ตลาดผูกขาด ( MONOPOLY )
ผู้ผูกขาดหมายถึง ( Monopolist ) ผู้ผลิตเพียงรายเดียว ในตลาดสินค้าชนิดหนึ่งที่ไม่มีสินค้าชนิดอื่นทดแทนได้อย่าง ใกล้ชิด เนื่องจากเป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียวจึงสามารถควบคุม ราคา และปริมาณได้มากกว่าผู้ผลิตที่อยู่ในตลาดแข่งขัน สมบูรณ์
ลักษณะของตลาดผูกขาด มีผู้ขายหรือผู้ผลิตเพียงรายเดียว ไม่มีสินค้าอื่นที่จะมาทดแทนสินค้าสินค้าที่ผูกขาดได้อย่างใกล้ชิด การเข้าสู่ตลาดของผู้ผลิตรายใหม่ถูกปิดกั้นหรือเข้ามาด้วยความ ยากลำบาก ผู้ผลิตแสวงหากำไรสูงสุด ผู้บริโภคแสวงหาความพอใจสูงสุด
สาเหตุของการเกิดตลาดผูกขาด ผู้ผลิตเป็นเจ้าของหรือควบคุมวัตถุดิบในการผลิตสินค้าแต่เพียงผู้ เดียว ธุรกิจเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือได้รับสัมปทานในการผลิตและ จำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว มี Economy of scale
ดุลยภาพระยะสั้นในตลาดผูกขาด ผู้ผูกขาดจะต้องเลือกการผลิต ณ ระดับปริมาณและราคาที่ ก่อให้เกิดกำไรสูงสุดถ้าการผลิตนั้นจะได้ภาวะดุลยภาพ ลักษณะเส้นอุปสงค์ มีความยืดหยุ่นน้อย( Inelastic demand ) P = AR อุปสงค์ของหน่วยผลิต เป็นเส้นเดียวกับอุปสงค์ตลาด เนื่องจาก ผู้ผลิตมีเพียงรายเดียว ถ้าลดราคา ผู้ผลิตจะขายได้มากขึ้น
เส้นรายรับเพิ่ม ( Marginal Revenue ) เส้นรายรับเฉลี่ย ( Average Revenue ) เส้นราคา ( Price line ) ( P ) = D = AR MR สองเท่าของ AR
MR =MC หรือผลิตที่ รายรับเพิ่ม = ต้นทุนเพิ่ม หรือ P เท่ากับหรือสูงกว่าต้นทุนผันแปรเฉลี่ย ได้กำไร P น้อยกว่า AC ขาดทุน ขาดทุน ผลิตต่อ ถ้า P มากกว่า AVC ขาดทุนจะไม่ปิดกิจการ ขาดทุน เลิกกิจการ ถ้า P น้อยกว่า AVC
เส้นอุปทานในระยะสั้น ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ จะอยู่เหนือเส้น MC เพราะว่า P = MC ในตลาดผูกขาด เส้นอุปทานไม่สามารถหาได้ เพราะว่า ราคา มากกว่า รายรับเพิ่ม และรายรับเพิ่มเท่ากับ ต้นทุนเพิ่ม และไม่ทราบว่าราคาเพิ่มขึ้นหรือลดลง จะขายได้ มากหรือน้อย จึงไม่สามารถอธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่าง P และ Q
การตั้งราคาสินค้าให้แตกต่างกัน ( Price Discrimination ) ผู้ผูกขาดอาจมีการเลือกปฏิบัติต่อผู้ซื้อและตั้งราคาขายให้ แตกต่างกันเพราะว่าตัวเองเป็นผู้ผูกขาด มี 2 แบบ คือ สินค้าชนิดเดียวกันหรือเหมือนกันจะถูกตั้งราคาขายให้แตกต่าง กัน เมื่อขายให้ผู้ซื้อที่มีความแตกต่างกัน ตั้งราคาที่ทำให้สัดส่วนของราคาต่อต้นทุนเพิ่มต่างกันในระหว่าง ผู้ซื้อแต่ละราย P1 / MC1 ไม่เท่ากับ P2 / MC2
การตั้งราคาสินค้าให้แตกต่างกัน จุดประสงค์ของผู้ผลิตก็เพื่อให้ได้รับรายได้มากที่สุด การตั้งราคาสินค้าให้แตกต่างกันลำดับที่ 1 ( First degree price discrimination ) ขายสินค้าให้ลูกค้าแต่ละคนราคาแตกต่างกัน แม้ว่าราคาสินค้า ชนิดเดียวกัน ผู้ขายจะคิดราคาขายสินค้ากับผู้บริโภคแต่ละคนเท่ากับราคา สูงสุดที่ผู้บริโภคยินดีจ่าย เช่นการตั้งราคาของหมอ การตั้งราคาสินค้าให้แตกต่างกันลำดับที่ 2 การตั้งราคาเป็นช่วง ๆ คล้าย ขั้นบันไดเช่นร้านขายเสื้อผ้ามีนโยบายขายเต็มราคาในชิ้นแรก และชิ้นต่อไป ลด 50 % การตั้งราคาสินค้าให้แตกต่างกันลำดับที่ 3 ตั้งราคาขายที่แตกต่างกันกับ กลุ่มผู้บริโภคที่แตกต่างกัน เช่นเก็บค่าชมพิพิธภัณฑ์ คนไทยและต่างชาติคน ละราคา