ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12 ศ.นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ ที่ปรึกษาศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรกฎาคม 2554
2529 กรณีการวิจัยจากเหตุการณ์สมมุติ 2529 กรณีการวิจัยจากเหตุการณ์สมมุติ ผู้ป่วยเป็นหญิงหม้ายอายุ 70 ปี อยู่คนเดียว กินยานอนหลับเพื่อฆ่าตัวตาย แพทย์ถูกตามไปพบ ในมือถือเศษกระดาษมีข้อความว่า ผู้ป่วยกินยานอนหลับ ต้องการตาย ขอให้แพทย์อย่านำส่งโรงพยาบาล และไม่ต้องทำการรักษาใด ๆ แพทย์ทำตามความต้องการของผู้ป่วย รออยู่จนผู้ป่วยตาย ความเห็นนักกฎหมายส่วนมากร้อยละ 71.8 แพทย์มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
2529 กรณีการวิจัยจากเหตุการณ์สมมุติ 2529 กรณีการวิจัยจากเหตุการณ์สมมุติ B. แพทย์นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ผู้ป่วยได้รับการรักษา แต่ไม่ฟื้น อยู่ในเครื่องช่วยหายใจ แพทย์ปิดเครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยตาย ความเห็นนักกฎหมายส่วนมากร้อยละ 80.2 แพทย์มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
หลักกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคท้าย “การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย”
2540 กรณีการวิจัยจากเหตุการณ์สมมุติ ผู้ป่วยอายุ 60 ปี เป็นโรคความดันโลหิต มีอาการหมดสติทันที เพราะหลอดเลือดในสมองแตก เลือกออกในสมองจำนวนมาก แพทย์บอกว่า ถ้าไม่ผ่าเอาเลือดออก ผู้ป่วยจะตาย แต่ถ้าผ่า ผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่ได้ แต่จะอยู่ในสภาพเจ้าหญิงนิทรา ญาติไม่ยอมให้แพทย์ผ่า แพทย์จึงปล่อยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาต่อมา
2540 กรณีการวิจัยจากเหตุการณ์สมมุติ (ต่อ) A. ผลของความเห็น ร้อยละ 26.4 แพทย์มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ร้อยละ 72.4 แพทย์ไม่มีความผิด B. กรณีผ่าแล้ว ผู้ป่วยไม่ฟื้น แพทย์ถอดเครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยตายในเวลาต่อมา ผลของความเห็นแยกเป็น 2 กลุ่ม - ผู้ป่วยตาย 2 ชม.หลังถอด แพทย์มีความผิด 68.6/ ใม่ผิด 28.5 - ผู้ป่วยตาย 30 วันหลังถอด แพทย์มีความผิด 34.3/ ไม่ผิด 62.4
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 “บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2550) มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง มาตรา 26 การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2550) มาตรา 28 บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ . . .
สิทธิมนุษยชน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเท่าเทียมกัน ทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง
สิทธิมนุษยชน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน การดำรงชีวิต = วิถีชีวิต ข้อ 3 บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิต ในเสรีธรรมและในความมั่นคงแห่งร่างกาย การดำรงชีวิต = วิถีชีวิต The right to self-determination (สิทธิในการตัดสินใจด้วยตนเอง)
มาตรา 8 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 8 ในการบริการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับหรือไม่รับบริการใด และในกรณีที่ผู้รับบริการปฏิเสธไม่รับบริการใด จะให้บริการนั้นมิได้