ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
วัตถุประสงค์ เพื่อให้เข้าใจถึงรูปแบบการออมเพื่อวัยเกษียณ โดยออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้เข้าใจถึงระบบการบริหารและการจัดการที่ เกี่ยวข้องกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้ทราบถึงเงื่อนไข และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ซื้อทรัพย์สิน ที่ดิน - ทองคำ เงินออม กับเป้าหมายการเงินในอนาคต ทุนการศึกษาบุตร ซื้อทรัพย์สิน ที่ดิน - ทองคำ ท่องเที่ยว เป็นค่ารักษาพยาบาล สำรองไว้ ใช้ยามจำเป็น รายได้หรือเงินออม มากกว่า รายจ่าย
ช่วงอายุ (Life Cycle) รายได้ ช่วงที่มีรายได้สูง รายจ่าย ช่วงใช้จ่ายเงินหลังเกษียณ ช่วงหารายได้และสะสมทรัพย์ อายุ วัยศึกษา วัยทำงาน วัยเกษียณ
ระบบการออมเพื่อวัยเกษียณในปัจจุบัน รองรับคนงานหลังเกษียณที่ตกหลุมสังคมจากการ มีรายได้ไม่เพียงพอในการดำรงชีวิต - กบข. - กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ - กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ Pillar 3 โครงการออมเพื่อการ ชราภาพแบบสมัครใจ Pillar 2 โครงการบำเหน็จบำนาญแบบบังคับ ซึ่งกำหนดอัตราเงินสมทบแน่นอน (Defined Contribution) Pillar 1 โครงการบำเหน็จบำนาญแบบบังคับบริหาร โดยภาครัฐ ซึ่งกำหนดผลประโยชน์ทดแทนไว้แน่นอน (Defined Benefit) กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ(กบช.) - ระบบการออมแบบผูกพัน ระยะยาว เพื่อการชราภาพ ตามรูปแบบระบบ Multi-Pillar ประกอบด้วย Pillar 1 เป็นระบบพื้นฐานสำหรับแรงงาน มีลักษณะเป็นแบบ Defined Benefit ระบบนี้ในประเทศไทยในปัจจุบันได้แก่ กองทุนประกันสังคม กรณีชราภาพ Pillar 2 เป็นระบบบำเหน็จบำนาญแบบบังคับ มีลักษณะเป็นแบบ Defined Contribution มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งรายได้ยามเกษียณเพิ่มเติมเพื่อรักษาระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานหลังเกษียณไม่ให้ตกลงจากช่วงทำงานมากนัก ปัจจุบันยังไม่มีกองทุนลักษณะนี้ในประเทศไทย Pillar 3 เป็นระบบบำเหน็จบำนาญแบบสมัครใจ เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ที่ต้องการออมเงินเพื่อเกษียณเพิ่มเติม ปัจจุบัน ได้แก่ กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) - กองทุนประกันสังคม กรณีชราภาพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร ? คือ กองทุนที่นายจ้าง และ ลูกจ้างร่วมกัน จัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจเพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในยามเกษียณหรือออกจากงาน โดยนายจ้างและลูกจ้างที่เป็นสมาชิกต้องจ่ายเงินสะสม- สมทบ ในอัตราร้อยละ 2-15 ของค่าจ้าง
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หมายถึง กองทุนที่สำรองไว้เพื่อเลี้ยงชีพ เมื่อต้องออกจากงาน หรือ เกษียณอายุ เป็นเงินออมประเภทผูกพันระยะยาว ( Contractual Savings ) เป็นเงินที่นายจ้าง และ ลูกจ้าง ร่วมกันจัดตั้งขึ้น จัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ สำนักงาน ก.ล.ต. ต้องจดทะเบียนกับนายทะเบียนกองทุน ชื่อกองทุน ต้องขึ้นต้นด้วย “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ….. ลงท้ายด้วย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว” ประกอบด้วยเงินจาก 2 ฝ่าย เงินสะสมของลูกจ้าง 2 % - 15 % ของค่าจ้าง เงินสมทบจากนายจ้าง เท่ากับ หรือ มากกว่า เงินสะสมของลูกจ้าง
โครงสร้าง...กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสม = เงินที่ลูกจ้างหรือพนักงานจ่ายเข้ากองทุนรายเดือน โดยคิดจากอัตราร้อยละ 2-15 ของเงินเดือน เงินสมทบ = เงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนเพื่อสมทบให้กับลูกจ้าง โดยจ่ายในอัตราร้อยละ 2-15 ของเงินเดือน แต่ต้องไม่น้อยกว่าอัตราเงินสะสม ผลประโยชน์ของเงินสะสม = ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการ กองทุนของบริษัทจัดการในส่วนที่เป็นเงินสะสม ผลประโยชน์ของเงินสมทบ = ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการ กองทุนของบริษัทจัดการในส่วนที่เป็นเงินสมทบ
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต่อลูกจ้าง ต่อนายจ้าง ต่อประเทศ เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างสร้างหลักประกันในกรณีที่เสียชีวิต,ออกจากงาน,ลาออกจากกองทุนและไว้ใช้ในวัยหลังเกษียณ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เพิ่มแรงจูงใจในการทำงานของลูกจ้างและสร้างความจงรักภักดีต่อนายจ้าง เพื่อเป็นการส่งเสริมการระดมเงินออมผูกพันระยะยาวจากภาคเอกชน ใช้เป็นแหล่งเงินพัฒนาประเทศ ลดภาระการดูแลผู้สูงวัยของภาครัฐ
ประโยชน์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือ? สำหรับพนักงาน สำหรับนายจ้าง เป็นหลักประกันให้กับชีวิต เป็นการส่งเสริมการออมซึ่งให้ผลตอบแทนดี กว่าออมผ่านธนาคาร ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมาย เป็นเจ้าของบัญชีกองทุนตนเอง เป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้กับพนักงาน. ในการทำงาน เป็นสวัสดิการที่ดีให้กับพนักงาน นายจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
ความเป็นมาของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก่อนปี พ.ศ.2526 ปี 2526 ปี 2530 และ 2537 ไม่เป็นที่แพร่หลายไม่มีกฎเกณฑ์และวิธีบริหารอย่างชัดเจน การบริหารกองทุนอยู่ในการดูแลของนายจ้างฝ่ายเดียว ลูกจ้างไม่นิยมจ่ายเงินสะสมเพราะหักภาษีไม่ได้ รัฐประกาศกฎกระทรวงฉบับที่ 162 เป็นกฎหมายฉบับแรกที่รองรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีการกำหนดวิธีการ เงื่อนไขและกฎเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก.คลังประกาศใช้พรบ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกฎกระทรวง 7 ฉบับ เพื่อ เป็นกฏหมายควบคุมและรับรองสถานะของกองทุนเป็นนิติบุคคลแยกจากนายจ้าง ต่อมาปี 2537 ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ภาษี
สาระสำคัญกฎกระทรวงฉบับที่ 162 (พ.ศ.2526) เป็นครั้งแรกที่รัฐบัญญัติคำว่า “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” กำหนดให้นำกองทุนไปจดทะเบียนกับนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง) รัฐเริ่มให้สิทธิประโยชน์ภาษีแก่นายจ้างและลูกจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รัฐกำหนดให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องมีผู้จัดการมืออาชีพเข้ามาเป็นผู้บริหารจัดการกองทุนโดยต้องเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากกระทรวงการคลังเท่านั้น กำหนดกฎเกณฑ์การลงทุนให้ส่วนบังคับไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มั่นคง ส่วนเลือกลงทุนไม่เกินร้อยละ 40 ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากกว่าส่วนบังคับ
มูลค่ากองทุน (ล้านบาท) การเติบโตของสินทรัพย์สำหรับอุตสาหกรรมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มูลค่ากองทุน (ล้านบาท) ตั้งแต่ปี 2527 - 30 มี.ค. 2551 ที่มาข้อมูล : www.thaipvd.com หมายเหตุ - ปี 2530 รัฐประกาศใช้ พรบ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ - ปี 2537 รัฐเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อจูงใจให้มีการจัดตั้งกองทุนมากขึ้น
การเติบโตของจำนวนนายจ้างที่จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (บริษัท) ตั้งแต่ปี 2527 - 30 มี.ค. 2551 ที่มาข้อมูล : www.thaipvd.com หมายเหตุ - ปี 2530 รัฐประกาศใช้ พรบ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ - ปี 2537 รัฐเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อจูงใจให้มีการจัดตั้งกองทุนมากขึ้น
อัตราการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบ ข้อมูล ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2551 อัตรา (%) เงินสะสมสูงสุด (% ลูกจ้าง) เงินสมทบสูงสุด (% นายจ้าง) 2.00-3.00 27.96 23.69 3.01-5.00 36.96 33.01 5.01-10.00 25.63 31.90 10.01-15.00 9.45 11.40 รวม 100 ที่มาข้อมูล : www.thaipvd.com
พัฒนาการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ระยะที่ 5 ปี 2551-ปัจจุบัน ระยะที่ 4 ปี 2543-2550 ระยะที่ 3 ปี 2530-2542 ระยะที่ 2 ปี 2527-2530 ระยะที่ 1 ก่อนปี 2527
พัฒนาการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแต่ละระยะ ระยะที่ 1 ส่วนใหญ่เป็นกองทุนที่นายจ้างจ่ายฝ่ายเดียว เงินสะสมของลูกจ้างไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษี เงินที่ลูกจ้างรับครั้งเดียวเมื่ออกจากงานต้องนำไปคำนวณเป็นเงินได้เสียภาษี เงินที่นายจ้างจ่ายสมทบนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายเฉพาะปีที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงานและต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินเดือนที่ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณจ่ายเงินสมทบ ระยะที่ 2 ใช้กฎกระทรวงฉบับที่ 162 รัฐให้สิทธิประโยชน์ภาษีโดยเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในรอบบัญชีนั้นแต่ไม่เกินร้อยละ 15, เงินที่ลูกจ้างจ่ายสะสมหักลดหย่อนได้ไม่เกินปีละ 7,000 บาท
ระยะที่ 3 ระยะที่ 4 ระยะที่ 5 ใช้พรบ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 ให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกิจการนายจ้าง สิทธิในกองทุนไม่อาจโอนกันได้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างอย่างแท้จริง ระยะที่ 4 โอนงานกำกับดูแลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดูแล แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปลี่ยนชื่อผู้จัดการกองทุน เป็น “บริษัทจัดการ” ระยะที่ 5 ใช้พรบ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2550 ให้สิทธิสมาชิกคงเงินไว้ในกองทุนและลงทุนต่อได้, เมื่อเกษียณอายุสามารถรับเงินเป็นงวดๆ ได้, กองทุนสามารถมีได้มากกว่า 1 นโยบายเพื่อรองรับ employee’s choice และ การรับโอนเงินจาก กบข. มายัง กสล. ได้
หลักการทั่วไปของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กลต. บริษัท จ่ายเงินสมทบ 2 - 15% ผู้จัดการ กองทุน กองทุน ลงทุน จ่ายเงินสะสม 2 - 15% พนักงาน ผู้รับฝากทรัพย์สิน , ผู้สอบ บ/ช
บุคคลที่เกี่ยวข้อง...กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงาน (ก.ล.ต.) นายทะเบียนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, รับจดทะเบียนกองทุน, กำกับและดูแลผู้ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ร่วมกับสมาชิกกองทุนจัดตั้งกองทุน แต่งตั้งคณะกรรมการกองทุน ฝ่ายนายจ้าง จ่ายเงินสมทบตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน นายจ้าง นำส่งเงินสะสมเข้ากองทุน ตรวจสอบสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิการได้รับ เงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบเมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ สิทธิในการเข้าประชุมและออกเสียงในที่ประชุมใหญ่ เป็นต้น ลูกจ้างหรือสมาชิก กองทุน คณะกรรมการกองทุน ประกอบด้วย 2 ฝ่าย คือ นายจ้างและลูกจ้าง มีหน้าที่อนุมัติแผน การลงทุนและเป็นผู้คัดเลือกบริษัทจัดการ บริษัทจัดการ การบริหารจัดการเงินของกองทุนให้เป็นไปตามนโยบายการลงทุน ให้มีระบบการปฏิบัติงานที่มีมาตรฐานและการควบคุมที่ดี ดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์และทรัพย์สินของกองทุน ติดตามสิทธิ ประโยชน์ต่างๆ ต้องเป็นบุคคลที่สามแยกต่างหากจากบริษัทจัดการ ผู้รับฝากทรัพย์สิน
หน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องไม่เป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียอันมีนัยสำคัญกับบริษัทที่จัดการ ผู้รับรองมูลค่า NAV ดูแลจัดการข้อมูลในบัญชีของสมาชิกกองทุนแต่ละราย ส่งรายงานข้อมูลให้สมาชิกทราบอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เมื่อสมาชิกสิ้นสุดสมาชิกภาพให้จัดทำรายละเอียดยอดเงินที่สมาชิกจะได้รับเพื่อจ่ายเงินให้แก่สมาชิกภายใน 30 วัน นายทะเบียนสมาชิกกองทุน ผู้สอบบัญชีกองทุน ตรวจสอบและให้การรับรองงบการเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การรวมตัวกันของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่างๆ เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างสมาชิก ประสานงานกับสำนักงาน ก.ล.ต. สมาคมกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพ สร้างมาตรฐานการประกอบธุรกิจจัดการลงทุน รักษาผลประโยชน์ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุน ประสานงานระหว่างบริษัทจัดการ และสำนักงาน ก.ล.ต. สมาคมบริษัทจัดการ ลงทุน
กองทุน “ปลอดจากเจ้าหนี้” สถานะภาพของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนจดทะเบียนกับ กลต.เป็นนิติบุคคล และ ได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายไม่มีเจ้าหนี้รายใด สามารถบังคับนำเงินออกจากกองทุนได้
กองทุนเดี่ยวประกอบด้วย ประเภทของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนร่วม กองทุนเดี่ยว กองทุนที่มี นายจ้างรายเดียว กองทุนเดี่ยวประกอบด้วย กองทุนที่มีนายจ้าง มากกว่า 1 ราย
ประเภทของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประเภทกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากลักษณะการจัดตั้ง 1. Single Fund กองทุนเดี่ยว มีนายจ้าง 1 ราย มีอิสระกำหนด / แก้ไขเปลี่ยนแปลง ชื่อกองทุน นโยบายการลงทุน ข้อบังคับกองทุน รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของกองทุนทั้งหมด
ประเภทกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากลักษณะการจัดตั้ง 2.Group Fund กองทุนกลุ่ม มีนายจ้างมากกว่า 1 ราย (ส่วนใหญ่เป็นบริษัทในเครือ) ส่วนอื่นๆ เหมือน Single Fund
ประเภทกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากลักษณะการจัดตั้ง 3. Pooled Fund กองทุนร่วมทุน มีนายจ้างหลายราย ร่วมกันจัดตั้ง 1 กองทุน ไม่มีอิสระในการกำหนด / แก้ไข ชื่อกองทุน นโยบายการลงทุน ข้อบังคับส่วนกลาง มีนโยบายการลงทุนนโยบายเดียว ชื่อกองทุนและนโยบายการลงทุนกำหนดโดยบริษัทจัดการ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามส่วนของเงินที่มีอยู่ในกองทุน
แหล่งที่มาของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุน เรียกว่า เงินสะสม นายจ้างจ่ายเข้ากองทุน เรียกว่า เงินสมทบ โดยจ่ายเข้ากองทุนในอัตราร้อยละ 2 ถึง 15 ของค่าจ้าง ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่าอัตราที่ลูกจ้างสะสม แบบที่1 อัตราเดียวกัน แบบที่ 2 นายจ้างจ่ายเงินสมทบมากกว่าเงินสะสม แบบที่ 3 ตามอายุงานหรืออายุสมาชิก
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุน ค่าธรรมเนียมในการ ชำระบัญชีของกองทุน (กรณีปิดกองทุน) ค่าธรรมเนียมผู้สอบบัญชี ค่าธรรมเนียมในการจัดทำ ระบบทะเบียนสมาชิก ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมผู้รับฝากทรัพย์สิน ค่าธรรมเนียมอื่นๆ
การบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แนวทางการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความมั่นคงสูง นโยบายการลงทุนเฉพาะในตราสารหนี้ นโยบายการลงทุนแบบผสมระหว่างตราสารหนี้และตราสารทุน นโยบายการลงทุนเฉพาะตราสารทุน อื่นๆ ตามที่กฎระเบียบกำหนด
ประเภททรัพย์สินที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถลงทุนได้และอัตราส่วนการลงทุน ที่สามารถลงทุนได้ เงินฝาก ตราสารที่เทียบ เท่าเงินสด หน่วยลงทุน ตราสารแห่งหนี้ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ตราสารแห่งทุน สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ตราสารที่มีลักษณะสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าแฝง
Provident Fund Portfolio หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ 11.80% หน่วยลงทุน 2.70% เงินฝากธนาคาร บัตรเงินฝาก 21.98% หุ้นกู้ 20.43% ข้อมูล ณ กุมภาพันธ์ 2551 ที่มา : www.thaipvd.com พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง ตราสารหนี้ที่ MOF ค้ำประกัน 43.09%
หลักเกณฑ์การจ่ายเงินเมื่อสมาชิกสิ้นสมาชิกภาพ การกำหนดเงื่อนไขให้สมาชิกมีสิทธิได้รับเงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินสมทบ ข้อสังเกต - ข้อบังคับกองทุนสามารถ กำหนดเงื่อนไขตามอายุงาน หรืออายุสมาชิกก็ได้ - การกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับ ระยะเวลาไม่ควรนานเกินไป เพราะอาจเป็นข้อกำหนดที่ อาจพิจารณาได้ว่าเป็นการ เอาเปรียบลูกจ้าง ตัวอย่าง อายุการทำงาน สิทธิได้รับเงินสมทบ และผลประโยชน์ น้อยกว่า 1 ปี ร้อยละ 10 ตั้งแต่ 1 ปี – 5 ปี ร้อยละ 50 ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ร้อยละ 100
การกำหนดหลักเกณฑ์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำนวนกองทุนที่จ่ายเงินสมทบตาม อายุงานหรืออายุสมาชิก กองทุนส่วนใหญ่จะกำหนดระยะเวลาจ่ายเงิน สมทบและผลประโยชน์เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิก ไม่เกิน 10ปี แยกจ่ายตามอายุงาน, อายุสมาชิก เหตุที่ทำให้สมาชิกไม่มีสิทธิได้รับ เงินสมทบและผลประโยชน์ของ เงินสมทบ ข้อบังคับกองทุนสามารถกำหนดเหตุที่สมาชิก จะไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ ก็ได้ เช่น ลูกจ้างทุจริต เป็นต้น การห้ามตัดสิทธิสมาชิกที่ไม่มารับเงิน ในกรณีข้อบังคับกำหนดระยะเวลาให้สมาชิก มารับเงินจากกองทุน ห้ามมิให้ข้อบังคับกำหนด หากสมาชิกไม่รับเงินภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้เงินดังกล่าวตกเป็นของบุคคลอื่น
การรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมาชิกจะได้รับเงินเมื่อ ... ทุพพลภาพ ลาออกจากงาน เกษียณอายุ เสียชีวิต ไล่ออก สมาชิกจะได้รับเงินจากผู้จัดการกองทุนภายใน 30 วัน นับจากวันสิ้นสมาชิกภาพ
การรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงื่อนไขการจ่ายเงินจากกองทุน เงื่อนไข เงินสะสม และ ผลประโยชน์ เงินสมทบ เกษียณอายุ เสียชีวิต ทุพพลภาพ ลาออกจากงาน ถูกไล่ออก ได้ ไม่ได้ ขึ้นอยู่กับข้อบังคับ
สิทธิประโยชน์ทางภาษี : กรณีของนายจ้าง ถือเป็นรายได้ ในรอบบัญชีที่ได้คืนมา เงินสมทบ จ่ายคืนนายจ้าง นายจ้าง ถือเป็นรายจ่ายของนายจ้าง ในรอบบัญชีที่จ่ายเข้ากองทุน เงินสมทบ
จำนวนเงินที่จ่ายจริง เงินจ่ายออกจากกองทุน สิทธิประโยชน์ทางภาษี : กรณีของลูกจ้าง ลูกจ้าง จำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท เงินจ่ายเข้ากองทุน เงินสะสม ลดหย่อนภาษี ยกเว้นภาษี ส่วนที่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ ไม่เกิน 15 % ของค่าจ้าง ไม่เกิน 490,000 ผลประโยชน์จาก การลงทุนของกองทุน เงินในกองทุน ยกเว้นภาษี เงินจ่ายออกจากกองทุน เงินสะสม ผลประโยชน์ เงินสมทบ ผลประโยชน์ ไม่ต้องนำไปคำนวณภาษี รวมกัน นำไปคำนวณภาษีเงินได้ แยกเป็น 3 กรณี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี : กรณีของลูกจ้าง 1. อายุงานน้อยกว่า 5 ปี ไม่ได้สิทธิทางภาษีอากร นำไปรวมกับรายได้อื่น เสียภาษี 2. อายุงานตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป หักค่าใช้จ่ายได้ 2 ส่วน 7,000 * จำนวนปีที่ทำงาน ส่วนที่เหลือ หักค่าใช้จ่ายได้อีก 50 % ทุพพลภาพ 3. ออกจากงานเนื่องจาก ยกเว้นภาษี ตาย เกษียณ เงื่อนไขสำหรับสิทธิประโยชน์กรณี เกษียณอายุ อายุเกษียณของบริษัทนายจ้างไม่ต่ำกว่า 55 ปี และ เป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี
สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ - หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000บาท - ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15%ของค่าจ้าง และไม่เกิน 490,000 บาทไม่ต้องนำไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้ ลูกจ้าง เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุน เงินที่ได้รับจากกองทุน เฉพาะส่วน ที่เป็นเงินสมทบ ผลประโยชน์เงิน สะสม และผลประโยชน์เงินสมทบ ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยต้องนำเงินสมทบรวมทั้ง ผลประโยชน์ของเงินสะสมและ เงินสมทบไปรวมคำนวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้ประจำปี ได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวน มีสิทธิเลือกเสียภาษีแบบแยกยื่น โดยหักค่าใช้จ่ายได้ 7,000บาท คูณอายุงานเหลือเท่าใดให้หัก ค่าใช้จ่ายได้อีกร้อยละ 50 เกษียณโดยมีอายุ>= 55 ปี และมีอายุสมาชิก >= 5 ปี อายุงาน น้อยกว่า 5 ปี ไม่เกษียณอายุ และ อายุงาน >= 5 ปี
การติดตามผลการดำเนินงานของกองทุน สมาชิกสามารถดูได้จากรายงานผลการจัดการกองทุนที่บริษัทจัดการ จัดทำขึ้น และส่งให้คณะกรรมการกองทุนทุกเดือน โดยทั่วไป คณะกรรมการกองทุนจะแจ้งต่อ สมาชิกอีกต่อหนึ่ง เช่น การติดบอร์ด ประชาสัมพันธ์ของบริษัท อีเมล์ หรือ อินทราเน็ต (Intranet) แต่หาก คณะกรรมการกองทุนของไม่ได้เผยแพร่ข้อมูลนี้ ให้ สมาชิกทราบ สมาชิกก็มีสิทธิขอดูจากคณะกรรมการกองทุนได้ ในรายงานผลการจัดการกองทุนจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่กอง ทุนไปลงทุน โดย จะแสดงราคาทุนที่กองทุนไปซื้อทรัพย์สินมา และสรุปยอดรวมมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดที่กองทุน ลงทุนไว้ จำนวนหน่วยทั้งหมดของกองทุน และมูลค่าต่อหน่วย รวมทั้งรายได้จากการลงทุนและ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
ระบบสมาชิกเลือกลงทุน ระบบสมาชิกเลือกลงทุน(employee’s choice) เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกจ้างสามารถเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเองทั้งด้านความเสี่ยงและผลตอบแทน หลักในการเลือกนโยบายลงทุน เลือกนโยบายให้ตรงตามคุณลักษณะของแต่ละคน ไม่ควรกังวลจนมากเกินไป เพียงเพื่อรักษาเงินต้นให้คงอยู่ หาทางเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน โดยเลือกลงทุนในหลายนโยบายการลงทุน ซึ่งมีทั้งความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงสูงบ้างจะได้มีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่ายหลังเกษียณอายุ
ไม่มีคำว่า “เร็วเกินไป” มีแต่คำว่า “สายเสียแล้ว” การเก็บออม ไม่มีคำว่า “เร็วเกินไป” มีแต่คำว่า “สายเสียแล้ว” ถ้าไม่เก็บออมตั้งแต่วันนี้