สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
ประเด็นปัญหา : กรณีเอกชน หรือ นิติบุคคล ต่างด้าว ได้รับความเสียหายอันเกิดจากการกระทำ/ละเว้นกระทำของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะสามารถนำคดีขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรมทางปกครองได้หรือไม่
บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ สนธิสัญญา จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป คำพิพากษาของศาล/ ผู้ทรงคุณวุฒิทางนิติศาสตร์
จารีตประเพณีระหว่างประเทศ ข้อ 38 วรรค 1 (b) แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ “จารีตประเพณีระหว่างประเทศในฐานะเป็นหลักฐานแห่งการปฏิบัติโดยทั่วไป ซึ่งได้รับการรับรองว่าเป็นกฎหมาย” จารีตประเพณีระหว่างประเทศเป็นทางปฏิบัติของรัฐที่ผ่านมานับศตวรรษ โดยทางปฏิบัติดังกล่าวจะต้องเป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางในประชาคมของรัฐต่างๆ กระทำซ้ำๆอย่างสม่ำเสมอ ไปในทางรูปแบบเดียวกัน เป็นเวลายาวนาน และรัฐผู้ปฏิบัติจะต้องมีความเชื่อความรู้สึกผูกพันว่าเป็นพันธะทางกฎหมาย เช่น หลักสิทธิมนุษยชน
การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง โดยหลักสิทธิมนุษยชนปรากฏใน กับหลักสิทธิมนุษยชน โดยหลักสิทธิมนุษยชนปรากฏใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 8 “บุคคลมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาอย่างได้ผลโดยผลศาลแห่งชาติ ซึ่งมีอำนาจเนื่องจากการกระทำใด ๆ อันละเมิดต่อสิทธิขั้นมูลฐาน ซึ่งตนได้รับจากรัฐธรรมนูญหรือจากกฎหมาย”
การบัญญัติกฎหมายภายในรองรับ หลักสิทธิมนุษยชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 62 “สิทธิของบุคคลที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
บทสรุป คนต่างด้าวจึงถือได้ว่ามีสิทธิตามกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศโดยอาศัยหลักสิทธิมนุษยชนในการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง หากตนได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำ/ละเว้นกระทำของฝ่ายปกครอง ก็มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการกระทำทางปกครองที่มีผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพ หรือประโยชน์อันชอบธรรมของตนนั้นเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย และขอให้เพิกถอนการกระทำนั้น หรือขอให้ไม่บังคับใช้การกระทำนั้นแก่กรณีของตน และ/หรือขอให้บังคับให้ฝ่ายปกครองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตน แล้วแต่กรณี