รองศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนทางวินัย เรื่อง กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง รองศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครอง 1) หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำ ทางปกครอง (1) เปรียบเทียบหลักการพื้นฐานในกฎหมาย กฎหมายเอกชนและกฎหมายปกครอง (2) เนื้อหาของหลักความชอบด้วยกฎหมาย ของการกระทำทางปกครอง
(4) หลักการคุ้มครองความเชื่อถือและไว้วางใจ 2) หลักการพื้นฐานสำหรับการกระทำทางปกครอง (1) หลักความพอสมควรแก่เหตุ (2) หลักความชัดเจนแน่นอนและคาดหมาย ได้ในการกระทำทางปกครอง (3) หลักการห้ามเลือกปฏิบัติโดยอำเภอใจ (4) หลักการคุ้มครองความเชื่อถือและไว้วางใจ (5) หลักการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ
3) ข้อความคิดว่าด้วยดุลพินิจของฝ่ายปกครอง (1) การใช้กฎหมายของฝ่ายปกครองและการควบ คุมตรวจสอบการใช้กฎหมายของฝ่ายปกครอง (2) ความหมายของ “ดุลพินิจของฝ่ายปกครอง” (3) ดุลพินิจที่ผิดพลาด
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ความหมาย : เป็นกฎหมายกำหนดกฎเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยเฉพาะการออกคำสั่งทางปกครองและขั้นตอนการปฏิบัติภายหลังจากที่ได้ออกคำสั่งทางปกครองแล้ว ความสำคัญ : เป็นกฎหมายหลักที่กำหนดขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานขององค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีระบบระเบียบ
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ต่อ) ขอบเขตการใช้บังคับ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเป็น “กฎหมายกลาง” เพื่อสร้างมาตรฐานสำหรับการใช้อำนาจในฝ่ายปกครอง กรณีที่มิใช่การใช้อำนาจทางปกครอง จะไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายนี้ (มาตรา 4)
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ต่อ) ผู้มีอำนาจพิจารณาเรื่องทางปกครอง ต้องเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้รับการแต่งตั้งหรือมอบอำนาจให้พิจารณาเรื่องทางปกครอง เว้นแต่กรณีที่รัฐมอบหมายให้เอกชนใช้อำนาจทางปกครองแทนในบางเรื่อง เช่นนี้ย่อมถือว่าเอกชนเป็นเจ้าหน้าที่เช่นกัน
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ต่อ) ผู้มีส่วนร่วมในการพิจารณาเรื่องทางปกครอง (คู่กรณี) หมายถึง เอกชนที่เกี่ยวข้องในกระบวนพิจารณาออกคำสั่งทางปกครอง ได้แก่ ผู้ยื่นคำขอ ผู้คัดค้านคำขอ ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง หรือผู้ที่อาจถูกกระทบกระเทือนจากผลของคำสั่งทางปกครอง
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ต่อ) คำสั่งทางปกครอง : ผลผลิตของกระบวนวิธีพิจารณาเรื่องทางปกครอง ความหมาย ต้องเป็นมาตรการอันเกิดจากการใช้อำนาจรัฐ ต้องกระทำโดยเจ้าหน้าที่ ต้องเป็นการกำหนดกฎเกณฑ์อันมุ่งต่อผลในทางกฎหมาย ต้องเป็นการกระทำที่เกิดผลเฉพาะกรณี ต้องมีผลบังคับโดยตรงออกไปภายนอกฝ่ายปกครอง
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ต่อ) ผลของคำสั่งทางปกครอง การสิ้นผลของคำสั่งทางปกครอง คำสั่งทางปกครองมีผลใช้ยันบุคคลตั้งแต่ผู้นั้นได้รับแจ้งเป็นต้นไป และย่อมมีผลตราบเท่าที่คำสั่งนั้นยังไม่สิ้นผลโดยการลบล้าง โดยเงื่อนเวลา หรือโดยเหตุอื่น เพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบ ยกเลิกคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ต่อ) การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง ในกรณีที่กฎหมายเฉพาะกำหนดขั้นตอน ระยะเวลา และวิธีการอุทธรณ์ไว้อย่างไร บุคคลผู้รับคำสั่งทางปกครองก็จะต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายเฉพาะนั้นกำหนดไว้ หากไม่มีกฎหมายเฉพาะ จึงจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองซึ่งเป็นกฎหมายกลาง การอุทธรณ์คำสั่งไม่มีผลเป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่ง เว้นแต่เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งจะพิจารณาทุเลาการบังคับให้
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ต่อ) การขอให้พิจารณาใหม่ คำสั่งทางปกครองที่ล่วงเลยระยะเวลาอุทธรณ์ ย่อมมีผลบังคับผูกพันให้ผู้รับคำสั่งต้องปฏิบัติตามคำสั่งนั้น จะมาอุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือจะนำคดีไปฟ้องศาลปกครองไม่ได้ อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ก็ได้เปิดช่องทางให้คู่กรณีขอให้พิจารณาเรื่องทางปกครองใหม่ได้ (มาตรา 54)