การเขียนผังงาน การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ Software Design and Development
การเขียนผังงาน ผังงาน (Flowchart) Pseudocodes และ PDL (Program Design Language)
ความหมายผังงาน ผังงาน คือ รูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนลำดับ หรือขั้นตอนในโปรแกรม รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ที่จะใช้เป็นเอกลักษณ์ และแทนความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ประเภทผังงาน ผังงานระบบ (System Flowchart) แสดงถึงขั้นตอนการทำงานภายในระบบงานหนึ่ง ๆ แต่ละจุดประกอบด้วย Input-Process-Output ไม่สามารถเขียนโปรแกรมจากผังงานระบบได้ ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) แสดงถึงขั้นตอนของคำสั่งที่ใช้ในโปรแกรม อาจสร้างมาจากผังงานระบบ นำไปเขียนโปรแกรมคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่อไป
ประโยชน์ของผังงาน รู้และเข้าใจได้ง่าย ง่ายและสะดวกต่อการพิจารณาถึงลำดับขั้นตอนในการทำงาน ตรวจสอบความถูกต้องของลำดับขั้นตอนได้ง่าย การเขียนโปรแกรมทำได้รวดเร็วและง่ายขึ้น บำรุงรักษาหรือเปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น
ข้อจำกัดของผังงาน ใช้สื่อความหมายระหว่างบุคคลมากกว่าที่จะสื่อกับเครื่อง ไม่ทราบความสำคัญของแต่ละขั้นตอน สิ้นเปลือง เพราะใช้กระดาษและอุปกรณ์มาก ผังงานขนาดใหญ่ ปรับเปลี่ยนแก้ไขทำได้ยาก ในผังงานจะบอกเพียงลำดับอย่างไร และ ปฏิบัติงานอะไร ผังงานไม่สามารถแทนลักษณะคำสั่งในภาษา ได้ชัดเจนตรงไปตรงมา
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน หน่วยงานที่รวบรวมและกำหนดมาตรฐาน American National Standard Institute (ANSI) International Standards Organization (ISO)
หลักเกณฑ์ทั่วไปของการเขียนผังงาน การกำหนดค่าเริ่มแรก การรับข้อมูล การประมวลผล การแสดงค่าของข้อมูล การทดสอบ
หลักเกณฑ์ทั่วไปของการเขียนผังงาน การกำหนดค่าเริ่มแรก Start
หลักเกณฑ์ทั่วไปของการเขียนผังงาน การรับข้อมูล อ่านข้อมูล X
หลักเกณฑ์ทั่วไปของการเขียนผังงาน การประมวลผล X = X * Y
หลักเกณฑ์ทั่วไปของการเขียนผังงาน การแสดงค่าของข้อมูล แสดงค่า X ทางหน้าจอ
หลักเกณฑ์ทั่วไปของการเขียนผังงาน การทดสอบ X < 1?
หลักเกณฑ์ทั่วไปของการเขียนผังงาน สิ้นสุด End
หลักเกณฑ์ทั่วไปของการเขียนผังงาน เชื่อมต่อ
การจัดภาพและทิศทางของ ผังงาน จากบนมาล่าง จากซ้ายไปขวา และควรเขียนลูกศรกำกับทิศทาง สัญลักษณ์มีขนาดต่างกันได้ แต่ต้องมีรูปตามมาตรฐานที่กำหนด หลีกเลี่ยงการโยงไปมาในทิศทางตัดกัน คำอธิบายในภาพเขียนเพียงสั้น ๆ และเข้าใจง่าย ควรมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะอาด และควรมีชื่อของผังงาน ผู้เขียน วันที่ที่เขียน และเลขหน้าลำดับ
ซูโดโค้ด และ PDL การเรียงลำดับ การตัดสินใจแบบทดสอบทางเลือก คำสั่งทำซ้ำ ๆ FOR และ END FOR REPEAT-UNTIL WHILE - END WHILE โปรแกรมย่อยหรือโมดูล
ซูโดโค้ด และ PDL Pseudo code ของการโยนเหรียญ 3 ครั้ง ถ้าเกิดหัว ผู้โยนจะได้เงิน 10 บาท ถ้าเกิดก้อย ผู้โยนจะเสียเงิน 10 บาท 1. โยนเหรียญ 2. ถ้าเหรียญออกหัว 2.1. ได้รับเงิน 10 บาท 3. ถ้าเหรียญออกก้อย 3.1. เสียเงิน 10 บาท 4. ทำงานครบ 3 ครั้งหรือยัง 4.1. ถ้ายังให้ไปทำข้อ 1 4.2. ถ้าครบแล้วให้ทำข้อ 5 5. หยุด
ซูโดโค้ด และ PDL Pseudo code ของการคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษา 0. ให้ U = 0, G = 0, S = 0 และ i = 1 1. ให้ U = หน่วยกิตของวิชา i 2. ให้ G = เกรดของวิชา i 3. ให้เพิ่มค่า S = S + U x G 4. เป็นวิชาสุดท้ายหรือไม่ 4.1 ถ้าใช่ ทำข้อ 5 4.2 ถ้าไม่ใช่ 4.2.1 เพิ่มค่า i หนึ่งระดับ 4.2.2 ทำข้อ 1 5. นำ G มาหารด้วย i