ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง การกำหนดบริเวณอันตราย ในการติดตั้งระบบไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า และบริภัณฑ์ของสถานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. 2554 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 2 กันยายน 2554
สรุปสาระสำคัญ ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป บริเวณอันตรายแบ่งเป็น 3 ประเภท บริเวณอันตรายประเภทที่ 1 ได้แก่บริเวณดังนี้ บริเวณสภาวะการทำงานปกติ มีก๊าซหรือไอเข้มข้นพอที่จะจุดไฟให้ติดได้ บริเวณที่อาจมีก๊าซหรือไอที่มีความเข้มข้นพอที่จะจุดไฟให้ติดได้บ่อยๆเนื่องจากการซ่อมแซม บำรุงรักษาหรือรั่ว บริเวณที่เมื่อบริภัณฑ์เกิดความเสียหายหรือทำงานผิดพลาด อาจทำให้เกิดก๊าซหรือไอที่มีความเข้มข้นพอที่จะติดไฟได้
สรุปสาระสำคัญ บริเวณอันตรายประเภทที่ 2 ได้แก่บริเวณดังนี้ บริเวณเก็บของเหลวติดไฟซึ่งระเหยได้หรือก๊าซที่ติดไฟได้ บริเวณที่มีการป้องกันการติดไฟ โดยใช้ระบบระบายอากาศ ซึ่งทำงานโดยเครื่องจักรกลและอาจเกิดอันตรายได้หากระบบขัดข้อง บริเวณที่อยู่ใกล้กับบริเวณอันตรายประเภทที่ 1 และอาจได้รับการถ่ายเทก๊าซหรือไอที่จุดติดไฟได้ในบางครั้ง บริเวณอันตรายประเภทที่ 3 ได้แก่บริเวณอยู่เหนือระดับบริเวณอันตรายประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ 1. สถานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ต้องมีระยะห่างของบริเวณอันตรายตามตารางท้ายประกาศนี้ 2. ภายในบริเวณอันตรายประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 ถ้ามีผนังกันก๊าซให้ถือว่าบริเวณอันตรายไม่รวมถึงบริเวณอีกด้านหนึ่งของผนังนั้น 3. ภายในบริเวณอันตรายประเภทที่ 3 หากมีพื้นหรือหลังคาที่ทำด้วยวัสดุทนไฟขวางกั้นไม่ให้มีประกายไฟหล่นสู่บริเวณอันตรายประเภทที่ 1และ 2 ให้ถือว่าเหนือพื้นที่หลังคาไม่เป็นบริเวณอันตราย
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ 4. สถานที่ใช้ก๊าซที่ได้รับความเห็นชอบตามกฎกระทรวง ก่อนประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตมีไว้ครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายครั้งแรก แนบท้าย ตารางแสดงระยะห่างของบริเวณอันตรายของสถานทีใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว
จบการนำเสนอ