งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ทิศทางของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลังจัดตั้ง กบช. ปี 2550

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ทิศทางของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลังจัดตั้ง กบช. ปี 2550"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ทิศทางของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลังจัดตั้ง กบช. ปี 2550
โดย คุณพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เรียน ท่าน ดร. พิสิฐ ลี้อาธรรม นายกสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ท่านธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต. ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการกองทุน และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน วันนี้กระผมรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสมาบรรยายพิเศษ เรื่อง “ ทิศทางของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังจัดตั้ง กบช. ปี 2550 ” ในงานสัมมนา“ มิติใหม่ของคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ” ที่สำนักงาน ก.ล.ต. จัดขึ้นในครั้งนี้ ซึ่งหัวข้อดังกล่าวกำลังเป็นเรื่องที่ทุกท่านและประชาชนทั่วไปได้ให้ความสนใจ และสอบถามกันเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ก่อนที่จะกล่าวไปถึงทิศทางของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลังจัดตั้ง กบช. ปี 2550 กระผมขอกล่าวถึงโครงสร้างของระบบการออมเพื่อการชราภาพแบบสากล การดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและความจำเป็นในการปฏิรูประบบบำเหน็จบำนาญก่อนที่จะพูดถึงทิศทางของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลังจัดตั้ง กบช. ในอนาคต

2 Mandatory Voluntary โครงสร้างของระบบการออมเพื่อการชราภาพในปัจจุบัน SSF
Pillar 1 Pillar 2 Pillar 3 กองทุนประกันสังคม (กรณีชราภาพ+สงเคราะห์บุตร) กองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ Pay as you go ลูกจ้างเอกชน และ ลูกจ้างชั่วคราวราชการ ลูกจ้าง+นายจ้าง จ่าย ฝ่ายละ 3% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท รัฐบาลจ่าย 1% ของ ค่าจ้าง Defined Contribution ข้าราชการ ข้าราชการ+รัฐบาล จ่าย ฝ่ายละ 3% ของ เงินเดือน Defined Contribution ลูกจ้างเอกชน ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ และ ลูกจ้างประจำราชการ ลูกจ้าง+นายจ้าง จ่าย ฝ่ายละ 2-15% ของ ค่าจ้าง ซื้อหน่วยลงทุน ไม่ต่ำกว่าปีละ 5,000 บาท หรือ 3% ของเงินได้ โครงสร้างของระบบการออมเพื่อการชราภาพในปัจจุบัน โครงสร้างของระบบการออมเพื่อการชราภาพในปัจจุบันประกอบด้วย กองทุน 3 ระดับชั้น (Pillar) ได้แก่ การออมชั้นที่ 1 (Pillar 1 : P1) เป็นการออมภาคบังคับ (Compulsory Savings) ที่จัดการโดยภาครัฐ เป็นรูปแบบที่รัฐจัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนและเป็นระบบที่กำหนดผลประโยชน์ขั้นต่ำที่สมาชิกพึงได้รับ (Defined Benefit) ซึ่งได้แก่ กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ การออมชั้นที่ 2 (Pillar 2 : P2) เป็นการออมภาคบังคับ (Compulsory Savings) แบบกำหนดอัตราการจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน (Defined Contribution) สมาชิกจะได้รับประโยชน์ทดแทนตามจำนวนเงินสะสมและเงินสมทบในส่วนของตนและดอกผลที่เกิดขึ้นจริง ได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) การออมชั้นที่ 3 (Pillar 3 : P3) เป็นการออมภาคสมัครใจ (Voluntary Savings) แบบกำหนดอัตราการจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน (Defined Contribution) สมาชิกแต่ละรายจะได้รับประโยชน์ทดแทนตามจำนวนเงินสะสมและเงินสมทบในส่วนของตนและดอกผลที่เกิดขึ้นจริง ได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund: PVD) SSF GPF PVD RMF

3 การปฏิรูประบบการออมเพื่อการชราภาพ
แนวทาง การดำเนินการ แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเงินออม เพื่อการชราภาพ กำกับดูแลทั้ง 3 Pillar สร้างความแข็งแกร่งของ P1 : (โดยเสนอให้มีการปรับปรุงกองทุนประกันสังคมเพื่อการชราภาพ) แยกกรณีชราภาพออกจาก P2 เพิ่มอายุเกษียณจาก 55 ปี เป็น 60 ปี ยกเลิกเพดานเงินที่จ่ายเข้ากองทุนจากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 15,000 บาท จัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (P2) เสนอรูปแบบการจัดตั้ง P2 สำหรับแรงงานในระบบทั้งประเทศ ส่งเสริมการจัดตั้ง P3 ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการกำกับดูแลและตรวจสอบให้รัดกุมยิ่งขึ้น การปฏิรูประบบการออมเพื่อการชราภาพ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ทำการศึกษาวิจัยและหาผลสรุปเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการออมเพื่อการชราภาพ โดยจัดให้มีระบบบำเหน็จบำนาญแบบหลายชั้น (Multi-Pillar) ซึ่งเป็นระบบกองทุนที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนและสามารถครอบคลุมแรงงานทั่วประเทศเพื่อให้มีรายได้ที่พอเพียงหลังเกษียณอายุ โดยมีข้อเสนอโครงสร้างระบบบำเหน็จบำนาญใหม่ดังนี้  แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเงินออมเพื่อการชราภาพ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน เพื่อกำหนดนโยบายภาพรวมในระบบการออมเพื่อการ ชราภาพ และเป็นผู้กำกับดูแลกองทุนบำเหน็จบำนาญ 3 ระดับชั้น (Pillar) ได้แก่ กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพื่อให้แต่ละกองทุนอยู่ภายใต้คณะกรรมการเดียวกัน เพื่อกำหนดนโยบายการออมให้มีความสอดคล้องกัน  การปรับปรุงกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ (กองทุนชั้นที่ 1 : Pillar 1) เนื่องจากกองทุนประกันสังคมเป็นระบบ Defined Benefit และมีการสะสมเงินให้พอจ่ายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และเมื่อเงินกองทุนใกล้หมดจะต้องสมทบเพิ่ม (Partially Funded) จึงควรปรับเปลี่ยนเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กองทุนประกันสังคม ดังนี้ (1) ควรให้แยกบัญชีกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพออกจากกรณีสงเคราะห์บุตร (Social Security Fund) แล้วบริหารจัดการกรณีชราภาพแบบกองทุนระยะยาว เนื่องจากกองทุนชราภาพเป็นกองทุนที่จ่ายผลประโยชน์ในระยะยาว เงินกองทุนควรจะได้รับการจัดสรรแบบระยะยาว เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ (2) เพิ่มอายุเกษียณจาก 55 ปี เป็น 60 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับ Life Expectancy ที่ยาวขึ้น และความสามารถในการทำงานของแรงงานที่ไม่ควรเกษียณอายุที่ 55 ปี (3) ปรับเพิ่มเพดานเงินที่จ่ายเข้ากองทุนจาก 15,000 บาท เป็นกำหนดตามดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจ เช่น อัตราเงินเฟ้อ อัตราการเพิ่มค่าจ้าง เป็นต้น  การจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.)  ส่งเสริมการจัดตั้งกองทุน Pillar 3 ซึ่งได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

4 การจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ
หลักการ เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบ Multi-Pillar เหตุผลและความจำเป็น แรงงานมีรายได้ที่เพียงพอหลังเกษียณ ส่งเสริมการออมภาคครัวเรือนให้เพิ่มสูงขึ้น สวัสดิการเพื่อการชราภาพครอบคลุมแรงงานทั้งประเทศ สร้างความยั่งยืนทางการเงินและการคลัง สร้างเสถียรภาพและความยั่งยืนของตลาดทุนไทย การจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) (กองทุนชั้นที่ 2 : Pillar 2) เห็นควรให้ดำเนินการจัดตั้ง กบช. เพื่อเป็นกองทุนภาคบังคับภายใต้กฎหมายกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ โดยมีหลักการ เหตุผล และโครงสร้าง รวมทั้งการบริหารจัดการกองทุนและการกำกับดูแล ดังนี้  หลักการ : เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบบำเหน็จบำนาญแบบหลายชั้น (Multi – Pillar) ซึ่งปัจจุบันยังขาดกองทุนการออมชั้นที่ 2 จึงจะจัดตั้ง กบช. ขึ้นเป็นกองทุนชั้นที่ 2  เหตุผลและความจำเป็น (1) เพื่อให้แรงงานมีรายได้ที่เพียงพอหลังเกษียณ คือประมาณร้อยละ 50 ของเงินเดือนๆสุดท้าย โดยแรงงานจะได้รับจากกองทุนประกันสังคม กรณีชราภาพ ประมาณร้อยละ 13 บวกกับได้รับจากกองทุน กบช. อีกประมาณร้อยละ 17 (กรณีจ่ายเข้ากองทุนฝ่ายละร้อยละ 3) หรือประมาณร้อยละ 34 (กรณีจ่ายเข้ากองทุนฝ่ายละร้อยละ 6) (2) เพื่อส่งเสริมการออมภาคครัวเรือนให้สูงขึ้น เนื่องจากการออมภาคครัวเรือนของไทยได้ลดลงอย่างรวดเร็ว จาก ร้อยละ 9.65 ในปี 2534 เหลือ ร้อยละ 6.28 ในปี 2540 และร้อยละ 3.87 ในปี2546 ซึ่งจะสะท้อนภาพแนวโน้มที่ช่องว่างระหว่างการออมและการลงทุนจะเริ่มติดลบ (3) เพื่อให้สวัสดิการเพื่อการชราภาพครอบคลุมแรงงานทั้งประเทศ โดยในระยะต้น จะครอบคลุมเฉพาะแรงงานในระบบการจ้างงานประมาณ 13 ล้านคนก่อน สำหรับระยะต่อไปจะขยายความครอบคลุมไปยังแรงงานทั่วประเทศประมาณ 35 ล้านคน (4) สร้างความยั่งยืนทางการเงินและการคลัง ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลไม่ต้องมีภาระในการจ่ายเงินอุดหนุนหรือเงินทดแทนของราชการ หากเงินกองทุนไม่เพียงพอ หรือไม่ต้องจัดสรรเงินงบประมาณผ่านกรมประชาสงเคราะห์เพื่อไปเลี้ยงดูผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ในอนาคต (5) สร้างเสถียรภาพและความยั่งยืนของตลาดทุนไทย เนื่องจากปัจจุบันนักลงทุนในตลาดทุนส่วนใหญ่เป็นรายย่อย ดังนั้น การเพิ่มการลงทุนของผู้ลงทุนประเภทสถาบันจะมีส่วนช่วยให้พัฒนาตลาดทุนไทยได้อย่างยั่งยืน

5 การดำเนินการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
วิวัฒนาการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 2526 บังคับใช้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 162 (พ.ศ. 2526) 2530 บังคับใช้ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 2543 บังคับใช้ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ โดยการเปลี่ยนแปลงนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจาก สศค. สำนักงาน ก.ล.ต. การดำเนินการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  วิวัฒนาการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 2526 โดยกระทรวงการคลัง ได้ประกาศใช้บังคับฎกระทรวงฉบับที่ ( พ.ศ. 2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นครั้งแรก โดยมีกฎหมายรองรับ ซึ่งได้กำหนดวิธีการเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ด้วย ต่อมา เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม กระทรวงการคลังได้ประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นกองทุนสวัสดิการ และเป็นหลักประกันที่มั่นคงอย่างแท้จริง ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2542 เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญโดยมีการประกาศแก้ไขกฎหมาย 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ โดยได้ออกพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ โดยกฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2543 และมีบทเฉพาะกาล 1 ปี (สิ้นสุด ณ วันที่ 29 มีนาคม 2544) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) โดยให้กระทรวงการคลังทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและให้ถือว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นกองทุนส่วนบุคคลประเภทหนึ่ง นอกจากนั้น ยังได้ปรับเปลี่ยนการจ่ายเงินเข้ากองทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ และบรรเทาปัญหาการยกเลิกกองทุน ทางการจึงได้มีการปรับลดอัตราการจ่ายเงินขั้นต่ำเข้ากองทุนจากเดิมจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของค่าจ้าง มาเป็นร้อยละ 2 ของค่าจ้าง นับตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา

6 สถานะกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากอดีตสู่ปัจจุบัน
8.13% 6.31 % 17.36 % ล้านบาท 30 กันยายน 2548 จำนวนเงินกองทุน ,290 ล้านบาท จำนวนกองทุน กองทุน จำนวนนายจ้าง ,977 ราย จำนวนสมาชิก 1,605,591 ราย 9.83 % 330,290 305,462 10.73 % 287,329 10.16 % 244,822 15.37 % 222,901 15.44 % 201,303 50.57 % 59.55 % 182,736 158,387 79.77 % 137,197 34.82 % 40.94 % 91,121 26.34 % 72.63 % 33.75 % 55,800 32.34 % 36.22 % 31.32 % 99.64 % 31,770 ความเจริญเติบโตของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จากการที่กระทรวงการคลังประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการระดมเงินออมแบบผูกพันในระยะยาวจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2527 เป็นต้นมา กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเริ่มต้นจากจำนวนเงินกองทุนเพียง 562 ล้านบาท จำนวน 159 กองทุน และนายจ้าง 154 ราย มีสมาชิกกองทุน 28,413 ราย และสมาชิกดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด แม้ว่าในช่วงของวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปลายปี ทำให้บริษัทเอกชนซึ่งเป็นนายจ้างจำนวนมากได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจดังกล่าว จึงส่งผลกระทบให้การเจริญเติบโตของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่ได้เพิ่มมากขึ้นตามเป้าหมายที่วางไว้หรือเงินกองทุนเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ณ 30 กันยายน 2548 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้มีเงินกองทุนสูงถึง 330, ล้านบาท จำนวน 555 กองทุน และจำนวนนายจ้าง 6,977 ราย จำนวนสมาชิกกองทุน 1,605,591 ราย ซึ่งจะเห็นได้ว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้กลายเป็นแหล่งที่มาของเงินออมที่ไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกตว่า - เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบัน เมื่อคิดเทียบกับ GDP แล้วคิดเป็นร้อยละ 4.34 ของ GDP - จำนวนนายจ้างที่จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ ของนายจ้างในระบบการจ้างงานทั้งประเทศ - และจำนวนสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 9.8 ของลูกจ้างในระบบการจ้างงาน เท่านั้น ดังนั้น ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ได้สะท้อนภาพให้เห็นว่า หากภาครัฐและภาคเอกชนหันมาร่วมมือกันอย่างจริงจังในการกระตุ้นและส่งเสริมการออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็จะมีช่องว่างอีกมากในการสร้างความเจริญเติบโตของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอนาคต % 23,564 16,719 4,048 5,316 7,110 9,685 3,204 562 1,122 2,421 มูลค่ากองทุน (ล้านบาท)

7 โครงสร้าง กบช. Defined Contribution ระบบบัญชีรายตัวสมาชิก
เลือกรูปแบบการลงทุนด้วยตนเองได้ ครอบคลุมแรงงาน ~ 13 ล้านคน เบื้องต้นกำหนดการจ่ายเงินสะสม/สมทบ 3% ของค่าจ้าง ไม่มีการกำหนดเพดานเงินเดือน อายุเกษียณ 60 ปี ภาษีแบบ EEE ข้อเสนอโครงสร้าง กบช. เป็นระบบการออมที่มุ่งเสริมรายได้หลังเกษียณ (1) รูปแบบของระบบ (Defined Contribution) : โดยกำหนดอัตราการจ่ายเงินเข้ากองทุนแน่นอน (Defined Contribution) (2) รูปแบบบัญชี : มีการแยกบัญชีรายสมาชิก (3) รูปแบบการลงทุน : เลือกรูปแบบการลงทุนด้วยตนเอง เช่นเดียวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (4) ความครอบคลุม (Coverage) : แรงงานในระบบทั้งหมดประมาณ 13 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วย ภาคเอกชน ภาครัฐบาล และภาครัฐวิสาหกิจ (5) การจ่ายเงินสะสม/สมทบ : ลูกจ้างและนายจ้างจ่ายเงินสะสมและสมทบเบื้องต้น ในอัตราฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้าง (6) เพดานเงินเดือน : ไม่กำหนดเงินเดือนขั้นต่ำ และเพดานเงินเดือน (7) การกำหนดอายุเกษียณ : 60 ปี (8) เงินกองทุนที่ได้รับหลังเกษียณอายุ : ได้รับเงินสะสม/สมทบ รวมทั้งผลประโยชน์ของเงินสะสม/สมทบ เช่นเดียวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (9) สิทธิประโยชน์ทางภาษี : นายจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยการนำเงินสมทบหักเป็นค่าใช้จ่ายและลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบ EEE โดยยกเว้นภาษีเงินสะสม เงินผลประโยชน์ของเงินสะสม/สมทบและเงินกองทุนทั้งหมดที่ได้รับเมื่อเกษียณอายุ

8 การบริหารจัดการและการกำกับดูแล กบช.
สำนักงานกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ บริหารจัดการกองทุน บริษัทจัดการลงทุน การจัดเก็บเงิน ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทจัดการลงทุน การจัดทำฐานข้อมูล จ้างหน่วยงานภายนอก การบริหารจัดการกองทุนและการกำกับดูแล :  จัดตั้งสำนักงานกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ หรือ National Pension Fund Authority (NPFA) เป็นหน่วยงานกลางซึ่งเป็นนิติบุคคล อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง  การบริหารจัดการกองทุน ดำเนินการโดยบริษัทจัดการลงทุนที่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการการจัดการลงทุนส่วนบุคคล จากสำนักงาน ก.ล.ต.  การจัดเก็บเงินและการจัดทำฐานข้อมูล อาจดำเนินการโดยผ่านระบบธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทจัดการลงทุน สำหรับการจัดทำฐานข้อมูล จะจัดจ้างหน่วยงานภายนอกทำหน้าที่ในการจัดเก็บ

9 การบริหารจัดการและการกำกับดูแล กบช.
ผู้กำหนดนโยบาย คณะกรรมการนโยบายเงินออมเพื่อการชราภาพ สำนักงานประกันสังคม (สปค.) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) สำนักงานกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ผู้กำกับดูแล กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF) กองทุนชราภาพ (P1) กบข. (P2) กบช.+ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (P2+P3) กองทุน การบริหารจัดการและการกำกับดูแล กบช.  การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเงินออมเพื่อการชราภาพ - โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน - เพื่อกำหนดนโยบายภาพรวมในระบบการออมเพื่อการชราภาพ และเป็นผู้กำกับดูแลกองทุนเพื่อ การชราภาพทั้ง 3 ระดับชั้น ได้แก่ กองทุนประกันสังคม กรณีชราภาพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ - เพื่อให้แต่ละกองทุนอยู่ภายใต้คณะกรรมการเดียวกัน - ซึ่งจะทำให้การกำหนดนโยบายการออมมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมศูนย์การบริหาร รวมศูนย์การบริหาร กระจายการบริหาร กระจายการบริหาร การจัดการกองทุน

10 ผลที่ได้รับจากการจัดตั้งกองทุน กบช.
รายได้หลังเกษียณเพิ่มขึ้น ปริมาณเงินออมในประเทศเพิ่มขึ้น สร้างความยั่งยืนทางการคลัง ส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุนในประเทศ ผลที่ได้รับจากการจัดตั้งกองทุน กบช.  รายได้หลังเกษียณเพิ่มขึ้น : โดยการจัดตั้ง กบช. จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการเกิดความยั่งยืนของกองทุนสวัสดิการเพื่อการชราภาพในระยะยาวและช่วยแก้ไขปัญหาของ Pillar 1 ที่แรงงานไม่สามารถนำประโยชน์ทดแทนหลังเกษียณอายุมาใช้จ่ายในการดำรงชีพได้อย่างเพียงพอ ทั้งนี้ การจ่ายอัตราสะสม/สมทบ ฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้าง จะทำให้แรงงานมีรายได้หลังเกษียณจาก กบช. เป็นร้อยละ 17 ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย ซึ่งเมื่อรวมกับรายได้หลังเกษียณจากกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ อีกร้อยละ 13 ของเงินเดือนเดือนสุดท้ายจะได้รับรวมร้อยละ 30 ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย และในระยะต่อไปเมื่อปรับเพิ่มอัตราสะสม/สมทบ เป็นร้อยละ 6 ของค่าจ้าง จะได้รับผลประโยชน์หลังเกษียณรวมเป็นร้อยละ 47 ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย  เงินออมเพิ่มขึ้น : เงินออมที่เพิ่มขึ้นซึ่งได้จากแรงงานที่เป็นสมาชิกใหม่ของ กบช. ในช่วงปี 2548 – 2551 เฉลี่ยปีละ 90,326.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.24 ของ GDP  การสร้างความยั่งยืนทางการคลัง : การจัดตั้งกองทุน กบช. จะเป็นการจ่ายเงินสะสม/สมทบ จากนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น และเป็นระบบบัญชีรายตัว สมาชิกจะได้รับผลประโยชน์ตามบัญชีของตนเอง อีกทั้งการจัดตั้ง กบช. เป็นการส่งเสริมให้แรงงานเก็บออมเงินไว้ในยามเกษียณด้วยตนเองอย่างทั่วถึงกับแรงงานทุกคน ทำให้รัฐบาลไม่ต้องจัดสรรงบประมาณเข้าดูแลผู้สูงอายุ นอกจากนี้ กองทุน กบช. จะทำให้ผู้เกษียณอายุสามารดำรงชีพอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาคนรุ่นใหม่ หรือพึ่งพาภาษีซึ่งเป็นภาระของรัฐบาลที่จะต้องนำไปจุนเจือคนเหล่านั้น อย่างไรก็ดี การเสนอให้ปรับปรุงระบบประกันสังคมกรณีชราภาพ จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้กองทุนอยู่ได้ด้วยตัวกองทุนเองนานขึ้น ทำให้รัฐบาลยังไม่ต้องมีภาระการจ่ายเงินอุดหนุนหรือเงินทดรองราชการหากเงินกองทุนไม่เพียงพอ  ส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุนในประเทศ เนื่องจากเงินออมในกองทุนเหล่านี้จะส่งผลให้เงินลงทุนระยะยาวจากผู้ลงทุนประเภทสถาบันเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะเพิ่มปริมาณการซื้อขายและความมั่นคงของตลาดทุน จะส่งผลให้ตลาดทุนมีเสถียรภาพมากขึ้น และลดความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินลงทุน โดยเฉพาะการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ นอกจากนี้ ยังมีผลต่อการพัฒนาตราสารรูปแบบใหม่ ๆ ในตลาดตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นด้วย

11 ทิศทางของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังจัดตั้ง กบช.
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ปริมาณเงินออมใหม่ผ่านกองทุน Pillar 3 อาจมีอัตราการเติบโตช้าลง ปริมาณเงินออมเดิมที่มีอยู่ในกองทุน Pillar 3 อาจลดขนาดลงในระยะแรก :- PVD ที่จ่าย ณ อัตรา 2 % ของค่าจ้าง อาจยกเลิกกองทุน PVD PVD ที่จ่าย > 3 % ของค่าจ้าง จะโอนมา กบช. และยกเลิกกองทุน PVD ส่วนที่ > 3% ของค่าจ้าง ทิศทางของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลังจัดตั้ง กบช. ลำดับต่อไปจะกล่าวถึงทิศทางของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังจัดตั้ง กบช. ซึ่งท่านผู้มีเกียรติทุกท่านในที่นี้ต่างก็เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์เรื่องของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นอย่างดี และเป็นที่ทราบกันว่า ในปัจจุบัน กฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอนุญาตให้มีการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราร้อยละ 2 – 15 ของค่าจ้าง ซึ่งโครงสร้างการจัดเก็บเงินของ กบช. ในระยะเริ่มแรกจะอยู่ที่อัตราร้อยละ 3 ของค่าจ้าง นอกจากนี้ กองทุนทั้งสองดังกล่าวข้างต้น ต่างเป็น Defined Contribution เพียงแต่แตกต่างกันที่ กบช. เป็นกองทุนภาคบังคับหรือที่เรียกว่า Pillar 2 สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนภาคสมัครใจ หรือที่เรียกว่า Pillar 3 ในระบบ Multi – Pillar ของสากลนั่นเอง ดังนั้น การจัดตั้ง กบช. ขึ้นในระยะแรกอาจจะส่งผลกระทบต่อการจัดตั้ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ใหม่ หรือการดำเนินงานของ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เดิมที่จัดตั้งอยู่ก่อนแล้วบ้าง ดังนี้  ปริมาณเงินออมใหม่ผ่านกองทุน Pillar 3 อาจมีอัตราการเติบโตช้าลง เนื่องจากต้องหันไปจัดตั้งกองทุน กบช. ภาคบังคับแทน  ปริมาณเงินออมเดิมที่มีอยู่ในกองทุน Pillar 3 อาจลดขนาดลงในระยะแรก ซึ่งอาจจำแนกได้เป็น 2 กรณี ได้แก่ 1. กรณีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จ่ายเงินสะสม/สมทบที่ระดับอัตราร้อยละ2 ของค่าจ้าง อาจยกเลิกกองทุน 2. กรณีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จ่ายเงินสะสม/สมทบที่ระดับมากกว่าอัตราร้อยละ 3 ของค่าจ้าง เมื่อมีกองทุน กบช. เกิดขึ้น ต้องมีการโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ระดับร้อยละ 3 ของค่าจ้างมาเข้าบัญชี กบช. ดังนั้น ส่วนที่มากกว่าอัตราร้อยละ 3 ของค่าจ้าง ซึ่งยังคงสภาพเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อาจเกิดการยกเลิกกองทุนได้

12 แนวทางการแก้ไขปัญหา 1. กรณีอนุญาตให้โอนเงิน PVD ไป กบช. ก. ข. ค. PVD
เดิม ใหม่ ก. PVD 2% กบช. 3% จ่ายเพิ่ม 1% ข. PVD 2% PVD 2% จ่ายต่อในอัตราเดิม จ่ายต่ำกว่าอัตราเดิม หยุดจ่าย กบช. 3% + แนวทางการแก้ไขปัญหา อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังได้กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นไว้ โดยการดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดตั้งกองทุน กบช. ขึ้นใหม่ ดังนี้ 1. กรณีการอนุญาตให้โอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปสู่กองทุน กบช. (1) กรณีที่สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจ่ายเงินเข้ากองทุนในปัจจุบัน อยู่ในอัตราที่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของค่าจ้าง ซึ่งเป็นอัตราการจ่ายเข้ากองทุน กบช. สามารถดำเนินการได้ 2 ทางเลือก ได้แก่ ก. นายจ้างและลูกจ้างแต่ละรายจะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มขึ้นอีก 1 %เป็นฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้าง แล้วโอนเงินดังกล่าวมาเป็นบัญชี กบช. นับตั้งแต่วันที่ กบช. มีผลใช้บังคับ สำหรับวงเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมที่เคยจ่ายในอัตราเดิมมาก่อนที่วัน กบช. มีผลใช้บังคับ จะเปิดโอกาสให้คงสภาพความเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมต่อไป ทั้งนี้ จะอนุญาตให้นายจ้างและลูกจ้างสมัครใจจะจ่ายสะสม/สมทบเข้ากองทุนในอัตราเท่าใดก็ได้ หรือไม่ต้องสมทบเพิ่มก็ได้ หรืออนุญาตให้ยกเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมก็ได้ หากถือว่าเป็นภาระมากจนเกินไป ข. นายจ้างและลูกจ้างประสงค์จะจัดตั้ง กบช. ขึ้นใหม่ แยกต่างหากจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิม ทางการจะอนุญาตให้นายจ้างและลูกจ้างสามารถเลือกที่จะจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราเดิม ต่ำกว่าเดิม หรือจะหยุดจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีกต่อไปก็ได้ ค. นายจ้างและลูกจ้างที่จ่ายเข้ากองทุนตั้งแต่ร้อยละ 3 ของค่าจ้างขึ้นไป มี 2 ทางเลือก ดังนี้ - นายจ้างและลูกจ้างสามารถปรับเปลี่ยนหรือโอนเงินในอัตราร้อยละ 3 ของค่าจ้างมาเป็นบัญชี กบช. ณ วันที่ กบช. มีผลใช้บังคับ ส่วนที่เหลือสามารถคงเป็นบัญชีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อไป ทั้งนี้ นายจ้างและลูกจ้างสามารถที่จะเลือกจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อไปในอัตราเท่าใดก็ได้ หรือไม่ต้องจ่ายเพิ่มก็ได้ หรืออาจจะยกเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมก็ได้ - นายจ้างและลูกจ้างที่ประสงค์จะจัดตั้ง กบช. ขึ้นใหม่โดยจะยังคงกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้เหมือนเดิม ก็สามารถกระทำได้ โดยทางการอนุญาตให้จ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราเดิม หรือต่ำกว่าเดิม หรือจะหยุดจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อไปก็ได้ ค. PVD  3% PVD ส่วนที่เหลือ จ่ายต่อในอัตราเดิม จ่ายต่ำกว่าอัตราเดิม หยุดจ่าย กบช. 3% +

13 แนวทางแก้ไขปัญหา (ต่อ)
2. กรณีอนุญาตให้ผู้ที่จัดตั้ง PVD ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดตั้ง กบช. เดิม ใหม่ ก. PVD 2% PVD/กบช. 3% ห้ามยกเลิก ตั้งแต่วันที่กฎหมายประกาศบังคับใช้ จ่ายเพิ่ม 1% ข. PVD  3% PVD/กบช.  3% ห้ามยกเลิกในส่วน  3% ตั้งแต่วันที่กฎหมายประกาศบังคับใช้ 2. กรณีการอนุญาตให้ผู้ที่จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาก่อนได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดตั้งกองทุน กบช.  กำหนดเป็นข้อยกเว้นให้สำหรับภาคเอกชนที่ได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่เดิมให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดตั้งกองทุน กบช. เนื่องจากถือว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Pillar 3) เป็นสวัสดิการที่นายจ้างได้จัดให้ลูกจ้างที่ดีกว่ากองทุน กบช. อยู่แล้ว  การดำเนินการแก้ไขกฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับกฎหมาย กบช. ทั้งนี้ เนื่องจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นกองทุนภาคสมัครใจ แต่กองทุน กบช. เป็นกองทุนภาคบังคับ ดังนั้น หากทางการอนุญาตให้ผู้ที่จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่เดิม ไม่ต้องจัดตั้งกองทุน กบช. ก็ต้องมีข้อกำหนดให้นายจ้างและลูกจ้างที่จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมเปลี่ยนข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยผู้ที่จ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องจ่ายเข้ากองทุน กบช. ในอัตราที่กองทุน กบช. กำหนด (ร้อยละ 3 ของค่าจ้าง) ดังนั้น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพใดที่จ่ายในอัตราร้อยละ 2 ของค่าจ่ายก็จะต้องเพิ่มอัตราการจ่ายเงินเข้ากองทุนให้เท่ากับอัตราขั้นต่ำที่กองทุน กบช. กำหนดไว้ นอกจากนี้ จะต้องดำเนินการแก้ไขข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยการกำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินออกจากกองทุนให้สอดคล้องกับสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับจากกองทุน กบช. ทั้งนี้ ลูกจ้างจะต้องได้รับไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในกองทุน กบช. รวมทั้งจะต้องมีกฎเกณฑ์ห้ามถอนเงินในอัตราขั้นต่ำของส่วนที่กองทุน กบช. กำหนดโดยเริ่มเกณฑ์นับ ณ วันที่ทางการประกาศใช้บังคับกฎหมาย กบช. ทั่วประเทศ

14 แนวทางแก้ไขปัญหา (ต่อ)
3. กำหนดกรอบ TAX ที่แตกต่างกัน EET กบช. EEE PVD 4. โครงการสัมมนา & ประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ 3. การกำหนดกรอบของสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่แตกต่างกัน การจัดตั้งกองทุน กบช. ในระยะเริ่มแรกอาจส่งผลกระทบให้เม็ดเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพถ่ายเทไปสู่กองทุน กบช. ได้ แต่รัฐบาลเชื่อมั่นว่าในระยะยาวจะมีการปรับตัวเข้าสู่สมดุล ทั้งนี้ จากการศึกษาระดับการออมของต่างประเทศที่มีการจัดตั้งกองทุนภาคบังคับขึ้น พบว่าในระยะปานกลางถึงระยะยาวไม่ได้มีผลกระทบต่อปริมาณเงินออมของกองทุนภาคสมัครใจให้ลดลงแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอาจใช้มาตรการทางภาษีเพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนหันมาออมในภาคสมัครใจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะต้องมีการกำหนดความแตกต่างของสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กองทุน กบช. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับให้ชัดเจน โดยปัจจุบันกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบ EEE (ได้รับยกเว้นภาษีของเงินสะสม เงินสมทบ พร้อมผลประโยชน์และเงินก้อนที่รับเมื่อเกษียณอายุด้วย) ดังนั้น ในส่วนของกองทุน กบช. จึงควรกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบ EET แทน ซึ่งจะสอดคล้องกับหลักการที่รัฐบาลจะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เพื่อจูงใจให้มีการออมผ่านกองทุน กบช. (Pillar 2) แต่ไม่ควรให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับการออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Pillar 3) ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการไหลออกของเม็ดเงินจาก Pillar 3 นั่นเอง 4. ภาครัฐจะร่วมกับภาคเอกชนโดยจัดให้มีการสัมมนาประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชน ถึงแนวทางการจัดตั้งกองทุน กบช. พร้อมผลประโยชน์ที่จะได้รับในระยะยาว นอกจากนี้ ยังเห็นควรเสนอให้กำหนดหลักสูตรเกี่ยวกับการออมและประโยชน์ที่ผู้ออมจะได้รับในแผนการศึกษาของชาติ เพื่อปลูกฝังทัศนคติ ค่านิยม และเพื่อให้เยาวชนทราบถึงประโยชน์ของการออมที่จะได้รับในอนาคตด้วย

15 การส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
การดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบัน - การขอรับเงินรายงวดเมื่อเกษียณอายุ - การรับรับโอนเงินจาก กบข. ได้ - การเปิดโอกาสให้การจัดตั้งกองทุนมีหลายนโยบายการลงทุนได้ การแก้ไข พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 เมื่อมีกองทุน กบช. - ยกเลิกอัตราขั้นต่ำและเพดานขั้นสูงในการจ่ายเงินสะสมสมทบ - สามารถจัดตั้งกองทุนขาเดียวได้ - ให้สมาชิกสามารถย้ายเงินกองทุนได้เมื่อย้ายงาน และสามารถคงเงินไว้ในกองทุนได้เมื่อเกษียณอายุ เป็นต้น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กองทุนชั้นที่ 3 : Pillar 3) ขณะนี้กระทรวงการคลังได้เสนอแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาใน 3 ประเด็น ดังนี้ 1. การให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพ เนื่องจากการเกษียณอายุ มีสิทธิขอรับเงินจากกองทุนเป็นงวด และดำรงสมาชิกภาพในกองทุนต่อไปได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน 2. การให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถรับโอนเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ 3. การเปิดโอกาสให้การจัดตั้งกองทุนมีหลายนโยบายการลงทุนได้โดยให้สมาชิกเป็นผู้เลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง นอกจากนี้ เพื่อให้การจัดตั้งกองทุน กบช. ซึ่งเป็นกองทุน Pillar 2 ภาคบังคับ และการดำเนินการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นกองทุน Pillar 3 ซึ่งเป็นการออมภาคสมัครใจสามารถส่งเสริม เกื้อกูล ซึ่งกันและกัน เพื่อให้ระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุแบบผูกพันระยะยาวของประเทศไทยสามารถดำเนินการไปได้อย่างเป็นระบบ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ เพื่อส่งเสริมการออมภาคสมัครใจ ดังนี้ 1. ยกเลิกอัตราขั้นต่ำ และเพดานสูงสุดในการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนฯ 2. การเปิดโอกาสให้ลูกจ้างสามารถจ่ายเงินเข้ากองทุนในอัตราที่มากกว่านายจ้างจ่ายได้ 3. ให้มีการจัดตั้งกองทุนขาเดียว เพื่อให้ผู้ประกอบการอาชีพอิสระ เช่น แพทย์ วิศวกร ทนายความ สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกกกองทุนได้ 4. ให้สมาชิกสามารถย้ายเงินกองทุนได้เมื่อย้ายงาน (Portability) และสามารถคงเงินไว้ในกองทุนได้เมื่อเกษียณอายุ เป็นต้น

16 ขอขอบคุณ PVD กบช PVD บทสรุป
 แนวทางการจัดตั้งกองทุน กบช. ได้มีการศึกษา วิจัยถึงความเหมาะสมจากหลายองค์กรทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งต่างก็ได้ข้อสรุปเหมือนกันว่า ประเทศไทยควรมีกองทุน กบช. หรือกองทุน Pillar 2 เพื่อประโยชน์ของแรงงานหลังเกษียณอายุอย่างแท้จริง  แต่อย่างไรก็ตาม ภาครัฐก็ไม่ได้ละเลย หรือมองข้ามผลกระทบที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับ ซึ่งอาจจะมีบ้างในระยะแรกของการจัดตั้งกองทุน กบช. เท่านั้น  ทั้งนี้ ได้มีการเตรียมการเพื่อหามาตรการในการรองรับ และแก้ไขปัญหาดังกล่าวในเบื้องต้น โดยจะมีการแต่งตั้งคณะเตรียมการจัดตั้งกองทุน กบช. พร้อมทั้งพิจารณาการแก้ไขกฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบัน ตลอดจน หามาตรการส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างต่อเนื่องตลอดไป โดยท่านผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้มีเกียรติทั้งหลายในที่นี้สามารถเสนอแนวคิดที่เป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายต่อกระทรวงการคลังเพื่อส่งเสริมการออมแบบ Multi-Pillar ของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนตลอดไป ขอบคุณครับ ขอขอบคุณ


ดาวน์โหลด ppt ทิศทางของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลังจัดตั้ง กบช. ปี 2550

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google