SAR2011 ข้อ III 4.3 ฉ : การฟื้นฟูสภาพ ป้อม พันธุ์พรหม นักกายภาพบำบัด รพ. บึงกาฬ 18 พ.ย. 56
มาตรฐาน: ทีมผู้ให้บริการสร้างความมั่นใจว่าจะให้การดูแลในการบริการเฉพาะที่สำคัญ อย่างทันท่วงที ปลอดภัย เหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพ
ประเด็นคุณภาพ/ความเสี่ยงที่สำคัญ: การฟื้นฟูสภาพ ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ตามสภาวะผู้ป่วยแต่ละราย ให้สามารถดูแลตัวเอง ได้ดีขึ้น
ข้อมูลตัวชี้วัด เป้าหมาย 2553 2554 2555 2556 (ต.ค.-มิ.ย.) ร้อยละผู้ป่วยเด็กพัฒนาการช้า ที่ได้รับการฟื้นฟู สภาพ ร้อยละ 80 NA 100 (44 คน) ร้อยละผู้ป่วย Fracture of LE หลังผ่าตัดได้รับ การฟื้นฟูสภาพ 92.77 (77/83) ร้อยละผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ( CVA) ได้รับ การฟื้นฟูสภาพ 33.47 (161/481) ร้อยละผู้ป่วย/ผู้พิการที่ได้รับการเยี่ยมบ้านมี คะแนน The Barthel Index of Activity of Daily Living เพิ่มขึ้น 50 (10/20) ร้อยละผู้ป่วยเด็กระบบทางเดินหายใจที่ได้รับการ ฟื้นฟูสภาพปอด 20.16 (144/714) ร้อยละผู้พิการทางการเห็นที่ได้รับการฟื้นฟูโดย เข้ารับการฝึกอบรมทักษะด้านการทำ ความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม และการ เคลื่อนไหว (O M) มีคุณภาพชีวิตที่ขึ้น (50 คน)
บริบท: กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับฟื้นฟูสภาพ: ประกอบด้วย 4 สาขาหลักคือ สูติ-นารีเวชกรรม: ผู้ป่วยก่อนและหลังคลอด ศัลยกรรม: ผู้ป่วย Fracture of LE หลังผ่าตัด อายุรกรรม: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (CVA) กุมารเวชกรรม: ผู้ป่วยพัฒนาการช้าและระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยังมีการให้บริการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย/ผู้พิการในชุมชน และ ฟื้นฟูผู้พิการทางการเห็นโดยการฝึกอบรมทักษะด้านการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (O&M)
กระบวนการ
บทเรียนเกี่ยวกับการเข้าถึง การขยายความครอบคลุม ในการให้บริการฟื้นฟูสภาพ แพทย์ ส่งปรึกษานักกายภาพบำบัดเรื่องการฟื้นฟูสภาพ นักกายภาพ บำบัด ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ฝึกการเรียนรู้ของสมอง และสอนญาติ ญาติ ดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน
บทเรียนในการประเมินและวางแผนการให้ บริการฟื้นฟูสภาพ: หลัง D/C ผู้ป่วยไม่มารับการประเมิน และการปรับโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพจากนักกายภาพบำบัดเนื่องจากไม่สะดวกในการเดินทางและด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจของครอบครัว นักกายภาพบำบัดประสานงานไปยังรพ.สต.ที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ เพื่อลงเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านแบบสหสาขาวิชาชีพและปรับโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพ ให้กายอุปกรณ์ที่จำเป็นรวมถึงปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
บทเรียนในการให้บริการฟื้นฟูสภาพ หลังจากที่ลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแล้ว พบว่าความสามารถของผู้ป่วยในการดูแลตนเองยังไม่ดีขึ้น ญาติไม่เห็นความสำคัญในการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย บางส่วนญาติให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยมากเกินความจำเป็น
ลงเยี่ยมรอบ 2 ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและการฟื้นตัวของ สมองหลังจากการได้รับโปรแกรมการฟื้นฟู ปรับการเยี่ยมบ้านโดยการให้อาสาสมัครประจำหมู่บ้านเยี่ยมบ้าน ด้วยทุกครั้ง เพื่อให้อาสาสมัครประจำหมู่บ้านนั้นกระตุ้นให้ผู้ป่วยและ ญาติฝึกตามโปรแกรมที่ได้รับ
บทเรียนเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้พิการและ ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยในชุมชน หลังจากที่มีการเยี่ยมบ้านและมีการประสานงานและส่งข้อมูลสำคัญ (Feed back) ระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน กลับมายังโรงพยาบาลพบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งก็ยังไม่สามารถดูแลตนเองได้ จึงทำให้มีการเยี่ยมซ้ำโดยทีมสหสาขาวิชาชีพอีกครั้ง ซึ่งพบว่าทำให้ผู้ป่วยได้รับคำแนะนำที่ครอบคลุมมากขึ้น
ผลการพัฒนาที่สำคัญ: ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสภาพอย่างต่อเนื่องโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วยได้รับการดูแลฟื้นฟูสภาพได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
ประเด็นในแผนการพัฒนา Scoring: มาตรฐาน score ประเด็นในแผนการพัฒนา ใน 1-2 ปีข้างหน้า 86. การฟื้นฟูสภาพ 4 ปรับปรุงการฟื้นฟูสภาพอย่างเป็นระบบ โดยการสร้างระบบการสื่อสารกันในเครือข่าย เพื่อการ consult ข้อมูลระหว่างกันในทีม