คำมูล คำมูล คือ คำดั้งเดิมมาแต่แรกเป็นคำเดียวโดด ๆ ซึ่งเจ้าของภาษานั้น ๆ คิดขึ้นเองหรือยืมมาจาก ภาษาอื่น
คำมูลอาจเป็นคำพยางค์เดียวหรือคำหลายพยางค์ เป็นคำไทยแท้หรือคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้
หมู ไปรษณีย์ ช้อน ไฟ บันได ตัวอย่างคำมูล หมู ไปรษณีย์ ช้อน ไฟ บันได
คำประสม คือ คำที่เกิดจากการนำคำมูล ๒ คำ มาประสมกัน ทำให้เกิดคำที่มีความหมายใหม่ขึ้น
ตัวอย่างคำประสม ไฟฟ้า ต้นไม้ ท้องฟ้า รถไฟ
คำซ้อน คำซ้อน คือคำที่เกิดจากคำมูลตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป ซึ่งมีความหมายเหมือนกันหรือไปในทำนองเดียวกัน หรือมีความหมายต่างกันในลักษณะตรงข้าม มารวมกัน ทำให้เกิดคำใหม่ขึ้นมา
ตัวอย่างคำซ้อนเพื่อความหมาย เหลียวแล กักขัง ดูแล สูงต่ำ ดำขาว
คำซ้อน เพื่อเสียง ยู่ยี่ รุ่งริ่ง โลเล กรุ๋งกริ๋ง โมเม
คำซ้ำ คำซ้ำเกิดจากการสร้างคำขึ้นใหม่ โดยนำคำมูล ซึ่งส่วนมาก เป็นคำพยางค์เดียวมาซ้ำกัน มีความหมายเปลี่ยนแปลงไป อาจเน้นหนักขึ้น เบาลง หรือไม่ก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ในการเขียนใช้ไม้ยมกแทนคำหลัง
คำซ้ำ ไว ๆ ดำ ๆ ขาว ๆ
นำคำซ้ำมาประกอบเป็นคำซ้อน เช่น เปรี้ยวๆ เค็มๆ นั่งๆ นอนๆ เราๆ ท่านๆ นำคำซ้ำมาประกอบเป็นคำซ้อน เช่น เปรี้ยวๆ เค็มๆ นั่งๆ นอนๆ เราๆ ท่านๆ
สวัสดี