งานนำเสนอเรื่องการฝึกงาน นายอนรรฆ พรหมคุณ รหัส5212402161 คณะเกษตรศาสตร์ (สัตวศาสตร์)
ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพอุบลราชธานี
ประวัติการผสมเทียมของโลก - พ.ศ.1865 ผสมเทียมม้า (อาหรับ) - พ.ศ.2323 ผสมเทียมสุนัข(อิตาลี) - พ.ศ. 2473 ผสมเทียมในโคและแกะ(รัสเซีย) - พ.ศ. 2492 ซี โพล และคณะ ชาวอังกฤษ ได้ทำการแช่แข็งน้ำเชื้อไดสำเร็จโดยเก็บน้ำเชื้อในน้ำแข็งแห้งอุณหภูมิ -79 องศาเซลเซียส - พ.ศ. 2495 เติมกลีเซอรอล ลงในสารเจือจางน้ำเชื้อจะช่วยให้อสุจิรอด ชีวิตจากการเก็บที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นจุดเริ่มใน การผลิตน้ำเชื้อแช่แข็ง
ประวัติการผสมเทียมในประเทศไทย - พ.ศ.2496 ศาสตราจารย์นีลล์ ลาเกอร์ลอฟ ชาวสวีเดน ผู้เชี่ยวชาญจากเอฟ.เอ.โอ. ได้เดินทางมาสำรวจการเลี้ยงปศุสัตว์ในประเทศไทย โดยทุนของ เอฟ.เอ.โอ. จากนั้นได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายโครงการผลิตโคนมลูกผสมด้วยวิธีการผสมเทียม - พ.ศ. 2497 กรมปศุสัตว์ได้ส่งข้าราชการ ไปศึกษาอบรมนานาชาติ ณ ราชวิทยาลัยสัตวแพทย์ กรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ซึ่งองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติร่วมกับรัฐบาลสวีเดน ได้เปิดหลักสูตรฝึกอบรมวิชาการสืบพันธุ์ รวมทั้งการผสมเทียมขึ้นเป็นรุ่นแรก - พ.ศ. 2499 กรมปศุสัตว์ได้เปิดสถานีผสมเทียมแห่งแรก ที่จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2499 ได้ผสมเทียมให้แม่โคตัวแรก - พ.ศ. 2501 สถานีผสมเทียมแห่งที่สองได้ตั้งขึ้นที่หน่วยผสมเทียมกลางในกรมปศุสัตว์ ได้พัฒนาและปรับปรุงพื้นฐานการเลี้ยงโคนมและการผสมเทียมในกรุงเทพมหานคร จนประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง
ภาระงานต่างๆที่ได้รับที่ได้รับมอบมาย 1.ดูแลสัตว์ทดลองและตรวจการเป็นสัด 2.ให้อาหารทุกเช้า-เย็นเป็นหญ้าสดและหญ้าแห้ง และอาหารข้นช่วยเสริมด้านต่างๆของร่างกายสัตว์ 3.ออกผสมเทียมตามหมู่บ้านที่ได้รับมอบหมายจากศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพอุบลราชธานี 4.ดูแลและรักษาสัตว์ซึ่งมีอาการเจ็บเจ็บป่วยๆต่างๆในหมู่บ้าน 5.บันทึกประวัติการผสมเทียมของโคและกระบือลงในระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อป้องกันการผสมแบบเลือดชิด
เรียนรู้ระบบสืบพันธุ์ของโค เพื่อให้ทราบถึงระบบสืบพันธุ์ภายในเพื่อให้รู้ถึงตำแหน่งที่เราจะจะสอดปืนเข้าไปในระบบสืบพันธุ์ว่าควรฉีดที่ไหนตำแหน่งใดและเรียนรู้ระบบสืบพันธุ์ต่างของโคแม่พันธุ์ อวัยวะสืบพันธุ์ของแม่โคที่สำคัญประกอบด้วย 1.รังไข่ (ovary) 2.ท่อนำไข่ (oviduct) 3.ปีกมดลูก(uterine horn 4.ตัวมดลูก (uterus) 5.คอมดลูก (cervix) 6.ช่องคลอด (vagina)7. ปากช่องคลอด (vulva) เพื่อเรียนรู้ให้ทราบถึงระบบสืบพันธุ์เพื่อให้ง่ายต่อการลงพื้นที่จริงโดยการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานไปก่อน
เรียนรู้อุปกรณ์การผสมเทียม 1. ถังสนามใส่น้ำเชื้อ : เพื่อเก็บน้ำเชื้อแช่แข็งไว้ที่อุณภูมิ196 องศาเซลเซียส 2. ปืนผสมเทียม :เพื่อใช้สอดในการฉีดน้ำเชื้อแช่แข็งผ่านทางอวัยวะเพศของโคแม่พันธุ์ที่มีอาการเป็นสัด 3. ถุงมือล้วงตรวจ/สารหล่อลื่น:เพื่อใช้ในการหาระบบสืบพันธุ์ของโคแม่พันธุ์ที่มีการอาการเป็นสัด 4. ผ้ากันเปื้อน รองเท้าบู้ท:เพื่อป้องกันจาการเปื้อนของมูลสัตว์หรือสิ่งปนเปื้อนต่างๆ 5. กระดาษชำระ :เพื่อใช้ทำความสะอาดต่างๆจากการปนเปื้อนต่างทั้งก่อนและหลังการผสม
เรียนรู้อุปกรณ์การผสมเทียม(ต่อ) 6. พลาสติกชีท กรรไกร: เพื่อใช้ในการบังคับหลอดน้ำเชื้อและป้องกันการติดเชื้อต่างๆจากภายนอกเข้าสู่ระบบสืบพันธุ์ 7. ถุงอนามัย(sanitary sheath,double sheath):เพื่อสวมใส่นอกปืนเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากภายนอกเพราะปืนอาจโดนสิ่งต่างๆก่อนเข้าสู่ระบบสืบพันธุ์ของโคแม่พนธุ์
การออกพื้นที่ผสมเทียมตามหมูบ้านที่หน่อยผสมเทียมรับผิดชอบ
การลงบันทึกใบผสมเทียม9เพื่อป้องกันการผสมแบบเลือดชิด
แบบบันทึกข้อมูลประจำตัวสัตว์เพื่อเก็บข้อมูลการผสมในแต่ล่ะครั้ง
เรียนรู้การฝังฮอร์โมนต่างๆที่ใช้ในสัตว์ 1. ใช้เพื่อให้เกิดการเป็นสัดพร้อมๆกัน 2.การสอดใส่ฮอร์โมน ณ ตำแหน่งใดเพื่อจะไม่ให้ฮอร์โมนหลุดออกมา 3.อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการฝังฮอร์โมน
ออกพื้นที่ตามหมู่บ้าน ออกพื้นที่ตามหมู่บ้านเพื่อไปฉีดยาและรักษาสัตว์โดยการฉีดยาพิษสุนัขบ้าและทำหมันสุนัขและแมวและแจกยาให้กับชาวบ้านโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ที่บ้านกระโสก อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จัดโดย กรมปศุสัตว์อำเภอเมือง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อของโรคพิษสุนัขบ้า ทำหมัน และแจกยาให้กับอาสาสมัครในแต่ล่ะชุมเพื่อเป็นตัวแทนในการป้องกันโรคและการแพร่กระจายของโรคต่างๆ
การทำหมันให้กับสนัขเพศเมีย
การทำหมันให้กับสนัขเพศเมีย
การทำหมันให้กับสนัขเพศผู้
การทำหมันให้กับสนัขเพศผู้
ปัญหาที่พบในการฝึกงานครั้งนี้ 1.ขาดความสามัคคีในหมู่คณะทำให้งานสำเร็จไปได้ช้า 2.สภาพดิน ฟ้า อากาศ ไม่เอื้ออำนวยมากนัก เพราะการออกพื้นที่ผสมเทียมต้องให้แม่โคอยู่ในที่ร่ม อากาศเย็นสบาย มีน้ำให้กิน มีซองบังคับที่เหมาะสม 3.ขาดความชำนาญและประสบการณ์ด้านต่างๆในการผสมเทียมทำให้การผสมทำได้ช้าลง