศ (Ecology) แบ่งออกเป็น ระบบนิเวศบนบก (terrestrial ecosystem) และ ระบบนิเวศในน้ำ (aquatic ecosystem)

17 ระบบนิเวศแบบต่างๆ Aquartic ecosystem o น้ำจืด แบ่งออกเป็น น้ำนิ่ง และน้ำไหล o น้ำกร่อย ได้แก่ บริเวณป่าชายเลน o น้ำเค็ม แบ่งออกเป็น บริเวณชายฝั่ง, ทะเลเปิด, หาดทราย, หาดหิน และแนวปะการัง

18 Terrestrial ecosystem
ได้แก่ระบบนิเวศป่าไม้ แบ่งออกเป็น ป่าผลัดใบ (deciduous forrest) และ ป่าไม่ผลัดใบ (evergreen forrest)

19 ป่าผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ (mixed deciduous forrest)
สัก มะค่า แดง ชิงชัน ประดู่ ป่าเต็งรัง หรือป่าแดง หรือป่าแพะ (dry deciduous forrest) เต็ง รัง ไผ่เพ็ก พะยอม เหียง พลวง ประดู่แดง มะขามป้อม

20 ป่าไม่ผลัดใบ ป่าดิบชื้น (tropical rain forrest)
ไม้ยืนต้นชั้นบน (>40m) ได้แก่ ยาง ตะเคียน สะยา ไม้ชั้นกลาง (10-20m) ได้แก่ ตีนเป็ดแดง จิกเขา ไม้ชั้นล่าง (<7m) ไม้พุ่ม ปาล์ม หวาย ไผ่ เถาวัลย์ ป่าดิบแล้ง (dry evergreen forrest) ไม้เรือนยอดชั้นบน ได้แก่ ยางแดง มะค่าโมง เคี่ยม หลุมพอ กะบาก ตะเคียนหิน พืชชั้นรอง ได้แก่ พลอง กระเบาเล็ก

21 ป่าไม่ผลัดใบ ป่าดิบเขา (hill evergreen forrest)
ไม้ยืนต้น ได้แก่ ก่อ นางพญาเสือโคร่ง มะขามป้อมดง อบเชย กำยาน สนเขา จำปี ไม้ชั้นล่าง ได้แก่ กุหลาบป่า กล้วยไม้ดิน ผักกูด มอส ป่าสนเขา (coniferous forrest) สนสองใบ สนสามใบ ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุกขึ้นเล็กน้อยเพราะดินถูกชะล้าง ความเป็นกรดสูง ขาดความอุดมสมบูรณ์

22 ป่าไม่ผลัดใบ ป่าชายเลน (mangrove forrest) โกงกาง แสม ลำพู ตะบูน ป่าพรุ (peat swamp forrest) หวาย หมากแดง หลุมพี

23 ความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ
ปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภุมิ แสงสว่าง น้ำหรือความชื้น ดิน กระแสลม สภาพความเป็นกรด-ด่าง ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตคนละชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกัน

24 อยู่ในสไลด์ระบบนิเวศ

25 การถ่ายทอดพลังงาน และการหมุนเวียนสารในระบบนิเวศ

26 ห่วงโซ่อาหาร

27 สายใยอาหาร

28 สายใยอาหาร

29 พีระมิดทางนิเวศวิทยา ได้แก่

30 พีระมิดจำนวน (pyramid of numbers)
ผู้บริโภคลำดับที่ 2 (นกกระจาบ : 3 ตัว/ตารางเมตร) ผู้บริโภคลำดับที่ 1 (แมลงวันทอง : 10 ตัว/ตารางเมตร) ผู้ผลิต (มะม่วง : 1 ต้น/ตารางเมตร)

31 พีระมิดจำนวน (pyramid of numbers)
ผู้บริโภคลำดับที่ 2 (นกปรอด : 1 ตัว/ตารางเมตร) ผู้บริโภคลำดับที่ 1 (หนอนกระทู้ :11 ตัว/ตารางเมตร) ผู้ผลิต (ต้นข้าว : 400 ต้น/ตารางเมตร)

32 พีระมิดมวลชีวภาพ (pyramid of biomass)
ผู้บริโภค (เพรียงทะเล : กรัม/ตารางเมตร) ผู้ผลิต (แลงก์ตอนพืช : กรัม/ตารางเมตร)

33 พีระมิดมวลชีวภาพ (pyramid of biomass)
ผู้บริโภคลำดับที่ 3 (งู : 1.5 กรัม/ตารางเมตร) ผู้บริเวณลำดับที่ 2 (นกกางเขนบ้าน : 11 กรัม/ตารางเมตร) ผู้บริโภคลำดับที่ 1 (หนอนผีเสื้อ : 37 กรัม/ตารางเมตร) ผู้ผลิต (พุทรา : 800 กรัม/ตารางเมตร)

34 พีระมิดพลังงาน (pyramid of energy)

35 วัฎจักรสารในระบบนิเวศ ได้แก่
วัฏจักรน้ำ วัฏจักรคาร์บอน วัฏจักรไนโตรเจน วัฏจักรฟอสฟอรัส วัฏจักรกำมะถัน


ดาวน์โหลด ppt ระบบนิเวศ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google